• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

'ดีพร้อม' เสริมแกร่งเอสเอ็มอี เพิ่มศักยภาพบริหารด้านโลจิสติกส์

Started by Shopd2, July 28, 2021, 11:25:04 PM

Previous topic - Next topic

Shopd2




นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า บทบาทหน้าที่หลักของดีพร้อม คือ การเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพภาคการผลิตให้อุตสาหกรรมไทย โดยหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ดีพร้อมได้เร่งดำเนินการ คือ การบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพสถานประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ทันสมัยและได้มาตรฐานสากล รวมทั้งสถานประกอบการที่มีต้นทุนด้านโลจิสติกส์ค่อนข้างสูง จะต้องลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ทั้งในด้านการจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการคลังสินค้า การจัดการการขนส่ง และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนโลจิสติกส์ทั้งหมด


จากแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ดีพร้อมจึงได้เดินหน้าเร่งผลักดันโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดรวมถึงการเพิ่มความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันขององค์กร การพัฒนาระบบมาตรฐานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานสากลของโลก เพื่อให้มีศักยภาพและได้ผลสัมฤทธิ์ต่อการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ รวมไปถึงการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ

ซึ่งต้นทุนโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก 1. ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง (Inventory Holding Cost) ได้แก่ ต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost) และต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Warehousing Cost) 2. ต้นทุนการขนส่งสินค้า (Transportation Cost) และ 3. ต้นทุนการบริหารจัดการ (Administration Cost) นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสำหรับสถานประกอบการใน 3 มิติหลัก ๆ คือ ต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจ


ทั้งนี้ กิจกรรมสำคัญของโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก คือ 1. กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 2. กิจกรรมพลิกธุรกิจด้วยโลจิสติกส์กับการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ (Business Rebirth by Logistics (BRL))  3. กิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ดำเนินการโดยการ Coaching การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง (Supply Chain Network) และสร้างความร่วมมือในโซ่อุปทานทั้งภายในและภายนอกกลุ่มอุตสาหกรรม 4. กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) สัญจรขยายผลความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค 5. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับบุคลากร

"ดีพร้อมตั้งเป้าในการดำเนินงานในปี 2564 คือการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการลดลงคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาทซึ่งสถานประกอบการเป้าหมายในปี 2564 อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนโลจิสติกส์สูง ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมีและพลาสติก ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางพาราและผลิตภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และสถานประกอบการ เช่น เกษตรแปรรูป และเครื่องจักรกลรวมถึงดำเนินการพัฒนาสถานประกอบการไม่ต่ำกว่า 170 กิจการ และพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้มีทักษะและองค์ความรู้ด้านจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่นำไปใช้ได้จริงไม่ต่ำกว่า จำนวน 100 ราย" ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย