• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ปัญหาที่ ‘เอเวอร์แกรนด์’ เผชิญอยู่ จะกระทบเศรษฐกิจจีน

Started by Joe524, September 22, 2021, 08:43:29 AM

Previous topic - Next topic

Joe524



นักลงทุนทั่วโลกต่างกำลังเฝ้ามองด้วยความกระสับกระส่าย ขณะที่ เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป (Evergrande Group) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของจีนพยายามดิ้นรนอย่างหนักเพื่อหลีกหนีไม่ต้องตกอยู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้สินจำนวนหลายหมื่นล้านดอลลาร์ โดยที่สถานการณ์เช่นนี้ยังกำลังสร้างความหวาดกลัวด้วยว่า มันอาจจะก่อให้เกิดคลื่นช็อกตื่นตระหนกในระบบการเงินลุกลามอย่างกว้างขวางต่อไปอีกด้วย

พวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบของจีนยังไม่ได้พูดออกมาว่า พวกเขาจะทำอะไรเกี่ยวกับ เอเวอร์แกรนด์ นักเศรษฐศาสตร์คาดหมายกันว่าปักกิ่งจะเข้าแทรกแซง ถ้าหากยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์รายนี้และพวกเจ้าหนี้ไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับวิธีในการจัดการกับหนี้สินของบริษัท แต่การเข้ามาแก้ไขปัญหาใดๆ ของทางการ คาดหมายกันว่าน่าจะมีการใช้มาตรการซึ่งสร้างความขาดทุนสูญเสียให้แก่พวกเจ้าหนี้ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือผู้ถือหุ้นกู้

รัฐบาลจีน "ไม่ต้องการถูกมองว่ากำลังวางแผนเพื่อช่วยเหลือเอเวอรแกรนด์ให้พ้นจากภาวะล้มละลาย" แต่น่าที่จะหาทางทำให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อ "ลดความเสี่ยงเชิงระบบและควบคุมผลกระทบที่จะทำให้เศรษฐกิจชะงักงัน" ทอมมี อู่ แห่ง ออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ กล่าวคาดการณ์เอาไว้ในรายงานฉบับหนึ่ง

เอเวอร์แกรนด์ถือเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บรายใหญ่ที่สุดเท่าที่ปรากฏให้เห็นกันในเวลานี้ จากความพยายามของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการเข้าชะลอระดับการก่อหนี้สินที่กำลังพุ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปักกิ่งมองว่าสามารถที่จะเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจโดยรวม

เฉพาะหน้านี้ พวกนักลงทุนกำลังจับตามองว่า ยักษ์ใหญ่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองเซินเจิ้น ติดๆ กับฮ่องกง รายนี้ จะจัดการอย่างไรกับการชำระดอกเบี้ยให้แก่หุ้นกู้ของบริษัทรายการหนึ่ง ซึ่งครบกำหนดชำระในวันพฤหัสบดี (23) นี้

ทำไม เอเวอร์แกรนด์ จึงทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับภาระหนี้สินของบริษัทได้มากมายขนาดนี้?

เอเวอร์แกรนด์คือใคร

เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 และเป็นหนึ่งในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดของจีนที่สร้างอพาร์ตเมนต์ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้ามากมาย อีกทั้งยังเป็นกลุ่มกิจการเอกชนใหญ่ที่สุดของประเทศนี้
เอเวอร์แกรนด์มีพนักงานกว่า 200,000 คน และสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานในภาคก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกประมาณ 3.8 ล้านตำแหน่ง บริษัทยังเผยว่า มีโครงการต่างๆ ราวม 1,300 โครงการอยู่ใน 280 เมือง และมีสินทรัพย์มูลค่า 2.3 ล้านล้านหยวน (350,000 ล้านดอลลาร์)
สีว์ เจียอิ้น ผู้ก่อตั้งเอเวอร์แกรนด์ ติดอันดับผู้ประกอบการที่รวยที่สุดในจีนเมื่อปี 2017 ด้วยมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 43,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ จากข้อมูลของหูรุ่น รีพอร์ต และแม้ถูกมหาเศรษฐีจากวงการอินเทอร์เน็ตแย่งตำแหน่งดังกล่าวไป แต่ปีที่ผ่านมาเขายังครองแชมป์นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่รวยที่สุดในจีน และครองอันดับ 1 ในรายชื่อเศรษฐีใจบุญประจำปี 2020 จากการจัดอันดับของหูรุ่น โดยบริจาคเงินเข้าการกุศลราว 2,800 ล้านหยวน (420 ล้านดอลลาร์)
เอเวอร์แกรนด์ยังขยับขยายเข้าสู่ธุรกิจรถไฟฟ้า การพัฒนาสวนสนุก คลินิกสุขภาพ น้ำแร่ และอีกมากมาย

ผลกระทบจากการซวนเซของเอเวอรแกรนด์จนถึงขณะนี้มีอะไรบ้าง

ราคาหุ้นเอเวอร์แกรนด์ที่เทรดในตลาดฮ่องกงดิ่งลง 85% นับจากต้นปีนี้ ส่วนหุ้นกู้ของบริษัทก็ซื้อขายในราคาส่วนลดซึ่งร่วงหนักพอกัน
สีว์ก่อตั้งเอเวอร์แกรนด์โดยใช้เงินที่กู้ยืมมา ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจมากกว่าเงินที่คู่แข่งอื่นๆ ในอุตสาหกรรมกู้มา ข้อมูลจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน เอเวอร์แกรนด์รายงานหนี้ค้างชำระที่มีกับผู้ถือหุ้นกู้ แบงก์ ผู้รับเหมาสัญญาก่อสร้าง และเจ้าหนี้อื่นๆ รวมทั้งสิ้น 2 ล้านล้านหยวน (310,000 ล้านดอลลาร์)
ในบรรดาหนี้เหล่านั้นมีถึง 240,000 ล้านหยวน (37,300 ล้านดอลลาร์) ที่ครบกำหนดชำระภายในปีนี้ ซึ่งแม้ลดลงจากปลายปีที่แล้ว 28.5% แต่สูงกว่าเงินสดที่บริษัทถือครองมูลค่า 86,800 ล้านหยวน (13,500 ล้านดอลลาร์) เกือบ 3 เท่าตัว ทั้งนี้ จากรายงานการเงินของบริษัท
ต้นปี 2021 เอเวอร์แกรนด์คาดว่า มูลค่าธุรกรรมประจำปีทั้งหมดจะสูงกว่า 2 ล้านล้านหยวน (310,000 ล้านดอลลาร์) โดยบริษัทรายงานกำไรในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ที่ 1,400 ล้านดอลลาร์ แต่ยอดขายกำลังดิ่งลงเนื่องจากข่าวปัญหาเงินสดตึงตัว ทำให้บรรดาว่าที่ผู้ซื้อเกิดความกังวล

ทำไมปัญหาต้องปะทุขึ้นในตอนนี้

เอเวอร์แกรนด์นั้น เผชิญกับข้อจำกัดใหม่ๆ ที่พวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบประกาศออกมาบังคับใช้กับการกู้ยืมซึ่งเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญระยะยาวมากของพรรคคอมมิวนิสต์ ในการทำให้ธุรกิจต่างๆ ลดการพึ่งพิงหนี้สิน

พวกนักเศรษฐศาสตร์เตือนมากว่าทศวรรษแล้วว่า หนี้ที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ของจีนอาจกลายเป็นภัยคุกคามที่มีอันตราย และพรรคคอมมิวนิสต์กำหนดให้การลดความเสี่ยงทางการเงินเช่นนี้เป็นภารกิจสำคัญอันดับต้นๆ นับจากปี 2018 ทว่า ยอดรวมการกู้ยืมของเอกชน ภาครัฐ และครัวเรือนยังคงพุ่งขึ้นจนอยู่ในระดับเกือบๆ 300% ของผลผลิตทางเศรษฐกิจเมื่อปีที่แล้ว จาก 270% ในปี 2018 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงผิดปกติสำหรับประเทศที่มีรายได้ปานกลางอย่างจีน

รายงานข่าวบ่งบอกให้เห็นว่า เอเวอร์แกรนด์เที่ยวกู้จากทุกแหล่งที่กู้ได้ ซึ่งรวมถึงกำหนดให้พนักงานของผู้รับเหมาสัญญาก่อสร้างของบริษัทต้องซื้อหุ้นกู้เอเวอร์แกรนด์

นิตยสารธุรกิจ ไฉซิน รายงานว่า ปี 2017 ไชน่า ซิติก แบงก์ของทางการจีน ซึ่งตั้งอยู่ในเซินเจิ้น ยอมตกลงปล่อยกู้ให้เป็นจำนวน 40,000 ล้านหยวน (6,200 ล้านดอลลาร์) สำหรับโครงการหนึ่งของเอเวอร์แกรนด์ หลังจากผู้บริหารบริษัทตกลงที่จะลงทุนในโครงการดังกล่าวคนละอย่างน้อย 3 ล้านหยวน (465,000 ดอลลาร์)

สถานการณ์เช่นนี้เข้าทางแผนการปรับโฉมเศรษฐกิจเสียใหม่ของทางการจีนอย่างไร

พรรคคอมมิวนิสต์เดินหน้าสะสางปัญหาหนี้ควบคู่ไปกับส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมุ่งพึ่งพาตัวเอง โดยอิงกับการบริโภคภายในประเทศ แทนที่จะอาศัยการค้าและการลงทุนที่สนับสนุนด้วยการกู้หนี้ยืมสินเหมือนเมื่อก่อน

นอกจากนั้น ในปี 2014 จีนยังเปิดทางให้เกิดกรณีการผิดนัดชำระหนี้สำหรับหนี้ภาคเอกชนเป็นครั้งแรกนับจากการปฏิวัติปี 1949 โดยมุ่งที่จะให้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามบีบให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้มีวินัยมากขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านั้นรัฐบาลจะเข้าแทรกแซงเพื่ออุ้มลูกหนี้ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องไม่ให้ถึงกับล้มละลาย และหลีกเลี่ยงไม่ให้ตลาดการเงินหวาดผวา หลังจากนั้นมาปักกิ่งก็อนุญาตให้เกิดกรณีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ไม่มีลูกหนี้รายไหนใหญ่เท่าเอเวอร์แกรนด์มาก่อน

โครงการ "นครเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเอเวอร์แกรนด์" (Evergrande Cultural Tourism City) ณ เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู  ซึ่งเป็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ผสมผสานส่วนที่อยู่อาศัย-การค้าปลีก-บันเทิง เข้าด้วยกัน 
โครงการ "นครเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเอเวอร์แกรนด์" (Evergrande Cultural Tourism City) ณ เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ซึ่งเป็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ผสมผสานส่วนที่อยู่อาศัย-การค้าปลีก-บันเทิง เข้าด้วยกัน

แล้วพวกบริษัทนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆ เป็นยังไงบ้าง

บริษัทอสังหาฯอื่นๆ อย่างเช่น บริษัทว่านเคอ (Vanke Co.) กิจการรัฐวิสาหกิจอย่าง โพลี่ กรุ๊ป (Poly Group) และ ว่านต๋า กรุ๊ป (Wanda Group) ไม่มีรายงานว่าประสบปัญหาทำนองเดียวกันนี้ แต่สำหรับพวกนักพัฒนาอสังหาฯรายเล็กๆ ลงมาแล้ว มีหลายร้อยรายต้องปิดกิจการ ตั้งแต่ที่พวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบเริ่มเข้มงวดมาตั้งแต่ปี 2017 ในการควบคุมยุทธวิธีต่างๆ ในการระดมทุน เป็นต้นว่า การขายอพาร์ตเมนต์ออกไปก่อนที่การก่อสร้างจะเริ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม อสังหาฯประเภทที่อยู่อาศัยของจีนนั้น ถือกันว่าแทบไม่สร้างความเสี่ยงให้แก่ระบบการเงินเลย สืบเนื่องจากการซื้ออพาร์ตเมนต์นั้นส่วนใหญ่แล้วผู้ซื้อจะจ่ายเป็นเงินสด ไม่ใช่ด้วยการนำเอาไปจำนองขอกู้เงินสินเชื่อเคหะ เรื่องนี้ทำให้ผลกระทบในลักษณะมีการผิดนัดชำระหนี้ลุกลามต่อเนื่องเป็นระลอกคลื่น ทำนองเดียวกับที่เคยเกิดในสหรัฐฯภายหลังวิกฤตปี 2008 ไม่น่าที่จะเกิดขึ้นมาในจีน และพวกแบงก์เจ้าหนี้ก็สามารถเข้าไปดูแลจัดการได้ง่ายกว่าด้วย

"หากพิจารณาว่าพวกบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของจีนอยู่ในอาการบวมโตเพราะหนี้สินขนาดไหนแล้ว ก็ชวนให้คิดว่ากำลังใกล้จะเกิดระลอกการผิดนัดชำระหนี้ลุกลามต่อเนื่องกันไปทั่ว" ทว่าปักกิ่งนั้นมีทรัพยากร "ที่จะใช้ป้องกันไม่ให้จีนเกิดปัญหาสินเชื่อตึงตัวแบบเต็มที่เต็มขนาดได้" ไซมอน แมคแอดัม แห่ง แคปิตอล อีโคโนมิกส์ กล่าวเอาไว้เช่นนี้ในรายงานฉบับหนึ่ง "ถึงแม้มันจะมีข้อบกพร่องอะไรเยอะแยะมากมาย แต่นี่คือผลดีประการหนึ่งของการมีระบบการเงินแบบที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เมื่อเทียบกับการมีระบบที่เป็นตลาดเสรีมากกว่า"

จะเกิดลุกลามเพิ่มความเสี่ยงภายนอกจีนหรือไม่

มีนักวิจารณ์ให้ความเห็นผ่านสื่อ (คอมเมนเตเตอร์) บางรายเสนอแนะว่า เอเวอร์แกรนด์อาจก่อให้เกิด"ช่วงเวลาเลห์แมน" (Lehman moment) ของจีนขึ้นมา  ซึ่งเป็นการพาดพิงถึงการล้มครืนของ เลห์แมน บราเธอร์ส ยักษ์ใหญ่วาณิชธนกิจวอลล์สตรีท ในช่วงต้นๆ ของวิกฤตปี 2008 อย่างไรก็ตามพวกนักเศรษฐศาสตร์บอกว่าความเสี่ยงที่กรณีเอเวอร์แกรนด์จะลุกลามแพร่เชื้อไปติดยังตลาดการเงินในวงกว้างนั้น มีอยู่ค่อนข้างต่ำ

"หากเอเวอร์แกรนด์เข้าสู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้แบบที่มีการจัดการทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระเบียบ  หรือกระทั่งถึงขั้นล้มครืนแบบยุ่งเหยิงวุ่นวายก็ตามที ก็จะแทบไม่ส่งผลกระทบต่อโลกเลย  นอกเหนือจากทำให้ตลาดเกิดการปั่นป่วนผันผวนกันบ้างเท่านั้น"เป็นความเห็นของ แมคแอดัม แห่งแคปิตอล อีโคโนมิกส์

เอเวอร์แกรนด์นั้นมียอดหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ยังค้างชำระอยู่เป็นจำนวน 18,000 ล้านดอลลาร์ แต่หุ้นกู้เหล่านี้จำนวนมากทีเดียวถือครองโดยพวกแบงก์จีนตลอดจนสถาบันอื่นๆ  และไม่เหมือนกับเลห์แมน ที่มีสินทรัพย์อยู่ในรูปของเครื่องมือทางการเงินซึ่งราคาสามารถเหวี่ยงขึ้นลงได้อย่างแรงๆ  เอเวอร์แกรนด์นั้นมีที่ดินคิดเป็นมูลค่า 1.4 ล้านล้านหยวน (215,000 ล้านดอลลาร์) และมีโครงการที่เสร็จสิ้นไปแล้วเป็นบางส่วน ซึ่งระดับราคาค่อนข้างคงที่ทีเดียว

ถ้าหาว่ากเอเวอร์แกรนด์ถึงขึ้นผิดนัดชำระหนี้แบบชัดเจนสมบูรณ์ ระบบการธนาคารของจีนก็มีผลกำไรปีละ 1.9 ล้านล้านหยวน และทุนสำรองราวๆ 5.4 ล้านล้านหยวนที่สามารถใช้ต่อสู้กับปัญหาหนี้เสีย โดยเงินก้อนมหึมาขนาดนี้ "ย่อมสามารถดูดซับความสูญเสียเช่นนี้ได้อย่างง่ายดาย" แลร์รี หู และซินอี๋ว์ จี แห่ง แมคควอรี กรุ๊ป ชี้เอาไว้ในรายงานฉบับหนึ่ง

สถานการณ์จะเป็นยังไงกันต่อไป

พวกนักลงทุนกำลังเฝ้ารอดูว่าหน่วยงานกำกับตรวจสอบของจีนจะทำอะไรกันบ้าง แต่นักวิเคราะห์หลายต่อหลายคนมองว่าหน่วยงานผู้คุมกฎเหล่านี้ดูเหมือนโฟกัสอยู่ที่การปกป้องคุ้มครองผู้ซื้อบ้าน  ด้วยการทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า อพาร์ตเมนต์ไหนที่ผู้ซื้อจ่ายเงินไปครบถ้วนแล้ว จะต้องสร้างกันให้เสร็จ

เท่าที่ผ่านมา รัฐบาลจีนมีการอัดฉีดเงินทองเข้าไปในบริษัทจีนที่ประสบปัญหาสภาพคล่องแห่งอื่นๆ อยู่เหมือนกัน แต่พวกนักเศรษฐศาสตร์มองว่า  ปักกิ่งดูเหมือนมุ่งมุ่นที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าไปทำเช่นนั้นสำหรับกรณีของเอเวอร์แกรนด์

เมื่อเดือนสิงหาคม  บริษัท หัวหรง แอสเซต แมเนจเมนต์ (Huarong Asset Management Co., Ltd.) เป็นกิจการที่ได้รับความช่วยเหลือให้ไม่ต้องล้มละลาย หัวหรง ถือเป็นกิจการแห่งใหญ่ที่สุดในบรรดาบริษัทกลุ่มหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้เสียที่เจ้าหนี้คือพวกแบงก์ภาครัฐ  ความช่วยเหลือที่ หัวหรงได้รับนั้นอยู่ในรูปการได้เงินทุนอัดฉีดมาจากพวกบริษัทรัฐวิสาหกิจหลายแห่งภายหลังที่บริษัทแห่งนี้ขาดทุนไป 102,900 ล้านหยวน (15,900 ล้านดอลลาร์) เมื่อปีที่แล้ว

สำหรับเอเวอร์แกรนด์ ในจดหมายฉบับหนึ่งส่งถึงพนักงานลูกจ้างของบริษัทเมื่อวันอังคาร (21)สีว์แสดงความเชื่อมั่นว่าบริษัทจะสามารถอยู่รอดต่อไปได้

"แน่นอนทีเดียวว่า เอเวอร์แกรนด์จะสามารถก้าวพ้นออกมาจากชั่วขณะแห่งความมืดมนอย่างที่สุด  ในเวลารวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" สีว์กล่าวในจดหมายที่ออกมาเนื่องในเทศกาลวันไหว้พระจันทร์ (Mid-AutumnFestival) ตามประเพณี

(ที่มา: เอพี)