• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ทีเอ็มบีธนชาตแจ้งกำไร Q3 เพิ่มขึ้น 46% คุมค่าใช้จ่าย-ยอดกันสำรองลด

Started by Chigaru, October 21, 2021, 12:46:04 PM

Previous topic - Next topic

Chigaru


ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือทีเอ็มบีธนชาต (ttb) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 และรอบ 9 เดือน ปี 2564 โดยธนาคารมีกำไรสุทธิ 2,359 ล้านบาท ในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นผลจากนโยบายการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าที่ได้ทำในปีที่แล้ว ซึ่งธนาคารได้ตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญไปในไตรมาส 3 ปี 2563 เพื่อเตรียมรับมือกับปี 2564 โดยแม้ว่าในปีนี้ธนาคารจะยังคงตั้งสำรองฯ ในระดับสูงกว่าปกติ แต่ยังลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จึงทำให้กำไรสุทธิปรับตัวดีขึ้น สำหรับเป้าหมายทางการเงินด้านอื่นๆ ยังคงทำได้ตามแผน ไม่ว่าจะเป็นด้านการรวมกิจการ การบริหารจัดการค่าใช้จ่าย และการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ศรษฐกิจไทยเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อและการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างจนนำไปสู่การประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ยังคงเห็นแรงกดดันต่อด้านรายได้อย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์เช่นนี้ การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมา เรายังคงทำได้ดี ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรวมกิจการก็ตาม แต่ด้วยการรักษาวินัยด้านค่าใช้จ่าย ประกอบกับการรับรู้ผลประโยชน์ด้านต้นทุนจากการรวมกิจการได้ตามแผน จึงช่วยให้ค่าใช้จ่ายไม่เพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้ที่ชะลอตัว โดยในไตรมาส 3 ปี 2564 ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 15,663 ล้านบาท ลดลง 3.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 7,268 ล้านบาท ลดลงเช่นกันที่ 2.2%

สำหรับค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ อยู่ที่ 5,527 ล้านบาท ยังคงเป็นระดับที่สูงกว่าช่วงเศรษฐกิจปกติ แต่ลดลง 19.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2563 ที่ธนาคารได้วางแผนตั้งสำรองฯ ล่วงหน้าเป็นจำนวน 6,863 ล้านบาท จึงเป็นที่มาของกำไรสุทธิที่ปรับตัวดีขึ้นจากปีที่แล้ว ทั้งนี้ ภายใต้ภาพเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางธนาคารจะยังรักษาระดับการตั้งสำรองฯ ไว้ในระดับสูง และเน้นการประเมินความเสี่ยงของพอร์ตปัจจุบันและการจัดชั้นคุณภาพสินเชื่ออย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตสินเชื่อปกติหรือพอร์ตโปรแกรมให้ความช่วยเหลือ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 12% ของสินเชื่อรวม เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการและการตั้งสำรองฯ เป็นไปอย่างเหมาะสมและเพียงพอ

ทั้งนี้ หากเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2664 ยังคงเห็นแรงกดดันด้านรายได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไตรมาส 3 เป็นช่วงเวลาของการประกาศใช้มาตรการคุมเข้มขั้นสูงสุดก่อนค่อยๆ ผ่อนคลายลงในช่วงปลายไตรมาส ขณะที่ผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน ปี 2564 จะให้ภาพชัดเจนถึงผลกระทบจากโควิด-19 ที่ยืดเยื้อมาตลอดตั้งแต่ต้นปี เทียบกับปี 2563 ซึ่งสถานการณ์ในไตรมาส 1 ยังคงเป็นปกติ

นายปิติ กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ภาพรวมในไตรมาส 4 นั้น แม้ว่าการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ จะช่วยหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่การฟื้นตัวไปสู่ระดับก่อนโควิด-19 ยังคงต้องใช้เวลา ดังนั้น เราจึงยังคงเน้นการดำเนินธุรกิจแบบระมัดระวัง ไม่สร้างความเสี่ยงด้วยการเร่งเติบโตสินเชื่อฝ่าคลื่นลมทางเศรษฐกิจ จุดประสงค์หลักเพื่อคงสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่ง และสร้างชีวิตการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทยทั้งวันนี้และอนาคต ด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการและดีที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละคน ตลอดทุกช่วงชีวิต พร้อมรับมือกับความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 และรอโอกาสที่จะกลับมาเติบโตเมื่อเศรษฐกิจเอื้ออำนวย นอกจากนี้ การดูแลความปลอดภัยของพนักงานถือเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญเช่นกัน

สำหรับรายละเอียดผลการดำเนินงานไตรมาส 3 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และรอบ 9 เดือน ปี 2564 เทียบปี 2563 มีดังนี้

รายได้จากการดำเนินงานรวมในไตรมาส 3 ปี 2564 มีจำนวน 15,663 ล้านบาท ลดลง 1.5% จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งจากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี รายได้ค่าธรรมเนียมปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับกลยุทธ์การนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงช่องทางการให้บริการในช่วงที่ผ่านมา ด้านค่าใช้จ่ายยังสามารถบริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย โดยค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานมีจำนวน 7,268 ล้านบาท ลดลง 1.8% เป็นผลจากการรับรู้ประโยชน์ด้านต้นทุนจากการรวมกิจการ การมีวินัยด้านค่าใช้จ่าย รวมถึงค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลงตามปริมาณธุรกรรมที่ลดลงในช่วงล็อกดาวน์ ส่งผลให้อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ทรงตัวอยู่ที่ 46% และจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ธนาคารต้องเลื่อนกิจกรรมและค่าใช้จ่ายบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการรวมกิจการไปในช่วงไตรมาส 4 จึงคาดว่าอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ในไตรมาส 4 จะยังอยู่ในระดับ 47-49% ด้านค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ อยู่ที่จำนวน 5,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.7% จากไตรมาส 2 ส่งผลให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 2,359 ล้านบาท ลดลง 6.9% จากไตรมาสที่แล้ว

สำหรับรอบ 9 เดือน ปี 2564 ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงาน 48,406 ล้านบาท ลดลง 5.0% จากรอบ 9 เดือน ปี 2563 ด้านค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอยู่ที่ 22,597 ล้านบาท ลดลง 4.0% และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้อยู่ที่ 46% เป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนค่าใช้จ่ายสำรองฯ มีจำนวน 16,497 ล้านบาท ทรงตัวจากรอบ 9 เดือนปีก่อนหน้า เนื่องจากธนาคารยังคงตั้งสำรองฯ ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส ส่งผลให้มีกำไรสุทธิสำหรับรอบ 9 เดือน ปี 2564 อยู่ที่ 7,675 ล้านบาท ลดลง 13.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2564 อยู่ที่ 1,359 พันล้านบาท ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ชะลอลง 2.4% จากสิ้นปีที่แล้ว เป็นผลจากการที่ธนาคารยังคงเน้นการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง ทำให้ยอดชำระหนี้คืนยังคงสูงกว่ายอดสินเชื่อใหม่ ด้านหนี้เสียอยู่ที่ 44.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 43.5 พันล้านบาท และ 39.6 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 2 และสิ้นปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากฐานสินเชื่อที่ชะลอตัวจึงทำให้สัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมขยับมาอยู่ที่ 2.98% ยังคงเป็นไปตามแผนบริหารจัดการหนี้เสียและอยู่ในกรอบเป้าหมายที่วางไว้

ด้านเงินฝากอยู่ที่ 1,325 พันล้านบาท ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ชะลอลง 3.5% จากสิ้นปีที่แล้ว การเคลื่อนไหวด้านเงินฝากเป็นผลจากการบริหารสภาพคล่องให้สอดคล้องกับภาวะสินเชื่อ รวมทั้งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างเงินฝากภายหลังการรวมกิจการ โดยการปรับลดสัดส่วนเงินฝากประจำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเน้นการเติบโตของเงินฝากที่เป็นผลิตภัณฑ์หลัก เช่น บัญชี ttb all free ซึ่งยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

ด้านความเพียงพอของเงินกองทุนยังอยู่ในระดับสูงและเป็นลำดับต้นๆ ของอุตสาหกรรมธนาคาร โดย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2564 อัตราส่วน CAR และ Tier I (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 19.7% และ 15.6% ตามลำดับ ยังคงสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 11.0% และ 8.5%