• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

สทท. เชื่อท่องเที่ยวจะช่วยฟื้นศก.ไทย ตั้งเป้าปีนี้นทท. 16 ล้านคน

Started by Joe524, March 30, 2022, 11:31:51 AM

Previous topic - Next topic

Joe524

สทท. เชื่อท่องเที่ยวจะช่วยฟื้นศก.ไทย ตั้งเป้าปีนี้นทท. 16 ล้านคน รายได้ 1.2 ล้านลบ.

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย ไตรมาส 1/65 เท่ากับ 44 สะท้อนสถานการณ์การท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติมากที่สุด แม้จะดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน และต่ำกว่าไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อย

ทั้งนี้ เป็นผลจากการระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนในไตรมาสนี้ รวมถึงปัจจัยจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 40% ทำให้ต้นทุนการเดินทางเพิ่มขึ้น ส่งผลต่ออารมณ์ในการจับจ่ายและการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศให้ชะลอตัวลงในปลายไตรมาสนี้

อย่างไรก็ดี สทท. เชื่อมั่นว่า การท่องเที่ยวของไทยจะพลิกฟื้น และกลับมาเป็นเครื่องจักรสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ 20% ของ GDP ประเทศ สร้างงานให้คน 7.5 ล้านคนได้อีกครั้ง โดยตั้งเป้าปีนี้ จะต้องมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 16 ล้านคนสร้างรายได้ 1.2 ล้านล้านบาท

สำหรับไตรมาส 2/65 ผู้ประกอบการมองว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย เท่ากับ 40 เนื่องจากมีความกังวลปัจจัยเสี่ยงสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ ส่งผลให้ราคาน้ำมันสูง กระทบให้เกิดเงินเฟ้อ ทำให้คาดว่านักท่องเที่ยวจะชะลอการเดินทางมากกว่าปีที่แล้ว ส่วนในประเทศมาจากปัจจัยราคาน้ำมันเพิ่ม ชะลอการเดินทางที่ปกติจะใช้รถยนต์ส่วนตัวมากกว่า 50% ประกอบกับสถานการณ์โอมิครอนน่าจะถึงจุดพีคในช่วงเดือนเม.ย.

นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลกมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศท่องเที่ยวทั้งในภูมิภาคยุโรป อเมริกา และเอเชีย มีนโยบายเปิดประเทศต้อนรับชาวต่างชาติแล้ว ทุกประเทศใช้นโยบาย Ease-of-Traveling ผ่อนคลายมาตรการเข้า-ออกประเทศจนเกือบจะกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) มีมติให้ผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ สทท. เชื่อมั่นว่าการท่องเที่ยวของไทยจะพลิกฟื้นและกลับมาเป็นเครื่องจักรสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ 20% ของ GDP ประเทศ สร้างงานให้คน 7.5 ล้านคนได้อีกครั้ง และที่สำคัญ คือ ท่องเที่ยวเป็นกลไกที่จะแก้ปัญหาความยากจนได้เร็วและลึกที่สุด เพราะ Supply Chain ของท่องเที่ยวนั้นกว้างและลึก สามารถกระจายรายได้ตั้งแต่ผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง เกษตร อาหาร สุขภาพ ไปจนถึง SME และชุมชนในท้องถิ่น ดังนั้นหากภาคท่องเที่ยวกลับมา ความเป็นอยู่ของคนไทยก็จะดีขึ้นได้ทันที

พร้อมย้ำว่า เราจะต้อง Re-Design การท่องเที่ยวไทยให้ยั่งยืน โดยสร้างสมดุลใน 3 มิติ ได้แก่

การสร้างสมดุลที่ 1 ด้านการตลาด (Demand-Supply) คือการสร้างโอกาสทางการตลาดให้เพียงพอที่จะรักษาห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ภาคการท่องเที่ยวให้อยู่รอด รักษาการจ้างงานให้ได้ แล้วมาพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน หากถามว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเท่าใด รายได้เท่าใด ภาคการท่องเที่ยวถึงจะอยู่ได้ คำตอบคือ 40% ของปี 2562 ที่ผ่านมา ประเทศไทยลงทุนสร้าง Supply Chain รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ 40 ล้านคน นักท่องเที่ยวไทย 166 ล้านคน/ครั้ง รายได้รวม 3 ล้านล้านบาท เป้าหมายของ สทท. คือ ผลักดันให้เกิด Demand ให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 16 ล้านคน คนไทยเที่ยวไทย 75 ล้านคน/ครั้ง เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 1.2 ล้านล้านบาทให้ได้ และรายได้นี้จะก่อให้เกิดการจังงาน และจ่ายภาษีเป็นแสนล้านบาท
การสร้างสมดุลที่ 2 ด้านสินค้า (Natural-Manmade) คือ การเพิ่ม Man-made ลดการพึ่งพาและทำลายทรัพยากรธรรมชาติช่วงโควิด-19 ธรรมชาติกลับมาสมบูรณ์ขึ้น เราต้องรักษาไว้โดยหันมาโฟกัสการท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มที่มนุษย์เป็นผู้สร้างและบริการ เช่น กลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กลุ่มท่องเที่ยวเชิงกีฬา กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอาหาร, กลุ่มท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจและ MICE กลุ่มสายศรัทธา ฯลฯ เป็นต้น ที่สำคัญคือ กลุ่มการท่องเที่ยวชุมชน และกลุ่มท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบที่สอดรับกับนโยบาย BCG Model ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติด้วย
การสร้างสมดุลที่ 3 สมดุลเชิงพื้นที่ (City-Community) ซึ่งที่ผ่านมาเราประสบปัญหา Over Tourism ในแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง แต่แหล่งท่องเที่ยวอีกจำนวนมาก ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้าถึงมากนัก โดย สทท. จะใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี SMART Tourism เข้ามาช่วยผู้ประกอบการสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์ สร้างการเล่าเรื่อง สร้างโอกาสทางการตลาดกับแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ผ่านทั้งโลกออนไลน์ ออฟไลน์และโลก Metaverse เพื่อกระจายโอกาส ลดความเหลือมล้ำปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและ SDGs
"หลายคนมีความกังวลว่า การเปิดประเทศจะทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาทำลายสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติไม่เหมือนเดิม ซึ่งวิธีแก้ปัญหา คือ ต้องตั้งเป้าส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านอื่นๆ โดยต้องการงบประมาณเพิ่ม เช่น เพิ่มงบด้านการตลาดให้ททท. เป็นต้น" นายชำนาญ กล่าว
นายชำนาญ กล่าวว่า เราต้องสร้างสมดุลการท่องเที่ยวทั้ง 3 ด้านให้ลงตัว นอกจากนี้ ไทยก็ควรเปิดประเทศให้เร็วขึ้น โดยเดือนก.ค. 65 โรคโควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ซึ่งไทยควรเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการท่องเที่ยวให้เร็วขึ้น อาจเลื่อนมาเป็นเดือน พ.ค. โดยการเปิดประเทศต้องทำให้เร็ว ประกาศชัดเจนให้รับรู้ทั่วโลก

ด้านนายกิตติ พรศิวะกิจ ประธานคณะอนุกรรมการ Smart Tourism สทท. กล่าวว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ฟังเสียงนักท่องเที่ยว ฟังเสียงผู้ประกอบการ และนำมาทำแผนปฏิบัติการเชิงรุก ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

1. Ease of-Traveling ยกเลิก Thailand Pass ยกเลิกการตรวจ RT-PCR (Day 0) เมื่อเดินทางถึงประเทศไทย โดยอาจยังคงมีการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ไว้ 1 ครั้ง

2. จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อพัฒนา Supply-side เตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากร เทคโนโลยีการตลาด และสินค้า-บริการให้ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวยุคใหม่ ที่มีความสนใจเฉพาะมากขึ้น และเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจยังเดินต่อไปได้

3. การส่งเสริมการตลาดเชิงลึกในทุกมิติ ทุก Customer Journey โฟกัสกลุ่มเป้าหมายที่ลึกขึ้น เช่น การเจาะลึกตามชาติ วัย และความสนใจ และสร้าง Digital Media ให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ เพราะในยุคนี้ นักท่องเที่ยวที่สนใจบริการแบบเดียวกัน หากต่างภาษา ต่างวัย เราก็จำเป็นต้องมีการนำเสนออัตลักษณ์ (Signature ) สร้างเรื่องเล่า (Story) และใช้เครื่องมือสื่อสารที่ไม่เหมือนกัน

ดังนั้น สทท. ได้รวบรวมคนทำงานในหลายมิติ มาทำงานร่วมกัน มา Collaborate เพื่อเดินหน้าไปพร้อมกัน เช่น คณะทำงาน Metaverse Tourism / คณะทำงาน Halal Tourism / คณะทำงาน Smart Wellness ได้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้าง Halal Wellness Virtual Event เป็นต้น

ทั้งนี้ สทท. ประเมินการท่องเที่ยวไทยปี 65 ออกเป็น 3 ฉากทัศน์ คือ

1. เปิดประเทศวันที่ 1 ต.ค. 65 (ไม่มีนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน และรัสเซีย) ภายใต้เงื่อนไข ไม่มีการตรวจ RT-PCR โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น และไม่มีสงคราม คาดไทยมีนักท่องเที่ยว 5,600,000 คน

2. เปิดประเทศวันที่ 1 ก.ค. 65 ภายใต้เงื่อนไข ไม่มีการตรวจ RT-PCR โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น และไม่มีสงคราม คาดไทยมีนักท่องเที่ยว 12,000,000 คน

3. เปิดประเทศวันที่ 1 พ.ค. 65 (ฉากทัศน์ที่สทท. คาดหวังให้เป็น) ภายใต้เงื่อนไข ไม่มีการตรวจ RT-PCR โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น และไม่มีสงคราม คาดไทยมีนักท่องเที่ยว 16,000,000 คน

นอกจากนี้ สทท. มองเห็นความจำเป็นของการเพิ่มงบประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดให้กับหน่วยงานรัฐต่างๆ เช่น ททท. สสปน. อพท. เพราะช่วงเวลานี้คือโอกาสที่ดีในการแบ่งชิงโอกาสทางการตลาด และสร้างให้ประเทศไทยกลับมาเป็นผู้นำการท่องเที่ยวของโลกได้อีกครั้ง

ทั้งนี้ หากเรายังเดินหน้าการตลาดและนโยบายการเปิดประเทศแบบไม่เต็มตัว เราจะพลาดโอกาสทองที่ประเทศอย่าง ตุรกี ยูเออี มัลดีฟส์ ได้รับนักท่องเที่ยวในอัตรา 50-78% ตั้งแต่ปีที่แล้วในขณะที่ประเทศไทย เรามีนักท่องเที่ยวเข้ามาเพียง 1% เท่านั้น ซึ่งหากภาครัฐมีการปรับนโยบายการส่งเสริมค้านท่องเที่ยวเป็นเชิงรุกเต็มตัวตามข้อเสนอ จะมีโอกาสเพิ่มรายได้การท่องเที่ยวของปี 65 นี้จากที่ตั้งเป้าไว้เพียง 520,000 ล้านบาท เป็น 1.2 ล้านล้านบาทได้ ซึ่งรายได้ส่วนที่เพิ่มได้อีก 680,000 ล้านบาทนี้ จะกระจายไปถึงคนตัวเล็กอย่างแท้จริง

นายกิตติ กล่าวเสริมว่า สทท. ยินดีที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบและบริหารจัดการงบพัฒนาและส่งเสริมการตลาดให้ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ทางรัฐบาลมั่นใจได้ว่า งบประมาณที่ใช้จะเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย สามารถฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ แก้ปัญหาความยากจน สร้างความสมดุลและยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วนได้อย่างเป็นรูปธรรม

นายกิตติ กล่าวถึงประเด็นเรื่องราคาน้ำมันสูงว่า ในระยะสั้นยังไม่กระทบต่อเที่ยวบินที่จะเข้ามาในประเทศ ส่วนในช่วงเทศกาลสงกราต์คาดว่านักท่องเที่ยวจะเข้ามามากขึ้น เนื่องจากช่วงเม.ย. มีการผ่อนคลายการตรวจ RT-PCR เหลือครั้งเดียว โดยคาดว่าจะสร้างรายได้มากกว่าเดือนก่อนๆ 1-2 เท่า