• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

บล.ยูโอบี ชี้ ปิด เอเชียประกันภัย กดดันเซ็นทริเม้นท์ลงทุน 'หุ้นกลุ่มประกัน'

Started by Jessicas, October 18, 2021, 03:15:24 AM

Previous topic - Next topic

Jessicas



"บล.ยูโอบี เคย์เฮียน" ชี้ คลังสั่งปิด"เอเชียประกันภัย" กระทบต่อบรรยากาศลงทุนรวมของหุ้นไทยคงไม่มาก แต่คาดจะกระทบต่อบรรยากาศลงทุนหุ้นในกลุ่มประกันภัยบ้าง เหตุกังวลผลกระทบของการเคลมประกันโควิดที่จะมีต่อผลประกอบการไตรมาส 3/64

จากกรณีที่กระทรวงการคลัง มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ บริษัท เอเชียประกันภัย 1951 จำกัด  นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ( บล.)ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า  จากประเด็นดังกล่าว กระทบต่อบรรยากาศลงทุนรวมของหุ้นไทยคงไม่มาก แต่คาดว่าจะกระทบต่อบรรยากาศลงทุนหุ้นในกลุ่มประกันภัยบ้าง จากความกังวลผลกระทบของการเคลมประกันโควิด-19 ที่จะมีต่อผลประกอบการในช่วงไตรมาส 3/64

อย่างไรก็ตามภาพรวมของความแข็งแกร่งของบริษัทประกันภัยเบื้องต้น สามารถสามารถดูได้จากอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio: CAR) ซึ่งจะเป็นการดูเงินที่บริษัทสำรองไว้เทียบกับที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในกลุ่มของบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ 5 แห่ง มีอัตราส่วนดังกล่าวเกินกว่า 200% (อิงข้อมูลไตรมาส 1/63 จากสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย) ไม่ว่าจะเป็น วิริยะประกันภัย (205%), ทิพยประกันภัย (213%), กรุงเทพประกันภัย (236%), เมืองไทยประกันภัย (255%) หรือแม้แต่ สินมั่นคงประกันภัย (371%) ที่เคยมีประเด็นขอยกเลิกกรมธรรม์โควิด-19 ก็จะเห็นว่ามีการสำรองเงินกองทุนไว้ในระดับสูง

ดังนั้นถึงแม้จะมีปัญหาจากยอดเคลมที่น่าจะสร้างผลขาดทุนในระดับที่สูง แต่ในเชิงความเสี่ยงถึงขั้นปิดกิจการก็จะอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ค่าเฉลี่ยของเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยไทยอยู่ที่ 399% ถือว่าแข็งแกร่งในระดับหนึ่ง ทั้งนี้บริษัทประกันภัยที่เป็นบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มี CAR มากกว่า 200% ยกเว้นอาคเนย์ประกันภัย (134% ณ สิ้นไตรมาส 1/63) ทำให้มีโอกาสได้รับผลกระทบจากการเคลมประกันโควิด-19ที่สูงกว่าบริษัทประกันภัยที่เป็นบริษัทจดทะเบียนอื่น

อ่านข่าว : เปิดแนวทางช่วยเหลือ 3 กลุ่มได้รับผลกระทบ สั่ง'ปิดเอเชียประกันภัย'


โดยปกติแล้วการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ในช่วง 12 ปี ที่ผ่านมาเกิดขึ้นประมาณ 4 กรณี คือ สัมพันธ์ประกันภัย (2552), เอ.พี.เอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล (2553), สัจจะประกันภัย (2560), เจ้าพระยาประกันภัย (2561) โดยส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาของการดำรงเงินกองทุน มีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ หรือจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับชำระหนี้สินและภาระผูกพันไม่ครบถ้วน ส่วนใหญ่จะมาจากปัญหาส่วนตัวหรือระบบบริหารงานภายในของแต่ละบริษัท ทำให้มีลักษณะเป็นปัญหาเฉพาะราย

ทั้งนี้สถานการณ์ของบริษัทประกันในรอบนี้ที่เกิดจากสถานการณ์โควิด-19มีความแตกต่างอยู่พอสมควร และกระทบเป็นวงกว้าง กับบริษัทหลายรายจากความเสี่ยงเชิงระบบที่สูงขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19ในประเทศไทยย่ำแย่ลง ทำให้ความเสี่ยงจากการรับประกันภัยสูงขึ้นมากกว่าที่บริษัทประกันภัยเคยประเมินไว้ ซึ่งความเสี่ยงในการรับประกันภัยจริงๆของแต่ละรายก็ยังคงแตกต่างกันไปอีก ขึ้นกับหลายปัจจัย อาทิ ประเภทของกรมธรรม์โควิด-19ที่ขาย, การควบคุมความเสี่ยงในการรับประกัน, การเลือกช่องทางการขาย เป็นต้น อย่างเช่นบริษัทประกันภัยบางแห่งไม่รับประกันในลักษณะเหมาทั้งองค์กร หรือทั้งโรงงาน แม้จะเสียโอกาสในการรับเบี้ย แต่ในเชิงควบคุมความเสี่ยงก็จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าบริษัทประกันภัยที่รับประกันที่ไม่ได้คุมความเสี่ยงตรงนี้ 


สำหรับปัญหาของบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด น่าจะมาจากหลายปัจจัยรวมกัน ประกอบกับปัญหาของการเคลมประกันโควิด-19ที่ทำให้อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR)  ลดลงอย่างรวมเร็ว โดย ณ สิ้นไตรมาส 2/64 CAR ที่ 153% (ลดลงจากไตรมาส 1/64 ที่ 193%)

ขณะที่บริษัทถูกสั่งแก้ไขดำเนินผลประกอบการมาก่อนหน้านี้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งหลังการเข้าควบคุมการดำเนินงานทาง คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) คงเล็งเห็นแล้วว่าบริษัทไม่สามารถจ่ายชำระภาระผูกพันที่เกิดจากการเคลมประกัน โควิด-19ได้ จึงต้องใช้อำนาจนายทะเบียนในการสั่งระงับการรับประกันภัยใหม่ และเสนอให้ รมว.คลังเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งจะเปิดทางให้สามารถใช้กลไกของกองทุนประกันวินาศภัยเข้ามาดูแลผู้เอาประกัน