• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ก.ล.ต. ปักธง Data Driven Organization

Started by luktan1479, December 11, 2021, 05:25:02 PM

Previous topic - Next topic

luktan1479

ก.ล.ต. ปักธง Data Driven Organization เพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน

แต่ละวินาทีในตลาดทุนมีข้อมูลและข่าวสารเกิดขึ้นจำนวนมหาศาล ตั้งแต่การทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับหุ้น กองทุน ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ดิจิทัล ไปจนถึงข้อมูลด้านต่าง ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจและบุคลากรในตลาดทุน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้จัดเก็บ คัดกรอง และวิเคราะห์ เพื่อนำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) นี้ ไปทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการติดตามสถานการณ์ การกำกับดูแล และการตรวจหาสัญญาณความเสี่ยง รวมถึงนำมาใช้ในการกำหนดนโยบายด้านต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเป็นหลัก (data - driven organization) อันจะนำไปสู่การดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพและเสริมศักยภาพตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืน


สำหรับการนำ big data มาใช้ประโยชน์ และการขับเคลื่อน ก.ล.ต. ให้เป็น data - driven organization สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1.ติดตามและวิเคราะห์ภาพรวมอุตสาหกรรม (Industry and Risk Monitoring)

นอกจากการออกกฎเกณฑ์ที่คำนึงถึงการพัฒนาธุรกิจในตลาดทุน การคุ้มครองผู้ลงทุนที่เหมาะสม และการสร้างวัฒนธรรมและวินัย (self-discipline) ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและโปร่งใสให้กับผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ก.ล.ต. ยังได้พัฒนาระบบติดตามและวิเคราะห์ภาพรวมอุตสาหกรรม (Industry and Risk Monitoring) มาช่วยในการดูแลความเสี่ยงเชิงระบบ (systemic risk) เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน และโครงสร้างพื้นฐานในตลาดทุน


ระบบ Industry and Risk Monitoring เป็นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ ก.ล.ต. ได้รับจากผู้ประกอบธุรกิจในการกำกับ ติดตาม วิเคราะห์ภาพรวม ตลอดจนตรวจจับสัญญาณการเกิดความเสี่ยงหรือปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และภาพรวมอุตสาหกรรม เช่น ราคาหุ้นผันผวนผิดปกติ การไถ่ถอนกองทุนรวม

การผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ และด้านผู้ประกอบธุรกิจ เช่น การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ การดำเนินการ ที่เข้าข่ายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict Of Interest : COI) และความเสี่ยงด้านไซเบอร์ (cyber risk)

นอกจากนี้ ยังมีระบบติดตามภาพรวมผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน เพื่อให้การบริการรับเรื่องร้องเรียนมีประสิทธิภาพและสามารถติดตามความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่ได้จากระบบ Industry and Risk Monitoring จะนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแล ตามนโยบายส่งเสริมให้ ก.ล.ต. เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเป็นหลัก

2. ป้องกันและตรวจจับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (E-Enforcement)

E-Enforcement เป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงานและพัฒนาเครื่องมือที่ทันสมัยโดยเริ่มนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เช่น Machine Learning มาสร้างอัลกอริทึมที่สามารถเรียนรู้ข้อมูลขนาดใหญ่ที่เป็น big data และช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลทำได้รวดเร็วและสามารถช่วยให้การตัดสินใจในสิ่งที่ซับซ้อนทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งนำมาใช้ในการป้องกันและการตรวจจับการกระทำความผิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ รวมถึงการป้องปรามการกระทำผิด ซึ่งปัจจุบันมี 3 เครื่องมือ ประกอบด้วย

(1) AI-Enforcement เครื่องมือช่วยดักจับและสรุปภาพรวมพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายผิดปกติของผู้ต้องสงสัย รวมถึงช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อป้องปรามการกระทำอันไม่เป็นธรรม
(2) Corporate Surveillance เครื่องมือคัดกรองและตรวจจับธุรกรรมผิดปกติเบื้องต้นเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งธุรกรรมที่อาจนำไปสู่การกระทำไม่เหมาะสม
(3) E-link เครื่องมือช่วยตรวจสอบความเชื่อมโยงบุคคลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยจะช่วยในการวิเคราะห์และหาความเชื่อมโยงจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น ทางเงิน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

3. เชื่อมโยงข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Searchable and Notification Tool)
เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานรองรับการเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมแบบ data-driven โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอก ก.ล.ต. ให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ลดขั้นตอนในการทำงาน และใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้การทำงานสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก.ล.ต. จึงพัฒนาเครื่องมือ (Searchable and Notification Tool) โดยในปัจจุบันมี 2 เครื่องมือที่สำคัญ ได้แก่

(1) One Stop Query เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลและรายละเอียดของบุคคลและนิติบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ที่รวบรวมข้อมูลจากระบบงานต่าง ๆ ของ ก.ล.ต. จากนั้นนำมาเชื่อมโยงกับข้อมูลภายนอกที่เกี่ยวข้อง
(2) เครื่องมือในการอ่านความเห็นผู้สอบบัญชีจากงบการเงิน ด้วยเทคโนโลยี Robotic Process Automation (RPA) โดยเครื่องมือนี้จะแจ้งเตือนเมื่อพบข้อมูลในรายงานของผู้สอบบัญชีที่แสดงให้เห็นว่า "งบการเงินอาจมีความผิดปกติ" ซึ่งทำให้สามารถระบุงบการเงินที่อาจผิดปกติได้อย่างตรงเป้าหมายและทันเวลา จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านกำกับบัญชี

4. Open Data เพื่อการต่อยอดพัฒนาตลาดทุนไทย
นอกจากการนำ big data มาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานทั้งด้านกำกับดูแลและการพัฒนา รวมทั้งการกำหนดนโยบายของ ก.ล.ต. แล้ว ยังจัดทำข้อมูลเปิด (open data) ให้ทุกภาคส่วนสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน ข้อมูลนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาต บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ และสถิติด้านต่าง ๆ ในตลาดทุน เพื่อนำไปต่อยอดเป็นงานวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมในตลาดทุน ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืนได้

ในอนาคต ก.ล.ต. ยังมีแผนที่จะยกระดับการเปิดเผยข้อมูลเปิดแบบรวมศูนย์ หรือ Capital Market Data Center ซึ่งจะรองรับการเข้าถึงข้อมูลในหลายรูปแบบ พร้อมนำเทคโนโลยีขั้นสูงในการวิเคราะห์และสร้างความสัมพันธ์ข้อมูลมาปรับใช้มากขึ้น รวมทั้งจัดกิจกรรมในรูปแบบ hackathon ภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อระดมสมองสร้างนวัตกรรมและใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์

แม้ว่า data - driven organization จะเป็นการขับเคลื่อนองค์กรด้วย "ข้อมูล" แต่ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ การสร้างวัฒนธรรมที่ทุกคนในองค์กรมีแนวคิดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเหมือนกัน โดยเฉพาะการให้ความสำคัญของผู้บริหารระดับสูง หรือ "Tone from the Top" ที่ผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม และขับเคลื่อน ก.ล.ต. ให้เป็น data - driven organization ได้ในที่สุด