• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ADB ชี้โควิด-19 ทำคนเอเชีย 80 ล้าน ‘ยากจนขั้นรุนแรง’ 

Started by Shopd2, August 24, 2021, 10:41:40 PM

Previous topic - Next topic

Shopd2



ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ประเมินผลกระทบของโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ทำให้ประชากรราว 80 ล้านคนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเอเชียเข้าสู่ "ความยากจนขั้นรุนแรง" (extreme poverty) และอาจเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายขจัดปัญหาความยากจนและความหิวโหยระดับโลกภายในปี 2030

แบบจำลองของ ADB ระบุว่า อัตราความยากจนขั้นรุนแรงในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเอเชีย ซึ่งหมายถึงสัดส่วนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน จะลดลงเหลือเพียง 2.6% ในปี 2020 จากระดับ 5.2% ในปี 2017 หากไม่เกิดโรคระบาดโควิด-19 ทว่า วิกฤตสาธารณสุขที่เกิดขึ้นทำให้อัตราความยากจนขั้นรุนแรงพุ่งสูงกว่าที่ประเมินไว้ราว 2%

รายงานของ ADB ย้ำว่า ตัวเลขอาจจะสูงยิ่งกว่านี้ หากพิจารณาถึงความไม่เท่าเทียมในด้านต่างๆ เช่น สุขภาวะ การศึกษา และการหยุดชะงักของงาน (work disruptions) ที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากโควิด-19 ทำให้การเคลื่อนย้ายของประชากรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ หยุดชะงัก

"ผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและสังคมจากมาตรการควบคุมโรคยังคงปรากฏให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ประชากรจำนวนมากต้องดิ้นรนเพื่อหาเลี้ยงปากท้อง และสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าสู่วงจรของความยากจน" ADB ซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงมะนิลา ระบุ

ในบรรดาประเทศกำลังพัฒนา 46 ชาติ และประเทศพัฒนาแล้ว 3 ชาติในเอเชียแปซิฟิกที่เป็นสมาชิกของ ADB มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่เศรษฐกิจยังคงเติบโตได้ในปีที่ผ่านมา ขณะที่อัตราการจ้างงานที่ลดลงส่งผลให้ชั่วโมงการทำงานในภูมิภาคนี้ลดลงประมาณ 8% ซึ่งส่งผลกระทบมากเป็นพิเศษต่อครัวเรือนที่มีฐานะยากจน และแรงงานนอกระบบ (informal sector)

ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากพิษโควิด-19 ยังเพิ่มความท้าทายให้ภูมิภาคนี้ในการที่จะบรรลุซึ่งเป้าหมายด้านการพัฒนาที่องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้กำหนดไว้เมื่อปี 2015

รัฐสมาชิกยูเอ็นได้มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development goals : SDGs) 17 ประการ ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ท้าทายตั้งแต่การขจัดปัญหาความยากจน เรื่อยไปจนถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศ รวมถึงขยายโอกาสทางการศึกษาและบริการด้านสาธารณสุขให้ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มภายในปี 2030

"เอเชียและแปซิฟิกมีระดับความก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจ ทว่า สถานการณ์โควิด-19 เผยให้เห็นรอยแยกทางเศรษฐกิจที่อาจจะบั่นทอนการพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบองค์รวมของภูมิภาคนี้" ยาสุยุกิ ซาวาดะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ADB ระบุในถ้อยแถลง

ที่มา : รอยเตอร์