• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ไทยนั่งดัชนีนวัตกรรมโลกอันดับ 43 ชุดข้อมูลไม่ต่อเนื่อง

Started by Chigaru, September 21, 2021, 10:59:20 AM

Previous topic - Next topic

Chigaru



ไทยคว้าอันดับ 43 ในตารางดัชนีนวัตกรรมโลกปี 64 จากทั้งหมด 132 ประเทศ ครองแชมป์อันดับ 1 ของโลกด้านการลงทุนวิจัยและพัฒนาขององค์กรธุรกิจไทย พบยังมีปัญหาข้อมูลไม่อัปเดททำให้ส่งรายงานไปปรับคะแนนได้ไม่เต็มที่ ย้ำองค์กรไทยทุกฝ่ายต้องบูรณาการร่วมกันมากขึ้น

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวถึงการจัดอันดับ GII 2021 ภายใต้แนวคิด Tracking Innovation through the COVID-19 Crisis ว่าเป็นการมุ่งเน้นการวิเคราะห์ผลกระทบของวิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อการพัฒนาระบบนวัตกรรม โดยผลการจัดอันดับความสามารถทางด้านนวัตกรรมในปีนี้ ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 43 ปรับเพิ่มขึ้น 1 อันดับจากปี 63 ที่อยู่อันดับ 44

"ในรายงานนี้มีชุดข้อมูลที่เราไม่ได้ส่ง เป็นข้อมูลที่ล้าหลัง ผมคิดว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของหน่วยงานราชการที่ดูแลข้อมูลเหล่านี้ มาทำงานร่วมกันให้ข้อมูลเหล่านี้อัปเดทและเจาะลึกที่สุด เราจึงเน้นที่ Data driven innovation เพราะเป็นเรื่องสำคัญ ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดก็สามารถเพิ่มอันดับของไทยได้ เพราะสะท้อนศักยภาพของระบบนิเวศน์จริงๆ"

  ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ 
ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

ไทยถือเป็นอันดับ 3 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ที่อยู่อันดับ 8 และมาเลเซียอันดับ 36 ในตารางการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก ประจำปี 2564 (Global Innovation Index 2021; GII 2021) ภายใต้แนวคิด "ติดตามการปรับตัวระบบนวัตกรรมในภาวะวิกฤตโควิด-19" หรือTracking Innovation through the COVID-19 Crisis ซึ่งจัดโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) เพื่อวัดระดับความสามารถทางด้านนวัตกรรมของแต่ละประเทศกว่า 132 ประเทศทั่วโลก โดยในปีนี้ประเทศไทยแซงเวียดนามเฉียดฉิวที่ตามมาในอันดับ 44

ดัชนีนี้จัดให้ไทยมีปัจจัยค่าใช้จ่ายมวลรวมภายในประเทศสำหรับการวิจัยและพัฒนาซึ่งลงทุนโดยองค์กรธุรกิจสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 สะท้อนให้เห็นการลงทุนของภาคเอกชนในประเทศไทยมุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจด้วยการพัฒนานวัตกรรมมากขึ้น



ขณะที่ปัจจัยย่อยผลผลิตทางนวัตกรรม (Innovation output sub-index) มีอันดับลดลงจากอันดับที่ 44 ลดลงเป็นอันดับที่ 46 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับบน (upper middle-income economies) ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 5 จาก 34 ประเทศ โดยประเทศไทยมีอันดับที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยในทุกปัจจัย แต่หากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 9 จาก 17 ประเทศ



ที่โดดเด่นที่สุดคือปัจจัยชี้วัดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศไทยในกลุ่มปัจจัยด้านระบบตลาด และกลุ่มปัจจัยด้านระบบธุรกิจ พบว่าแม้จะมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับที่ดี โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายมวลรวมภายในประเทศสำหรับการวิจัยและพัฒนาซึ่งลงทุนโดยองค์กรธุรกิจ ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดสำหรับปีนี้เป็นกลุ่มปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ปรับอันดับขึ้นจากอันดับที่ 79 เป็นอันดับที่ 60

ตัวชี้วัดภายใต้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเข้าถึงและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงการบริการออนไลน์ของภาครัฐ สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการปรับตัวของภาครัฐและภาคเอกชนในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด-19 ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมข้อมูล (Data–driven Innovation)

สิ่งสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดด้านข้อมูลในการติดตามและวัดผลนวัตกรรมไทย คือการขาดข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งจากตัวชี้วัดทั้งสิ้น 81 ตัวชี้วัด มีถึง 16 ตัวชี้วัดที่ต้องนำข้อมูลในอดีตมาประมาณการ และมี 1 ตัวชี้วัดที่ไม่ได้มีการจัดเก็บหรือรายงานผล ส่งผลกระทบต่อการจัดอันดับในภาพรวมและการติดตามเพื่อวางแผนการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ



ข้อมูลหลักที่ขาดไปคือตัวชี้วัดด้านการร่วมลงทุน ทั้งในส่วนของนักลงทุนและบริษัทที่ได้รับการลงทุน โดยช่วงที่ผ่านมาถือได้ว่าประเทศไทยมีความตื่นตัวและการเติบโตด้านนี้เป็นอย่างมาก แต่ไม่ได้มีการติดตามหรือจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้ข้อมูลในส่วนนี้มีความคลาดเคลื่อนและส่งผลต่อการจัดอันดับในกลุ่มปัจจัยด้านการลงทุน

บทสรุป 7 มาตรการขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมเร่งด่วนที่ไทยควรดำเนินการเพื่อเพิ่มดัชนีนวัตกรรมคือ 1) การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมที่มีศักยภาพ 2) การพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ 3) การปรับปรุงกฎ ระเบียบ และมาตรการที่เป็นอุปสรรค 4) การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้และการลงทุน 5) การใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม 6) การกระจายโอกาสด้านนวัตกรรมไปสู่ภูมิภาค และ 7) การเตรียมความพร้อมต่อระบบนวัตกรรมที่กำลังเปลี่ยนไป

หากทำได้ ประเทศไทยจะมีความพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็น "ประเทศแห่งนวัตกรรม" อาจจะขับเคลื่อนนวัตกรรมประเทศไทยให้ก้าวสู่อันดับ 1 ใน 30 ของประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก ภายในปี 2573.