• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

วิกฤติตลาดหุ้นและการฟื้นตัว

Started by Chigaru, November 30, 2021, 01:17:09 PM

Previous topic - Next topic

Chigaru

วิกฤติตลาดหุ้นและการฟื้นตัว

บทความโดย : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ( Value Investor ) ชั้นแนวหน้า

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยตกลงมา 37.85 จุดหรือลดลง 2.3% และเป็นการปรับตัวลงแรงตามตลาดหุ้นทั่วโลกที่ลดลงมาในระดับเดียวกัน อย่างเช่นดัชนีดาวโจนส์ที่ลดลงมา 2.53% และดัชนีนิกเกอิก็ลดลงมา 2.53% เท่ากันพอดี  การลดลงในลักษณะคล้าย  ๆ  กับ  "แพนิก" หรือตกใจนั้น  นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าเป็นเพราะนักลงทุนหวั่นวิตกว่าโรคโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ที่อาจจะร้ายแรงจนวัคซีนที่มีอยู่อาจจะไม่สามารถป้องกันได้ซึ่งอาจจะทำให้ต้องปิดเมืองกันทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง  บางคนก็เสริมว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของสหรัฐอาจจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาด  ดังนั้นนักลงทุนจึงเทขายหุ้นกันจนกลายเป็นแพนิก  แต่สิ่งที่นักลงทุนกลัวจริง ๆ  นั้นน่าจะอยู่ที่ว่ามันจะนำไปสู่การตกลงของหุ้นจนอาจจะเป็นวิกฤติในช่วงต่อไปมากกว่า  เพราะเหตุผลที่หุ้นจะลดลงต่อเนื่องและรุนแรงในระดับที่เป็นวิกฤตินั้นมีอยู่แล้วนั่นก็คือ  หุ้นมีราคาปรับขึ้นไปสูงมากเป็น  "All Time High" อานิสงค์สำคัญก็คือ  สภาพคล่องทางการเงินล้นทั่วโลก  และนี่ก็ใกล้วันที่จะมีการดูดเม็ดเงินกลับซึ่งจะทำให้สภาพคล่องลดลงต่อเนื่อง  ว่าที่จริงจะมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือไม่  โอกาสที่หุ้นจะตกหนักก็มีอยู่แล้ว  ลองมาดูประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวิกฤติของตลาดหุ้นกัน

 

ผมจะใช้ตลาดหุ้นสหรัฐย้อนหลังไปประมาณ 20 ปีและเริ่มจากวิกฤติหุ้นไฮเท็คในปี 2000  ซึ่งก็ก่อให้เกิดวิกฤติไปทุกตลาดรวมถึงหุ้นในดัชนีดาวโจนส์ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นยักษ์และหุ้นในดัชนี S&P ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นหลัก ๆ ทั้งประเทศของสหรัฐ  สิ่งที่ผมพบนั้นน่าสนใจในแง่ที่ว่าวิกฤตินั้นมักจะเกิดขึ้นตอนที่ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นไปสูงสุด  ตลาดหุ้นร้อนแรงแบบ  "ลุกเป็นไฟ" ซึ่งก็เป็นภาวะตลาดหุ้นในปัจจุบัน  


นอกจากนั้น  ผมก็จะแสดงให้เห็นการฟื้นตัวหลังวิกฤติทุกครั้งที่ดัชนีตลาดหุ้นมักจะปรับตัวขึ้นไปต่อเนื่องยาวนานจนถึง Peak หรือถึงจุดสุดยอดอีกครั้งก่อนที่จะเกิดวิกฤติตามมา  ส่วนเรื่องสาเหตุหรือเหตุผลที่ก่อให้เกิดวิกฤตินั้น  เอาแน่นอนอะไรไม่ได้  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตอนนั้น  ที่นักวิเคราะห์ก็มักจะสรุปเอาว่าเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤติหลังจากที่หุ้นถล่มลงไปแล้ว  แต่สำหรับผมเอง  ลึก ๆ  แล้ว  ผมคิดว่าบางทีสิ่งที่พูดนั้นมันคล้าย  ๆ  กับเป็น  "แพะ" ไม่ได้เป็นคนทำให้เกิดขึ้นแต่บังเอิญ "โผล่" ออกมาตอนนั้น
 

วิกฤติแรกก็คือวิกฤติหุ้นไฮเท็คนั้นเกิดขึ้นเมื่อดัชนีแนสแด็กขึ้นถึงจุดสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2000 ที่ประมาณ 7,651 จุด  หลังจากนั้นดัชนีก็ปรับตัวลงมาอย่างแรง  ใช้เวลาประมาณ 2 ปี 7 เดือนก่อนที่จะถึงจุดต่ำสุดในเดือนกันยายน 2002 ที่ดัชนี 1,791 จุด  และเป็นการปรับตัวลดลงถึง 77%  หุ้นไฮเท็คที่ร้อนแรงแม้แต่หุ้นอย่างอะมาซอนก็ตกลงไปกว่า 90% เป็น "หายนะ" ก่อนที่จะกลายเป็นหุ้นยักษ์ในวันนี้

 

ดัชนีหุ้น S&P หรือก็คือตลาดหุ้นโดยรวมไม่ได้ตกลงตามทันทีแต่กลับขึ้นไปถึงจุดสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2000 ที่ 2,430 จุดก่อนที่จะตกลงมาอย่างแรงเป็นวิกฤติตามมาจนเหลือแค่ 1,246 จุดในเดือนกันยายน 2002 หรือลดลงถึง 48% ในช่วงเวลา 2 ปี 1 เดือน  ในขณะที่หุ้นขนาดใหญ่ในดัชนีดาวโจนส์นั้นพีกไปก่อนตั้งแต่เดือนธันวาคม 1999 ที่ 18,890 จุด และตกลงมาต่อเนื่องจนถึง "พื้น" ที่ 11,600 จุดหรือลดลง 39% ในเดือนกันยายน 2002 ใช้เวลาในการตกลงมาประมาณ 2 ปี 9 เดือน  ข้อสรุปก็คือ  ในยามวิกฤตินั้น  หุ้น "เก็งกำไรตัวเล็ก"  ซึ่งมักจะ "โตเร็ว"   เวลาวิกฤติจะตกหนักที่สุด  หุ้นตัวใหญ่มั่นคงจะตกน้อยที่สุด  และการตกลงมานั้นมักจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี  โดยที่หุ้นทุกประเภทจะลงมาที่จุดต่ำสุดพร้อม ๆ  กันเช่นเดียวกับช่วงเวลาที่หุ้นขึ้นถึงจุดสูงสุดก็อยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
 


หลังจากหุ้นทั้งหมดตกลงไปถึงพื้นในเดือนกันยายน 2002 หุ้นทุกกลุ่มก็เริ่มฟื้นตัวพร้อม ๆ  กันและดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ  ดัชนีแนสแด็กปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 5 ปี 1 เดือนจนถึงเดือนตุลาคม 2007 ที่ 3,785 ซึ่งเป็นจุดสูงสุด  หรือเป็นการปรับขึ้นถึง 111% ให้ผลตอบแทนทบต้นปีละประมาณ 15.9% ซึ่งถือว่าดีเยี่ยม  แต่แล้วหลังจากนั้นหุ้นก็ถล่มเพราะ "วิกฤติซับไพร์ม"  ดัชนี S&P ก็พีกในเดือนตุลาคม 2007 เช่นเดียวกันที่ 2,051 จุด ปรับเพิ่มขึ้นถึง 65% ในเวลา 5 ปี 1 เดือนหรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละ 10.3% ไม่เลวเลย  ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์นั้นพีกไปก่อนเล็กน้อยในเดือนกันยายน 2007 ที่ 18,440 จุด เพิ่มขึ้น 59% ในช่วงเวลา 5 ปีหรือคิดเป็นผลตอบแทนทบต้น 9.7% ซึ่งก็ถือว่าเป็นผลตอบแทนที่ใช้ได้เมื่อเทียบกับการเป็นบริษัทขนาดยักษ์ที่มั่นคงมากในการลงทุนสำหรับคนทั่วไป

 

วิกฤติซับไพร์มของปี 2008 นั้น  ทำให้ดัชนีแนสแด็กตกลงมาอย่างแรงและต่อเนื่องจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2009 ดัชนีลดลงเหลือเพียง 1,795 จุด คิดเป็นการตกลงมาถึง 53% ในเวลา 1 ปี 4 เดือน   ส่วนของ S&P ดัชนีก็ตกถึงพื้นพร้อมกันในเดือนกุมภาพันธ์ 2009 ที่ 958 จุด หรือลดลง 53% เท่ากันพอดี ในช่วงเวลา 1 ปี 4 เดือนเช่นเดียวกัน  ในด้านของดาวโจนส์เองนั้น  ดัชนีตกลงมาเหลือ 9,203 จุดหรือลดลง 50% ในช่วงเวลา 1 ปี 5 เดือน  ข้อสรุปก็คือ  หุ้นใหญ่ก็ยังตกน้อยกว่าหุ้นเล็กแต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้น้อยกว่ามาก  ในขณะที่ช่วงเวลาหุ้นพีกและตกลงถึงพื้นนั้นแทบจะตรงกันหมดและลดลงเมื่อเทียบกับอดีต  นี่ก็อาจจะเป็นเพราะว่าวิกฤติซับไพร์มนั้นรัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลืออัดสภาพคล่องเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและตลาดหุ้นมหาศาลเทียบกับวิกฤติครั้งก่อน ๆ ซึ่งทำให้สามารถผ่านพ้นวิกฤติเร็วขึ้นและทำให้ธุรกิจและหุ้นฟื้นตัวแรงและเร็วกว่าที่ควรจะเป็นมาก

 

ดัชนีแนสแด็กปรับตัวขึ้นต่อเนื่องยาวนานหลังซับไพร์มจนถึงเดือนมกราคม ปี 2020 ที่ 9,810 จุด คิดเป็นการปรับตัวขึ้นถึง 447% ในเวลา 10 ปี 11 เดือน ให้ผลตอบแทนทบต้นถึงปีละประมาณ 16.8% และต้องเรียกว่าเป็น  "ทศวรรษทอง" ของหุ้นไฮเท็คโดยเฉพาะที่เป็นดิจิทัล   ส่วนของดัชนี S&P เองก็ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นเช่นกันและไปพีกที่เดือนธันวาคม 2019 ที่ 3,476 จุด หรือเพิ่มขึ้น 263% คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละ 12.6%  ในช่วงเวลา 10 ปี 10 เดือน  ในเวลาเดียวกัน  ดัชนีดาวโจนส์ก็ปรับตัวขึ้นใกล้เคียงกันคือไปถึงจุดสูงสุดที่ 30,707 จุดหรือเพิ่มขึ้น 234% คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละ 11.8% ในช่วงเวลา 10 ปี 10 เดือน  และนี่ก็เป็นการยืนยันว่าหุ้นขนาดใหญ่มักจะโตช้ากว่าหุ้นที่เล็กกว่าและ/หรือเป็นธุรกิจสมัยใหม่กว่า  ส่วนหุ้นทั้งประเทศก็จะอยู่ระหว่างกลางทั้งการตกและการขึ้นของหุ้น

 

วิกฤติที่ตามมาหลังจากหุ้นวิ่งขึ้นไปอย่างร้อนแรงจนเป็นจุดสูงสุดในรอบล่าสุดนี้ก็เป็นอย่างที่รู้คือ  วิกฤติโควิด-19 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อโลกโดยเฉพาะอเมริกาตระหนักว่ามันเป็น  "Pandemic" คือโรคนั้นร้ายแรงและติดต่อและกระจายไปทั่วโลกตั้งแต่ช่วงต้นปี 2520  ดัชนีแนสแด็กปรับตัวลดลงอย่างแรงในช่วงสั้น ๆ  30-40%  อย่างไรก็ตามถ้ามองเป็นเดือนก็พบว่าดัชนีหุ้นตกลงมาถึงพื้นในเดือนมีนาคม 2520 เหลือ 8,255 จุด หรือลดลง 16% เช่นเดียวกัน  ดัชนี S&P ลดลงเหลือ 2,771 จุด  หรือลดลง 20% และดัชนีดาวโจนส์ลดลงเหลือ 23,495 จุดหรือลดลง 23% ภายในเวลาเพียง 3 เดือน  แต่หลังจากนั้น  ด้วยมาตรการของรัฐบาลในการ "แจกเงินชดเชย" ให้กับประชาชนที่ต้องหยุดงานอยู่ที่บ้าน  ประกอบกับการพัฒนาของแพลทฟอร์มการเทรดหุ้นที่ทำให้นักลงทุนรายย่อยสามารถลงทุนได้อย่างสะดวกและแทบจะไม่เสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขายส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรมหาศาลในหุ้น  ตลาดก็ฟื้น  ดัชนีหุ้นวิ่งขึ้นอย่างแรงและเร็วมากจนไม่น่าเชื่อโดยเฉพาะหุ้นดิจิทัลซึ่งไม่ถูกกระทบเลยจากการปิดเมือง  แต่กลับได้ประโยชน์มหาศาลเมื่อคนหันมาใช้บริการของบริษัทดิจิทัลขนาดยักษ์ทั้งหลาย

 

ดัชนีหุ้นทุกตัวฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและปรับตัวขึ้นเป็นสถิติสูงสุดใหม่หลังตกลงมาถึงพื้นในเดือนมีนาคม 2020 เฉพาะอย่างยิ่งดัชนีแนสแด็กปรับขึ้นเป็น 15,845 จุดในเดือนพฤศจิกายน 2021 คิดเป็นการเพิ่มถึง 92% ในเวลา 1 ปีกับ 7 เดือน  ดัชนี S&P ขึ้นไปเป็น 4,605 จุดหรือเพิ่มขึ้น 66% ในเวลา 1 ปี 7 เดือน  และดาวโจนส์ถึงจุดพีกในเดือนตุลาคม 2021 ที่ 35,820 จุดในช่วงเวลาเดียวกัน  นี่เป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นสั้นมากและฟื้นตัวเร็วมากที่สุดในประวัติศาสตร์จนแทบจะไม่เห็นเลยในเส้นกราฟที่ยาวนานหลายสิบปี  ประเด็นก็คือ   เป็นไปได้ไหมว่า "วิกฤติจริง" อาจจะใกล้เกิดขึ้นอีกรอบหนึ่ง  และรอบนี้ก็อาจจะมีแพทเทิร์นหรือรูปแบบที่มักจะเกิดขึ้นในอดีตที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดจริงและใช้เวลาหลายปีก่อนที่จะฟื้นกลับมาใหม่และเติบโตอย่างต่อเนื่องไปอีกหลายปี  เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์  และเมื่อเกิดขึ้น  จะเป็นอย่างเดิมไหมที่หุ้นโตเร็วแบบหุ้นดิจิทัลยุคใหม่จะตกหนักที่สุด