• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

เชฟรอนร่วมสนับสนุนไซเครส

Started by PostDD, December 12, 2021, 03:19:14 PM

Previous topic - Next topic

PostDD

เชฟรอนร่วมสนับสนุนไซเครส (ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช) ศึกษาฉีดวัคซีนโควิด-19 เข้าในชั้นผิวหนัง

สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน โดยภาพรวมมีแนวโน้มคลี่คลาย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ขณะที่จำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีคนไทยได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้วถึง 48 ล้านคน หรือกว่า 66.7 เปอร์เซ็นต์ของประชากร ขณะที่ประชากรกว่า 41.2 ล้านคนได้รับวัคซีนครบสองโดสแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564) เข้าใกล้เป้าหมายของภาครัฐที่ต้องการให้ประชากร 50 ล้านคน หรือ 70 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการ ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจากวิกฤตในครั้งนี้ได้อย่างแข็งแกร่ง


ด้วยเหตุนี้ การได้รับวัคซีนครบ 2 โดส ให้เร็วที่สุด จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้น โดยวัคซีนแต่ละชนิดมีระยะห่างระหว่างการฉีดเข็มที่ 1 และ 2 แตกต่างกันไป ตั้งแต่ 4 ถึง 12 สัปดาห์ นอกจากนี้ในสภาวะการขาดแคลนวัคซีน การใช้ปริมาณวัคซีนน้อยที่สุดจะสามารถกระจายวัคซีนได้มาก และสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติการฉีดวัคซีนตามมาตรฐานทั่วไปจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สำหรับวัคซีนไฟเซอร์ 1 ขวด แบ่งฉีดได้ 6 โดส ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1 ขวด แบ่งฉีดได้ 12 โดส

และนี่คือโจทย์ของโครงการนำร่องการศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ด้วยการฉีดเข้าในผิวหนัง ที่ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (Siriraj Institute of Clinical Research หรือ SICRES) และร่วมสนับสนุนงบประมาณโดยบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข้าในชั้นผิวหนัง (Intradermal หรือ ID) จากปกติที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งมีการศึกษาการฉีด 2 รูปแบบ แบบแรกศึกษาโดยการเลียนแบบการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ที่จะฉีดครั้งละ 2 จุด ห่างกัน 7 วัน และการฉีดแบบ 1 จุด ห่างกัน 21-28 วัน ซึ่งใช้ปริมาณวัคซีนเพียงเข็มละ 15-20% ของขนาดปกติที่ให้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อนั้น จะมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกัน และอาการไม่พึงประสงค์ลดลงหรือไม่ แตกต่างจากการให้วัคซีนโดยการฉีดเข้าทางกล้ามเนื้ออย่างไร อันจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการให้วัคซีนกับประชากรในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยประหยัดปริมาณการใช้วัคซีนภายในประเทศได้ และยังได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการให้วัคซีนโควิด-19 กับประชากรไทยในอนาคตอีกด้วย

เพิ่มการเข้าถึงวัคซีน กระจายสู่ประชากรได้มากขึ้น


ผศ.ดร.พญ.สุวิมล นิยมในธรรม หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวถึงที่มาและแนวคิดของการศึกษาในครั้งนี้ว่า "จากการศึกษาที่ผ่านมาถึงการให้วัคซีนโดยการฉีดเข้าในผิวหนังของวัคซีนหลายๆ โรค พบว่ามีประสิทธิภาพที่ดีกว่าหรือเทียบเท่ากับการให้วัคซีนโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์จากการให้วัคซีนโดยการฉีดเข้าในผิวหนังก็น้อยกว่าการให้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จึงคาดว่าการให้วัคซีนโควิด-19 โดยการฉีดเข้าในผิวหนังก็น่าจะให้ผลดีเช่นเดียวกัน นอกจากนี้การให้วัคซีนโดยการฉีดเข้าในผิวหนังโดยทั่วไปจะใช้ปริมาณประมาณ 10% - 20% ของขนาดปกติที่ให้โดยการฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ ซึ่งคาดว่าน่าจะเพียงพอในการสร้างภูมิคุ้มกัน และอาการไม่พึงประสงค์ก็น่าจะลดลง"

นอกจากนี้ทางทีมวิจัยยังมีแนวคิดในการย่นระยะเวลาระหว่างการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 และ 2 ด้วยสูตรเร่งด่วน ซึ่ง ผศ.ดร.พญ.สุวิมล ให้เหตุผลว่า "จากการศึกษาที่ผ่านมา แนวทางหนึ่งในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสให้เกิดขึ้นได้เร็วคือการทำให้ร่างกายคุ้นเคยกับไวรัสด้วยการฉีดวัคซีนพร้อมกันหลายจุด และฉีดเข็มกระตุ้นโดยเว้นระยะเวลาไม่นาน ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับวัคซีนครบ และกระตุ้นภูมิโดยเร็ว จะทำให้การป้องกันโรคเต็มที่เกิดขึ้นได้เร็วกว่า โดยการศึกษาในครั้งนี้จะแบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับวัคซีนโควิด-19 คนละชนิด โดยฉีดเข้าในผิวหนังของอาสาสมัครครั้งละ 2 จุด โดยมีระยะเวลาของการฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 และ 2 ห่างกัน 7 วัน โดยจะเทียบกับการฉีด 1 จุด ห่างกัน 28 วัน ในปริมาณราว 15-20% ของขนาดปกติที่ให้โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ"

ผศ.ดร.พญ.สุวิมล กล่าวต่อไปว่า "เราพบว่ากลุ่มอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทางผิวหนังสูตรเร่งด่วน แบบการย่นระยะเวลาให้เหลือเพียง 7 วันนั้น มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเทียบกับการฉีดเข้าในผิวหนัง 1 จุด ห่างกัน 21-28 วัน พบว่า มีระดับภูมิคุ้มกันขึ้นด้อยกว่า ซึ่งการฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง ทั้ง 2 รูปแบบ พบว่าเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีด เช่น ปวดหัว ไข้ขึ้น หรืออาการข้างเคียงอื่น ๆ ลดลง และช่วยประหยัดวัคซีนได้ถึง 5 เท่า จึงสรุปได้ว่า การฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง เป็นการจัดสรรวัคซีนให้เกิดประโยชน์สูงสุด กระจายสู่ประชากรได้จำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเว้นระยะห่างเพียง 21-28 วัน จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับที่ดี และลดอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดได้อีกด้วย"

ผลักดันและต่อยอด

ศ.พญ. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "เราเล็งเห็นว่าองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยนี้จะมีประโยชน์ต่อภารกิจบริหารจัดการวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในพื้นที่ต่างๆ นอกเหนือจากประเทศไทย เราจึงมีความตั้งใจที่จะศึกษาและนำผลการศึกษายื่นต่อองค์การอนามัยโลกด้วย ขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ช่วยผลักดันทีมวิจัยศึกษาตั้งแต่ต้น และศึกษาต่อไปในเฟสระยะยาวเช่นกัน รวมถึงบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่ร่วมสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการนี้"

นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า "เรายินดีที่ได้ร่วมสนับสนุนโครงการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งจะมีส่วนในการสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้ไม่เพียงสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศรายได้น้อยซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 1 เข็ม เพียง 6 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น อันจะมีส่วนช่วยเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมจากวิกฤตในครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน"