• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ทริสฯ คงอันดับเครดิตองค์กร-หุ้นกู้ของ BAM ที่ 'A-' แนวโน้ม Stable

Started by Cindy700, March 30, 2022, 04:35:51 AM

Previous topic - Next topic

Cindy700

ทริสฯ คงอันดับเครดิตองค์กร-หุ้นกู้ของ BAM ที่ 'A-' แนวโน้ม Stable
 

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดปัจจุบันของ บมจ.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) ที่ระดับ 'A-' ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต 'Stable' หรือ 'คงที่'

อันดับเครดิตสะท้อนถึงประสบการณ์ที่ยาวนานและความเป็นผู้นำในตลาดบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบริษัท นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงระดับการก่อหนี้และความสามารถในการสร้างรายได้ในระดับปานกลางของบริษัท รวมถึงการมีแหล่งเงินทุนที่กระจายตัวด้วย

อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ ความเสี่ยงในด้านการกำหนดราคาซื้อสินทรัพย์ ความเสี่ยงระดับมหภาค และความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของสินทรัพย์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการทางการเงินของบริษัทได้หากไม่มีการควบคุมที่ดี อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งมองว่าความเชี่ยวชาญของบริษัทในการตั้งราคาซื้อขายสินทรัพย์ ตลอดจนกลยุทธ์ในการเลือกลงทุน และการกระจายตัวของประเภทสินทรัพย์และสถานที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นปัจจัยที่ช่วยลดทอนความเสี่ยงดังกล่าวลงได้ในระดับหนึ่ง

ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต

มีความเป็นผู้นำในตลาดบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ สถานะทางธุรกิจที่แข็งแกร่งของบริษัทสะท้อนถึงสถานะผู้นำทางการตลาดในธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยสถานะความเป็นผู้นำทางการตลาดนั้นมาจากการมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับธนาคารหลายแห่ง ในขณะเดียวกัน ประสบการณ์ที่ยาวนานในการตั้งและประเมินราคาสินทรัพย์รวมทั้งฐานข้อมูลที่ครอบคลุมกว้างขวางซึ่งช่วยในการเลือกซื้อสินทรัพย์ที่ดีในราคาที่เหมาะสมนั้นยังเป็นจุดแข็งสำคัญของบริษัทอีกด้วย
ถึงแม้ว่า ณ สิ้นปี 2564 สินทรัพย์รวมทั้งหมดของบริษัทจะลดลง 5% เป็น 1.26 แสนล้านบาท แต่บริษัทก็ยังคงถือครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดคิดเป็น 51% ของขนาดสินทรัพย์เมื่อเทียบกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ทั้งหมดในประเทศไทย โดยสินทรัพย์ที่บริษัทบริหารประกอบไปด้วยเงินให้สินเชื่อจากการซื้อลูกหนี้ (สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ -- NPL) จำนวน 8.17 หมื่นล้านบาท สินทรัพย์รอการขาย (สินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ? NPA) จำนวน 3.79 หมื่นล้านบาท และลูกหนี้ขายผ่อนชำระจำนวน 2.2 พันล้านบาท

การเลือกลงทุนทำให้สามารถรักษาระดับการก่อหนี้ ในปี 2564 บริษัทมีการนำกลยุทธ์การเลือกลงทุนมาปรับใช้ในการซื้อหนี้ทั้งในด้านราคาและคุณภาพของสินทรัพย์ กลยุทธ์ดังกล่าวทำให้ต้นทุนการซื้อหนี้โดยรวมของบริษัทลดลง 68.5% จากปีก่อนหน้า หรือคิดเป็นต้นทุนการซื้อหนี้ที่ 3.7 พันล้านบาท ในการนี้ ทริสเรทติ้งมองว่ากลยุทธ์ดังกล่าวเป็นแนวทางที่ระมัดระวังในเวลาที่การจัดเก็บหนี้มีความไม่แน่นอนสูงยิ่งขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจอ่อนแอ โดยเมื่อมีการซื้อสินทรัพย์น้อยลง บริษัทก็มีความจำเป็นที่จะหาแหล่งเงินกู้ยืมมาใช้ซื้อสินทรัพย์น้อยลงตามไปด้วย ดังนั้น ระดับการก่อหนี้ของบริษัทเมื่อวัดจากอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นจึงยังคงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2564 บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ระดับ 1.94 เท่า ลดลงจากระดับ 2.16 เท่าในปี 2563
ในอนาคตบริษัทมีแผนกลยุทธ์ที่จะดำเนินธุรกิจแบบ Asset-light Model โดยลดการซื้อสินทรัพย์โดยตรงที่จะรายงานในงบการเงินให้เหลือน้อยลง ในการนี้ บริษัทวางแผนจะนำแนวทาง Joint Venture Model ที่ริเริ่มโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาปรับใช้ โดยแนวทางดังกล่าว สถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่าง ๆ จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนให้มาทำหน้าที่ร่วมบริหารสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่บริษัทร่วมทุนจะเป็นผู้รับผิดชอบการกู้เงินโดยไม่รวมเข้ากับงบการเงินของบริษัทหุ้นส่วน

นอกจากนี้ สมมุติฐานของทริสเรทติ้งเกี่ยวกับเงินสดจัดเก็บจำนวน 1.6-1.8 หมื่นล้านบาทต่อปีนั้นน่าจะช่วยให้บริษัทสามารถคงระดับอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นให้เป็นส่วนหนึ่งของกระแสเงินสดที่ได้รับมาและสามารถนำไปใช้ซื้อสินทรัพย์ใหม่ซึ่งจะช่วยลดภาระการก่อหนี้ใหม่ได้อีกด้วย ดังนั้น ทริสเรทติ้งจึงคาดว่าบริษัทจะสามารถรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 2 เท่าเอาไว้ได้ในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า

ผลการดำเนินงานที่ฟื้นตัวมาจากสินทรัพย์รอการขายเป็นหลัก ผลการดำเนินงานของบริษัทค่อนข้างมีทิศทางที่สอดคล้องกับวงจรเศรษฐกิจซึ่งเห็นได้จากเงินสดจัดเก็บจากเงินให้สินเชื่อจากการซื้อลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างที่ปรับตัวลดลงในปี 2563 จากสถานการณ์เครดิตที่อ่อนแอลงจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ทั้งนี้ ในปี 2564 บริษัทสามารถจัดเก็บเงินสดจากการบริหารจัดการลูกหนี้เพิ่มขึ้นเพียง 3.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น 8.7 พันล้านบาทจากผลของสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแออยู่
อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะสามารถเพิ่มการเก็บเงินในส่วนการบริหารจัดการลูกหนี้ได้เพิ่มมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าจากการคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นซึ่งจะทำให้ความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ของลูกหนี้ปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย

ในขณะเดียวกัน เงินสดจัดเก็บจากการขายสินทรัพย์รอการขายก็เป็นปัจจัยสนับสนุนหลักในการฟื้นตัวของผลกำไรของบริษัทในปี 2564 การขายสินทรัพย์รอการขายที่ดีขึ้นนั้นเป็นผลมาจากกลยุทธ์ดังต่อไปนี้ 1) การไม่คิดค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2) กลยุทธ์การลดราคา 3) การให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้ารายย่อยมากยิ่งขึ้น และ 4) การเพิ่มการขายผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ โดยบริษัทมีเงินสดจัดเก็บจากการขายสินทรัพย์รอการขายเพิ่มขึ้น 54.9% หรือคิดเป็น 7.3 พันล้านบาทในปี 2564 ส่งผลทำให้เงินสดจัดเก็บรวมอยู่ที่ระดับ 1.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับในปี 2563

ในปี 2564 บริษัทมีรายได้จากการบริหารจัดการลูกหนี้ (รายได้ดอกเบี้ยและกำไรจากเงินให้สินเชื่อจากการซื้อลูกหนี้) ซึ่งไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับเพิ่มขึ้น 2.5% มาอยู่ที่ระดับ 4.9 พันล้านบาท ในทางกลับกัน รายได้จากสินทรัพย์รอการขาย (กำไรจากสินทรัพย์รอการขาย ดอกเบี้ย และกำไรจากการขายแบบผ่อนชำระ) ของบริษัทเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 50.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมาอยู่ที่ระดับ 3.8 พันล้านบาท

เมื่อรวมผลการดำเนินงานของทั้งการบริหารจัดการลูกหนี้และสินทรัพย์รอการขายแล้ว บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 41.3% มาอยู่ที่ 2.6 พันล้านบาทในปี 2564 โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.02% เพิ่มขึ้นจากระดับ 1.46% ในปี 2563 ทั้งนี้ ผลกำไรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับมุมมองของทริสเรทติ้งที่เห็นว่าบริษัทได้ผ่านจุดต่ำสุดของวงจรขาลงแล้วในปี 2563 ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะมีการเติบโตในการบริหารจัดการลูกหนี้มากยิ่งขึ้นซึ่งสิ่งดังกล่าวน่าจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของผลกำไรในปี 2565 ในขณะที่การบริหารสินทรัพย์รอการขายจะยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งใกล้เคียงกับระดับในปี 2564

แหล่งเงินทุนที่กระจายตัวและมีความยืดหยุ่นทางการเงิน แหล่งเงินทุนของบริษัทอยู่ในระดับที่เพียงพอจากการที่บริษัทมีแหล่งเงินทุนที่มั่นคงจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนาคารที่ขายลูกหนี้ด้อยคุณภาพให้แก่บริษัท บริษัทมีวงเงินกู้ยืมระยะยาวจำนวนประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาทจากสถาบันการเงินต่าง ๆ โดยเป็นส่วนที่ยังไม่ได้เบิกใช้จำนวน 1.45 หมื่นล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2564 นอกจากนี้ บริษัทยังมีวงเงินกู้ระยะสั้นกับสถาบันการเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้อยู่อีกจำนวนประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาทและมีตั๋วสัญญาใช้เงินคงค้างที่บริษัทออกไว้ใช้ซื้อสินทรัพย์มูลค่าคงเหลืออยู่ที่ประมาณ 3.8 พันล้านบาท
ในขณะเดียวกัน บริษัทยังเข้าถึงตลาดทุนโดยสามารถออกหุ้นกู้อย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย ทั้งนี้ ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทสามารถระดมเงินทุนได้ใหม่ในยามที่ต้องการ นอกจากนี้ บริษัทยังมีการออกหุ้นกู้อย่างสม่ำเสมอ โดย ณ เดือนธันวาคม 2564 บริษัทมีหุ้นกู้คงค้างมูลค่ารวมทั้งสิ้น 6.2 หมื่นล้านบาท

เมื่อพิจารณาในด้านของเงินทุนและสภาพคล่องนั้น บริษัทไม่มีประเด็นในด้านการไม่สอดคล้องกันของสินทรัพย์และสภาพคล่องที่สำคัญ ๆ แต่อย่างใด โดย ณ เดือนธันวาคม 2564 บริษัทมีภาระหนี้สินทางการเงินที่จะต้องชำระเป็นเงินกู้ระยะยาวในสัดส่วนประมาณ 78% ของภาระหนี้ทั้งหมด โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยในการชำระหนี้ 6 ปีเมื่อเทียบกับระยะเวลาเฉลี่ยของสินทรัพย์ของบริษัทซึ่งอยู่ที่ระดับ 6-8 ปี ในการนี้ บริษัทมีเงินกู้ยืมที่จะครบกำหนดชำระภายในเดือนธันวาคม 2565 ที่จำนวนประมาน 1.67 หมื่นล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นหุ้นกู้มูลค่า 6.4 พันล้านบาท ซึ่งทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะจ่ายชำระคืนหนี้โดยใช้กระแสเงินสดที่ได้รับจากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินรอการขายรวมไปถึงการออกหุ้นกู้ชุดใหม่

ความเสี่ยงจากสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่สูงถูกลดถอนด้วยการกระจายตัวของสินทรัพย์ บริษัทมีความเสี่ยงจากการกระจุกตัวที่ค่อนข้างมากในภาคอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันลูกหนี้ด้อยคุณภาพที่บริษัทลงทุน ดังนั้น สภาวะของตลาดอสังหาริมทรัพย์จึงมีแนวโน้มที่อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการทางการเงินของบริษัทเนื่องจากจะส่งผลต่อราคาและความสามารถในการขายอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทได้บังคับหลักประกันมา อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งเชื่อว่าการกระจายตัวของสินทรัพย์ทั้งในด้านประเภทของหลักทรัพย์และสถานที่ตั้งจะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง
นอกจากนี้ การที่บริษัทสามารถลดราคาสินทรัพย์ลงได้จากการมีต้นทุนในการซื้อสินทรัพย์ที่ต่ำก็ช่วยเร่งการขายสินทรัพย์รอการขายในช่วงที่เศรษฐกิจอ่อนแอได้อีกด้วย ทั้งนี้ ณ เดือนธันวาคม 2564 อสังหาริมทรัพย์ของบริษัทในสัดส่วน 20% เป็นที่ดินเปล่าในขณะที่ 34% เป็นบ้านเดี่ยว และส่วนที่เหลือมีการกระจายตัวที่ดีในอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท ส่วนในด้านสถานที่ตั้งนั้น อสังหาริมทรัพย์ของบริษัทมีทำเลอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในสัดส่วนประมาณ 41% ในเขตภาคกลาง 17% และส่วนที่เหลือกระจายไปตามภาคต่าง ๆ นอกจากนี้ บริษัทยังมีการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ใหม่ทุก ๆ ปีเพื่อช่วยให้บริษัทตั้งราคาขายสินทรัพย์ได้ใกล้เคียงกับราคาตลาดมากที่สุดอีกด้วย

เป็นโอกาสทางธุรกิจของบริษัทบริหารสินทรัพย์จากการที่หนี้เสียปรับตัวเพิ่มขึ้น การระบาดของโรคโควิด 19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจของไทย ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมยังคงอ่อนแอถึงแม้ว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือมากมายที่ออกโดย ธปท. เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบก็ตาม หนี้เสียจากสถาบันการเงินซึ่งรวมทั้งสถาบันการเงินของไทยและต่างชาติตลอดจนบริษัทเงินทุนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5.3 แสนล้านบาทในปี 2564 จาก 4.65 แสนล้านบาท ณ สิ้นปี 2562
ทริสเรทติ้งคาดว่าสถาบันการเงินจะทยอยจำหน่ายหนี้เสียออกมาเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นวิธีหนึ่งในการลดหนี้เสียของสถาบันการเงินต่าง ๆ หลังจากที่มาตรการช่วยเหลือสิ้นสุดลงในปี 2564 ซึ่งเห็นได้จากการริเริ่มของ ธปท. ในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินกับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อแก้ปัญหาหนี้เสีย วิธีดังกล่าวจะเป็นโอกาสที่ดีของบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่างๆ ที่จะซื้อสินทรัพย์และเพิ่มรายได้ อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งเชื่อว่าการจัดเก็บหนี้ที่ช้าลงในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอนี้จะยังคงเป็นปัจจัยท้าทายที่สำคัญสำหรับทุกฝ่าย

สมมติฐานกรณีพื้นฐาน

ทริสเรทติ้งมีสมมติฐานกรณีพื้นฐานสำหรับการดำเนินงานของบริษัทในระหว่างปี 2565-2567 ดังนี้
การซื้อลูกหนี้ด้อยคุณภาพใหม่จะอยู่ที่ระดับ 9 พันล้านบาทต่อปี
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นจะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2 เท่า
เงินสดที่จัดเก็บได้จากการบริหารสินทรัพย์จะอยู่ที่ระดับประมาณ 1.6-1.8 หมื่นล้านบาทต่อปี
อัตราส่วนต้นทุนทางการเงินจะอยู่ที่ระดับประมาณ 3%-3.5% ของเงินกู้ยืมเฉลี่ย
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้รวมจะอยู่ที่ระดับประมาณ 31%-32%
แนวโน้มอันดับเครดิต 'Stable' หรือ 'คงที่' สะท้อนถึงความคาดหมายของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะยังคงรักษาผลประกอบการทางการเงินที่แข็งแกร่งและดูแลให้ระดับการก่อหนี้อยู่ในระดับปานกลางเอาไว้ได้

ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตเปลี่ยนแปลง อันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตอาจปรับเพิ่มขึ้นได้หากผลประกอบการทางการเงินของบริษัทปรับตัวดีขึ้นอย่างมั่นคงและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1.5 เท่าอย่างต่อเนื่อง

อันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตอาจปรับลดลงหากสถานะในการก่อหนี้ของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการขยายธุรกิจในเชิงรุกโดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงเกินกว่า 2.75 เท่าอย่างต่อเนื่อง หรือผลประกอบการทางการเงินของบริษัทถดถอยลงอย่างต่อเนื่องจนทำให้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำกว่า 1.5% อย่างต่อเนื่อง