• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

มธ.นำเข้า “ยา-วัคซีน” สะเทือน “รัฐบาลลุง” “จุฬาคอฟ19-ไบโอเทค” จุดความหวังคนไทย

Started by Shopd2, August 22, 2021, 09:29:49 AM

Previous topic - Next topic

Shopd2



วิกฤตโควิด-19 เป็นเรื่องรอไม่ได้ ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) หาช่องออกข้อบังคับนำเข้าวัคซีนทางเลือก "โนวาแวกซ์" ต้านเชื้อกลายพันธุ์ ตามรอยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่นำเข้า "ซิโนฟาร์ม" มาก่อนหน้า ขณะที่การพัฒนาวัคซีนฝีมือคนไทย "จุฬาคอฟ19" ผลทดสอบในอาสาสมัครระยะที่ 1 พบกระตุ้นภูมิสูงเทียบเท่าไฟเซอร์ ยังมีไบโอเทคเริ่มขยับทดสอบวัคซีนโควิดชนิดพ่นจมูกในมนุษย์ 

ทั้งความสับสนอลหม่าน ทั้งซีนดรามาน้ำตารินที่เกิดขึ้นในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ท่ามกลางการจัดหาวัคซีนที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของบุคลากรด่านหน้าและประชาชนทั้งประเทศ เป็นแรงผลักดันให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วย หาช่องผ่าทางตันในการจัดหาวัคซีนของภาครัฐ โดยมองข้ามชอตไปข้างหน้าที่ประเทศไทยต้องมีวัคซีนรุ่นสองรับมือกับเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ รวมทั้งการจัดหาชุดตรวจเชื้อและยารักษาตัวใหม่ๆ ด้วย

จังหวะก้าวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการเดินตามรอยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งก่อนนี้ได้ออกประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ว่าด้วยการให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ในการนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์มเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาแล้ว
คราวนี้ก็เช่นกัน สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการนำเข้ายา วัคซีน และเวชภัณฑ์เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2564 เป็นต้น ความว่า มธ. มีโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและคณะวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพจำนวนมาก ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงในการให้บริการแก่สังคมในเรื่องการป้องกัน การแก้ไขปัญหาและการรักษาพยาบาลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ดังนั้น สภามหาวิทยาลัยฯ จึงกำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข สามารถเสนอต่ออธิการบดีให้สามารถจัดหา ผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือขออนุญาตและออกใบอนุญาต การขึ้นทะเบียนยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และสิ่งอื่นที่จำเป็นหรือเกี่ยวข้อง ทั้งที่ดำเนินการในประเทศและกับต่างประเทศได้

 ถือเป็นการคลายล็อกเปิดทางให้มีการนำเข้าวัคซีน เวชภัณฑ์และยา ได้โดยไม่ถูกมัดมือมัดเท้าอีกต่อไป เพราะอย่างที่รู้กันว่าในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ รวมทั้งโรงพยาบาลสนามที่จัดตั้งขึ้นนั้นมีเรื่องราวดรามาผ่านหน้าเพจไม่ว่างเว้น ทั้งบรรยากาศการทำงานที่แสนจะหนักหน่วง ระบบการรองรับผู้ป่วยใกล้ล่มสลายขาดทั้งเตียงทั้งห้องไอซียู อีกทั้งวัคซีนเข็ม 3 ที่ขอเพื่อฉีดให้กับบุคลากรด่านหน้าก็ได้มาไม่เพียงพอ จนกระทั่งกระทรวงสาธารณสุข ต้องรีบจัดสรรให้เพิ่ม ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ที่ มธ. เผชิญอยู่จะคลี่คลายลงเมื่อมีการปลดล็อก รวมถึงยังสามารถแสวงหาพันธมิตรร่วมมือช่วยเหลือประชาชนคนติดเชื้อได้มากขึ้น แบ่งเบาภาระของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง 

ถ้อยแถลงของ รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวถึงการออกประกาศข้างต้นว่าเนื่องจาก ดร.สุรพล นิติไกรพจน์  ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เห็นถึงปัญหาความต้องการวัคซีน ยาและเวชภัณฑ์ในภาวะวิกฤตไม่เพียงกับความต้องการ ทางโรงพยาบาลจึงมีความคิดออกข้อบังคับดังกล่าวขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกในการจัดหา ผลิต จำหน่าย นำเข้า ขออนุญาต และออกใบอนุญาต การขึ้นทะเบียนยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์

 "การออกประกาศมาครั้งนี้จะปลดล็อกสิ่งที่เป็นปัญหาเรื่องวัคซีน รวมทั้งยาต่างๆ...." ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ระบุ พร้อมกับย้ำว่าไม่ได้มีเป้าประสงค์เพื่อแสวงหารายได้หรือผลกำไรใดๆ ทั้งสิ้น 

วัคซีนที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ สนใจนำเข้านั้น รศ.นพ.พฤหัส ระบุว่า จะเป็นวัคซีนที่ไม่ซ้ำซ้อนกับการนำเข้าของหน่วยงานอื่นหรือทำสัญญาสั่งจองไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนฟาร์มของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โมเดอร์นาจากเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน หรือไฟเซอร์ที่รัฐบาลเพิ่งเซ็นสัญญาสั่งซื้อ โดยวัคซีนที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ให้ความสนใจจะเป็นวัคซีนเจนเนอร์ชัน 2 เพื่อเป็นบูสเตอร์โดสให้ประชาชนในรูปแบบวัคซีนทางเลือก โดยตัวอย่างวัคซีนที่จะหารือเพื่อนำเข้าอาจเป็นวัคซีนชนิด mRNA รุ่นที่ 2 หรือโปรตีนซัปยูนิตซึ่งปัจจุบันมียี่ห้อโนวาแวกซ์ ที่ใช้เทคโนโลยีนี้

การนำเข้าวัคซีนเจนเนอเรชัน 2 ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ยังต้องหาผู้ร่วมสนับสนุนเพราะงบประมาณมีจำกัด ทำให้ไม่สามารถนำเข้าวัคซีนในปริมาณมากเป็นหลักล้านโดสได้ มธ.จึงเปิดกว้างหาพันธมิตรร่วมมือกับองค์กรภายนอก ขณะนี้อยู่ระหว่างการพูดคุยกับเครือข่ายโรงเรียนแพทย์ ราชวิทยาลัย สมาคม รวมถึงเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) โดยตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถนำเข้าได้ในปี 2565

อย่างไรก็ตาม การจัดหาวัคซีนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ยังมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาด การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของวัคซีน เงื่อนไขในการจัดหาต้องจัดซื้อผ่านรัฐบาลหรือองค์กรร่วมที่เป็นหน่วยงานรัฐ ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรธรรมศาสตร์จะเข้าไปดำเนินการในส่วนที่ภาคส่วนอื่นทำไม่ได้หรือทำได้ไม่เพียงพอ ส่วนการกระจายวัคซีนอาจยึดแนวทางของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และองค์กรที่ร่วมเป็นพันธมิตรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

แม้การนำเข้าวัคซีนของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ จะยังไม่มีความชัดเจนเพราะอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม และเจรจาหาพันธมิตร หาช่องทางต่างๆ แต่ภารกิจที่เป็นเป้าหมายแรกในระยะเร่งด่วนนี้ ผอ.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ระบุว่า จะดำเนินการจัดซื้อชุดตรวจแอนติเจนตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ ATK เพื่อแก้ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของชุดตรวจสำหรับการใช้ในหน่วยงานของ มธ. ที่มีทั้งโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และการจัดบริการรักษาพยาบาลแบบกักตัวที่บ้าน รวมทั้งแก้ปัญหาเรื่องราคาโดยชุดตรวจด้วยตัวเองต้องเป็นราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้ ด้วยราคาประมาณ 45-50 บาท เนื่องจากคุณสมบัติของ ATK ไม่ได้ไวเท่า RT-PCR จึงต้องมีราคาถูกเพื่อใช้ตรวจหลายครั้ง

ส่วนเรื่องยาฟาวิพิราเวียร์ คาดว่าการนำเข้าและเริ่มกระบวนการผลิตเองขององค์การเภสัชกรรมเพียงพอแล้ว ปัจจุบันมีการใช้ทั้งฟ้าทะลายโจร ฟาวิพิราเวียร์ และแอนติบอดี้ค็อกเทลที่รพ.ธรรมศาสตร์ฯ จัดหาผ่านราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ในอนาคต มธ.อาจศึกษาค้นคว้าวิจัยหาตัวยาใหม่ๆ ต่อไป

กล่าวสำหรับการจัดหาวัคซีนของรัฐบาลนั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณเพื่อซื้อวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 20 ล้านโดส เป็นเงิน 9,372 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การจัดหาวัคซีนมูลค่า 8,439 ล้านบาทและค่าบริหารจัดการอีก 933 ล้านบาท คาดว่าจะส่งมอบในไตรมาสที่ 4 และรับทราบการจัดซื้อวัคซีนไฟเซอร์เพิ่มเติมอีก 10 ล้านโดส โดยมอบหมายให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ลงนามกับตัวแทนบริษัทไฟเซอร์ กำหนดส่งมอบช่วงไตรมาส 4 เช่นกัน

ในขณะที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ออกประกาศคลายล็อกหาช่องทางจัดหาวัคซีน ยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความหวัง ฟากฝั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ก็มีข่าวคราวความคืบหน้าในทิศทางที่ดีเช่นกัน โดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยผลวิจัยวัคซีนต้านโควิด-19 ชนิด mRNA ของจุฬาฯ ที่ชื่อว่า   "จุฬาคอฟ 19"  ที่มีการทดสอบระยะแรกในอาสาสมัคร 36 คน พบว่า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีได้สูงเทียบได้กับวัคซีน mRNA อย่างไฟเซอร์-ไบออนเทค และสามารถยับยั้งไวรัสกลายพันธุ์ได้ 4 สายพันธุ์

วัคซีนต้านโควิด-19 ชนิด mRNA ของจุฬาฯ ที่ชื่อว่า  "จุฬาคอฟ 19"
วัคซีนต้านโควิด-19 ชนิด mRNA ของจุฬาฯ ที่ชื่อว่า "จุฬาคอฟ 19"

วัคซีนแบบพ่นจมูกที่พัฒนาโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 
วัคซีนแบบพ่นจมูกที่พัฒนาโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดแถลงข่าวเรื่องการนำเข้ายา วัคซีน และเวชภัณฑ์เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19 
รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดแถลงข่าวเรื่องการนำเข้ายา วัคซีน และเวชภัณฑ์เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19

 ศ.นพ. เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ.บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ รพ.จุฬาลงการณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยความคืบหน้าของการทดสอบระยะแรกในอาสาสมัคร อายุ 18-55 ปี ในเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ว่า วัคซีนจุฬาคอฟ19 กระตุ้นแอนติบอดีได้สูงมากในการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม รวมทั้งเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ ทั้งอัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดในไทยอยู่ขณะนี้
ศ.นพ.เกียรติ ย้ำว่า ข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ได้มีการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ และยังเป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ซึ่งต้องมีการศึกษาวิจัยในระยะต่อไป โดยการตรวจทดสอบผลประสิทธิภาพของวัคซีนจุฬาคอฟ19 มีการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ 3 ศูนย์วิจัยวัคซีน จุฬาฯ ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

"จุฬาคอฟ19 ตัวเลขอยู่ที่ 94% เท่ากับไฟเซอร์ 94%" ศ.นพ. เกียรติ กล่าว พร้อมเสริมว่า จุดตัดประสิทธิภาพวัคซีน ถ้าตัวใดเกิน 68% แปลว่า "น่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้" ศ.นพ. เกียรติ กล่าว และไม่พบว่ามีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ สำหรับการทดสอบนี้ แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับปริมาณโดสไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 10,25 และ 50 มิลลิกรัม

อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบนี้เป็นการนำผลข้างเคียงของวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์และเนเจอร์ ซึ่งเป็นทอป 5 อันดับของโลกมาเทียบเคียง โดยเป็นงานวิจัยคนละชิ้น ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบโดยตรงได้

นอกจากจุฬาฯ จะตรวจสอบผลประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มตัวอย่างเองแล้ว ผลประสิทธิภาพของวัคซีน ยังถูกนำไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาของมหาวิทยาลัยมหิดล ด้วย โดย  รศ.พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาระดับโมเลกุล ได้ตรวจเชื้อไวรัสที่เพาะเลี้ยงแต่ละสายพันธุ์ เพื่อดูว่าภูมิคุ้มกันในเลือดสามารถจะยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ในหลอดทดลองที่ทำการศึกษาหรือไม่

"เปรียบเทียบเข็ม 1 กับเข็ม 2 ระหว่างจุฬาคอฟ19 กับ ไฟเซอร์ จะเห็นว่า 3 อาทิตย์ หลังฉีดเข็ม 1 ภูมิก็ใกล้เคียงกัน หลังฉีดเข็ม 2 ก็ใกล้เคียงกัน เพราะขนาดตัวอย่างไม่เยอะ ก็คืออยู่ที่ 4,500 ไตเตอร์ สำหรับจุฬาคอฟ และ 1,700 สำหรับไฟเซอร์" ศ.นพ.เกียรติ กล่าว

ส่วนประสิทธิภาพในการยับยั้งข้ามสายพันธุ์ วัคซีนจุฬาคอฟ19 ได้รับการทดสอบโดยห้องปฏิบัติการของ สวทช. ซึ่งทำการตรวจโดยเทคนิค  "สูโดไวรัส" ซึ่งการทดสอบนี้ได้ใช้เกณฑ์เทียบของออกซ์ฟอร์ด วัคซีน กรุ๊ป ซึ่งระบุไว้ว่าระดับประสิทธิภาพของวัคซีนที่น่าจะป้องกันอาการของโรคได้ 80% จะต้องมีค่าภูมิในน้ำเหลืองเกิน 185 ไตเตอร์ นั่นหมายความว่ายิ่งค่าไตเตอร์สูง ภูมิจะยิ่งสูง ซึ่งจากผลวัดระดับไตเตอร์ วัคซีนจุฬาคอฟ19 มีระดับภูมิ เมื่อทดสอบกับไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม 1,285 ไตเตอร์ สายพันธุ์เดลตา 977 ไตเตอร์ สายพันธุ์อัลฟา 964 ไตเตอร์ ขณะที่สายพันธ์ที่ค่าภูมิในน้ำเหลืองต่ำ ได้แก่ เบตา และแกมมา

ผลทดสอบของอาสาสมัครที่กล่าวมาข้างต้น เป็นกลุ่มอายุ 18-55 ปี ขณะนี้อาสาสมัครกลุ่มที่สอง อายุ 56-75 ปี อีก 36 คน ได้รับวัคซีนจุฬาเข็มที่ 1 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และก่อนสิ้นเดือนสิงหาคม จะเริ่มระยะที่ 2A คือ การฉีดวัคซีนจุฬาคอฟ19 ในอาสาสมัครจำนวนมากขึ้น คือ 150 คน อายุตั้งแต่ 18-75 ปี

อย่างไรก็ตาม สำหรับการขึ้นทะเบียนเป็นวัคซีนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน ต้องรอกติกาที่ชัดเจนจากองค์การอาหารและยา (อย.) ที่จะออกมาภายในเดือนกันยายนนี้ ว่าการขึ้นทะเบียนจะต้องทำวิจัยในระยะ 2 B หรือระยะ 3 อย่างไร ซึ่งจะเป็นเกณฑ์สำหรับวัคซีนไทยที่กำลังพัฒนาอยู่ทั้งหมด 4 ทีม ในขณะนี้ หลังขึ้นทะเบียนแล้ว จุฬาคอฟ-19 มีพันธมิตรยุทธศาสตร์ฝ่ายผลิตคือ บริษัทไบโอเนทเอเชีย ซึ่งมีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นหลัก ผลิตวัคซีนมากว่า 10 ปี เชี่ยวชาญทั้ง mRNA วัคซีน และโปรตีนวัคซีน

ศูนย์วิจัยวัคซีน จุฬาฯ ตั้งเป้าการวิจัยและผลิตวัคซีน จุฬาคอฟ - 19 ในการเป็นวัคซีนเข็มสาม หรือเข็มกระตุ้นภูมิสำหรับคนไทย ซึ่งคาดว่าจะเป็นจริงในช่วงปลายไตรมาสแรกของปี 2565

อีกหนึ่งความหวังของคนไทย คือ  "วัคซีนใบยา"  ความคืบหน้าล่าสุด  ผู้ช่วยศาสตราจารย์เภสัชกรหญิง ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การทดสอบวัคซีนในคนระยะแรกจะเริ่มภายในเดือนกันยายนนี้ ขณะนี้บริษัทใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมพัฒนาวัคซีน รุ่นที่ 2 เพื่อบูสเตอร์โดสรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์อย่างเดลตา คาดจะทดสอบในคนช่วงเดือนธันวาคม และเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด คาดว่าจะสามารถฉีดให้ประชาชนทั่วไปประมาณกลางปี 2565

ทั้งนี้ บริษัทใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการมาตั้งแต่ 3-4 ปี ที่แล้ว มีแพลตฟอร์มการผลิตโปรตีนด้วยพืชที่สามารถออกฤทธิ์ทางยาได้ ซึ่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ผลิตเป็นการพัฒนาเทคนิคการนำไปรตีนจากใบยาสูบสายพันธุ์ดั้งเดิมจากออสเตรเลีย เพื่อใช้เป็นยาซึ่งเป็นชิ้นส่วนโปรตีนของไวรัสโควิด-19 ที่ไม่สามารถไปแพร่เชื้อต่อได้ เมื่อฉีดวัคซีนใบยาเข้าไปในร่างกายจะช่วยกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา

การพัฒนาเทคนิคการได้ไปรตีนจากใบยาเป็นเทคโนโลยีที่มีมามากกว่า 15 ปีแล้ว และเคยทำสำเร็จในการรักษาโรคอีโบลาในอดีต สำหรับวัคซีนใบยามีแพลตฟอร์มการผลิตที่เหมือนกับวัคซีนโนวาแวกซ์ ของอเมริกาซึ่งใช้เซลล์แมลงในการผลิต แต่วัคซีนใบยาใช้ต้นพืชเป็นตัวผลิต

กระบวนการผลิตวัคซีนที่ใช้พืชสามารถผลิตเป็นจำนวนมากในแต่ละครั้ง และสามารถยกระดับจากการผลิตวัคซีนในห้องทดลองมาเป็นการผลิตวัคชีนระดับอุตสาหกรรมได้ทันที สำหรับวัคซีนจากใบยาครั้งนี้ คาดราคาประมาณ 300-500 บาทต่อโดส แต่ถ้าผลิตในปริมาณมากราคาก็จะลดลงไปอีกเนื่องจากต้นทุนต่ำ

ขณะเดียวกัน ยังมีข่าวคราวความคืบหน้าของวัคซีนชนิดพ่น โดย  ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา  ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักไวรัสวิทยา โพสเฟซบุ๊ก "Anan Jongkaewwattana" ว่า "วัคซีน COVID-19 ที่สร้างขึ้นจากอนุภาคไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza-based) Lot แรก ระดับ GMP ถูกผลิตขึ้นโดยทีมวิจัยขององค์การเภสัชกรรมแล้ว วัคซีน Lot นี้จะส่งไปทดสอบความปลอดภัยในสัตว์ทดลองที่ ม.นเรศวร ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับขึ้นทะเบียนวัคซีนเพื่อทำการทดสอบในมนุษย์ครับ วัคซีนสูตรนี้เป็นวัคซีนตัวที่สองของทีม สวทช. โดยตัวที่จะออกมาทดสอบก่อนจะเป็น Adenovirus-based ซึ่งได้ทำการทดสอบความปลอดภัยในสัตว์ทดลองไปแล้ว...วัคซีนทั้งสองชนิดออกแบบเป็นชนิดพ่นจมูกทั้งคู่...Product of Team Thailand ครับ"

 การแสวงหาโอกาสและทางเลือกใหม่ๆ เป็นความหวังของคนไทยในภาวะวิกฤตเช่นนี้นับเป็นเรื่องเร่งด่วนและจำเป็นอย่างยิ่ง