• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ส่องความคืบหน้า 'วัคซีนโควิด-19' สัญชาติของไทย

Started by PostDD, August 23, 2021, 02:50:45 PM

Previous topic - Next topic

PostDD



ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) เดือน มิ.ย. 64 พบว่า มี วัคซีนโควิด-19 ที่อยู่ในขั้นการทดลองในมนุษย์กว่า 100 รายการ และอีก 184 รายการ อยู่ในขั้นศึกษาวิจัย สำหรับประเทศไทย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการพัฒนา วิจัย วัคซีนโควิด-19 ในหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และ มหาวิทยาลัย

ปัจจุบัน การวิจัยพัฒนา วัคซีนโควิด-19 ในประเทศ มีความก้าวหน้าตามลำดับ อาทิ วัคซีนชนิด Protein Subunit ของบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ระหว่างทดสอบในมนุษย์เฟส 1 , วัคซีนชนิด mRNA ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ระยะ 2 , วัคซีนโควิด-19 HXP–GPOVac ขององค์การเภสัชกรรม และอีก 1 ชนิด อยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง คือ วัคซีนโควิเจน ชนิด DNA ของบริษัท Bionet-Asia จำกัด

"ChulaCOV19" 


ซึ่งพัฒนาโดย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย เป็นวัคซีนชนิด mRNA เช่นเดียวกับไฟเซอร์ และโมเดอร์นา มีการทดลองในสัตว์ทดลองทั้งหนู และลิง พบว่ามีประสิทธิภาพ สร้างภูมิคุ้มได้ในระดับสูง ล่าสุดทดลองในกลุ่มอาสาสมัคร อายุ 18-55 ปี 36 คน ในเดือน มิ.ย. ผลอาสาสมัคร ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ มีผลข้างเคียงอยู่ในระดับเล็กน้อยหรือปานกลาง


"ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม" ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า ผลการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครที่ฉีดวัคซีน ChulaCov19 พบว่า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนตี้บอดี้ ได้เทียบเท่ากับวัคซีนชนิด mRNA อย่าง ไฟเซอร์ โดยสามารถยับยั้งการจับโปรตีนที่กลุ่มหนามได้ 94% เท่ากับไฟเซอร์ 94%

รวมถึงสามารถกระตุ้นแอนตี้บอดี้ได้สูงมากในการยับยั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม แอนตี้บอดี้ที่สูงนี้สามารถยับยั้งเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ คือ อัลฟ่า เบต้า แกมม่า และเดลต้า อีกทั้งสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด T-cell ซึ่งจะช่วยขจัดและควบคุมเชื่อที่อยู่ในเซลล์ของคนที่ติดเชื้อได้

สามารถอยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) ได้นานถึง 3 เดือน เก็บในอุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ได้นาน 2 สัปดาห์ พร้อมกันนี้ จะทำการเดินหน้าทดลองเฟส 2 ในวันที่ 25 ส.ค.นี้ และหากกติกาของ อย. ไม่จำเป็นต้องทดลองในเฟส 3 คาดว่าจะได้ใช้ราว เม.ย. 2565

นอกจากนั้น จุฬาฯ ได้มีการเตรียมโรงงานในการผลิตจากโรงงานของบริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ในประเทศไทย ซึ่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตรองรับมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งหากผลการศึกษาวิจัยสำเร็จตามแผนจะใช้โรงงานแห่งนี้ในการผลิตวัคซีนโควิด ชนิด mRNAของจุฬาฯ โดยคาดว่าโรงงานจะสามารถผลิตได้ 30-50 ล้านโดสต่อปี ทำให้สามารถปิดช่องว่างวงจรการผลิตวัคซีนในไทยได้


"วัคซีนชนิด Protein Subunit" 
ผลิตโดยนักวิทยาศาสตร์ไทย ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และรศ. ดร.วรัญญู พูลเจริญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ก่อตั้งบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด พัฒนาวัคซีนโควิด-19 และแอนติบอดีในการยับยั้งไวรัสจากใบยาสูบชนิดพิเศษได้สำเร็จ โดยใช้เทคนิคการใช้พืชเพื่อผลิตโปรตีนนั้น โดยใบยาสูบที่นำมาใช้นั้นเป็นสายพันธุ์ที่มีนิโคตินระดับต่ำมาก

ที่ผ่านมา วัคซีนใบยาได้ผ่านการทดสอบในหนูและลิง ด้วยการฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์ ผลการทดสอบปรากฏว่าลิงมีความปลอดภัย และไม่เกิดผลข้างเคียงใด ๆ ผลเลือดในลิงที่ใช้ทดลองมีค่าเอนไซม์ตับปกติ อีกทั้งจำนวนเม็ดเดือดแดงและเม็ดเลือดขาวอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีการกระตุ้น T Cell ได้ดีในลิง กระบวนการผลิตวัคซีนที่ใช้พืช สามารถผลิตเป็นจำนวนครั้งละมากๆ ได้

สามารถยกระดับจากการผลิตวัคซีนในห้องทดลอง มาเป็นการผลิตวัคซีนระดับอุตสาหกรรมได้ทันที โดยตั้งเป้าการผลิตวัคซีนจากใบยาสูบราว 10,000 โดสต่อเดือน เริ่มเปิดรับอาสาสมัครเพื่อทดสอบวัคซีนกลุ่มแรกจำนวน 50 คน อายุ 18 – 60 ปีสุขภาพแข็งแรงและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน คาดพร้อมฉีดให้คนไทยช่วงกลางปี 2565 ในราคาต้นทุนโดสละ 300 – 500 บาท


"วัคซีน HXP–GPOVac" 
พัฒนาโดยองค์การเภสัชกรรม ร่วมกับ ศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล "นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์" ผอ.องค์การเภสัชกรรม เผยว่า วัคซีนโควิด-19 HXP-GPO Vac ขององค์การเภสัชกรรม เป็นวัคซีนเชื้อตายไวรัลแวกเตอร์ ผลการศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1 อาสาสมัคร 210 คน อายุ 18-60ปี ใช้สูตรวัคซีน 5 สูตร

และเลือก 2 สูตรเพื่อใช้ในการศึกษาในมนุษย์ระยะ 2 ใช้อาสาสมัคร 250 คน อายุ 18-75 ปี ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 มาก่อน หากผลเป็นไปตามเป้าจะมีการเดินหน้าศึกษาในระยะที่ 3 ต่อไปที่เหลือวัคซีนเพียง 1สูตร คาดยื่นขึ้นทะเบียน อย. เพื่อใช้กรณีฉุกเฉินราวกลางปี 2565 และจะใช้โรงงานผลิตของอภ.ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ระยะต้นมีกำลังการผลิตได้ 20-30 ล้านโดสต่อปี

ตรวจสอบสิทธิ 'ประกันสังคม' ม.39 www.sso.go.th รับเงินเยียวยา 5,000 บาท 23 ส.ค.นี้ เช็ครายละเอียดที่นี่
ด่วน! ยอด 'โควิด-19' วันนี้ จับตา! พบเสียชีวิต 242 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 17,491 ราย ไม่รวม ATK อีก 901 ราย
เมื่อติดโควิด-19 จะรับ ATK- ยาฟรี @ 'ร้านขายยา' ได้อะไรบ้าง?

"วัคซีนโควิเจน ชนิด DNA" 
พัฒนาโดยบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด มีผลการทดสอบในหนูทดลองพบว่า วัคซีนมีความปลอดภัย และสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขออนุมัติกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อทดสอบในมนุษย์ในระยะที่ 1 คาดว่าจะวิจัยในคนระยะที่ 2 และ 3 ในปีนี้ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มิ.ย 64) โดยมีแผนการทดสอบในมนุษย์ในระยะที่ 1 ในประเทศออสเตรเลียคู่ขนานกันไป


"วัคซีนแบบพ่นจมูก" 
ชนิด Adenovirus-based และ Influenza-based พัฒนาโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผ่านการทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูทดลองเรียบร้อยแล้ว พบว่ามีประสิทธิภาพต่อการคุ้มโรคที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จะผลักดันให้เป็นวัคซีนต้นแบบป้องกันโรค COVID-19 สามารถนำไปทดสอบทางคลินิกในอาสาสมัครต่อไป

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สวทช. ให้ข้อมูลว่า วัคซีนชนิด Adenovirus ออกแบบโดยการพ่นเข้าจมูกผ่านละอองฝอย ผ่านการทดสอบในหนูทดลองที่ฉีดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว พบว่า หนูทดลองนอกจากไม่มีอาการป่วย ยังมีน้ำหนักขึ้นสูงกว่ากลุ่มที่ฉีดเข้ากล้ามอย่างเห็นได้ชัด ผลการทดสอบความปลอดภัย การผลิตในระดับ GMP ร่วมมือกับบริษัท KinGen BioTech กำลังจะทดสอบวัคซีนนี้ในอาสาสมัครมนุษย์ในรูปแบบที่สร้างจากไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ในเร็วๆ นี้

ส่วนชนิด Influenza virus อยู่ระหว่างต่อคิวทดสอบประสิทธิภาพการคุ้มโรคโควิด-19 และผลการวิจัยเรื่องระดับภูมิคุ้มกันในหนูทดลอง พบว่า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งในรูปแบบแอนติบอดี และ T cell ได้สูง โดยร่วมกับทีมองค์การเภสัชกรรม และมีแผนจะออกมาทดสอบความปลอดภัยต่อไป หากไม่มีผลข้างเคียงจะยื่นอย. เพื่อขอทดสอบในมนุษย์ โดยร่วมกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คาดเริ่มทดสอบเฟสแรกปลายปี 64 และเฟส 2 มี.ค. 65 หากได้ผลดีจะสามารถผลิตใช้ได้กลางปี 65