• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

กทม. จัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi CI) ช่วยลดการแพร่ระบาดโควิด

Started by Hanako5, August 25, 2021, 12:36:15 PM

Previous topic - Next topic

Hanako5



กทม. โดยสำนักงานเขต และศูนย์บริการสาธารณสุข เพิ่มศักยภาพรองรับผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว จัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation: Semi CI) ในพื้นที่ 5 กลุ่มเขต มุ่งหวังช่วยลดการแพร่ระบาดและติดเชื้อในครัวเรือน ดูแลเข้มตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมส่งต่อโรงพยาบาลทันทีหากอาการรุนแรง

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย เดือนสิงหาคมนี้พื้นที่กรุงเทพฯ พบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่กรุงเทพมหานครเร่งค้นหาผู้ป่วยโดยตรวจคัดกรองเชิงรุกอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงยิ่งขึ้น รวมถึงการลงพื้นที่ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนโดยทีม Bangkok CCRT ขณะเดียวกันโรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดกรุงเทพมหานครจะเพิ่มจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองและสีแดง รวมทั้งการเพิ่มศูนย์พักคอยฯ ให้ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ

"สำหรับมาตรการรองรับผู้ติดเชื้อในขณะนี้ ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation: CI) กทม. เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว สามารถเปิดให้บริการศูนย์พักคอยฯ ไปแล้ว 64 แห่ง จากทั้งหมด 70 แห่งใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ส.ค. 64)  รวมทั้งได้มีการยกระดับศูนย์พักคอยฯ ให้เป็นโรงพยาบาลสนามระดับกลุ่มเขต หรือ CI PLUS จำนวน 7 แห่ง โดยติดตั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเหลือง ได้มากขึ้น ปัจจุบันรองรับผู้ป่วยได้มากกว่า 1,000 เตียง   นอกจากนี้ กทม. ยังได้รับความร่วมมือจากภาคประชาสังคมในการร่วมจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation: Semi CI) โดยปัจจุบันเปิดแล้ว 55 แห่ง จากทั้งหมด 125 แห่ง โดย กทม.จะขยายแนวคิดนี้ไปสู่ชุมชนอื่นที่มีความพร้อมต่อไป" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าว

นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า "นอกจากสำนักงานเขตจะดำเนินการจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ หรือ (Community Isolation) เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว อย่างน้อย 1 เขต 1 ศูนย์พักคอยฯ แล้ว ยังมีศูนย์พักคอยฯ ขนาดย่อมที่ชาวชุมชนได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น หรือที่เรียกว่าศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation : Semi CI) เพื่อแยกกักรักษาผู้ป่วยจากชุมชน ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งแล้ว จำนวน 55 แห่ง  ซึ่งการจัดตั้งศูนย์พักคอยฯ ดังกล่าวถือเป็นการดำเนินการโดยชุมชนเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง ต้องขอขอบคุณหลาย ๆ หน่วยงานที่อนุญาตให้ใช้สถานที่ ไม่ว่าจะเป็นอาคารเรียน สถานที่ราชการ หอพัก หอประชุม วัด รวมทั้งให้การสนับสนุนระบบสื่อสาร ไฟฟ้า น้ำประปา เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ของใช้จำเป็นสำหรับผู้ป่วย ตลอดจนเอื้อเฟื้อบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย ที่ขาดไม่ได้เลยคือ อาสาสมัคร จิตอาสา กล่าวได้ว่า ศูนย์พักคอยฯ นี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ หากชุมชนใดมีความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน สามารถติดต่อสำนักงานเขตพื้นที่ได้ค่ะ"



ทั้งนี้  จากข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564  ระบุว่า กทม. ได้จัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชนแล้วจำนวน 125 แห่ง  ในพื้นที่ 5 กลุ่มเขต เปิดแล้ว 55 แห่ง รองรับผู้ป่วยได้กว่า 1,000 เตียง สำหรับกลุ่มเขตที่มีการจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ กรุงเทพตะวันออก จำนวน 27 แห่ง กรุงธนใต้ จำนวน 14 แห่ง กรุงเทพกลางและกรุงเทพใต้ จำนวน 5 แห่ง และกรุงธนเหนือ จำนวน 4 แห่ง



นายธนาชิต  ชูติกาญจน์  ผู้อำนวยการเขตทุ่งครุ ได้เปิดเผยข้อมูลการจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation : Semi CI) ในพื้นที่ว่าเป็นนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปลัดกรุงเทพมหานคร ที่ให้เขตจัดหาสถานที่ภายในชุมชนเพื่อจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน ลดการแพร่ระบาดในครัวเรือน เนื่องจากภายในชุมชนแต่ละชุมชนมีสถานที่ที่เหมาะสมต่อการจัดตั้งศูนย์ฯ ตัวอย่างเช่น ที่ทำการของชุมชน มัสยิด สถานที่รับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น

การจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation : Semi CI)   เป็นความร่วมมือกันระหว่างกรุงเทพมหานคร   โดยฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ของสำนักงานเขต ร่วมกับ ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ คณะกรรมการชุมชน จิตอาสาในชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) คอยให้การดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง และพร้อมส่งต่อทันทีหากมีอาการรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ กทม.ยังได้งบประมาณจากเงินสนับสนุนชุมชน โดยนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เตียง ที่นอน ชุดเครื่องนอน เครื่องใช้จำเป็น ผ้าห่ม ยา อาหาร ให้กับผู้ป่วยที่อยู่ในศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation: Semi CI)



ศูนย์แยกกักในชุมชน เป็นการแยกผู้ป่วยออกมาจากบ้านเพื่อลดการแพร่ระบาดภายในครอบครัว โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. คณะกรรมการชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) ในพื้นที่ และประชาชนจิตอาสา มีหน้าที่หลักในการดูแลผู้ป่วย จัดทำทะเบียนผู้ป่วย ตลอดจนการประสานงานกับสำนักงานเขตและศูนย์บริการสาธารณสุข ในการดูแลผู้ป่วย และนำส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล
2. สำนักงานเขตมีหน้าที่สนับสนุนอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น  ชุดเครื่องนอน  เครื่องใช้  อาหาร  ยา  และสนับสนุนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 รวมถึงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนำส่งโรงพยาบาล และจัดการขยะติดเชื้อต่าง ๆ
3. ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ มีหน้าที่ในการสอบสวนโรค ตรวจวินิจฉัย จ่ายยา และให้คำปรึกษากับผู้ป่วย



"ปัจจุบัน เขตทุ่งครุได้เปิดศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation: Semi CI) แล้วทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ ชุมชนอัตตักวา รองรับได้ 10 เตียง ชุมชนดารีซีน รองรับได้ 25 เตียง ชุมชนใต้สะพาน รองรับได้ 20 เตียง และเร็ว ๆ นี้ จะเปิดอีก 1 แห่ง ที่ชุมชนซอยประชาอุทิศ 72 (มัสยิดเนียะมะตุลลอฮ์)  รองรับได้ 30 เตียง   โดยขณะนี้จำนวนผู้ป่วยสะสมที่กักตัว ณ ศูนย์แยกกักในชุมชน  มีดังนี้  ชุมชนอัตตักวา มีผู้ป่วยสะสม 8 คน หายป่วยแล้ว 3 คน  ชุมชนดารีซีน มีผู้ป่วยสะสม 8 คน หายป่วยแล้ว  6 คน ชุมชนใต้สะพาน โซน 1  มีผู้ป่วยสะสม 12 คน หายป่วยแล้วทั้งหมด ขณะนี้มีผู้ป่วยที่ยังรักษาคงเหลืออยู่ทั้งหมด 7 คน"

ผู้อำนวยการเขตทุ่งครุ กล่าวเพิ่มเติมถึงประโยชน์ในการจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation: Semi CI) ว่าเป็นการช่วยลดการแพร่ระบาดได้ เพราะปัจจุบันมีผู้ป่วยมากขึ้น  ทำให้เตียงรักษาไม่เพียงพอ  ซึ่งหากผู้ป่วยรู้ผลเร็ว  จะรักษาได้เร็ว และปัญหาการแพร่ระบาดก็จะลดลงไปได้

"จากข้อมูลของเขตทุ่งครุในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา   พบว่ามีผู้ป่วยมากขึ้น  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแพร่ระบาดในครอบครัว     ผมมองว่าศูนย์แยกกักในชุมชนจึงมีความจำเป็น เพราะถ้าเราช้าไปหนึ่งวัน เท่ากับว่าผู้ป่วยอาจจะนำเชื้อไปติดต่อกับคนอื่นหรือติดคนในครอบครัวได้อีก ซึ่งศูนย์แยกกักในชุมชน จะช่วยตัดวงจรนี้ได้ ถ้าเราแยกผู้ป่วยออกมา จะเป็นการลดการแพร่ระบาดได้ รู้เร็ว หยุดเร็ว ปัญหาการแพร่ระบาดก็จะลดลงไปได้" ผู้อำนวยการเขตทุ่งครุ กล่าว



ด้าน นายชำนาญ โนรัญประธานชุมชนอัตตักวา เล่าว่า ได้เริ่มจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation: Semi CI)  เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา  โดยก่อนการจัดตั้ง  มีการประชาสัมพันธ์และหารือเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในชุมชนก่อน  เพราะการจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation: Semi CI)  ค่อนข้างใกล้ชิดกับชุมชน   ชาวบ้านอาจจะกังวลเรื่องความปลอดภัย  เช่น  เรื่องขยะติดเชื้อ หรือเชื้อโรคต่าง ๆ
"ก่อนการจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน  จะมีการประชาสัมพันธ์  ถามความคิดเห็น และพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจว่าเขามีความคิดเห็นอย่างไร โดยเราจะให้เหตุผลความจำเป็นว่าทำไมถึงต้องมีศูนย์แยกกักในชุมชน ตอนแรก ๆ ประชาชนเขากังวลเรื่องเชื้อโรคที่อาจจะแพร่กระจายไปในอากาศ ซึ่งตรงนี้ สำนักงานเขตก็ได้เข้ามาสนับสนุนด้วยการมอบหมายฝ่ายโยธา นำอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาปิดกั้นสถานที่ให้มิดชิด และมีมาตรการป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะเล็งเห็นว่าการจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน จะสามารถทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลได้อย่างทั่วถึงและลดการแพร่ระบาดในชุมชนได้" ประธานชุมชนอัตตักวา กล่าว   



ขณะที่ นางพนมไพร  ทองดี  อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ศูนย์สาธารณสุข 59 ทุ่งครุ ประจำชุมชนใต้สะพาน โซน 1 ได้ให้ข้อมูลถึงการจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation : Semi CI) ของชุมชนใต้สะพาน โซน 1 ว่า มีการจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชนที่ศูนย์เด็กเล็กภายในชุมชน โดยก่อนการจัดตั้งจะประชาสัมพันธ์ให้ชาวชุมชนทราบก่อน สำนักงานเขตและศูนย์บริการสาธารณสุขมาให้ความรู้และข้อเสนอแนะ ซึ่งประชาชนยินดีให้ความร่วมมือและเห็นว่าเป็นเรื่องดีที่จะมีศูนย์แยกกักในชุมชน

"การจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน สามารถดูแลและรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว เช่น ใครที่เจ็บคอนิดหน่อย เราจะทำการตรวจหาเชื้อทันที มีทีมหมอเชิงรุกเข้ามาช่วยตรวจ ถ้าใครที่ผลตรวจเป็นบวก จะแยกกักตัวทันที ซึ่งผู้ติดเชื้อในชุมชนเองก็ดีใจที่มีการจัดตั้งศูนย์ฯ   นอกจากนี้  เราเข้าไปทำความเข้าใจกับผู้ป่วยด้วยว่า  ไม่ต้องกังวล  ที่นี่ก็สามารถรักษาหายได้ ดูแลใกล้ชิด  
ไม่ต่างจากโรงพยาบาล ซึ่งหากผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ไม่สามารถแยกกักตัวรักษาที่บ้านได้ ก็มากักตัวที่ศูนย์แยกกักในชุมชนได้ แต่สำหรับคนที่เริ่มเป็นกลุ่มสีเหลือง เราจะส่งไปอยู่ในโรงพยาบาลสนามระดับกลุ่มเขต หรือหากเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองที่ค่อนไปทางผู้ป่วยกลุ่มสีแดง จะประสานที่ 1669 เพื่อส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลหลักต่อไป จะเห็นว่า ศูนย์แยกกักในชุมชนก็สามารถช่วยคัดกรองและดูแลผู้ป่วยในเบื้องต้นได้เหมือนกัน"



นางพนมไพร ทองดี กล่าวเพิ่มเติมว่า "ตอนนี้ชุมชนใต้สะพาน โซน 1 มีผู้ป่วยที่อยู่ภายในศูนย์ฯ 2 คน ต้องขอบคุณสำนักงานเขตและศูนย์บริการสาธารณสุขที่จัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชนให้ อีกทั้งเรายังได้ให้กำลังใจ ดูแลรักษากันอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว คนที่มารักษาที่นี่ก็ค่อย ๆ หายป่วยกลับบ้านกันไปทุกคนแล้วค่ะ"

อย่างไรก็ตาม กทม. มีแผนที่จะเดินหน้าเรื่องการจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (Semi Community Isolation : Semi CI) ในพื้นที่เขตอื่น ๆ ของกรุงเทพฯ ต่อไป โดยชุมชนหรือภาคเอกชนใดที่มีความพร้อมสามารถร่วมจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชนกับทาง กทม.ได้เช่นกัน โดยติดต่อได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ ทั้งนี้ความมุ่งหวังก็เพื่อช่วยลดการแพร่ระบาดและติดเชื้อในครัวเรือน รวมถึงประชาชนที่ป่วยจะได้เข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย