• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

นักวิชาการแนะใช้ 'เทคโนโลยี' เพิ่มเข้าถึง 'บริการสุขภาพ' ทั่วถึง

Started by Shopd2, September 07, 2021, 05:05:33 PM

Previous topic - Next topic

Shopd2



ดร.กฤษกร สุขเวชชวรกิจ หัวหน้าสาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวถึงกระแสรัฐสวัสดิการที่มาแรงในขณะนี้ ระบุว่า จากเหตุผลที่ประเทศไทยยังเป็นประเทศกำลังพัฒนานั้น ย่อมไม่สามารถจัดเก็บภาษีเงินได้ในระดับสูงถึง 50-60% เหมือนประเทศแถบสแกนดิเนเวียหรือกลุ่มประเทศ OECD และจากการเก็บภาษีที่สูงมาก ส่งผลให้คนในประเทศเหล่านั้นได้รับบริการทางสังคมอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และที่สำคัญคือ "ฟรี"

"เราเป็นประเทศกำลังพัฒนา หากต้องเปรียบเทียบ ควรเทียบกับประเทศที่อยู่ในระดับเดียวกันหรือกลุ่มประเทศ ASEAN ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยถือว่ามีโครงสร้างระบบสาธารณสุขที่ดีในระดับหนึ่งแล้ว ย้อนไป 20-30 ปีก่อนหน้านี้ การสาธารณสุขของไทยมีเป้าหมายมุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคเป็นหลักเท่านั้น จนกระทั่งปี 2543 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) มีแนวคิดเรื่อง All for Health, Health for All หรือสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน ประเทศไทยจึงเริ่มเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมว่าการสาธารณสุขไม่ใช่เพียงการรักษาโรคเท่านั้น แต่รวมถึงการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ" ดร.กฤษกร เผย


จนกระทั่งมีการกำหนด พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ขึ้น หน่วยงานด้านการสาธารณสุขในประเทศไทยจึงเพิ่มจำนวนมากขึ้น อาทิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น ส่งผลให้คนไทยมีโอกาสได้พบหมอตามสิทธิด้านสุขภาพของแต่ละคน ซึ่งอาจแตกต่างกันไป และได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีมากขึ้น

หลักการถ้วนหน้า แต่คุณภาพไม่ถ้วนหน้า

ดร.กฤษกร ระบุว่า คนไทยทุกคนมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการแพทย์แล้วก็จริง แต่คุณภาพยังมีความเหลื่อมล้ำ ทุกวันนี้ถ้ามีกำลังจ่ายย่อมเลือกไปโรงพยาบาลเอกชนมากกว่า และเรื่องการไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นอีกหนึ่งปัญหาหลักของระบบสาธารณสุขไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากบุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนน้อยและมีการกระจุกตัวในเมืองหลวงสูงจนน่าตกใจ



ปัจจุบันอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรในกรุงเทพมหานคร คือ 1 ต่อ 565 คน  ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ 1 ต่อ 8,375 คน วิธีแก้ไขแบบตรงไปตรงมา คือ เพิ่มหมอและพยาบาลไปในพื้นที่ต่างจังหวัด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้ เนื่องด้วยประชากรวัยทำงานที่ลดลงและความสามารถในการผลิตบุคลากรทางแพทย์มีจำกัด

163052495099

ทางออกที่ดีที่สุดของประเทศไทย ณ ขณะนี้ จึงเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วย เพื่อลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษา และเพิ่มความสามารถในการนำความช่วยเหลือไปสู่พื้นที่ห่างไกลได้มากขึ้น ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในระบบบริการด้านสุขภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนทุกระดับ จะช่วยให้ประชาชนได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างมีคุณภาพ ไม่เหลื่อมล้ำ และปลอดภัย โดยแบ่งเป็น 4 ระบบกว้าง ๆ ได้ดังนี้

1. ระบบที่ใช้จัดเก็บและบันทึกข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย: เวชทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งต่อไปตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อความต่อเนื่องของการรักษา

2. ระบบที่ใช้ในการสื่อสารและติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย: ระบบการแพทย์ทางไกล สามารถพูดคุยกันแบบ Real-time (Telemedicine) หรือระบบติดตามดูแลสุขภาพผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (Mobile Health) จะช่วยให้ติดตามอาการผู้ป่วยได้แม้อยู่ที่บ้าน และยังช่วยลดปัญหาการครองเตียงลงได้อีกด้วย

3. ระบบการสั่งยาและการบริหารยา: ลดปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Error) และการใช้ระบบโลจิสติกส์ร่วมกับคลังยาส่วนกลาง ทำให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องไปรับยาที่โรงพยาบาลอีกต่อไป

4. ระบบสนับสนุนด้านการตัดสินใจทางคลินิก: แพทย์ที่ชำนาญเฉพาะทางสามารถช่วยแพทย์ที่อยู่หน้างานตัดสินใจได้ ไม่จำเป็นต้องมีแพทย์เฉพาะทางในทุกพื้นที่ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ดีขึ้น


จากสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ยิ่งทำให้ประชาชนหันมาใส่ใจสุขภาพ และเว้นระยะห่างทางสังคมมากขึ้น คนส่วนใหญ่จึงนิยมเลือกเข้ารับบริการการรักษาด้วยวิธีที่ทันสมัยมากขึ้น 

"ความมั่นคงทางสุขภาพคือพื้นฐานแรกของการดูแลประชาชน ประเทศไทยอาจไม่ใช่ประเทศร่ำรวยที่จะทำระบบรัฐสวัสดิการได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่เราสามารถสร้างความปลอดภัยและความสุขให้คนในประเทศได้ มองในแง่ดีเรามีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานการรักษาที่เข้าขั้นระดับสากล ให้บริการด้วยไมตรี เป็นกันเอง และราคาที่สมเหตุสมผลกว่าประเทศอื่น ๆ นับเป็นจุดแข็งที่เพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้กับประเทศในด้าน Medical Tourism ได้อีกด้วย" 

คุณภาพที่ถ้วนหน้าและเท่าเทียม ต้องใช้องค์ความรู้ที่รอบด้าน

ดร.กฤษกร แสดงความกังวลด้วยว่า หากให้ภาครัฐผลักดันฝ่ายเดียวคงไม่ทันการณ์ เอกชนและคนรุ่นใหม่ควรมีส่วนร่วมผลักดัน แต่เนื่องจากเรื่องเทคโนโลยีสุขภาพเป็นศาสตร์ประยุกต์ คือต้องมีทั้งองค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ การบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลบิ๊กดาต้า ผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับด้านนี้จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ทางวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเร่งเพิ่มเติมองค์ความรู้ดังกล่าว ด้วยการเปิดหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ: Health Business Management (HBM) หลักสูตรนี้สามารถเรียนได้ตั้งแต่ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ Startup หรือบุคคลที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพทั้งหมด ตัวอย่างวิชาที่เปิดสอน อาทิ วิชา Managerial Decision Strategy โดยใช้หลักการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Futuristic Thinking) เตรียมกลยุทธ์รับมือในแต่ละสถานการณ์ และใช้กระบวนการตัดสินใจที่ละเอียดอ่อนกว่าธุรกิจปกติทั่วไป


เนื่องด้วยความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายถึงชีวิต วิชา Logistics and Supply Chain Management for Healthcare Business จะช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันของการรับบริการทั้งระบบลงได้ เพราะห่วงโซ่ที่มีประสิทธิภาพย่อมทำให้ต้นทุนการบริการทางการแพทย์ลดลง

ขณะที่วิชา Healthcare Business Analytics and Data Science จะช่วยให้คนไทยทุกคนมีตัวตนในระบบสุขภาพอย่างแท้จริง ไม่ได้แค่มีชื่อในระบบ แต่สามารถติดตามผลรายบุคคลและนำมาสู่การวางแผนป้องกันด้านสาธารณสุขระดับประเทศ ก่อนที่จะเกิดวิกฤตสุขภาพเกิดขึ้นอีกในอนาคต