• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

‘อนุสรณ์ ธรรมใจ’เสนอลดหนี้กยศ.นักศึกษาจบใหม่ปี 63-65 

Started by Joe524, August 30, 2021, 08:10:53 PM

Previous topic - Next topic

Joe524



รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษาแห่งชาติ และ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการทางวิชาการ ม.รังสิต เปิดเผยว่า การคลายล็อกดาวน์ทำให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นในช่วง 4เดือนสุดท้ายของปีนี้ แต่ไม่ได้ทำให้สถานการณ์การว่างงานของนักศึกษาจบใหม่ดีขึ้น จึงขอเสนอให้มีการลดหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ลง 10-30% สำหรับนักศึกษาจบใหม่ในปี พ.ศ. 2563-2565ทั้งนี้ จำนวนผู้ว่างงานโดยเฉพาะบรรดาแรงงานนักศึกษาจบใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานในช่วงวิกฤตการณ์โควิดสะสมอยู่ที่ 3-3.5 แสนคนเป็นอย่างน้อย ขณะที่ผู้ว่างงานและว่างงานแฝงโดยรวมไม่ต่ำกว่า 1.2 ล้านคน ส่วนอัตราการว่างงานโดยรวมดีขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสสองเมื่อเทียบกับไตมาสสองปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ว่างงานบวกว่างงานแฝงและทำงานต่ำระดับสะสมยังเพิ่มต่อเนื่อง แต่เราต้องเข้าใจว่าคำนิยามของการว่างงาน คือ ทำงานน้อยกว่าสัปดาห์ละหนึ่งชั่วโมง และมีคนจำนวนมากทำงานไม่ถึง 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งหากพิจารณาตามคำนิยามคือไม่ถือเป็นคนว่างงานแต่เป็นผู้ว่างงานแฝงเท่านั้น แต่สภาวะความเป็นจริงแห่งการดำรงชีพ คนเหล่านี้เป็นผู้มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและดูแลครอบครัวแล้วจึงไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมหนี้ครัวเรือนขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 90.5% ต่อจีดีพี และหนี้เหล่านี้ยังไม่นับรวมหนี้นอกระบบสถาบันการเงิน

นอกจากนี้สถานการณ์การว่างงานยังทำให้กองทุนประกันสังคมมีเงินไหลออกมากกว่าปกติจากกองทุนประกันการว่างงาน มีการใช้ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยมากกว่าสถานการณ์ปกติมาก ความมั่นคงทางการเงินของกองทุนประกันสังคมในระยะยาวจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลต้องเอาใจใส่

อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา ยังกล่าวอีกว่า การออกจากระบบการศึกษาของนักเรียนและนักศึกษาจำนวนมากสร้างความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ สังคมไทยในระยะยาว ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจจะถดถอยลงอย่างชัดเจนในระยะต่อไป นอกจากนี้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมจะเพิ่มสูงขึ้น การจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันโดย IMD ปี 2564 แสดงให้เห็นว่า การศึกษาไม่มีคุณภาพและการลงทุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์ต่ำเป็นปัจจัยฉุดรั้งประเทศชาติมากที่สุดในทุกด้าน การขาดระบบคุณธรรม (Merit System) ในระบบราชการและระบบการเมืองทำให้กิจการภาครัฐ เต็มไปด้วยการเล่นพรรคเล่นพวก การฉ้อฉล การซื้อขายตำแหน่ง คนมีความรู้ความสามารถไม่สามารถเข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญได้ทำให้ประเทศอ่อนลงเรื่อยๆในระยะยาว

ผู้เรียนที่มีศักยภาพและความสามารถในการเรียน แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ขาดแคลนรายได้อันเป็นผลจากการล็อกดาวน์  รัฐต้องจัด "ทุนการศึกษา" ช่วยเหลือให้ได้ 100% โดยต้องไม่ให้ "เด็กคนไหน" ต้องตกออกจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโควิด ช่วยเหลือผ่านกองทุนเงินให้เปล่า ไม่ต้องกู้ยืม ทุนการศึกษาเหล่านี้ต้องครอบคลุมค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการครองชีพระหว่างเรียน

การเสียชีวิตของคนจำนวนไม่น้อยจากติดเชื้อไวรัสโควิดทำให้มีเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้นจำนวนมาก จึงอยากเสนอให้จัดสรรงบเพิ่มเติมไปยังสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าทั้งของหน่วยราชการ มูลนิธิและเอกชนทั้งหลายเพิ่มเติม เนื่องจากมีเด็กกำพร้าจำนวนไม่น้อยไม่มีญาติเลี้ยงดูหลังบิดามารดาเสียชีวิตกะทันหัน ในหลายกรณีเป็นการเสียชีวิตทั้งครอบครัว นอกจากนี้การช่วยเหลือควรครอบคลุมไปถึงแรงงานต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยด้วย

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการล็อกดาวน์ การปิดสถานศึกษา การแพร่ระบาดของโควิดในหมู่บุคลากรทางการศึกษา รัฐมีหน้าที่แก้ไขปัญหาและรัฐบาลต้องจัดการให้พลเมืองทุกคนให้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่มีอยู่ในตัวตนของแต่ละบุคคลให้เต็มศักยภาพ จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อยกฐานะและชนชั้นในสังคมให้ทุกๆครอบครัวมีโอกาสที่ดีขึ้นผ่านการศึกษา อันนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ซึ่งเป็นปัญหารุนแรงมากขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์โควิด

โดยอยากเสนอให้เปลี่ยนวิธีการจัดการงบประมาณระบบการศึกษาโดยเฉพาะงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ จาก Supply-side Financing เป็น Demand-side Financing ด้วยการจัดสรรเงินทุนโดยตรงไปยังครอบครัวรายได้น้อยหรือครอบครัวยากจนเพื่อให้นักเรียนและนักศึกษาได้มีเงินทุนในการศึกษาต่อไปได้ (Demand-side Financing)  จากการที่ครอบครัวได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโควิด โดยลดการจัดสรรโดยตรงไปที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยให้น้อยลง (Supply-side Financing) จึงไม่จำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในเบื้องแรก หากจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาการตกออกจากระบบการศึกษาจากปัญหาทางเศรษฐกิจให้จัดสรรผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาหรือจัดสรรผ่านกลไกอื่นๆที่ไม่ใช่หน่วยราชการแบบเดิมที่ไม่มีประสิทธิภาพและยังมีความไม่โปร่งใสในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ 

รวมทั้ง ควรให้สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของรัฐสามารถเรียกเก็บค่าเล่าเรียนเพิ่มเติม ค่าธรรมเนียมการศึกษาเพิ่มเติม ค่าบริการหรือค่าอำนวยสะดวกเพิ่มเติมได้จากผู้เรียนในกรณีที่สามารถจัดบริการทางการศึกษาด้วยคุณภาพที่สูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่รัฐกำหนด เพื่อให้ผู้เรียนและผู้ปกครองที่มีฐานะทางเศรษฐกิจได้มีส่วนร่วมระดมทุนเพื่อการศึกษา ตามหลักประโยชน์ที่ได้รับ (Benefit Principle) และทำให้รัฐสามารถนำเงินเหลือไปอุดหนุนการศึกษาภาคบังคับ การศึกษาระดับมัธยมและหลักสูตรอาชีวศึกษาและวิชาชีพเพิ่มขึ้น 

นอกจากนี้รัฐควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษาออนไลน์สำหรับนักเรียนและโรงเรียนต่างๆให้เพียงพอ ทั่วถึงและมีคุณภาพ Education Technology เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทักษะกำลังคนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดซึ่งอาจจะดำรงอยู่อีก 1-2 ปี การเข้าถึงเทคโนโลยีทางการศึกษาพร้อมกับเนื้อหาสาระที่เสริมสร้างภูมิปัญญาและความรู้จะนำมาสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมไทยดีขึ้น และโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาที่รัฐจัดให้นั้น รัฐต้องประกันให้ได้มาตรฐานขั้นต่ำ และเป็นความเสมอภาคในแนวนอน (Horizontal Equity) สำหรับพลเมืองทุกคน

FrankJScott