• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

เบรก! ธปท. ไม่สนับสนุนใช้ ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ชำระค่าสินค้า-บริการ

Started by Prichas, December 03, 2021, 03:42:46 PM

Previous topic - Next topic

Prichas

ธปท. ย้ำ ไม่สนับสนุนใช้สินทรัพย์ดิจิทัล ชำระค่าสินค้าและบริการ เหตุผันผวนสูง เสี่ยงถูกโจรกรรมทางไซเบอร์และใช้เป็นเครื่องมือฟอกเงิน เผยอยู่ระหว่างหารือ ก.ล.ต. ออกเกณฑ์กำกับ หวังลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ข้อมูลจากสำนักข่าวอิศรา ระบุว่า เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. นางสาว สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ติดตามการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อการลงทุนและการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการทางการเงิน รวมถึงการนำสินทรัพย์ดิจิทัลไปใช้ในรูปแบบที่เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

ที่ผ่านมา ธปท. ได้มีการแจ้งเตือนเป็นระยะ และขอย้ำว่า ธปท. ไม่สนับสนุนการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ เนื่องจากราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนสูง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน ที่จะส่งผลต่อร้านค้า ผู้ประกอบธุรกิจ รวมถึงประชาชนผู้ใช้บริการให้ได้รับความเสียหายในระยะต่อไป หากมีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการในวงกว้างอย่างแพร่หลาย

 

"ความเสี่ยงข้างต้นอาจส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบการชำระเงิน เสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ และความเสียหายแก่สาธารณชนทั่วไปได้ ซึ่งเป็นมุมมองที่สอดคล้องกับผู้กำกับดูแลในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และมาเลเซีย โดยที่ผ่านมา มีบางประเทศจำกัดการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในขอบเขตเพื่อการลงทุนเป็นหลัก เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม ขณะที่หลายประเทศอยู่ระหว่างการพิจารณาการกำกับดูแลที่เหมาะสม" น.ส.สิริธิดาระบุ


น.ส.สิริธิดา ระบุว่า ปัจจุบัน ธปท. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณารูปแบบการกำกับดูแลการให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อจำกัดความเสี่ยงข้างต้น โดยจะยังให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบการชำระเงิน รวมถึงการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินโดยรวม

 

ก่อนหน้านี้ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท บิทาซซ่า จำกัด ซึ่งเป็นนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker) ประกาศความร่วมมือในการนำคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่ร้านกาแฟอินทนิล โดยตั้งแต่ 1 ธ.ค.2564 จำนวน 21 สาขาและจะเพิ่มอีก 100 สาขา ในวันที่ 1 ม.ค.2565 ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจะขยายไปทั่วประเทศภายในไตรมาส 2 รวมทั้งมีแผนจะขยายสู่ธุรกิจอื่น ๆ ของบางจากฯ เช่น ธุรกิจคาร์แคร์ สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น


วันเดียวกัน น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้าพบ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) ,พล.ต.ต. พุฒิเดช บุญกระพือ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (ผบก.ปอศ.) เพื่อหารือถึงแนวทางการประสานงานในการสืบสวนและตรวจสอบการกระทำผิดเกี่ยวกับตลาดทุนและสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย

 

ทั้งนี้ จากการหารือเบื้องต้น ทั้ง 2 หน่วยงานได้ทำข้อตกลงความร่วมมือในกรณีที่มีผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนและสังคม รวมทั้งการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อกัน โดยจะเริ่มทำงานเชิงรุกร่วมกันในกรณีที่อาจเข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ที่การซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีมีความผันผวนสูงมากในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ บช.ก. โดย ปอศ. พร้อมให้การสนับสนุนด้านการติดตามผู้ถูกกล่าวหาที่หลบหนีการกระทำผิดเพื่อนำตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

 

น.ส.รื่นวดี กล่าวว่า ทางก.ล.ต. พร้อมให้ความร่วมมือกับ บช.ก. และยินดีเป็นอย่างยิ่งในการประสานการทำงานร่วมกันของทั้งสองหน่วยงาน ซึ่งจะทำให้กระบวนการสืบสวนและตรวจสอบมีความรวดเร็วและลดขั้นตอนของกระบวนการสืบหาพยานหลักฐาน อันทำให้การบังคับใช้กฎหมายในตลาดทุนมีประสิทธิภาพและเห็นผลอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดกับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

 

พล.ต.ท จิรภพ กล่าวว่า ทางบช.ก. ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะทางของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมให้ความร่วมมือและร่วมปฏิบัติงานกับ ก.ล.ต. โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายในการดำเนินคดีที่มีผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศในวงกว้าง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน รวมถึงการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีร่วมกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพต่อการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการกระทำผิด ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งรูปแบบของการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ล้วนเป็นช่องทางของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน