• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้  'อ่อนค่า ' ที่ระดับ  33.74 บาท/ดอลลาร์

Started by dsmol19, December 03, 2021, 05:26:26 PM

Previous topic - Next topic

dsmol19

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทยังคงเผชิญความผันผวนฝั่งอ่อนค่าต่อเนื่องจากแรงขายสินทรัพย์ไทย  'หุ้น  บอนด์ 'ระยะสั้นตามการปรับสถานะเก็งกำไรของผู้เล่นต่างชาติ

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  33.74 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อย จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.72 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุนธนาคารกรุงไทยระบุว่าแม้ว่า ตลาดการเงินในฝั่งเอเชียและยุโรปจะสามารถรีบาวด์ขึ้นมาได้บ้างในวันก่อนหน้า ทว่าความผันผวนในตลาดการเงินยังคงอยู่ในระดับที่สูงอยู่ ดังจะเห็นได้จากการที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่สามารถรีบาวด์กลับขึ้นมาได้เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆ และปิดตลาดย่อตัวลง (ดัชนี S&P500 ปิดตลาด -1.18% เช่นเดียวกับ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ที่ปรับตัวลงกว่า -1.83%) โดยแรงกดดันต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลให้ในวันนี้บรรยากาศในตลาดการเงินโดยรวมกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ยังคงมาจากความกังวลปัญหาการแพร่ระบาด COVID-19 สายพันธุ์ "Omicron" หลังสหรัฐฯ มีรายงานพบผู้ติดเชื้อ Omicron เป็นรายแรก และนอกจากประเด็น Omicron ตลาดยังเผชิญแรงกดดันจากมุมมองของประธานเฟดที่เดินหน้าสนับสนุนแนวโน้มการเร่งลดคิวอี หลังจากที่ประธานเฟดมองว่า เงินเฟ้ออาจเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูงได้นานกว่าที่เคยประเมินไว้


ในฝั่งตลาดบอนด์ ความกังวลสถานการณ์การระบาดของ Omicron ได้กดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงราว 6bps แตะระดับ 1.42% ซึ่งภาพดังกลา่ว สะท้อนว่าผู้เล่นบางส่วนยังคงมีความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์การระบาด และเลือกที่จะเข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยไว้ก่อน แม้ว่าในมุมนึงผู้เล่นในตลาดเริ่มประเมินว่าเฟดอาจมีการประกาศเร่งลดคิวอีในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ อนึ่ง เราคงมุมมองเดิมว่า บอนด์ยีลด์ทั่วโลกยังมีแนวโน้มแกว่งตัว sideways ในระยะสั้น จนกว่าตลาดจะมั่นใจได้ว่า Omicron ไม่ได้มีความน่ากลัวอย่างที่เคยประเมินไว้ ซึ่งอาจต้องรอข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มากขึ้น โดยทางบริษัทผู้ผลิตวัคซีนสำคัญ อาทิ Pfizer, BioNTech และ Moderna ต่างคาดว่า อาจจะสามารถรายงานผลวิจัยประสิทธิภาพวัคซีนต่อ Omicron ได้ภายใน 2 สัปดาห์ 

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์รีบาวด์ขึ้นมาเล็กน้อย โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ได้แกว่งตัวในระดับ 96.03 จุด หนุนโดยความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยของผู้เล่นในตลาดที่เริ่มมองว่า ความผันผวนในตลาดอาจปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าคาด หลังจากที่ ดัชนีความกลัวที่วัดความผันผวนตลาดหุ้นสหรัฐฯ หรือ VIX Index ได้ปรับตัวขึ้น ทะลุแนวต้านสำคัญที่ 29 จุด สู่ระดับ 31 จุด ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ยังคงไม่ได้แข็งค่าขึ้นไปมาก เพราะถูกกดดันจากการปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ รวมถึงแรงกดดันจากการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) สู่ระดับ 113 เยนต่อดอลลาร์ หลังผู้เล่นในตลาดเลือกที่จะเพิ่มการถือครองเงินเยนตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเช่นกัน 


อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินดอลลาร์จะรีบาวด์กลับขึ้นมา แต่ก็ไม่ได้กดดันให้ราคาทองคำย่อตัวลงหนัก เนื่องจากราคาทองคำยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ส่งผลให้ล่าสุด ราคาทองคำสามารถรีบาวด์ขึ้นได้สู่ระดับ 1,780 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเรามองว่า ราคาทองคำยังคงได้แรงหนุนจากผู้เล่นในตลาดที่ต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัยอยู่ ทำให้ราคาทองคำจะไม่ปรับฐานลงหนัก แต่การรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำก็อาจถูกจำกัดด้วยท่าทีของเฟดที่มีแนวโน้มจะเร่งใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำ

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอลุ้นผลการประชุมของกลุ่ม OPEC+ ว่าจะมีข้อสรุปเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันต่อเนื่องตามที่เคยได้วางแผนไว้หรือไม่ หลังจากที่การระบาดของ Omicron อาจกดดันความต้องการใช้พลังงานได้ในระยะสั้น อีกทั้ง สหรัฐฯ รวมถึงชาติพันธมิตรกลุ่มผู้ใช้น้ำมัน อาทิ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ได้ประกาศพร้อมใช้น้ำมันดิบสำรองเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนพลังงานในระยะสั้น ซึ่งเรามองว่า กลุ่ม OPEC+ จะยังไม่เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในการประชุมครั้งนี้อย่างแน่นอน หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบปรับฐานลงมาพอสมควร และสมดุลตลาดน้ำมันอาจเปลี่ยนไป หากการระบาดของ Omicron ทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น กลุ่ม OPEC+ อาจจะรอดูทิศทางตลาดน้ำมันและสถานการณ์การระบาดไปก่อนในระยะสั้นนี้


สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท จะเห็นได้ว่าเงินบาทยังคงเผชิญความผันผวนในฝั่งอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องจากแรงขายสินทรัพย์ไทย ไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรือ บอนด์ระยะสั้นตามการปรับสถานะเก็งกำไรเงินบาทของผู้เล่นต่างชาติ ซึ่งเรายังคงมองว่า ในระหว่างวันเงินบาทยังคงมีแรงกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าอยู่ จากความกังวลปัญหาการระบาดของ Omicron อีกทั้ง สัญญาณเชิงเทคนิคัลในระยะสั้นยังคงชี้ว่าเงินบาทยังมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่า ทำให้ผู้เล่นต่างชาติยังไม่รีบกลับเข้ามาเก็งกำไรเงินบาทฝั่งแข็งค่า ทำให้ปัจจัยที่จะพอช่วยหนุนให้เงินบาทไม่อ่อนค่าไปมาก คือ การรีบาวด์ของราคาทองคำ รวมถึงแรงขายเงินดอลลาร์ของผู้ส่งออกบางส่วน

อนึ่ง หากพิจารณาสัญญาณเทคนิคัลของเงินบาททั้งในส่วนกราฟรายวันหรือกราฟรายสัปดาห์ จะเริ่มเห็นว่าอินดิเคเตอร์ทั้ง RSI และ MACD อาจเริ่มส่งสัญญาณว่า เงินบาทอาจมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นได้ ซึ่งต้องรอการเกิดสัญญาณเชิงเทคนิคัลอีกครั้ง ถึงจะยืนยันสมมติฐานดังกล่าวได้ และเราเชื่อว่า จังหวะกลับตัวมาแข็งค่าของเงินบาทอาจเกิดขึ้นในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า หากข้อมูลวิทยาศาสตร์ชี้ชัดว่า การเร่งระดมแจกวัคซีนสามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของ Omicron ได้ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจไม่ซบเซาหนัก ทั้งนี้ เงินบาทยังคงมีแนวต้านสำคัญในโซน 33.80-34.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ส่งออกบางรายยังรอขายเงินดอลลาร์ รวมถึงผู้เล่นต่างชาติอาจรอจังหวะกลับเข้ามาเก็งกำไรเงินบาทอีกรอบได้ หากสัญญาณเชิงเทคนิคัลเงินบาทเริ่มเปลี่ยนทิศหรือเกิด Divergence ส่วนแนวรับเงินบาทยังคงอยู่ในโซน 33.40 บาทต่อดอลลาร์ จากแรงซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้าบางส่วน

ดังนั้น ในระยะนี้ เราประเมินว่า ตลาดค่าเงินยังมีแนวโน้มผันผวนสูงอยู่ ผู้ประกอบการควรเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและควรใช้เครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้น

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.60-33.80 บาท/ดอลลาร์
 

ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า  เช้าวันนี้ เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 7 สัปดาห์ที่ 33.83 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะกลับมายืนที่ระดับ 33.78 บาทต่อดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 33.73 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้น โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนและดัชนี ISM ภาคการผลิตเดือนพ.ย. ของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดคาด ประกอบกับนายเจอโรม พาวเวลยังคงส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะมีการปรับลดวงเงิน QE เร็วขึ้น เพราะมีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อสหรัฐฯ จะไม่ชะลอลงตามที่คาดในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า 
  
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 33.60-33.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่  ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ สถานการณ์โควิด-19 ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ และ Beige Book ของเฟด