ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN

ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ โฆษณาสินค้าฟรี => เสริมสวย สุขภาพ => Topic started by: Ailie662 on December 04, 2021, 05:21:53 PM

Title: นักวิทยาศาสตร์คาด เชื้อกลายพันธุ์โอไมครอนอาจมีวิวัฒนาการในหนูมาก่อน
Post by: Ailie662 on December 04, 2021, 05:21:53 PM
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยสคริปส์ของสหรัฐฯ เผยผลวิเคราะห์พันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ โอไมครอน (https://www.peckplit.com/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AE-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/) ว่ามีความเป็นไปได้ที่การกลายพันธุ์แบบพิสดารของมันอาจเป็นผลจากการแอบซุ่มมีวิวัฒนาการในสัตว์ที่ติดเชื้อโควิดจากมนุษย์เป็นเวลานาน ก่อนจะแพร่ระบาดย้อนกลับไปสู่คนอีกครั้ง

ดร. คริสเตียน แอนเดอร์เซน นักภูมิคุ้มกันวิทยาของสถาบันวิจัยสคริปส์ ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ STAT โดยระบุว่าเชื้อโอไมครอนมีวิวัฒนาการแยกสายออกจากบรรดาเชื้อโควิดกลายพันธุ์อื่น ๆ ตั้งแต่ราวกลางปี 2020 แล้ว ซึ่งจัดว่าเป็นการกลายพันธุ์ที่เริ่มต้นขึ้นก่อนสายพันธุ์อื่น ในช่วงต้นของการระบาดใหญ่

ดร. แอนเดอร์เซนมองว่า การที่โอไมครอนสามารถแอบซุ่มเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเป็นเวลานานกว่า 1 ปี และเฝ้าเก็บสะสมยีนกลายพันธุ์จำนวนมากเอาไว้ได้ โดยไม่เคยปรากฏตัวในการระบาดทั่วโลกมาก่อนเลยนั้น เป็นเพราะมันฟักตัวอยู่ในกลุ่มประชากรที่แยกโดดเดี่ยวจากการสำรวจและเฝ้าระวังไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ ๆ หรือไม่ก็ซุ่มฟักตัวอยู่ในเหล่าสัตว์บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่มีโอกาสติดเชื้อโควิดจากมนุษย์

ผลการวิเคราะห์พันธุกรรมของเชื้อโอไมครอนชี้ว่า มีการกลายพันธุ์ของยีนถึง 7 ตำแหน่ง ที่ทำให้สัตว์จำพวกหนูหลายชนิดสามารถติดเชื้อไวรัสโควิดชนิดนี้ได้ ในขณะที่เชื้อกลายพันธุ์ที่น่าห่วงกังวลอื่น ๆ อย่างเช่นเชื้ออัลฟา มียีนกลายพันธุ์แบบเดียวกันไม่กี่ตำแหน่งเท่านั้น

นอกจากนี้ ยีนกลายพันธุ์หลายตัวที่ทำให้โอไมครอนสามารถปรับตัวดำรงชีวิตและแพร่พันธุ์ในร่างกายของหนูได้ดี ยังเป็นยีนที่ไม่พบในไวรัสโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าโอไมครอนถือกำเนิดและมีวิวัฒนาการในสัตว์จำพวกหนูมาก่อน

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์มีข้อสันนิษฐานเรื่องที่มาของเชื้อโอไมครอนอยู่ 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่การกลายพันธุ์ในร่างกายของผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง, การกลายพันธุ์ในร่างกายของผู้ป่วยโควิดเรื้อรัง, หรือการกลายพันธุ์ในสัตว์ที่ติดเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมไปจากมนุษย์ (reverse zoonosis) ซึ่งจะตามมาด้วยการที่สัตว์นั้นแพร่เชื้อกลายพันธุ์ใหม่ย้อนกลับไปสู่คนอีกครั้ง (zoonosis)

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า เชื้อโอไมครอนมาจากการกลายพันธุ์ในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งภาวะดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้เชื้ออยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดการกลายพันธุ์สะสมได้ง่าย จนเชื้อมีวิวัฒนาการเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างมาก

"คาดว่าการกลายพันธุ์ของโอไมครอนไม่ได้เกิดในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งมีการเฝ้าระวังและสำรวจวิเคราะห์พันธุกรรมของไวรัสโควิดในท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ แต่เป็นไปได้ว่าเชื้อนี้มาจากที่อื่นในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ ระหว่างการระบาดระลอกใหม่ในฤดูหนาว" ดร. คริสเตียน ดรอสเทน นักไวรัสวิทยาจากโรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยชาริทีในเยอรมนีกล่าว