• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ต่อชีวิตผู้ป่วยตัวน้อยด้วย 'การปลูกถ่ายตับในเด็ก' (ตอน 1)

Started by Cindy700, July 31, 2021, 08:00:04 PM

Previous topic - Next topic

Cindy700




"ตับ" เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลายประการ เช่น เป็นแหล่งสะสมพลังงาน สารอาหาร และวิตามินต่างๆ ควบคุมระบบเผาผลาญของร่างกาย สร้างน้ำดีเพื่อช่วยย่อยและดูดซึมอาหารประเภทไขมัน สร้างโปรตีนช่วยการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ตับยังมีหน้าที่ขจัดยาหรือสารพิษออกจากร่างกาย และทำลายเชื้อโรคที่ผ่านมาทางกระแสเลือดอีกด้วย ซึ่งหากตับเกิดความผิดปกติเรื้อรัง เช่น การอักเสบหรือผังผืด ทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อาจตามมาด้วยการเป็นโรคตับแข็ง หรือตับวายเรื้อรัง และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

ในปัจจุบันมีการรักษาโรคตับแข็ง หรือตับวายเรื้อรัง โดยการปลูกถ่ายตับ ทำให้ผู้ป่วยสามารถหายขาดและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ ซึ่งบทความ "ศุกร์สุขภาพ" สัปดาห์นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการปลูกถ่ายตับในเด็กเท่านั้น

สาเหตุที่ทำให้เด็กต้องได้รับการปลูกถ่ายตับ

สาเหตุของ โรคตับแข็ง หรือตับวายเรื้อรัง ที่ทำให้เด็กต้องได้รับการปลูกถ่ายตับมากที่สุดคือ โรคท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด โดยเด็กจะเริ่มมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตั้งแต่อายุ 1-2 เดือน และมีอุจจาระสีซีด แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคจากการตรวจเลือด อัลตราซาวนด์และฉีดสารทึบรังสีบริเวณท่อน้ำดี

หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าโรคท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด คนไข้จะได้รับการผ่าตัดแก้ไขทางเดินน้ำดีก่อน ซึ่งควรทำในอายุไม่เกิน 2 เดือน จึงจะให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหากบางรายที่การผ่าตัดไม่ได้ผล หรือวินิจฉัยช้า จะส่งผลให้เด็กเป็นโรคตับแข็งตามมา และจะต้องปลูกถ่ายตับภายในอายุ 2-3 ปี ไม่เช่นนั้นเด็กจะเสียชีวิต ซึ่งในอดีตมีเด็กจำนวนหนึ่งต้องเสียชีวิตจากภาวะตับแข็ง เนื่องจากยังไม่มีการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ

ภาวะหรือโรคอื่นๆ ที่พบไม่บ่อย แต่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กต้องได้รับการปลูกถ่ายตับได้ เช่น ภาวะตับวายเฉียบพลัน ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เด็กจะมาด้วยอาการตัวเหลือง ซึมลง มีเลือดออกผิดปกติ หลังจากที่ให้การรักษาแล้วยังไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องได้รับปลูกถ่ายตับ เพื่อการรักษาที่หายขาด โรคตับที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นต้น


การปลูกถ่ายตับ เป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน ต้องอาศัยทีมสหสาขาวิชาในการประเมินและการดูแลรักษาผู้ป่วย และผู้บริจาค อาทิ เช่น ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ กุมารศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ อายุรแพทย์และกุมารแพทย์โรคทางเดินอาหารและตับ พยาบาลประสานงาน นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบัน ผลลัพธ์ของการปลูกถ่ายตับในเด็กอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

ขั้นตอนการปลูกถ่ายตับเป็นอย่างไร

ตับบริจาคได้มาจากไหน?

การบริจาคตับ ได้มาจากผู้บริจาค 2 ประเภท ได้แก่ ผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย คือผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตายโดยแจ้งผ่านทางสภากาชาดไทยและมีการกระจายให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ที่ลงทะเบียนปลูกถ่ายอวัยวะไว้ตามความเหมาะสม อย่างเป็นธรรม และอีกประเภท คือ ผู้บริจาคที่มีชีวิต ซึ่งเป็นญาติทางสายเลือดกับคนไข้

ในประเทศไทยผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย ยังมีจำนวนไม่มากนัก และขนาดของตับมักจะไม่เหมาะกับขนาดตัวของเด็ก เพราะการปลูกถ่ายตับมักจะทำในเด็กอายุประมาณ 1-2 ปี ดังนั้นการปลูกถ่ายตับเด็กในประเทศไทยส่วนมากจะใช้ตับจากผู้บริจาคที่มีชีวิต ซึ่งเป็นพ่อหรือแม่ หรือญาติทางสายเลือดที่มีกรุ๊ปเลือดเข้ากันได้กับคนไข้

ใครที่บริจาคตับได้บ้าง?

ในการรับตับจากผู้บริจาคที่มีชีวิต ความปลอดภัยของผู้บริจาคมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง แพทย์จึงจะประเมินผู้บริจาคอย่างละเอียด โดยผู้บริจาคต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ทั้งนี้แพทย์จะประเมินความพร้อมของร่างกาย โดยการตรวจเลือด และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นจะวางแผนการผ่าตัดแบ่งตับในขนาดที่เหมาะสมกับคนไข้ และไม่เป็นอันตรายต่อตัวผู้บริจาค รวมทั้งมีจิตแพทย์ร่วมประเมินภาวะของจิตใจว่าผู้บริจาคมีความพร้อมหรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องประเมินความพร้อมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยหลังจากปลูกถ่ายตับเรียบร้อยแล้ว


ระหว่างการผ่าตัด

ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาส่วนหนึ่งของตับจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (หรือตับทั้งหมด ในกรณีที่ได้ตับจากผู้บริจาคสมองตาย) มาใส่ให้กับผู้ป่วย โดยการนำตับเก่าของคนไข้ออก แล้วจึงผ่าตัดตับที่ได้รับบริจาคจากผู้บริจาคเข้าไปทดแทนตับเดิม โดยเย็บต่อเส้นเลือดและท่อน้ำดีเข้าด้วยกัน

สัปดาห์หน้ายังมีเรื่องราวน่ารู้ของการดูแลผู้ป่วยที่ผ่าตัดปลูกถ่ายตับเรียบร้อยแล้ว ข้อควรระวัง และสิทธิ์การผ่าตัดรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับในเด็ก รอติดตามกันนะคะ

@@@@@@@

แหล่งข้อมูล

ผศ.พญ.ฉัตต์มณี เลิศอุดมผลวณิช ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล