• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “ทรงตัว” ที่ระดับ 33.80 บาท/ดอลลาร์

Started by Jenny937, October 09, 2021, 07:46:06 PM

Previous topic - Next topic

Jenny937

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทมีโอกาสที่จะเริ่มกลับมาแข็งค่ามากขึ้น หากตลาดการเงินเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น และ เงินดอลลาร์เริ่มอ่อนค่าลงหลังตลาดรับรู้รายงาน NFP เป็นไปตามที่ตลาดประเมิน

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  33.80 บาทต่อดอลลาร์ไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า


นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทยระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทโดยรวมจะยังคงผันผวนตามเงินดอลลาร์เป็นหลัก เนื่องจากผู้เล่นในตลาดก็อาจรอดูข้อมูล NFP ก่อน อย่างไรก็ดี เงินบาทมีโอกาสที่จะเริ่มกลับมาแข็งค่ามากขึ้น หากตลาดการเงินเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น และ เงินดอลลาร์เริ่มอ่อนค่าลงหลังตลาดรับรู้รายงาน NFP เป็นไปตามที่ตลาดประเมิน

 

นอกจากนี้ เราเริ่มเห็นนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยสุทธิมากขึ้น ตามแนวโน้มการเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินโลก ขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกทยอยเข้ามาขายเงินดอลลาร์มากขึ้น ในช่วงใกล้ระดับ 33.85 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ แนวต้านของเงินบาทอาจขยับลงมาอยู่ในโซน 33.85-33.90 บาทต่อดอลลาร์ และแนวต้านสำคัญยังคงเป็นโซน 34 บาทต่อดอลลาร์

 

ทั้งนี้ เรายังไม่ได้มองว่า เงินบาทจะกลับไปแข็งค่าหนัก เพราะปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยยังไม่ได้ฟื้นตัวดีมากนักและโมเมนตัมการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ยังคงมีอยู่ ซึ่งเรามองว่าแนวรับของเงินบาทหากมีการแข็งค่าจะอยู่ในช่วง 33.60 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่อาจเห็นผู้นำเข้าบางส่วน เข้ามาทยอยซื้อเงินดอลลาร์มากขึ้น (Buy on Dip)

 

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.75-33.90 บาท/ดอลลาร์  

 

 


ตลาดการเงินโดยรวมเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่อง หลังจากผู้เล่นในตลาดเริ่มคลายความกังวลปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่ล่าสุด วุฒิสภาสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะบรรลุข้อตกลงขยายเพดานหนี้ สู่ระดับราว 29 ล้านล้านดอลลาร์ ไปจนถึงช่วงต้นเดือนธันวาคม ลดความเสี่ยงที่สหรัฐฯ อาจผิดนัดชำระหนี้ได้ในระยะสั้น นอกจากนี้ sentiment ในการตลาดเงินยังได้แรงหนุนจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ที่ลดลงสู่ระดับ 3.26 แสนราย ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สะท้อนว่า โมเมนตัมการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของผู้เล่นในตลาด ได้ช่วยให้ ตลาดหุ้นในฝั่งสหรัฐฯ รีบาวด์กลับขึ้นมาปิดตลาดในแดนบวกได้ โดย ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq +1.05% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.83%

 

ส่วนทางด้านตลาดยุโรป ดัชนี STOXX50 ก็ปรับตัวขึ้นกว่า +2.14% หลังผู้เล่นในตลาดคลายความกังวลวิกฤติพลังงานในฝั่งยุโป จากท่าทีของรัสเซียที่พร้อมจะช่วยสนับสนุนด้านพลังงานและทำให้ราคาแก๊สธรรมชาติทยอยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ตลาดหุ้นในฝั่งยุโรป ได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่มยานยนต์ Daimler +4.3%, Volkswagen +2.6%, กลุ่ม Tech ASML +3.5%, Adyen +2.0% รวมถึง กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย Kering +3.2%, Louis Vuitton +2.1% 

 

ในฝั่งตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นราว 5bps สู่ระดับ 1.58% ตามภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดและสัญญาณการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ดีขึ้นต่อเนื่อง จนทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มมั่นใจว่า เฟดจะสามารถปรับลดคิวอีได้ในการประชุมเดือนพฤศจิการยน ทั้งนี้ เรามองว่า การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ น่าจะ priced-in รายงานยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls: NFP) ในวันนี้ ที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 4 แสนตำแหน่ง ไปมากแล้ว ทำให้ NFP อาจไม่ได้มีผลต่อทิศทางบอนด์ยีลด์ 10ปี มากนัก ซึ่งเรามองว่า ปัจจัยที่จะช่วยให้บอนด์ยีลด์ขยับขึ้นต่อเนื่อง อาจเป็นมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อทิศทางเงินเฟ้อ (Inflation Expectation) รวมถึง บรรยากาศของตลาดการเงินโดยรวม ว่าจะกลับมาเปิดรับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องหรือไม่

 

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างรอคอยการรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (NFP) ในวันนี้ ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนสถานะถือครองเงินดอลลาร์ โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ยังคงแกว่งตัวใกล้สู่ระดับ 94.20 จุด ทั้งนี้ ควรระวังความผันผวนของเงินดอลลาร์ในช่วงก่อนตลาดรับรู้ข้อมูล NFP ซึ่ง เราคงมองว่า เงินดอลลาร์อาจปรับตัวอ่อนค่าลงได้ หาก NFP เพิ่มขึ้นตามคาด เนื่องจากตลาดได้ priced-in การลดคิวอีของเฟดไปมากแล้วและข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีขึ้นก็อาจช่วยหนุนให้ตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ลดความน่าสนใจของเงินดอลลาร์ลง

 

สำหรับวันนี้ เรามองว่า ตลาดจะจับตาไฮไลท์สำคัญ คือ แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน เพราะหากตลาดแรงงานฟื้นตัวกลับสู่ช่วงก่อนเกิดวิกฤติ COVID-19 เฟดก็จะมีความมั่นใจในการทยอยลดคิวอีมากขึ้น ซึ่ง ตลาดประเมินว่า ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls: NFP) เดือนกันยายน อาจเพิ่มขึ้นกว่า 4.7 แสนราย แต่ถ้าหาก NFP ออกมาต่ำกว่า 2.4 แสนราย อาจส่งผลให้ เฟดยังไม่มั่นใจแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดแรงงานและอาจทำให้ การทยอยลดคิวอีจะเลื่อนไปจากเดือนพฤศจิกายน ที่ผู้เล่นในตลาดได้ priced-in การลดคิวอีในเดือนดังกล่าว

 

ส่วนในฝั่งเอเชีย ผู้เล่นในตลาดจะจับความเคลื่อนไหวของตลาดการเงินจีนที่เริ่มกลับมาซื้อ-ขาย หลังจากช่วงหยุดยาว ทำให้ราคาสินทรัพย์ในฝั่งจีนอาจผันผวน ตามสถานการณ์ความเสี่ยงปัญหาหนี้ของ Evergrande รวมถึงบริษัทอสังหาฯ อื่นๆ ขณะเดียวกัน ตลาดก็อาจยังคงมีความกังวลต่อแนวโน้มการคุมเข้มภาคธุรกิจของจีน โดยเฉพาะในกลุ่มเทคฯ อยู่บ้าง นอกจากนี้ ตลาดประเมินว่า ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 4.00% เช่นกัน เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อก็เริ่มลดลง หลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มกลับสู่กรอบ 2-6% ของ RBI

 

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า  เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 33.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (กรอบการเคลื่อนไหวหลังเปิดตลาดอยู่ระหว่าง 33.79-33.86 บาทต่อดอลลาร์) อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 33.79 บาทต่อดอลลาร์ฯ 

โดยเงินบาทกลับมาอ่อนค่าลง หลังจากเงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงมากกว่าที่คาด และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น โดยบอนด์ยีลด์อายุ 10 ปีขยับขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 1.59% แล้วในช่วงเช้านี้ ขณะที่วุฒิสภาสหรัฐฯ รับรองร่างข้อตกลงยกเพดานหนี้สหรัฐฯ ขึ้น 4.8 แสนล้านดอลลาร์ฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และส่งต่อให้สภาล่าง และปธน. โจไบเดน รับรอง ตามลำดับ

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ คาดไว้ที่ 33.75-33.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยที่ต้องติดตามจะอยู่ที่ ทิศทางฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน และเครื่องชี้ตลาดแรงงานอื่นๆ ในเดือนก.ย. ของสหรัฐฯ