• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

PwC ประเทศไทย ชี้ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบ

Started by PostDD, January 17, 2022, 07:32:39 PM

Previous topic - Next topic

PostDD

PwC ประเทศไทย ชี้ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อรายงานทางการเงินในอนาคต

PwC ประเทศไทย ชี้ภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อรายงานทางการเงินในอนาคต หลังประชาคมโลกออกกฎเกณฑ์ เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น การซื้อคาร์บอนเครดิตที่อาจส่งผลต่อการด้อยค่าสินทรัพย์ หรือเครื่องมือทางการเงินสีเขียวที่อาจส่งผลต่อการลงบัญชี แนะผู้ประกอบการทำความเข้าใจ และประเมินความเสี่ยงของการกำหนดเป้าหมายรักษ์โลกที่มีต่อรายงานทางการเงินขององค์กร เพื่อสามารถวางแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

นางสาว สินสิริ ทังสมบัติ หัวหน้าสายงานตรวจสอบบัญชีและหุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันทั่วโลกต่างตื่นตัวในเรื่องของการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกำลังทำงานร่วมกันเพื่อเดินหน้าไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสานต่อพันธกิจของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ที่ประชาคมโลกได้มีการทำความตกลงเรื่องเป้าหมายและมาตรการต่าง ๆ ในการพยายามควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยปัญหานี้ นอกจากจะส่งผลกระทบทางกายภาพ การออกกฎระเบียบต่าง ๆ และพฤติกรรมของผู้บริโภคแล้ว ยังจะส่งผลกระทบกับงบการเงินในอนาคต 

"ภาวะโลกร้อนนอกจากจะส่งผลกระทบทางกายภาพ การออกกฎระเบียบต่าง ๆ และพฤติกรรมของผู้บริโภคแล้ว ยังจะส่งผลกระทบกับงบการเงินด้วย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้มีการเผยแพร่เอกสารทางการศึกษา ซึ่งพูดถึงประเด็นทางบัญชีต่าง ๆ เช่น พันธกิจในการปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือการซื้อคาร์บอนเครดิตที่อาจส่งผลต่อการด้อยค่าสินทรัพย์ และการออกเครื่องมือทางการเงินที่มีความเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ ถือเป็นสิ่งที่บริษัทจะต้องทำการศึกษาถึงรายละเอียดและผลกระทบที่อาจมีต่องบการเงิน ก่อนที่จะกำหนดเป้าหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใด ๆ" นางสาว สินสิริ กล่าว

ภาวะโลกร้อน กับการด้อยค่าของสินทรัพย์

นางสาว สินสิริ กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนอาจส่งผลให้เกิดข้อบ่งชี้ของการด้อยค่าของสินทรัพย์ในบางธุรกิจ โดยทำให้กิจการจะต้องทำการทดสอบการด้อยค่า เช่น รัฐบาลในบางประเทศอาจมีการกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ ซึ่งหากมีการปล่อยก๊าซพิษเกินกำหนด จะต้องมีการซื้อคาร์บอนเครดิตจากตลาด ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น หรือกรณีพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้ความต้องการในสินค้าบางประเภทลดลง เช่น แนวโน้มของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนรถที่ใช้น้ำมัน ดังนั้น กิจการต้องประเมินว่า เครื่องจักรต่าง ๆ จะสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่ครอบคลุมมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือไม่ เป็นต้น 

นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่บางบริษัทอาจมีการสื่อสารต่อสาธารณชนถึงการดำเนินธุรกิจที่แสดงรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมิได้มีกฎหมายใด ๆ มาบังคับ เช่น สื่อสารว่าจะหันมาใช้เครื่องจักรที่ใช้พลังงานสะอาด ทดแทนเครื่องจักรเก่าภายในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งการสื่อสารในลักษณะนี้ อาจสร้างความคาดหวังต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้น ในการทำประมาณการกระแสเงินสดจากการใช้เครื่องจักรจากเดิมตามอายุการใช้งานปกติอาจทำให้สั้นลง ซึ่งกรณีนี้อาจส่งผลต่อการด้อยค่าได้

ศึกษาและทำความเข้าใจเครื่องมือทางการเงินสีเขียว

นางสาว สินสิริ กล่าวต่อว่า กิจการจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินที่มีการกำหนดเงื่อนไขเชื่อมโยงกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย โดยปัจจุบัน มีเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เช่น ตราสารหนี้สีเขียว และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) ที่อ้างอิงจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของกิจการ ทำให้อัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าว กิจการจะต้องเข้าใจถึงเหตุผลของการเชื่อมโยงของอัตราดอกเบี้ยกับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ว่าเป็นเพราะเหตุใด 

"หากกิจการดำเนินธุรกิจภายใต้กฎหมายที่ควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะต้องปฏิบัติตาม และหากไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ก็อาจส่งผลให้กิจการถึงขั้นต้องปิดโรงงาน ซึ่งถ้าผลเป็นเช่นนี้ เราอาจตีความได้ว่า อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับความเสี่ยงของกิจการ หรือ Credit Risk ดังนั้น กิจการจะต้องบันทึกดอกเบี้ยตามวิธีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง และเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามช่วงเวลาที่กิจการมีความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไป" นางสาว สินสิริ กล่าว

"ในทางกลับกัน หากอัตราดอกเบี้ยไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับกิจการโดยตรง ผู้บริหารจะต้องประเมินเรื่องของอนุพันธ์แฝงที่อยู่ในสัญญาเงินกู้ ซึ่งจะต้องแยกอนุพันธ์ดังกล่าวออกมา หรือรวมในตราสารเงินกู้แล้ววัดด้วยมูลค่ายุติธรรม ซึ่งวิธีการบัญชีจะต้องใช้การวิเคราะห์เนื้อหาของสัญญาเพื่อดูว่า จะต้องลงบัญชีเช่นไร และจะเห็นได้ว่า เรื่องนี้ค่อนข้างมีความซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ" เธอ กล่าว

นอกจากนั้น เรื่องของการประมาณการหนี้สิน ในกรณีที่กิจการมีภาระในการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเก่าเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กิจการจะต้องประเมินถึงผลกระทบกับระยะเวลาในการรื้อถอนและตัวเลขหนี้สินจากประมาณการรื้อถอนในงบการเงิน 

สำหรับประเด็นอื่น ๆ ที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมด้วย เช่น มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินค้าคงเหลือลดลงหรือไม่ จากการที่ต้นทุนผลิตสูงขึ้น หรือการลดลงของราคาสินค้าเนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความต้องการของสินค้าลดลง และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะได้ใช้หรือไม่ หากกำไรในอนาคตมีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน เป็นต้น

ความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูล

นอกจากผลทางด้านตัวเลขแล้ว นางสาว สินสิริ กล่าวว่า การเปิดเผยข้อมูลก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากรายการทางบัญชีหลายรายการ อาศัยการประมาณการข้อสมมติฐานต่าง ๆ ดังนั้น กิจการควรเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงที่มาของตัวเลข ความอ่อนไหวของข้อมูล ข้อสมมติฐานที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่กิจการกำลังเผชิญอยู่ และการบริหารความเสี่ยงของกิจการด้วย

สิ่งที่มีความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การใช้ข้อมูลที่สอดคล้องกันระหว่างฝ่ายบัญชีการเงินและฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดทำประมาณการต่าง ๆ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

"ผู้ประกอบการควรต้องประเมินว่า ธุรกิจที่ตนดำเนินการอยู่ มีความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมใดที่อาจจะกระทบกับตัวเลขในงบหรือไม่ และมากหรือน้อยเพียงใด เพื่อรับทราบถึงผลกระทบและจัดทำรายงานทางการเงินให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม" นางสาว สินสิริ กล่าว

"ในระยะถัดไป ภาวะโลกร้อนจะยิ่งกลายเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับทุก ๆ องค์กรและหน่วยงานธุรกิจที่ต้องหันมากำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษ์โลก และต้องสร้างผลกำไรอย่างมีสำนึกรับผิดชอบ บนพื้นฐานของการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้" เธอ กล่าวทิ้งท้าย