• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

สกสว.จับมือภาคีภาครัฐ – เอกชน เปิดมุมมองทิศทางการพัฒนาพลังงานชีวภาพประเทศ

Started by Ailie662, August 17, 2021, 03:45:28 PM

Previous topic - Next topic

Ailie662



คณะทำงานจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย (สกสว.) ได้จัดประชุมหารือเรื่อง "ทิศทางการพัฒนาพลังงานสะอาดในอุตสาหกรรมน้ำมันและการกลั่น" โดยมี รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. เป็นประธานการประชุม ร่วมหารือกับภาคีภาครัฐ ด้านพลังงาน ผู้แทนสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ตลอดจนตัวแทนจากภาคเอกชน

นายกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยข้อมูลว่า ด้วยปัญหาภาวะโลกร้อนที่นำไปสู่สนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิด Net Zero Carbon Emission ในปี 2050 ทำให้ทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานปิโตรเลียมมาสู่การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพมากขึ้นในอนาคต โดยประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2030 ประเทศไทยจะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20%


แม้ว่าความต้องการน้ำมันของโลก (Global oil demand) น้ำมันยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักในปัจจุบัน ซึ่งถูกใช้ในภาคส่วนการขนส่ง เป็นภาคส่วนหลักที่มีความต้องการใช้น้ำมันสูงสุด แม้ปัจจุบันจะมีพลังงานทดแทนอย่างอื่นก็ไม่อาจทำให้ความต้องการน้ำมันของโลก (Global oil demand) ลดน้อยลง เรียกได้ว่าน้ำมันยังคงครองส่วนแบ่งทางการตลาดของพลังงานโลกอยู่ อย่างไรก็ตามหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ได้ให้ความสนใจกับการผลิต "พลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ" มาทดแทนน้ำมัน โดยคาดการณ์ว่าเชื้อเพลิงชีวภาพจะถูกนำมาใช้ในภาคการขนส่ง และอุตสาหกรรมการบินมากขึ้น แต่จะเป็นเชื้อเพลงชีวภาพแบบดั้งเดิมน้อยลง และใช้เทคโนโลยีผลิตพลังงานชีวภาพขั้นสูง (Advanced Biofuel) เช่น เทคโนโลยีผลิตพลังงานจากเศษวัสดุทางเกษตร หรือของเสียจากอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ทดแทนมากขึ้นในอนาคต



สำหรับประเทศไทยพบว่ามีกำลังการผลิต (Supply) หลัก คือ ไบโอดีเซล และไบโอเอทานอลซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่าประเทศไทยมีกำลังการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเหล่านี้มากกว่าความต้องการ (Demand) ทำให้ยังคงมีส่วนเกินในภาคการผลิต ซึ่งมองว่านี่คือโอกาสของประเทศที่สามารถรองรับสู่การผลิตสารเคมีชีวภาพมูลค่าสูงได้ ดังในสถานการณ์โควิด-19 ไบโอแอลกอฮอลล์นิยมถูกนำไปใช้ในการเจือจางเป็นเจลแอลกอฮอลล์ หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อีกอันที่เป็นโอกาส คือ การผลิตสุรา แต่มีข้อจำกัดเรื่องกฎระเบียบที่ไม่สามารถผลิตแอลกอฮอลล์เพื่อมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้ และมีข้อเสนอให้ควรวางแผนการวิจัยและพัฒนาของประเทศเพื่อการขับเคลื่อนจากโมเดล BCG ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงขยับตัวให้เร็วขึ้น สิ่งที่ประเทศไทยควรดำเนินการเพื่อทำให้การวิจัยพัฒนาในเรื่องของพลังงานชีวภาพและเคมีชีวภาพเป็นรูปธรรมมากขึ้นอันนำไปสู่การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างแท้จริง คือ



• จัดการรวบรวมองค์ความรู้ที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) ด้านพลังงานที่เคยศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาแล้วคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะกับชีวมวลของประเทศไทย
• สร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้รองรับการขยายขนาดจากงานวิจัยในห้องปฏิบัติการเพื่อเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม
• เพิ่มทักษะแรงงานและนักวิจัยของประเทศ ในทำการตลาด การคำนวณความคุ้มทุน โดยเร่งสร้างบุคลากรวิจัยทักษะสูงที่มี

ความเชี่ยวชาญจำเพาะเจาะจงในสารเคมีชีวภาพหรือเชื้อเพลิงนั้นๆ และอาจจำเป็นต้องร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศ ซึ่งเมื่อเกิดความร่วมมือแล้วเราจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้เข้ามาอยู่ในประเทศ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เรา ดังนั้นการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ในด้านพลังงานชีวภาพขึ้นมาใหม่จึงเป็นสิ่งที่ประเทศควรทำ

โดยการประชุมวันนี้ถือเป็นการหารือ โดยสกสว. จะนำข้อมูลและข้อเสนอแนะสำคัญจากผู้เข้าร่วมไปสู่กระบวนการจัดการความรู้ และพัฒนาแผนวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานต่อไป