• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

‘สยามไบโอไซเอนซ์’ Shortcut ความก้าวหน้า วงการแพทย์ไทย

Started by Ailie662, October 10, 2021, 09:43:14 PM

Previous topic - Next topic

Ailie662

บริษัท "สยามไบโอไซเอนซ์" ชื่อที่คนไทยรู้จักในนามของผู้ได้รับเลือกจาก แอสตร้าเซเนก้า ให้เป็นฐานการผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ตามมาตรฐานระดับโลก ความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มาจากศักยภาพของมดงานผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์และการวิจัยไทยหลายท่าน

โดยหนึ่งในนั้น คือ "ดร.ทรงพล ดีจงกิจ" กรรมการผู้จัดการ ของสยามไบโอไซเอนซ์ ผู้ทำหน้าที่บริหารและดำเนินการ จนทุกอย่างลุล่วงตามเป้าหมาย และได้มาตรฐานตรงตามที่แอสตร้าเซเนก้าต้องการ

สยามไบโอไซเอนซ์ ผู้ผลิตยาชีววัตถุแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2552 ตามพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพของคนไทย และเล็งเห็นการณ์ไกลอันเป็นประโยชน์ ที่จะทำให้คนไทยไม่ต้องพึ่งพาแต่ยาจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว 
 
"ดร.ทรงพล" เล่าว่า ก่อนที่เกิดโควิด-19 ไทยทำงานวิจัยพัฒนาวัคซีนอยู่แล้ว ซึ่งมีทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จ แต่ที่แน่ๆ คือ ใช้เวลานานเป็นสิบปีกว่าจะพัฒนางานได้ออกมาแต่ละชิ้น จนเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด ทุกอย่างต้องทำอย่างเร่งด่วน ประสบการณ์และความรู้ที่สั่งสม ถูกนำมาปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น หลายกิจกรรมสามารถทำซ้อนๆ กันได้ แทนที่จะทำเป็นขั้นเป็นตอน และต้องใช้เวลานาน 
 
สยามไบโอไซเอนซ์ได้นำโรงงานผลิตชีววัตถุมาปรับโดยใช้ Mammalian Cells ที่สร้างเสร็จกลางปี 2562 มาปรับใช้ เพื่อการผลิตวัคซีนโควิดประเภท Viral Vector โดยมีกำลังการผลิตหลักจาก Biorector ขนาด 2,000 ลิตร จำนวน 2 สายการผลิต ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สยามไบโอไซเอนซ์ใช้เวลา 5 เดือนครึ่ง โดย 2 มิ.ย.2564 ก็เริ่มส่งวัคซีนให้แอสตร้าเซเนก้าได้


"มันเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เหนือความคาดหมาย" นั่นคือสิ่งที่ "ดร.ทรงพล" กล่าวไว้ เทคโนโลยีทั้งหมด เริ่มถ่ายทอดตั้งแต่ 7 ต.ค.2563 โดย 4 อย่างที่สยามไบโอไซเอนซ์ต้องทำก่อนเริ่มผลิตคือ 4 M คือ Method, MAn, Materails และ Machine  
 

Method คือ สูตรการผลิตและกระบวนการทั้งหลาย ซึ่งแอสตร้าเซเนก้าส่งเอกสารมา แล้วทางสยามไบโอไซเอนซ์ต้องปรับทุกอย่างให้เข้ากับสูตรและมาตรฐานที่แอสตร้าเซเนก้ากำหนด ส่วนของ Man หรือ คน เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด 
 
"จุดนี้ผมค่อนข้างเซอร์ไพร์สมาก เพราะเดิมคิดว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยี ต้องมีปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว สุดท้ายจริงๆ กระบวนการถ่ายทอดมันอยู่ที่คน ไม่ได้อยู่ที่วิธีการ เราสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีได้แบบ Virtual ซึ่งในที่สุดแล้ว ผมมองว่ามันดีขึ้น เพราะแอสตร้าฯ เป็นบริษัทระดับโลก เขามีฟรุ๊คพริ้นทุกไทม์โซนของโลก ในขณะที่กระบวนการผลิตต้อง 24 ชม. 7 วัน ทางแอสตร้าฯ มีคนแสตนบายเพื่อให้ข้อมูลเราตลอดเวลา เหมือนเซเว่นอีเลฟเว่น ยกเว้นช่วงล็อกดาวน์นะ  เราสอบถามได้ทุกอย่าง หรือถ้าอยากแชร์ข้อมูลเขาก็มีคนพร้อมตลอด 24 ชม. มันทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น" 

อีกส่วนที่สำคัญ คือ Materails ที่ต้องวางแผนการนำเข้าวัตถุดิบ และการใช้วัตถุดิบให้ดีมากๆ สำหรับการผลิตในสเกลใหญ่ สยามไบโอไซเอนซ์ต้องผลิตวัคซีน 1 หมื่นล้านโดสต่อปี ถ้าเตรียมการไม่ดี จะขาดแคลนวัตถุดิบและเกิดปัญหาทันที ส่วนเรื่องของ Machine หรือเครื่องจักร ก็ต้องทดสอบความพร้อมเต็มที่ 
 
"กระบวนการเหล่านี้ ใช้เวลา 2 เดือนครึ่ง จนเราเริ่มผลิตจริง 16 ธันวาคม 2563 แต่หลังจากนั้น ก็ยังถ่ายทอดเทคโนโลยีโนวฮาวด์ต่างๆ กันตลอด ซึ่งกระบวนการจะจบจริงน่าจะประมาณตุลาคม 2564 เพราะระหว่างการผลิตก็ต้องเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ"
 
การเป็นผู้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าของสยามไบโอไซเอนซ์ครั้งนี้ "ดร.ทรงพล" สรุปว่า สิ่งที่ประเทศไทยได้นอกจากวัคซีน คือ การเสริมความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรไทย และยังทำให้บุคลากรเหล่านั้นได้ประสบการณ์จริงในการลงมือทำ ซึ่งสยามไบโอไซเอนซ์ พร้อมที่จะนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาถ่ายทอดให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่ต้องการพัฒนาตัวเองสู่มาตรฐานระดับโลก 
 
องค์ความรู้ที่ได้นั้น ไม่ใช่แค่การผลิตวัคซีน Viral Vector มันมีองค์ความรู้หลายๆ อย่างที่นำไปพัฒนาต่อยอดผลิตวัคซีนอื่นๆ หรือนำมาผสานกับดีเอ็นเอของสยามไบโอไซเอนซ์ เพื่อต่อยอดสู่การผลิตยาชีววัตถุสำหรับการรักษาโรคทั้งของบริษัทและของประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนและยาให้กับประเทศไทยต่อไป 
 
"ดร.ทรงพล" ได้หยิบยกแนวคิดของ อัลเบิร์ต ไอสไตล์ ที่เป็นภาพสะท้อนความพยายามของทุกภาคส่วน สำหรับวิกฤตการณ์โควิด -19 ครั้งนี้ ว่า Information is not knowledge. The only source of knowledge is experience Yon need experience to gain wisdom...อินฟอร์เมชั่นไม่ใช่ความรู้ สิ่งที่จะทำให้เราได้ความรู้จริงๆ คือ ประสบการณ์ตรง ทีมสยามไบโอไซเอนซ์ได้ประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ๆ หนึ่งที่ต้องแข่งกับเวลาและมีความซับซ้อน ซึ่งจะนำมาพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติมต่อไป 
 

สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดห่วงโซ่คุณค่า และห่วงโซ่อุปทานแบบใหม่ 4 ประเด็นหลักที่ทำให้เราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คือ 

1. คนทั่วไป ให้ความสนใจข้อมูลเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพด้านสุขภาพมากขึ้น นี่คือพลังบวกที่สำคัญ 2.Open Innovation จาก โควิด-19 ซึ่งเป็นปัญหาของโลก ทำให้เกิดความร่วมมือแบบไร้พรมแดนทั้งในและต่างประเทศ 3. เปลี่ยนแนวทางการทำงาน ที่ใช้ Virtual Technology มาเป็นเครื่องมือสำคัญ การถ่ายทอดเทคโนโลยีไม่จำเป็นต้องส่งคนมาอีกต่อไป ไม่ต้องใช้คนมากเท่าเดิมในการถ่ายทอด แถมยังได้ประสิทธิภาพที่มากขึ้น 
 
และ 4. Decentralized Man.cturin การผลิตยาอีกหน่อย เจ้าของผลิตภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานเองอีกต่อไป อาจเหมือน Airbnb โดยใช้ทั้ง Open Innovation และการสื่อสารแบบ Virtual เป็นเครื่องมือ
 
กระบวนการต่างๆ และองค์ความรู้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างพลังบวก และผลักดันให้ไทยมีโอกาสในการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมยาและวัคซีนได้มากขึ้น โดยส่วนของสยามไบโอไซเอนซ์ "ดร.ทรงพล" บอกว่า เราไม่หยุดที่จุดนี้แน่นอน เราจะทำอีกเยอะ ทั้งส่งมอบวัคซีน และทีมงานของที่บริษัทก็จะต้องพัฒนาองค์ความรู้ต่อไป

หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,720 วันที่ 7 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564