• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

กสิกร ชี้ รพ.เอกชนปี64 รายได้ผงกหัว แต่ยังเผชิญต้นทุน-การแข่งขันสูง

Started by fairya, October 11, 2021, 10:24:55 AM

Previous topic - Next topic

fairya



ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ส่องรายได้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนปี 64 ฟื้นตัว จากฐานต่ำ แต่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ย้ำธุรกิจยังต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทาย จากต้นทุนดำเนินธุรกิจที่สูงต่อเนื่อง และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากผู้เล่นเก่า-ใหม่

      ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า การระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเมษายน - กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีรายได้บางส่วนเพิ่มขึ้นจากกลุ่มคนไข้ในประเทศที่เป็นโควิด (ทั้งการตรวจหาเชื้อและการเข้ารับการรักษาโควิด) ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า 
สะท้อนได้จาก ในช่วงครึ่งปีแรก 2564 รายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ขยายตัว 8.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน

      อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนไข้ที่สำคัญโดยเฉพาะคนไข้ชาวต่างชาติที่เป็น Medical tourism อย่างตะวันออกกลาง จีนและอาเซียน รวมถึงกลุ่มคนไข้ไทยกลุ่มเดิมที่ตรวจรักษาโรคอื่นๆ ยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด และทำให้รายได้จากคนไข้กลุ่มดังกล่าวน่าจะยังคงไม่ฟื้นตัว 
      อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในช่วงที่เหลือของปี 2564 รายได้ของโรงพยาบาลเอกชนน่าจะทยอยฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ

      แม้ว่ามุมหนึ่งสถานการณ์โควิดในประเทศและการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนที่เริ่มส่งสัญญาณบวก อาจทำให้รายได้จากคนไข้กลุ่มโควิดมีแนวโน้มปรับลดลงตาม 
      แต่ในอีกมุมหนึ่งจากสถานการณ์ที่เริ่มดีขึ้น จนส่งผลให้มีการคลายล็อกดาวน์กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม

    ททโดยเฉพาะการเปิดประเทศเพื่อรองรับกับกลุ่มนักท่องเที่ยว น่าจะเรียกความเชื่อมั่นและการกลับมาของกลุ่มคนไข้ได้บางส่วน โดยเฉพาะกลุ่มคนไข้ชาวไทยกลุ่มเดิมที่รักษาโรคทั่วไป กลุ่มพนักงานบริษัทที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี และยังมีคนไข้บางส่วนที่อาจปรับพฤติกรรมหันไปใช้บริการรักษาพยาบาลผ่าน Health tech เช่น Tele-medicine 
     ซึ่งคาดว่าจะเข้ามามีบทบาทและเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจเพิ่มขึ้น อีกทั้งด้วยสถานการณ์การระบาดที่ยังไม่แน่นอนก็อาจจะยังคงมีกลุ่มคนไข้ที่ยังคงเข้ารับการตรวจและรักษาโควิดอยู่บ้าง

     ส่งผลให้ทั้งปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า รายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนจะขยายตัว 11.8% เทียบกับปี 2563 ที่หดตัว 12.5%

      ซึ่งการฟื้นตัวดังกล่าวส่วนหนึ่งน่าจะมาจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า และยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติก่อนช่วงโควิด

     โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของรายได้ที่มาจากคนไข้ในประเทศที่ทำการตรวจและรักษาโควิด 
รวมถึงกลุ่ม EXPAT ที่เริ่มกลับมาใช้บริการรักษาพยาบาลบางส่วน    

     ขณะที่รายได้จากคนไข้ Medical tourism แม้ว่าจะมีการเปิดประเทศในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ แต่คาดว่า ภาพรวมทั้งปีรายได้กลุ่ม Medical tourism ก็น่าจะยังคงหดตัว


      สำหรับปี 2565 และระยะถัดไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า รายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนน่าจะมีทิศทางที่ฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ แต่จะกลับไปสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิดได้หรือไม่นั้น อาจจะต้องติดตามการกลับมาของคนไข้กลุ่ม Medical tourism ว่าจะสร้างรายได้ให้กับธุรกิจได้มากน้อยเพียงใด
       ซึ่งจากนโยบายของหลายๆ ประเทศที่พยายามจะผลักดันให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้จำนวนของคนไข้ต่างชาติฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง

      แต่การฟื้นตัวดังกล่าวจะแข็งแกร่งเพียงใดนั้น คงจะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และการแพร่ระบาดของ  โควิดในช่วงข้างหน้า ซึ่งยังต้องติดตามสถานการณ์กันต่อไป 
      นอกจากนี้ ธุรกิจยังต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายอีกหลายปัจจัยโดยเฉพาะต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่คาดว่าจะยังคงสูงต่อเนื่อง ขณะที่การปรับขึ้นค่ารักษาพยาบาลอาจจะทำได้ยากหรือจำกัดในภาวะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว และผู้บริโภคยังไม่มั่นใจกับรายได้และการจ้างงานในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยจากโรคติดต่อ ต้นทุนด้านบุคลากรทางการแพทย์ การควบคุมราคายา
       รวมถึงต้นทุนการนำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ และยาปฏิชีวนะที่อาจจะปรับสูงขึ้นท่ามกลางค่าเงินบาทที่อ่อนค่า นอกจากนี้ ต้นทุนในการพัฒนาหรือการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือ Health-tech เข้ามาช่วยในการให้บริการทางการแพทย์มากขึ้น
       ซึ่งคาดว่าผลจากโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา น่าจะทำให้ผู้บริโภคบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหันไปใช้บริการทางการแพทย์ออนไลน์มากขึ้น เช่น การบริการแพทย์ทางไกล (Tele-medicine) หรือการขอรับคำปรึกษาเรื่องการรักษาและการดูแลสุขภาพผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ ของโรงพยาบาล (Tele-health) และการสั่งจ่ายยาผ่านออนไลน์ 
      อย่างไรก็ตาม การสร้างรายได้ผ่านช่องทางดังกล่าวคาดว่าจะยังคงมีสัดส่วนที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับช่องทางหลักผ่านการใช้บริการในโรงพยาบาล และอาจจะต้องใช้เวลาในการสร้างการยอมรับหรือสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

      อีกทั้งยังต้องใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูงในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะมารองรับกับการดูแลรักษาและป้องกันโรคในอนาคต
    อีกทั้ง ธุรกิจยังเผชิญกับการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทั้งจากผู้เล่นรายเดิมและผู้เล่นรายใหม่ที่จะเข้ามาขยายการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มทุนรายใหญ่ สวนทางกับกำลังซื้อที่มีศักยภาพของคนไข้ที่ลดลงหรือมีจำกัด

      จึงมีความเป็นไปได้ที่สถานการณ์การแข่งขันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจจะมีการปรับกลยุทธ์การแข่งขัน เพื่อแย่งชิงกลุ่มคนไข้ที่มีศักยภาพกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นตลาดคนไข้ไทยที่เป็นกลุ่มประกันสุขภาพเอกชนหรือรัฐ 
รวมถึงตลาดคนไข้ต่างชาติทั้งที่เป็น Medical tourism

      ซึ่งไม่เพียงแต่การเผชิญการแข่งขันกับผู้เล่นที่อยู่ในประเทศ แต่ยังต้องเผชิญการแข่งขันกับต่างประเทศอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และเกาหลีใต้ ที่ตั้งเป้าหรือผลักดันประเทศไปสู่การเป็น Medical hub เช่นเดียวกับไทย

     ขณะที่ตลาด EXPAT ก็มีสัญญาณชะลอตัว จากการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า จำนวน EXPAT หรือแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศน่าจะขยายตัวประมาณ 2% ต่อปี (CAGR ปี 2565-2568) เป็นอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบช่วงปี 2560-2562 ที่ขยายตัว 6% ต่อปี
    ดังนั้น ผู้ประกอบการแต่ละรายจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจสามารถรับมือกับปัจจัยกดดันต่างๆ

     ทั้งนี้ การบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ โดยเฉพาะการควบคุมค่ารักษาพยาบาลให้คนไข้ในแต่ละ Segment สามารถเข้าถึงได้ น่าจะทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบในการแข่งขัน 
      โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นเครือข่ายหรือพันธมิตร อาจจะมีความได้เปรียบในการปรับตัวหรือความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการต้นทุนมากกว่าโรงพยาบาลเอกชนที่บริหารจัดการหรือดำเนินธุรกิจแบบเดี่ยว หรือ Stand-alone หรือแม้แต่โรงพยาบาลเอกชนที่กระจายความเสี่ยงโดยการเจาะตลาดคนไข้หลากหลาย Segment ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ก็น่าจะมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวมากกว่าโรงพยาบาลที่เน้นเจาะตลาดคนไข้หรือพึ่งพารายได้จากคนไข้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสัดส่วนที่สูงเกินไป 
      อย่างไรก็ตาม การปรับตัวดังกล่าวจะต้องคำนึงถึงคุณภาพในการรักษาและบริการที่ดีสม่ำเสมอ รวมถึงการรักษาสมดุลในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม