• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

'แบงก์ชาติ” ชี้โควิดตัวเร่งการเปลี่ยนผ่านภาคการเงินไทยพลิกโฉมสู่ยุคดิจิทัล

Started by Panitsupa, October 19, 2021, 06:00:38 PM

Previous topic - Next topic

Panitsupa

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเปิดงาน Bangkok FinTech Fair 2021 ในหัวข้อ A New Decade of Opportunities ว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นเร็วและแรงอย่างน้อย 2 เรื่อง โดยเรื่องแรกคือ พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่พลิกโฉมการใช้ชีวิต การดำเนินธุรกิจ และการทำธุรกรรมต่างๆไปอย่างสิ้นเชิง ขณะเดียวกันวิกฤติโควิดก็เข้ามาเร่งให้ผู้บริโภคจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยี และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ส่วนเรื่องที่ 2 คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เราเห็นภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนภาคเศรษฐกิจในหลายส่วน ทำให้เราต้องหันมาคิดอย่างจริงจังว่า ทำอย่างไรที่จะผลักดันให้ภาคเศรษฐกิจและประเทศ เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนภายใต้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้

ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธปท.ได้นำเสนอความคิดเกี่ยวกับการปรับตัวของภาคการเงินในทศวรรษนี้ ซึ่งแบ่งมุมมองเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 คือ การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะเห็นในภาคการเงินไทย ส่วนที่ 2 คือ การดำเนินงานของ ธปท.ในการสร้างโอกาสและรับมือกับความท้าทายที่จะมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งในแง่การปรับตัวของ ธปท. และในแง่แนวทางของ ธปท.ที่จะวางภูมิทัศน์หรือ landscape ของระบบการเงินไทยในระยะต่อไป ส่วนที่ 3 คือ ภาพอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไปที่ทำให้ประชาชน ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้ให้บริการทางการเงินได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้น

โดยในส่วนแรก เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาคการเงินไทย ซึ่งมีอย่างน้อย 2 ด้าน สำหรับด้านแรกคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการทางการเงินอย่างกว้างขวาง เช่น ด้านบริการชำระเงิน โครงสร้างพื้นฐาน PromptPay ทำให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมฝาก ถอน โอนเงิน หรือชำระเงินได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว ทุกที่ ทุกเวลา โดยปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียน PromptPay มากกว่า 60 ล้านหมายเลข และมีมูลค่าธุรกรรมเฉลี่ยต่อวันกว่า 85,000 ล้านบาท หรือการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Blockchain มาใช้ในการออกหนังสือค้ำประกันให้กับองค์กรต่าง ๆ ช่วยลดเวลาในการออกหนังสือค้ำประกันจากเดิม 3-5 วัน ปัจจุบันเหลือเพียง 10 นาที ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนให้กับธุรกิจและภาครัฐได้มาก

ขณะที่ด้านที่ 2 คือการเพิ่มขึ้นของบทบาทของผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ทั้งในรูปแบบที่เป็น non-bank เดี่ยวหรือ non-bank ร่วมมือกับธนาคาร ทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่หลากหลาย และมีส่วนสำคัญในการเข้ามาเติมเต็มให้กับกลุ่มประชาชนหรือ SMEs ที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินบางประเภท โดยเฉพาะเรื่องของสินเชื่อ เช่น การทำธุรกรรมต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เกิดข้อมูลทางเลือก หรือที่เรียกกันว่า alternative data ที่ช่วยให้ประชาชนที่ไม่มีรายได้ประจำ ไม่มีหลักประกัน หรือไม่มีข้อมูลกับสถาบันการเงิน สามารถใช้ข้อมูลพฤติกรรมในการขอสินเชื่อและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ในเรื่องนี้ ธปท. ได้อนุญาตให้มีผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลแล้ว ซึ่งได้รับผลตอบรับดี โดยปัจจุบันการให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลนี้ช่วยให้ประชาชนกว่า 2 แสนราย เข้าถึงสินเชื่อกว่า 2 พันล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีผู้เล่นใหม่ๆจากอุตสาหกรรมอื่นๆที่พยายามเข้ามาปิดช่องว่างในการให้บริการทางการเงินหรือสนับสนุนการทำธุรกิจให้กับกลุ่ม เช่น กลุ่ม FinTech startups ที่เข้ามาให้บริการในส่วนที่ยังเป็นช่องว่างของการให้บริการโดยกลุ่มธนาคาร อย่างผู้ให้บริการ peer-to-peer lending platform ที่เชื่อมโยงผู้กู้กับผู้ให้กู้โดยตรง หรือ BigTech platforms ที่มีการให้บริการครบวงจรตั้งแต่ให้บริการซื้อขายสินค้า ส่งของ ลงทุน ไปจนถึงการให้บริการทางการเงิน และล่าสุด มีการให้บริการในลักษณะเป็น Decentralized Finance หรือ DeFi ที่ดำเนินกิจกรรมทางการเงินทุกอย่างด้วย smart contracts ซึ่งเป็นการตัดบทบาทของตัวกลางออกไป แม้ปัจจุบันจะยังมีจำนวนไม่มาก แต่แนวโน้มเหล่านี้ ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจปัจจุบันจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้

ADVERTISEMENT


สำหรับส่วนที่ 2 นอกจากผู้ประกอบการต้องปรับตัว ธปท. เองก็จำเป็นต้องปรับ และดำเนินการเพื่อช่วยให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์จากโอกาสที่มากับความเปลี่ยนแปลงต่างๆอย่างเต็มที่ โดยการเพิ่มความยืดหยุ่นในการกำกับดูแล และรักษาสมดุลระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมและการดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินที่จะคำนึงถึงต้นทุนจากการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆของผู้ประกอบธุรกิจ และการกำกับดูแลตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของผู้ประกอบการ ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายขนาดและประเภทมากขึ้น โดยในเรื่องเสถียรภาพนั้นจะให้น้ำหนักของเรื่อง resiliency มากขึ้นคือ ความสามารถในการรับมือกับผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงและแรงกดดันต่างๆ รวมถึงความสามารถในการฟื้นตัวหลังจากถูกแรงกระทบ เพื่อให้เกิดวิวัฒนาการสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

นายเศรษฐพุฒิ กล่าวอีกว่า นอกจากการปรับตัวของ ธปท.ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงแล้ว ธปท.จะดำเนินการใน 3 แนวทางสำหรับสร้างภูมิทัศน์หรือ Landscape ของระบบการเงินไทยในระยะต่อไป หรือที่เรียกกันภายในว่า 3 Open ประกอบด้วยOpen แรก คือเรื่องของ Open, shared and interoperable infrastructure ได้แก่ การมีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัลที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม โดยต้องเปิดกว้างให้ผู้ให้บริการทั้งรายเดิมและรายใหม่ สามารถเข้ามาต่อยอดบริการทางการเงินได้ และแข่งขันได้อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ ต้องมีการ share infrastructure เพื่อลดต้นทุน และทำให้ Infrastructure ที่สร้างขึ้นมาสามารถเชื่อมโยงกันได้

ขณะเดียวกันการพัฒนาเงินบาทดิจิทัล หรือ CBDC ก็จะเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบการเงินของเราในอนาคต เพิ่มทางเลือกสำหรับประชาชนและธุรกิจให้สามารถเข้าถึงเงินดิจิทัลที่ปลอดภัยได้ ช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรมต่างๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการหลากหลายประเภทนำไปพัฒนานวัตกรรมเพิ่มเติมได้ และยังมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ ธปท.ร่วมผลักดัน เช่น digital ID ภายใต้ NDID platform เพื่อใช้ยืนยันตัวตนสำหรับธุรกรรมในภาคธุรกิจ ภาคธนาคาร และภาครัฐ ล่าสุดมีลูกค้าลงทะเบียนใช้งาน NDID แล้วเกือบ 2 ล้านราย ในอนาคต ธปท.จะร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในการผลักดันให้มีการใช้งาน digital ID อย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนา digital ID สำหรับนิติบุคคลในระยะต่อไป

ส่วน Open ที่ 2 คือเรื่องของ Open environment ได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการแข่งขันอย่างเท่าเทียม เพื่อให้เกิดนวัตกรรมจากผู้เล่นทุกประเภท โดยจะปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อทั้งการปรับตัวของผู้เล่นรายเดิมและการเข้าสู่ตลาดของผู้เล่นรายใหม่ กำกับดูแลเป็นสัดส่วนที่สอดคล้องกับความเสี่ยงของผู้ประกอบการ หรือ risk proportionality รวมถึงการปรับปรุง regulatory sandbox ของ ธปท.ให้ยืดหยุ่น เปิดรับนวัตกรรมของผู้เล่นใหม่ๆเพิ่มขึ้น ขยายความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมสามารถเข้าทดสอบได้ ซึ่งจะช่วยลดภาระที่ผู้ประกอบการต้องติดต่อกับผู้กำกับดูแลหลายราย

โดย Open ที่ 3 คือเรื่อง Open data คือ การพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกันได้ เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูล และนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เป็นทิศทางที่ทุกประเทศกำลังเดินหน้าไป สำหรับในภาคการเงินไทย การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการทางการเงินต่างๆจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำถูกต้องในการวางนโยบาย การบริหารความเสี่ยง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า

'ปัจจุบัน ธปท.ร่วมกับภาคธนาคารกำลังดำเนินการเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูล bank statements เพื่อให้ลูกค้านำข้อมูลการเงินของตนเองไปขอใช้บริการอื่น ๆ เช่น การขอสินเชื่อ หรือการยืนยันฐานะกับหน่วยงานอื่นได้สะดวกมากขึ้น และจะขยายไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลอื่นๆในระยะต่อไป โดย ธปท.จะร่วมกับผู้ประกอบการภาคการเงินกำหนดมาตรฐานและทิศทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางการเงิน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรข้อมูลร่วมกันอย่างชัดเจน'

สำหรับส่วนที่ 3 โอกาสหรือประโยชน์ที่แต่ละภาคส่วน จะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยในมุมของประชาชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการดังกล่าว จะช่วยทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่ตรงกับความต้องการรายบุคคลมากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกกันว่า mass customization รวมทั้งได้รับความสะดวกในการใช้บริการทางการเงิน เช่น สามารถทำธุรกรรมโดยไม่ต้องไปที่สาขาธนาคาร จากการยืนยันตัวตนข้ามหน่วยงานผ่านโครงสร้างพื้นฐาน digital ID และการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการผ่านการใช้มาตรฐาน APIs ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยลดเวลาและต้นทุนในการทำธุรกรรม เปิดโอกาสให้มีบริการทางการเงินที่หลากหลาย ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้ที่เข้าถึงบริการทางการเงินได้ยากในอดีต จะมีโอกาสมากขึ้นจากการทำธุรกรรมทางการเงินดิจิทัล ทำให้มี digital footprint ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ประกอบการให้บริการของผู้ประกอบการได้ด้วย

ขณะที่ในมุมของผู้ประกอบธุรกิจ การเร่งให้มีการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจจะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานจากการลดขั้นตอน ลดความผิดพลาด ลดเวลาในการให้บริการ รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางมากขึ้นจากการให้บริการช่องทางดิจิทัล และการเข้าถึงข้อมูลที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า

ส่วนในมุมของผู้ให้บริการทางการเงิน การสนับสนุนให้มีการพัฒนาและใช้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลร่วมกัน เช่น โครงการ Smart financial and payment infrastructure และโครงการอื่น ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น จะส่งเสริมให้มีการพัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการปรับปรุงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลของ ธปท.ที่จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น จะช่วยลดต้นทุนและเอื้อให้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องกล่าวถึงความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งด้านภัยไซเบอร์และการหลอกลวงที่ทวีจำนวนและความหลากหลายของรูปแบบมากขึ้น ธปท. จึงยังคงให้ความสำคัญกับการยกระดับความสามารถให้การป้องกันและรับมือกับภัยไซเบอร์ของผู้ประกอบการทางการเงินอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานสากล รวมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ใช้บริการในการระวังป้องกันตัวเอง