• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

จับตา ‘เปิดประเทศ 1 พ.ย.64’ ททท.คาด 5 เดือนไฮซีซั่นดึงทัวริสต์ 1.1 ล้านคน

Started by Fern751, October 19, 2021, 08:12:31 PM

Previous topic - Next topic

Fern751

แถลงการณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ต.ค.2564 เรื่อง "เปิดประเทศ 1 พ.ย.2564" รับนักท่องเที่ยวต่างชาติจาก "ประเทศความเสี่ยงต่ำ" จุดประกายความหวังในการพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอีกครั้ง!

โดยจะต้องเป็นนักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว และต้องมีผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR เป็นลบ ระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง มาเที่ยวไทยแบบ "ไม่กักตัว" และ "ไม่จำกัดพื้นที่" 

หลังเริ่มเปิดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ประเดิมด้วยโครงการ "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" เมื่อ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา แม้สถิติของโครงการฯ ณ วันที่ 16 ต.ค. พบว่ามียอดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศสะสม 108 วัน ตั้งแต่ 1 ก.ค.-16 ต.ค. มีจำนวน 49,651 คน ยังห่างไกลจากเป้าหมายที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และภาคเอกชนท่องเที่ยวภูเก็ตเคยตั้งไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วและมีผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR เป็นลบจากประเทศต้นทาง เดินทางเข้ามา 1 แสนคนในช่วงไตรมาส 3 หรือตั้งแต่ ก.ค.-ก.ย.ที่ผ่านมา แต่ก็นับว่าเป็น "จุดเริ่มต้นที่ดี" ในการแง้มประตูเปิดประเทศ ในภาวะที่ประเทศไทยเผชิญสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เป็นวงกว้างและรุนแรงตั้งแต่ระลอก 3 เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา

"การอยู่ร่วมกับโควิด-19" คือโจทย์ใหญ่ที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต้องร่วมฟันฝ่า! หลังวิกฤตินี้ปะทุยาวนานร่วม 2 ปี เพราะหากต้องรอให้ถึงวันที่ "ยอดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์" เหมือนที่สามารถกดตัวเลขผู้ติดเชื้อได้ในระลอกแรกนั้น คงเป็นไปได้ยาก และไม่รู้ว่าต้องรออีกนานเท่าไร สู้ปรับตัวอยู่กับ "ความไม่แน่นอน" บริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างเท่าทันสถานการณ์น่าจะดีกว่า อย่างน้อยก็ได้ลืมตาอ้าปาก กลับมาทำมาหากิน สอดรับกับ "ยุคนิวนอร์มอล" ใช้ชีวิตวิถีปกติใหม่ให้คุ้นชิน

"การเปิดประเทศ" จึงเป็นทางออกของเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงรายได้จากดีมานด์ต่างประเทศเป็นหลัก หลังภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการได้รับบาดเจ็บสาหัส โคม่าหนัก ไม่รู้ว่าจะต่อลมหายใจธุรกิจกันอย่างไร เพราะผู้ประกอบการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต่างอาศัยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และไม่รู้ว่าต้องควักเงินเก็บและดิ้นรนหาเงินกู้มาหมุนเวียนต่อทุนอีกนานแค่ไหน

นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบเป็นโดมิโน่ถึงตลาดแรงงาน! โดยก่อนหน้านี้ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ระบุว่า ในไตรมาส 3/2564 ธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีการเปิดบริการเพียง 51% ลดลงจากไตรมาสก่อน 7% ส่วนที่ปิดกิจการชั่วคราวมี 44% เพิ่มขึ้น 6% และปิดกิจการถาวร 5% เพิ่มขึ้น 1% ขณะที่ 84% ของสถานประกอบการมีพนักงานเหลืออยู่ไม่ถึงครึ่ง โดยมี "แรงงานที่ออกจากระบบ" ไปมากถึง 71% ประมาณ 3.05 ล้านคน ทั้งที่ต้องหยุดงานชั่วคราว ถูกเลิกจ้างถาวร และเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น จากเดิมก่อนเจอวิกฤติโควิด-19 ที่มีอยู่ 4.3 ล้านคน

ขณะที่ผลการสำรวจ "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในไตรมาส 3/2564" ของ สทท. พบว่าลดลงต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นฯมา โดยอยู่ที่ระดับ 7 เท่านั้น จากคะแนนเต็ม 200 (คะแนน 100 คือปกติ) สะท้อนถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมากที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ด้านดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ไตรมาสที่ 4/2564 อยู่ที่ระดับ 29 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการประเมินว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวในไตรมาส 4 จะดีขึ้นกว่าไตรมาส 3 แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมากที่สุด เพราะตราบใดที่คะแนนยังต่ำกว่าระดับ 50 ถือว่าอยู่ในขั้น "โคม่า"

การเร่งกู้ฐานะ "พระเอกเศรษฐกิจไทย" ของภาคท่องเที่ยวจึงสำคัญยิ่ง!! เพราะนอกจากจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการแล้ว ยังดึงแรงงานนับล้านหวนคืนสู่ระบบ หนุนการสร้างรายได้และเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

หากย้อนไปเมื่อปี 2562 ก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ภาคท่องเที่ยวไทยนั้นโดดเด่นอย่างมาก มีรายได้รวมจากการท่องเที่ยวทั้งตลาดในและต่างประเทศ 3 ล้านล้านบาท ครองสัดส่วนราว 18% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี เมื่อเจาะเฉพาะฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติพบว่าเดินทางเข้าไทยมากเกือบ 40 ล้านคน สร้างรายได้ 1.91 ล้านล้านบาท ส่วนนักท่องเที่ยวตลาดในประเทศมี 172 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ 1.08 ล้านล้านบาท

ด้าน รายได้รวมการท่องเที่ยวปี 2563 ลดฮวบลงมาอยู่ที่ 8.15 แสนล้านบาท ติดลบ 73% เมื่อเทียบกับปี 2562 แบ่งเป็นรายได้จากตลาดต่างประเทศ 3.33 แสนล้านบาท ลดลง 83% ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.7 ล้านคน ลดลงในอัตราเดียวกัน ส่วนรายได้จากตลาดในประเทศมี 4.82 แสนล้านบาท ลดลง 55% จากจำนวนนักท่องเที่ยวไทย 90 ล้านคน-ครั้ง ลดลง 48%

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.คาดการณ์ว่าปี 2564 ประเทศไทยจะมีรายได้รวมการท่องเที่ยวประมาณ 3.8 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากตลาดต่างประเทศ 6 หมื่นล้านบาท จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1 ล้านคน แนวโน้มตัวเลขนี้ยังเป็นไปได้ โดยเพิ่มจากคาดการณ์เดิมซึ่งอยู่ที่ 1 แสนคน และคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะใช้จ่ายราว 60,000 บาทต่อคนต่อทริป ส่วนรายได้จากตลาดในประเทศคาดมี 3.2 แสนล้านบาท จากนักท่องเที่ยวไทยจำนวน 60 ล้านคน-ครั้ง ใช้จ่ายคนละประมาณ 4,000 บาทต่อคนต่อทริป

"และหลังจากนายกฯแถลงการณ์เปิดประเทศ 1 พ.ย.2564 รับนักท่องเที่ยวจากประเทศความเสี่ยงต่ำแบบไม่กักตัวและไม่จำกัดพื้นที่ ททท.ได้ประมาณการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวหรือไฮซีซั่น 5 เดือนข้างหน้า ตั้งแต่ พ.ย.2564-มี.ค.2565 จำนวน 1.1 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รายงานต่อนายกฯและที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แล้ว" ผู้ว่าการ ททท.กล่าว

จับตา 'เปิดประเทศ 1 พ.ย.64' ททท.คาด 5 เดือนไฮซีซั่นดึงทัวริสต์ 1.1 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม การจะไปให้ถึงเป้าหมายดึงยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ตามที่วางไว้ นอกเหนือจากการเร่งฉีดวัคซีนครบโดสแก่คนไทยทั่วประเทศเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่แล้ว จำเป็นต้องคลายล็อกข้อจำกัด ปรับเปลี่ยนเงื่อนไข เบิกทางให้นักท่องเที่ยวเข้ามาอย่างสะดวกมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้! หลังภาคเอกชนและนักท่องเที่ยวต่างสะท้อนความเห็นต่างๆ นานา เช่น เรื่องการขอใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศไทย (COE) ที่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน เล่นเอานักท่องเที่ยวหลายคนถอดใจ ยังไม่ตัดสินใจเดินทางมาประเทศไทย รวมถึงขอให้มีการลดขั้นตอนและลดค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ต่อเรื่องนี้ นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า การยกเลิกขั้นตอนการขอ COE จะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน อย่างไรก็ตามตั้งแต่ 1 พ.ย.นี้เป็นต้นไป ททท.ได้รับการยืนยันมาว่าจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการของ COE ที่ง่ายขึ้น และถ้าหากมีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ก็จะมีการยกเลิก COE ไปเป็นรูปแบบอื่นที่ง่ายขึ้นแทนเช่นกัน

ส่วนเรื่องการลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สำหรับแนวทางการเปิดพื้นที่สีฟ้า "บลูโซน" นำร่องรับนักท่องเที่ยวจาก "ประเทศความเสี่ยงระดับกลาง" ขึ้นไป ซึ่งต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสและมีผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 เป็นลบก่อนเดินทางมาถึงไทย โดยต้องอยู่ท่องเที่ยวภายในบลูโซนอย่างน้อย 7 วันก่อนไปเที่ยวพื้นที่อื่นในไทยนั้น ทาง ททท.อยู่ระหว่างเสนอขอให้ ศบค.พิจารณาปรับรูปแบบการตรวจหาเชื้อขึ้นกับไทม์ไลน์การเปิดบลูโซนในแต่ละระยะ

โดยระยะนำร่อง (1-31 ต.ค.64) ซึ่งเปิดพื้นที่นำร่องใน 4 จังหวัดแล้ว ได้แก่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา ให้ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR 2 ครั้ง จากนั้นระยะที่ 1 (1-30 พ.ย.64) เปิดเพิ่มเป็น 17 จังหวัด จะเสนอให้ปรับการตรวจหาเชื้อ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นแบบ RT-PCR และครั้งที่ 2 แบบ ATK ณ จุดที่กำหนด, ระยะที่ 2 (1-31 ธ.ค.64) เปิดเพิ่มเป็น 33 จังหวัด จะเสนอให้ตรวจหาเชื้อ 1 ครั้ง แบบ RT-PCR และระยะที่ 3 (ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) เปิดเพิ่มเป็น 45 จังหวัด จะเสนอให้ตรวจหาเชื้อ 1 ครั้ง แบบ RT-PCR หรือ ATK

"ส่วนแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศความเสี่ยงต่ำ มาเที่ยวไทยแบบไม่กักตัวและไม่จำกัดพื้นที่นั้น ยืนยันว่านักท่องเที่ยวยังต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR อีก 1 ครั้งในวันแรกที่เดินทางมาถึงไทย แม้ว่าจะมีการตรวจหาเชื้อด้วยวิธีดังกล่าวมาจากประเทศต้นทางแล้วก็ตาม โดยนักท่องเที่ยวต้องอยู่ภายในโรงแรมระหว่างรอผลตรวจ เมื่อทราบผลตรวจว่าไม่พบเชื้อ จึงจะสามารถออกไปท่องเที่ยวแบบไม่กักตัวได้"

ทั้งหมดก็เพื่อให้สอดรับกับการเปิดประเทศอย่างปลอดภัย!