• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “แข็งค่า” ที่ระดับ 33.19 บาท/ดอลลาร์

Started by fairya, October 31, 2021, 03:15:35 AM

Previous topic - Next topic

fairya

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ และโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ มองกรอบวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.10-33.30 บาท/ดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  33.19 บาทต่อดอลลาร์ "แข็งค่า"ขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.30 บาทต่อดอลลาร์

 

 

นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทยระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ และโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ ซึ่งเราคาดว่าผู้เล่นต่างรอคอยที่จะขายทำกำไร หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้แนวต้านแถว 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

อย่างไรก็ดี เงินบาทอาจเผชิญความผันผวนได้จากแรงขายทำกำไรหุ้นไทยออกมาบ้าง เนื่องจากเราเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติอาจชะลอการลงทุนในไทยไปก่อน จนกว่าจะมองภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังการทยอยเปิดประเทศในเดือนหน้า ได้อย่างชัดเจนก่อน ทำให้โดยรวมฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติยังมีความผันผวน

 

ทั้งนี้ แนวต้านสำคัญของเงินบาทยังอยู่ในโซน 33.40-33.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ส่งออกบางส่วนต่างรอขายเงินดอลลาร์อยู่ ส่วนผู้นำเข้าบางส่วนก็รอทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์ หากเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ เงินบาทยังมีแนวรับสำคัญที่โซน 32.90-33.00 บาทต่อดอลลาร์

 

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.10-33.30 บาท/ดอลลาร์

 

 


ตลาดการเงินโดยรวมเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงต่อ จากแรงหนุนจากรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดีกว่าคาด โดยเฉพาะในฝั่ง ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่รายงานผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาดนั้น ได้ช่วยหนุนให้ ดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้นราว +1.0%

 

ส่วนหุ้นเทคฯ ก็ปรับตัวขึ้นกันถ้วนหน้า ส่งผลให้ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวขึ้นกว่า +1.4% ทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั้น ได้สะท้อนว่าผู้เล่นในตลาดต่างให้น้ำหนักปัจจัยผลประกอบการมากกว่าข้อมูลเศรษฐกิจ หลังจากที่ อัตราการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยเศรษฐกิจโตเพียง +2.0% จากไตรมาสก่อนหน้า น้อยกว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ +2.7% และเป็นการชะลอตัวหนักจากที่โตกว่า +6.7% ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นผลมาจากการปัญหาการระบาดของเดลต้า รวมถึงปัญหาด้าน Supply Chain

 

ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 รีบาวด์ขึ้น +0.3% หนุนโดยรายงานผลประกอบการของบริษัทโดยรวมที่ยังออกมาดี แม้ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเน้นย้ำจุดยืนที่จะปรับลดการทำคิวอี ผ่านโครงการ PEPP นอกจากนี้ ประธาน ECB ยังได้ระบุว่า ปัญหาเงินเฟ้อ รวมถึงปัญหาด้าน Supply Chain ที่หนุนให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นนั้นอาจอยู่กับตลาดการเงินได้ยาวนานกว่าที่เคยประเมินไว้ ทำให้ ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่ยังคงมองว่า แนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด อาจทำให้ ECB ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ในปีหน้า ซึ่งภาพดังกล่าวได้หนุนให้ เงินยูโร (EUR) แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ แตะระดับ 1.168 ดอลลาร์ต่อยูโร

 

ในฝั่งตลาดบอนด์ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด ยังช่วยหนุนให้ บอนด์ยีลด์ทั่วโลกต่างปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยในฝั่งสหรัฐฯ บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นราว 3bps สู่ระดับ 1.57% ท่ามกลางสภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดจากผลกำไรที่ออกมาดีกว่าคาด

 

ขณะเดียวกัน ผู้เล่นในตลาดยังคงประเมินว่า ปัญหาเงินเฟ้อจะส่งผลให้บรรดาธนาคารกลางทั่วโลกต่างทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หนุนให้บอนด์ยีลด์ ยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นต่อได้

 

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ตามสภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด และการแข็งค่าขึ้นของเงินยูโร ตามมุมมองของตลาดที่เชื่อว่า ECB อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ในปีหน้า ทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ย่อตัวลงใกล้ระดับ 93.35 จุด

 

ทั้งนี้ การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ได้ช่วยให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง ซึ่งเราคาดว่า ผู้เล่นในตลาดจะทยอยขายทำกำไรทองคำออกมาบ้าง หากราคาทองคำปรับตัวใกล้ระดับดังกล่าว

 

สำหรับวันนี้ ในฝั่งสหรัฐฯ ตลาดจะรอจับตา ปัญหาเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้ โดยตลาดจะรอจับตาแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ (PCE) ในเดือนกันยายน ว่าจะมีการเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามากน้อยเพียงใด ซึ่งหากเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและสินค้าพลังงาน (Core PCE) พุ่งขึ้นมากกว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ระดับ +0.2% จากเดือนก่อนหน้า ก็อาจทำให้ตลาดยังคงกังวลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและคาดหวังว่า เฟดอาจจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินเข้มงวดได้เร็วกว่าคาด

 

และนอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว ตลาดจะยังคงจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเราคงมองว่า งบการเงินโดยรวมที่มีแนวโน้มออกมาแข็งแกร่งจะยังสามารถช่วยหนุนให้ตลาดการเงินเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงได้

 

ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทแข็งค่าทดสอบแนว 33.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงสั้นๆ ก่อนจะกลับมาปรับตัวที่ระดับประมาณ 33.20-33.22 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ โดยยังคงแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 33.28 บาทต่อดอลลาร์ฯ  ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย หลังตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 3/64 ของสหรัฐฯ เติบโตเพียง 2% ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดที่ 2.7-3.0% ต่อปี

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ คาดไว้ที่  33.10-33.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ สถานการณ์โควิดในประเทศ รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคล และอัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.