• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

อสังหาฯจากฉลูสู่พยัคฆ์ปีแห่งการประคับประคอง

Started by deam205, January 27, 2022, 03:44:57 AM

Previous topic - Next topic

deam205

อสังหาฯจากฉลูสู่พยัคฆ์ปีแห่งการประคับประคองธุรกิจให้รอด!

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุตลาดที่อยู่อาศัยปี65 ยังเป็นปีแห่งการประคับประคองธุรกิจ แม้จะมีปัจจัยหนุน หวั่นการระบาดระลอกใหม่โอมิครอนส่งผลต่อเศรษฐกิจกำลังซื้อที่กำลังจะฟื้นตัว
ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565 ยังเป็นปีแห่งการ"ประคับประคอง"ธุรกิจ แม้ตลาดที่อยู่อาศัยจะมีปัจจัยหนุนซึ่งน่าจะทำให้กิจกรรมการซื้อขายปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2564

 การฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยยังขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญอย่างการระบาดของโควิด-19 ในประเทศ ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์สายพันธุ์ "โอมิครอน" อย่างใกล้ชิด ซึ่งหากเกิดการระบาดระลอกใหม่และครอบคลุมระยะเวลาที่ยาวนาน ก็จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชนที่ใช้ระยะเวลานานขึ้นจะเป็น"แรงกดดัน"ต่อกิจกรรมการซื้อและการลงทุนที่อยู่อาศัย ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ยังเสี่ยงและมีความผันผวนสูง

 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2565 การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลน่าจะขยายตัวประมาณ 1.8%-7.3% จากที่คาดว่าจะหดตัวในปี 2564 และการลงทุนเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลน่าจะยังอยู่ในกรอบที่ระมัดระวัง 

ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565 ได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการภาครัฐ เป็นผลดีต่อตลาดและช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในกลุ่มที่มีความพร้อมทางการเงิน แต่เนื่องจากกำลังซื้อยังอ่อนแรง และความเสี่ยงการกลับมาระบาดของโควิดระลอกใหม่ยังคงอยู่ ทำให้การซื้อขายที่อยู่อาศัยน่าจะยังเติบโตได้จำกัด
 

•    ในปี 2565 มีปัจจัยบวกจากมาตรการภาครัฐ โดยเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 64 ภาครัฐได้มีการต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการซื้อที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยและค่าธรรมเนียมการจดจำนองที่อยู่อาศัยในอัตราจัดเก็บที่ 0.01% สำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 65

ทั้งนี้ การต่ออายุมาตรการดังกล่าว นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกของตลาดที่อยู่อาศัย หลังจากที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนคลายมาตรการ LTV ไปเมื่อเดือน ต.ค. 64 ซึ่งทั้ง 2 มาตรการดังกล่าว จะช่วยด้านกำลังซื้อของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย 

 โดยมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมฯ จะช่วยแบ่งเบาภาระรายจ่ายของผู้ซื้อ ซึ่งในทุก 1 ล้านบาท ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยจะประหยัดค่าใช้จ่ายไปประมาณ 2.98% หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 29,800 บาท

ขณะที่มาตรการ LTV จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการซื้อที่อยู่อาศัยจากวงเงินสินเชื่อที่สามารถปล่อยได้ 100%

นอกจากมาตรการของภาครัฐแล้ว ปัจจัยจากการทำแคมเปญการตลาดและโปรโมชั่นต่างๆ ของผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยในการเร่งระบายที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จรอขายและที่กำลังจะสร้างเสร็จในปี 2565 ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่น่าจะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในกลุ่มที่มีความพร้อมทางการเงิน
 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เนื่องจากสภาพแวดล้อมรายล้อมผู้บริโภคยังมีความเปราะบางสูง กำลังซื้อยังอ่อนแรง ขณะที่ความเสี่ยงการกลับมาระบาดของโควิดระลอกใหม่ยังคงอยู่

โดยเฉพาะขณะนี้ยังต้องติดตามสถานการณ์การระบาดของโควิดสายพันธุ์ โอมิครอน ในประเทศอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากการระบาดขยายเป็นวงกว้างและจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จะส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการฟื้นตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจและรายได้ของประชาชน

ขณะที่กลุ่มที่มีความพร้อมก็อาจจะ"ชะลอ"การตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ทำให้กิจกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยของคนในประเทศน่าจะยังเติบโตได้จำกัด เช่นเดียวกับทิศทางการซื้ออาคารชุดของชาวต่างชาติที่น่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิดยังเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและความเชื่อมั่นของผู้ซื้อชาวต่างชาติ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 การซื้อขายน่าจะยัง"ชะลอ"ตัว และหากสถานการณ์โควิดคลี่คลายดีขึ้นคาดว่ากิจกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยน่าจะทยอยปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี

ดังนั้น ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว จึงคาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปี 2565 จะมีจำนวนประมาณ 1.68 – 1.77 แสนหน่วย ขยายตัวประมาณ 1.8%-7.3% จากที่คาดว่าจะ "หดตัว" 16.1% ในปี 2564

 ขณะที่การจองซื้อที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลน่าจะอยู่ที่ประมาณ 6.3 – 6.9 หมื่นหน่วย ขยายตัว 0.0%-9.5% จากที่คาดว่าจะหดตัวประมาณ 3.5% ในปี 2564

 ซึ่งประมาณการได้คำนึงถึงความเสี่ยงของการกลับมาระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้นแต่สถานการณ์น่าจะดีกว่าในปี 2564 เนื่องจากการบริหารจัดการและควบคุมสถานการณ์ที่รวดเร็วของทางการ ประกอบกับการฉีดและกระจายวัคซีนเข็มกระตุ้นให้กับประชาชนที่ครอบคลุม น่าจะทำให้ความจำเป็นที่ทางการจะต้องยกระดับมาตรการคุมเข้มสูงสุดดังเช่นปี 2564 มีน้อยลง

การลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในปี 2565 น่าจะทยอยกลับมาฟื้นตัว แต่ยังต่ำกว่าในช่วงก่อนโควิด เนื่องจากอุปทานรอขายสะสมในตลาดยัง"ทรงตัว" โดยคาดว่าผู้ประกอบการจะเน้นเจาะทำเลในแหล่งชุมชนมากขึ้น แต่ยังมุ่งความสนใจไปที่กลุ่มลูกค้าระดับกลาง-บนเป็นหลัก

สำหรับทิศทางการลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในปี 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้จะเห็นการกลับเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยมากขึ้นจากปี 2564 แต่ตลาดยังมีปัจจัยท้าทายสูงจากกิจกรรมการซื้อขายที่ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ขณะที่ตลาดยังมีที่อยู่อาศัยสะสมรอขายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลอยู่ที่ระดับสูงกว่า 2 แสนหน่วย ดังนั้น ภายใต้การฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ในปี 2565 จำนวนที่อยู่อาศัยรอขายสะสมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลน่าจะยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ2.11-2.23 แสนหน่วย เทียบกับที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.27 แสนหน่วยในปี 2564 (ทั้งที่สร้างเสร็จ กำลังก่อสร้างและที่เปิดตัวแล้วยังไม่เริ่มก่อสร้าง)

โดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทต่อหน่วย ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 55.4% แม้ว่ากลุ่มนี้จะได้รับปัจจัยหนุนจากมาตรการภาครัฐก็ตาม ขณะที่ ประเภทที่อยู่อาศัยรอสะสมที่มีจำนวนมาก ส่วนใหญ่ยังเป็นคอนโดมิเนียม รองลงมาคือทาวน์เฮ้าส์

 
 นอกจากนี้ การแข่งขันในตลาดที่รุนแรงทำให้การลงทุนในทุกกลุ่มระดับราคาและประเภทที่อยู่อาศัยจึงยังต้องระมัดระวังสูง รวมถึงโจทย์สภาพคล่อง และต้นทุนในธุรกิจที่เพิ่มขึ้น เช่น การก่อสร้างอย่างราคาวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรการป้องกันโควิดให้กับพนักงานและการก่อสร้าง

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการบางรายอาจจะมี"ต้นทุน"ในส่วนของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น ซึ่งยังต้องรอติดตามประเด็นนี้เพิ่มเติมจากทางการหลังจากที่ได้มีมติยังคงอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2565-2566 ตามปี 2563-2564

จากสภาพแวดล้อมของตลาดที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ปี 2565 การเปิดตัวที่อยู่อาศัยใหม่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลน่าจะยังอยู่ที่ระดับต่ำกว่าก่อนโควิด หรือคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 6.0 – 6.6 หมื่นหน่วย จากที่ประเมินว่าจะเปิดตัวเพียง 5.6 หมื่นหน่วย ในปี 2564

โดยโครงการใหม่ที่เปิดตัวในปี 2565 น่าจะเน้นเจาะกลุ่มตลาดกลาง-บน ในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีกำลังซื้อสูง โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยว เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง อีกทั้งยังสามารถรับรู้รายได้เร็ว และโครงการมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวได้เร็วกว่าโครงการแนวสูง

ขณะที่โครงการคอนโดมิเนียมน่าจะเห็นการกลับมาเปิดตัวเพิ่มขึ้นแต่ยังต่ำกว่าระดับในช่วงก่อนโควิด โดยเจาะทำเลในแหล่งชุมชนมากขึ้น ระดับราคาประมาณ 3 ล้านบาท ต่างจากเดิมที่เน้นโครงการแนวรถไฟฟ้า   

•    อย่างไรกีดี การพัฒนาที่อยู่อาศัยยังมีโจทย์เฉพาะของตลาดรออยู่ข้างหน้า ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยในระยะข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็น การปรับรูปแบบที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ปริมาณและทำเลในการพัฒนาที่อยู่อาศัย อาทิ โจทย์ความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในพื้นที่นั้นๆ

ซึ่งผู้ประกอบการคงจะต้องกลับมาให้ความสำคัญในเรื่องของโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงของประชากรในแต่ละพื้นที่ (Demographic Change) เช่น อัตราการเกิด จำนวนประชากรแท้จริงที่อาศัยในพื้นที่ และประชากรที่โยกย้ายเข้าและออกในพื้นที่ เป็นต้น

พฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงการระบาดของโควิด เทรนด์การทำงานในที่พักที่มีบทบาทมากขึ้น (Hybrid Work from Home) และอาชีพอิสระ (Freelance) ใหม่ๆ อย่างการขายสินค้าบนโลกออนไลน์

นอกจากนี้ ความคืบหน้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างเมือง และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ยังก่อให้เกิดการขยายตัวของสังคมเมืองและการสร้างงานใหม่ๆ 

 โดยสรุป ในปี 2565 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ โดยมาตรการของทางการน่าจะเข้ามาช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้ออยู่อาศัย แต่การฟื้นตัวยังอยู่ในกรอบที่จำกัด

เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาคครัวเรือนอย่างมาก ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลากว่าที่กำลังซื้อจะฟื้นกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพ ขณะที่การลงทุนโครงการใหม่น่าจะยังทำได้จำกัด เนื่องจากตลาดที่อยู่อาศัยยังมีอุปทานสะสมรอขายสูง การแข่งขันในตลาดสูงขึ้น  ดังนั้นผู้ประกอบการคงจะต้องเลือกเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายตามพฤติกรรมมากขึ้น (Behavioral Targeting) จากเดิมที่เน้นด้านทำเลเป็นสำคัญ