• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

เปิดแผน 'แฟคตอรี่ แซนด์บ็อกซ์' ป้องกันภาคส่งออก 7 แสนล้าน รักษาจ้างงาน 3 ล้านคน

Started by fairya, August 24, 2021, 09:38:44 PM

Previous topic - Next topic

fairya



ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปี 2564 การส่งออกถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญที่สุดที่จะช่วยเศรษฐกิจไทยปี 2564 ขยายตัวได้และไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย โดยการส่งออกปีนี้ได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การผ่อนคลายมาตรการการล็อกดาวน์ในประเทศคู่ค้า และการเริ่มกลับมาเปิดเศรษฐกิจของหลายประเทศคู่ค้าสำคัญ

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานข้อมูลภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2564 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 67,761 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 36.2% (สูงสุดรอบ 44 ไตรมาส) โดย สศช.คาดว่าการส่งออกปีนี้ มูลค่าในรูปดอลลาร์จะขยายตัวถึง 13.3% สอดคล้องการปรับเพิ่มสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณ การค้าโลกและเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา รวมถึงการเกิดคลัสเตอร์ในโรงงานจำนวนมาก ทำให้หลายฝ่ายกังวลกระทบกับภาคการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกจึงต้องมีมาตรการรับมือส่วนนี้ 

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2564 โดยต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมการแพร่ระบาดพื้นที่ฐานการผลิตสำคัญด้วยการมีมาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ "Bubble and seal" รวมทั้งตรวจเชิงรุกเพื่อแยกผู้ติดเชื้อออกจากผู้ไม่ป่วยในโรงงาน เพื่อลดอัตราการแพร่เชื้อในโรงงาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อจำกัดและอุปสรรคในการขนส่งสินค้า การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการผลิต รวมถึงการสร้างตลาดส่งออกใหม่กับคู่ค้าใหม่ด้วยเพื่อให้ไทยมีตลาดการส่งออกเพิ่มขึ้น

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) สั่งการให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัด การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) โดยเร็ว และสถานประกอบการหรือโรงงานไม่พร้อมให้กระทรวงสาธารณสุขดูแลการตรวจหาเชื้อ การจัดหาสถานที่กักตัว ยารักษาโรค ตลอดจนวัคซีนให้แรงงาน


โครงการ Factory Sandbox เป็นแนวคิดการจัดการโครงสร้างและกระบวนการในลักษณะ "เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข" ที่มุ่งดำเนินการควบคู่ระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ โดยใน Sandbox จะมุ่งเป้าที่โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นกลไกหลักของประเทศในปัจจุบัน มีมูลค่าการส่งออกรวมถึง 7 แสนล้านบาท และจ้างงานถึง 3 ล้านตำแหน่ง ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1.ยานยนต์ 2.ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 3.อาหาร 4.อุปกรณ์การแพทย์ 

สำหรับการดำเนินการจะป้องกันคลัสเตอร์โรงงานจากการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างสมดุลระหว่างมาตรการทางด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนต่อได้ และสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนไทยและชาวต่างชาติในช่วงเวลาที่ซัพพลายเชนของประเทศคู่แข่งกำลังปิดตัวลง โดยโครงการนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 

ระยะที่ 1 ดำเนินการ 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรสาคร มีสถานประกอบการเข้าร่วม 60 แห่ง มีลูกจ้าง 138,795 คน 

ระยะที่ 2 ดำเนินการ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา และสมุทรปราการ 

ทั้งนี้ มีขั้นตอนหลัก ได้แก่ การตรวจ การรักษา การดูแลและการควบคุม เพื่อให้บริหารทรัพยากรที่มีจำกัดได้ตรงเป้าหมาย โดยโรงงานที่มีลูกจ้าง 500 คนขึ้นไป ต้องตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานประกอบการไม่ต่ำกว่า 5% ของพนักงาน ดำเนินการ Bubble and Seal โดยกำหนดให้ลูกจ้างเดินทางกลับที่พักแบบไม่แวะระหว่างทาง และอยู่แต่ในเคหสถานเท่านั้น 

รวมทั้งตรวจหาเชื้อแบบ PCR 1 ครั้ง ให้ลูกจ้างทั้งหมด และตรวจแบบ Self ATK ทุก 7 วัน ดำเนินการฉีดวัคซีนให้ลูกจ้างทุกคน ยกเว้นคนที่ติดเชื้อให้รักษาในส่วนค่าบริการฉีดวัคชีน สถานประกอบการต้องเป็นผู้จ่ายให้สถานพยาบาล และสถานประกอบการทำหนังสือยินยอมดำเนินการตามแนวทางกระทรวงแรงงานและจังหวัด



สำหรับแผน Bubble and Seal จะป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อในพื้นที่และไม่ให้ระบาดไปสู่ชุมชน รวมถึงป้องกันการเสียชีวิตและลดผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมจากการหยุดดำเนินกิจการ โดยมีหลักการสำคัญ

1.การป้องกันโรค โดยดำเนินการก่อนเกิดการระบาด และการควบคุมโรคเมื่อเกิดการระบาด 

2.การให้ทำกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมหรือทำงานได้ รวมทั้งเดินทางเคลื่อนย้ายระหว่างที่พักและที่ทำงาน โดยการควบคุมกำกับ 

3.การบริหารจัดการทั้งด้านการแพทย์และสาธารณสุข และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเครื่องอุปโภคบริโภค โดยมีมาตรการป้องกันควบคุมโรค มาตรการด้านสังคม มาตรการกำกับและประเมินผล รวมทั้งมีการบูรณาการจากหลายภาคส่วน 

ในขณะที่ขั้นตอนการดำเนินงาน Bubble & Seal ดังนี้

1.ผู้ประกอบการทำความเข้าใจหลักการจัดทำมาตรการรวมทั้งสื่อสารสร้างการรับรู้ การมีส่วนร่วมของพนักงานและชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

2.ผู้ประกอบการจัดทำแผนการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยยึดตามหลักการ แต่ทำแนวปฏิบัติขึ้นกับลักษณะแรงงาน ที่พัก การเดินทางและชุมชน ซึ่งสถานประกอบการออกแบบเองได้

3.ผู้ประกอบการควรกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานและกำกับติดตามให้ชัดเจน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและถอดบทเรียน เพื่อปรับมาตรการให้เหมาะสมในระยะยาวเหมาะสมกับสถานการณ์ 

4.กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดกลไกการสื่อสารเพื่อให้เกิดการปฏิบัติและการกำกับติดตามการดำเนินงานต่อเนื่อง

ส่วนกลไกการดำเนินงาน Bubble & Seal ประกอบไปด้วย 1.กลไกด้านการสื่อสารทำความเข้าใจ ได้แก่ จัดทำคู่มือที่ประกอบด้วย หลักการ แนวคิด มาตรการการป้องกัน มาตรการควบคุมโรค การตรวจด้วย ATK และ การดูแลด้านสุขภาพจิต มีการจัดทำแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) สำหรับทีมผู้ประเมินกำกับมาตรการระดับจังหวัด และจัดทำวีดีโอประชาสัมพันธ์มาตรการ Bubble & Seal ตั้งแต่ก่อนการระบาดและเมื่อเกิดระบาด

2.กลไกด้านการให้คำแนะนำและระบบพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา (Coaching) ได้แก่ ทีมส่วนกลางประกอบด้วย กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทีมระดับเขต

ประกอบด้วย สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ศูนย์อนามัย ศูนย์สุขภาพจิต และทีมระดับจังหวัด ประกอบด้วยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) อุตสาหกรรมจังหวัด สวัสดิการแรงงานจังหวัด สำนักงานประกันสังคม จังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด กระทรวงมหาดไทยหรือหน่วยงานอื่นภายใต้คำสั่งแต่งตั้งและมติคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด โดยกลไกด้านกำกับประเมินผล แบ่งเป็น3 ทีม ได้แก่ ทีมส่วนกลาง ทีมเขต และทีมบูรณาการ ระดับจังหวัด