• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

'ยุทธพล' ส่งมอบโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นพื้นที่เพชรบุรี

Started by dsmol19, August 02, 2021, 11:42:26 AM

Previous topic - Next topic

dsmol19



วันนี้ (2 ส.ค.) ดร.ยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการตามนโยบายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ที่สั่งการให้หน่วยงานเร่งแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพราะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ต่อระบบนิเวศทางทะเลและพี่น้องประชาชนในพื้นที่มีความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง

ดร.ยุทธพล กล่าวอีกว่า สำหรับภาพรวมของประเทศในปัจจุบันยังคงเหลือพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอีกประมาณ 87 กิโลเมตร จากความยาวชายฝั่งทั้งสิ้น 3,151 กิโลเมตร ซึ่งเรื่องนี้ ตนได้หารือกับอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ตลอดจนเป็นหน่วยงานที่ต้องประสานกับหน่วยงานภายนอก รวมถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบูรณาการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามแนวทางและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

ดร.ยุทธพล กล่าวต่อว่า สำหรับแนวปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นที่ได้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2564 มีระยะทางการปักทั้งสิ้นจำนวน 11,150 เมตร ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด 3,000 เมตร จังหวัดจันทบุรี 1,600 เมตร จังหวัดสมุทรสงคราม 800 เมตร จังหวัดเพชรบุรี 1,750 เมตร และจังหวัดนครศรีธรรมราช 4,000 เมตร ซึ่งในปัจจุบันดำเนินการปักแล้วเสร็จประมาณ 9,500 เมตร หากไม่มีมรสุม หรือพายุคลื่นลมที่รุนแรงเกิดขึ้นสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นและพร้อมส่งมอบภายในเดือน ส.ค.นี้แน่นอน สำหรับการดำเนินการดังกล่าวใช้งบประมาณจำนวน 42,300,000 บาท โดยประโยชน์จากแนวปักไม้ไผ่ดังกล่าว นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่หาดโคลนแล้ว ยังมีส่วนช่วยเร่งการตกตะกอนและเพิ่มพื้นที่หาดเลนหลังแนวไม้ไผ่ อันจะส่งผลให้พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ดร.ยุทธพล กล่าวอีกว่า ในฐานะที่ตนเป็นลูกหลานชาวเพชรบุรี ที่มองเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างดี จังหวัดเพชรบุรี นอกจากความโดดเด่นเรื่องประเพณีและธรรมชาติที่สวยงามหลากหลายแล้ว ในเขตอำเภอบ้านแหลมยังมีพื้นที่ป่าชายเลนและหาดโคลนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นแหล่งประกอบอาชีพประมงที่สำคัญได้แก่ อาชีพการจับหอยทะเลทั้งหอยแครง หอยเสียบ หอยลาย อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่หาดโคลนดังกล่าวก็ประสบปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งเช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 60-63 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นเป็นระยะทาง 5,010 เมตร คงเหลือพื้นที่ประสบปัญหากัดเซาะพื้นที่หาดโคลนในพื้นที่ ตำบลบางแก้ว ซึ่งดำเนินการแก้ไขปัญหาในปี 64 เป็นระยะทางไม้ไผ่ 1,750 เมตร

"ในขณะนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นในพื้นที่ดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้วและพร้อมส่งมอบให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ในวันที่ 3 ส.ค.นี้ เพื่อรักษาระบบนิเวศชายฝั่งและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน และผมขอความร่วมมือจากพี่น้องชาวจังหวัดเพชรบุรีช่วยกันดูแลรักษาแนวไม้ไผ่ดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าด้วย" ดร.ยุทธพล กล่าว

ด้าน นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานที่เข้ามาดำเนินการลักษณะต่างคนต่างทำ มีความซ้ำซ้อน แก้ปัญหาไม่ตรงจุด แก้จุดหนึ่งส่งผลกระทบอีกจุดหนึ่ง ดังนั้น ในช่วงที่ตนเข้ามาดำรงตำแหน่งอธิบดี โดยในปีที่ผ่านมา ได้มีแนวคิดในการกำหนดหลักเกณฑ์ประกอบการจัดทำแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งขึ้น เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้นำไปใช้ประกอบการจัดทำแผนงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งสำนักงบประมาณได้นำไปใช้ในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้มีความเหมาะสมแต่ละพื้นที่

"ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้รับทราบแล้ว เมื่อวันที่ 9 ก.พ.64 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ65นี้ ทาง ทช.ได้นำร่องในการใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยใช้กลไกของคณะทำงานกลั่นกรองโครงการฯ ซึ่งจัดตั้งภายใต้คณะอนุกรรมการบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง พิจารณาโครงการฯที่หน่วยงานเสนอเข้ามาทั้งหมด 64 โครงการ โดยมีโครงการที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ข้างต้นเพียง 17 โครงการเพื่อเสนอต่อสำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรค์งบประมาณต่อไป ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ไม่เกิดความซ้ำซ้อนอย่างแน่นอน"

อธิบดีกรม ทช. กล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของ ทช.ได้ดำเนินการ ตามแนวทางของ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดี ทช.ที่ยึดมาตรการสีเขียว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 16 ม.ค.61 โดยการนำวัสดุทางธรรมชาติมาใช้ในการแก้ไขปัญหาโดยวิธีปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 50 ถึงปี 64ในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ระนอง และกระบี่ รวมระยะทางไม้ไผ่ทั้งสิ้น 94.66 กิโลเมตร ซึ่งผลที่ได้จากการดำเนินการดังกล่าวสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนหลังแนวไม้ไผ่ได้ไม่ต่ำกว่า 450ไร่ โดยป่าชายเลนเหล่านี้จะกลายเป็นปราการทางธรรมชาติในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งนอกจากนี้ประชาชนยังได้ใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจากพืชและสัตว์ที่เกิดบริเวณป่าชายเลน สามารถสร้างอาชีพและรายได้อีกด้วย