• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

'วัคซีนพาสปอร์ต-โควิดเดลต้า'ความท้าทายของเอเชีย

Started by dsmol19, August 19, 2021, 01:15:09 PM

Previous topic - Next topic

dsmol19



ประเทศในเอเชียพยายามพึ่งพาวัคซีนพาสปอร์ตมากขึ้น ด้วยความหวังว่าสิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นการเดินทางเพื่อทำธุรกิจของทั่วโลกให้กลับมาคึกคักเหมือนช่วงก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19ได้

แต่ปัญหาคือการระบาดอย่างรวดเร็วของโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาอาจจะบั่นทอนความพยายามในเรื่องนี้ เนื่องจากวัคซีนพาสปอร์ตไม่ได้มีมาตรฐานแบบเดียวกัน ,อัตราการฉีดวัคซีนที่แตกต่างกัน และขีดความสามารถด้านสุขภาพสาธารณะในเอเชียที่ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ จึงทำให้วัคซีนพลาสปอร์ตกลายเป็นอุปสรรคมากกว่าจะเป็นตัวช่วยให้เกิดการเดินทางข้ามพรมแดนสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงความท้าทายในการเปิดพรมแดนและการยกเว้นไม่กักตัวบรรดานักเดินทางที่มีวัคซีนพาสปอร์ต ในรูปแบบเดียวกับที่ยุโรปกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

เมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา สิงคโปร์อนุญาตให้ชาวต่างชาติที่ถือวีซ่าทำงานและได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ครบแล้ว รวมถึงผู้ติดตาม สามารถเข้าประเทศได้ เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศคลี่คลายลง เพราะจนถึงวันที่ 5 ส.ค.ประชาชนสิงคโปร์ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้วในสัดส่วน 67% และได้รับการฉีดวัคซีนถึง 70% ในวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา

สิงคโปร์กำหนดให้ชาวต่างชาติที่ขออนุญาตเข้ามาทำงานในประเทศต้องได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว 2 สัปดาห์ โดยใช้วัคซีนของไฟเซอร์ โมเดอร์นา หรือวัคซีนที่อยู่ในบัญชีการใช้ฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ)


ส่วนผู้ติดตามต้องปฏิบัติตามหลักการอยู่ในที่พักอาศัย หากฝ่าฝืนมีบทลงโทษตามกฎหมาย และในระยะต่อไป สิงคโปร์จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบแล้วจากประเทศที่มีอัตราการระบาดในระดับที่ยอมรับได้ สามารถเดินทางเข้าสิงคโปร์ได้เช่นกัน โดยจะประกาศรายชื่อกลุ่มประเทศดังกล่าวในวันที่ 20 ส.ค.นี้


ด้านเวียดนาม ได้ปรับลดระยะเวลาการกักตัวสำหรับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศจาก 2 สัปดาห์ เหลือเพียง 7 วัน

ในปีที่ผ่านมาเวียดนามประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19ได้เป็นส่วนใหญ่ จากการตรวจหาเชื้อแบบมุ่งเป้าและการกักกันโรคแบบรวมศูนย์ แต่นับตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย. เวียดนามก็พบผู้ป่วยติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นผลจากสายพันธุ์เดลตา

ทางการเวียดนามจึงตัดสินใจปิดพรมแดนทั้งหมด ยกเว้นพลเมืองเวียดนามที่เดินทางกลับประเทศ ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ นักลงทุน หรือนักการทูต ซึ่งทุกคนต้องถูกกักตัว 14 วัน ในสถานที่ที่ได้รับการจัดการจากส่วนกลาง

ขณะที่"แฮร์รี โร้ก" โฆษกประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์ปรับลดระยะเวลาในการกักตัวเพื่อเฝ้าระวังโรคโควิด-19 จาก 14 วัน ลงเหลือ 7 วัน สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศทุกคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบสองโดสในประเทศฟิลิปปินส์

"ผู้เดินทางที่เข้ามายังฟิลิปปินส์ทุกคนไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT PCR หรือการเก็บสารคัดหลั่งในโพรงจมูกเมื่อเดินทางมาถึงอีกต่อไป ส่วนวิธี RT PCR จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ที่เดินทางเข้ามาแสดงอาการโควิด-19 ในช่วงกักตัว 7 วัน" โร้ก กล่าว

ส่วนในเกาหลีใต้ นักเดินทางเพื่อทำธุรกิจชาวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว สามารถยื่นเอกสารเพื่อขอรับการยกเว้นถูกกักตัวได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.โดยมีเงื่อนไขต่างๆมากมาย ขณะที่นักวิชาการและผู้ที่ต้องการเดินทางเยือนเกาหลีใต้ด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม ที่ครอบคลุมถึงผู้ต้องการเดินทางมาเยี่ยมครอบครัวก็มีสิทธิที่จะยื่นขอรับการยกเว้นจากการถูกกักตัวได้เช่นกัน

รัฐบาลโซลไม่เพียงแต่อนุญาตให้ผู้รับวัคซีนครบโดสแล้วเดินทางเข้ามาในเกาหลีใต้ได้เท่านั้น แต่ผู้ที่รับการฉีกวัคซีนซิโนฟาร์มและซิโนแวคของจีนก็สามารถยื่นเอกสารขอรับการยกเว้นไม่ต้องถูกกักตัวได้ โดยนับจนถึงวันเสาร์(14ส.ค.) อัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19แบบครบโดสในเกาหลีใต้อยู่ที่ 19% ของประชากรทั้งหมด

"เกาหลีใต้เป็นประเทศแรกที่ยกเว้นผู้รับการฉีดวัคซีนของจีนไม่ต้องถูกกักตัวเมื่อเดินทางเข้าประเทศ" ลี ดอง กู นักวิจัยจากสถาบันอาเซียนเพื่อการศึกษานโยบายกล่าว

"โจเซฟ เอ็ม.เชียร์"ศาสตราจารย์จากศูนย์วิจัยการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยวากายามาของญี่ปุ่นมีความเห็นว่า สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการเริ่มต้นเดินทางในเอเชียอีกครั้งคืออัตราการฉีดวัคซีนในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นและการลดลงของยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่

"ดูเหมือนว่าตอนนี้รัฐบาลหลายประเทศในเอเชียกำลังวุ่นวายอยู่กับการรับมือกับโควิดสายพันธุ์เดลตาที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งแก้ปัญหาอัตราการฉีดวัคซีนที่ยังต่ำอยู่ แต่การรับมือกับการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตาและการฉีดวัคซีนอย่างเป็นเอกภาพของเอเชียเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะยังมีความแตกต่างกันอยู่มากในภูมิภาคนี้ ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ติดเชื้อ อัตราการฉีดวัคซีน และโรงพยาบาลที่จะรองรับคนไข้" เชียร์ กล่าว

การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในเอเชียแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับยุโรปที่มีแนวทางการทำงานส่วนใหญ่ที่เป็นเอกภาพ โดยเมื่อวันที่1 ก.ค.สหภาพยุโรป (อียู)เริ่มต้นใช้เอกสารรับรองการฉีดวัคซีนโควิดแบบดิจิทัล หรือ พาสปอร์ตวัคซีนโควิดแบบดิจิทัล

เอกสารยืนยันการรับวัคซีนโควิดแบบดิจิทัลของอียู ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยสำหรับการเดินทางภายในกลุ่มสหภาพยุโรป เพื่อให้พลเมืองในสหภาพยุโรปที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว สามารถใช้เอกสารนี้ในการเดินทางผ่านพรมแดนประเทศในสหภาพยุโรปได้ โดยไม่ต้องมีการกักตัวหรือต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อเพิ่ม