• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

สศก.เผย GDP เกษตร Q1/65 โต 4.4% ทั้งปีคาดโต 2-3% จับตาราคาน้ำมัน-บาทแข็งกระทบต้นทุน

Started by dsmol19, March 25, 2022, 01:23:59 PM

Previous topic - Next topic

dsmol19

สศก.เผย GDP เกษตร Q1/65 โต 4.4% ทั้งปีคาดโต 2-3% จับตาราคาน้ำมัน-บาทแข็งกระทบต้นทุน

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภาวะ เศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1/65 (ม.ค.-มี.ค. 65) พบว่า ขยายตัว 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 64 ซึ่งมีทิศทางเป็นบวก ต่อเนื่องจากไตรมาส 4/64 (ต.ค.-ธ.ค. 64) ที่ขยายตัว 0.7%

สำหรับการเติบโตได้ดีในไตรมาสนี้ เป็นผลจากสาขาพืชซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักขยายตัว เนื่องจากฝนที่ตกต่อเนื่องตั้งแต่ช่วง กลางปี 64 ถึงต้นปี 65 และสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้การผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สาขาบริการทางการเกษตรขยายตัวได้ตาม พื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่เก็บเกี่ยวพืชที่เพิ่มขึ้น ขณะที่สาขาประมงและสาขาป่าไม้ ขยายตัวได้จากการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด ที่มีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สาขาปศุสัตว์หดตัวลงจากสถานการณ์โรคระบาดในสัตว์ที่ส่งผลให้เกษตรกรปรับลดปริมาณการเลี้ยง

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายสาขา พบว่า สาขาพืช ขยายตัว 6.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 64 โดยสินค้าพืชที่มีผลผลิต เพิ่มขึ้น ได้แก่

-ข้าวนาปี ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากฝนที่ตกต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 64 ทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอในช่วงฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจึงขยายการเพาะปลูกในพื้นที่ว่าง ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง

-ข้าวนาปรัง ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่สำคัญและแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีมากขึ้น เกษตรกรจึงขยาย การเพาะปลูกในพื้นที่นาปรังเดิมที่เคยปล่อยว่าง และเกษตรกรในภาคกลางบางรายทำการเพาะปลูกชดเชยในพื้นที่ที่เสียหายจากสถานการณ์ น้ำท่วมในช่วงปลายเดือนก.ย. 64

-อ้อยโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำและสภาพอากาศเอื้ออำนวย ส่งผลให้ต้นอ้อยเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ประกอบ กับโรงงานน้ำตาลมีระบบประกันราคารับซื้อผลผลิตอ้อยสดคุณภาพดี จูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อยและเอาใจใส่ดูแลผลผลิต

-สับปะรดโรงงาน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสับปะรดที่ปลูกในช่วงปลายปี 63 ถึงต้นปี 64 เริ่มให้ผลผลิต ซึ่งเป็นผลจากราคา สับปะรดโรงงานในช่วงดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกสับปะรดในพื้นที่ปล่อยว่าง และปลูกแซมในสวนยางพาราและ สวนมะพร้าวที่ปลูกใหม่

-ยางพารา ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอ ทำให้ต้นยางสมบูรณ์ดี และการระบาดของโรคใบร่วงยางพารา ในภาคใต้ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญลดลง ประกอบกับความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศจากอุตสาหกรรมยาน ยนต์ และการผลิตถุงมือยาง ทำให้เกษตรกรเพิ่มจำนวนวันกรีดยาง

-ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในปี 62 เพื่อทดแทนพืชชนิดอื่น ได้แก่ เงาะ ลองกอง กาแฟ และยางพารา เริ่มให้ผลผลิตในช่วงปี 65 และในแหล่งผลิตสำคัญมีสภาพอากาศเอื้ออำนวย รวมถึงราคาปาล์มน้ำมันมีการปรับตัวเพิ่ม ขึ้นตามราคาตลาดโลก เกษตรกรมีการบำรุงดูแลมากขึ้น ส่งผลให้ทะลายปาล์มมีความสมบูรณ์

-ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นจากต้นลำไยที่เกษตรกรปลูกแทนพืชอื่นในปี 62 เช่น ลิ้นจี่ และไม้ผลอื่น ซึ่งเริ่มให้ผลผลิตในช่วงปี 65 ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวย ทำให้ลำไยติดผลดีและมีจำนวนผลต่อช่อเพิ่มขึ้น โดยเป็นผลผลิตนอกฤดูผล ผลิตซึ่งส่วนใหญ่มาจากจังหวัดจันทบุรี

-ทุเรียน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง จูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงดูแลรักษา และมีการทำทุเรียน นอกฤดูมากขึ้น ประกอบกับการขยายพื้นที่ปลูกใหม่ในปี 60 เริ่มให้ผลผลิตในปี 65 เป็นปีแรก

-มังคุด ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงเดือนธ.ค. 64-ม.ค. 65 ตอนกลางของประเทศมีอากาศหนาวเย็นที่เอื้ออำนวยต่อ การออกดอกและติดผล และในปีที่ผ่านมามังคุดมีการออกดอกและติดผลน้อย ทำให้มีเวลาพักสะสมอาหาร ส่งผลให้มีการออกดอกติดผลมาก ขึ้น

ส่วนสินค้าพืช ที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่

-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตลดลง เนื่องจากปัญหาด้านสภาพอากาศและการเกิดอุทกภัยในแหล่งผลิตสำคัญในช่วงเดือนก.ย.- พ.ย. 64 ส่งผลให้พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงไตรมาสนี้บางส่วนได้รับความเสียหาย

-มันสำปะหลัง ผลผลิตลดลง เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกสำคัญหลายจังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ ลพบุรี นครสรรค์ และ อุทัยธานี ประสบปัญหาอุทกภัยและน้ำท่วมขังในช่วงเดือนก.ย.-ต.ค. 64 ส่งผลให้หัวมันเน่าเสียหาย และไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

-เงาะ ผลผลิตลดลง เนื่องจากเกษตรกรมีการบำรุงดูแลรักษาน้อยกว่าไม้ผลอื่นที่มีราคาสูง ประกอบกับมีการปรับเปลี่ยนไป ปลูกไม้ผลอื่นที่มีราคาดีกว่า และมีการตัดโค่นต้นที่ปลูกแซมในสวนทุเรียน มังคุด และปาล์มน้ำมันที่เติบโตขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง

สำหรับสาขาปศุสัตว์ หดตัว 2.0% เนื่องจากการผลิตสุกรได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ทำให้ เกษตรกรต้องลดปริมาณการเลี้ยง ประกอบกับต้นทุนค่าอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการสินค้าปศุสัตว์ที่ยังมีต่อเนื่อง การ จัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐานและการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มงวด ทำให้ผลผลิตปศุสัตว์หลายชนิดเพิ่มขึ้นได้

ในส่วนของสินค้าปศุสัตว์ที่มีผลผลิตลดลง คือ สุกร เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรมีความกังวลกับสถานการณ์โรคระบาดในสุกร ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (African Swine Fever: ASF) ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่ง ผลให้เกษตรกรมีการปรับลดปริมาณการเลี้ยงสุกร

ส่วนสินค้าปศุสัตว์ที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่เนื้อ เนื่องจากมีการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดทั้งในและ ต่างประเทศ ด้านไข่ไก่ ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมีการจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ และสภาพอากาศเอื้ออำนวย ส่งผลให้ไข่ไก่ ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่วนน้ำนมดิบ ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี ดูแลเอาใจใส่สุขภาพของแม่โคและมีการ ปรับปรุงพันธุ์แม่โคให้มีอัตราการให้น้ำนมเพิ่มขึ้น

สำหรับสาขาประมง ขยายตัว 2.5% เป็นผลมาจากผลผลิตประมงทะเลในส่วนของสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือในภาคใต้มี ปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากมรสุมเริ่มลดลง ชาวประมงสามารถนำเรือออกไปจับสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้น ส่วนปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาค ประมงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีทิศทางดีขึ้น โดยแรงงานได้รับวัคซีนตามที่กำหนดและสามารถกลับเข้าทำงานได้

ในส่วนของกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากระดับราคาที่จูงใจ ทำให้เกษตรกรปรับเพิ่มจำนวนลูกพันธุ์และ ลงลูกกุ้งมากกว่าช่วงที่ผ่านมา แม้จะยังพบการระบาดของโรคขี้ขาว ไวรัสตัวแดงดวงขาว หัวเหลือง ในบางพื้นที่ แต่เกษตรกรมีการดูแล เอาใจใส่เป็นอย่างดี ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น

ด้านผลผลิตประมงน้ำจืด ปลานิล และปลาดุก มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากน้ำในแม่น้ำลำคลองมีเพียงพอสำหรับการเลี้ยงและเกษตรกร มีการอนุบาลลูกปลาให้ได้ขนาดและแข็งแรงก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยง ทำให้อัตราการรอดสูงขึ้น

สำหรับสาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัว 2.4% โดยกิจกรรมการเตรียมดินเพิ่มขึ้นตามพื้นที่เพาะปลูกพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง เนื่องจากปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช และราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ใน เกณฑ์ดี และกิจกรรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่มขึ้นตามพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง และสับปะรดโรงงาน

สำหรับสาขาป่าไม้ ขยายตัว 2.2% เนื่องจากผลผลิตไม้ยางพารา ถ่านไม้ และครั่ง เพิ่มขึ้นเป็นหลัก โดยผลผลิตไม้ ยางพารา เพิ่มขึ้นตามพื้นที่การตัดโค่น สวนยางพาราเก่า เพื่อปลูกทดแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดีและพืชอื่น และความต้องการของตลาดจีนที่มี มากขึ้น ด้านผลผลิตถ่านไม้ เพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ภายในประเทศทั้งโรงแรมและร้านอาหาร รวมถึงการส่งออกไปยังจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้านผลผลิตครั่ง เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต และยังเป็นที่ต้องการของตลาดอินเดีย ส่วนรังนกยัง มีความต้องการจากประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการไม้ยูคาลิปตัส เพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษลดลง เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 65 ยังคงคาดการณ์ว่า จะขยายตัวอยู่ในช่วง 2.0-3.0% เมื่อเทียบกับปี 64 โดย ทุกสาขาการผลิต มีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นจากอิทธิพลของลานีญา ประกอบกับภาครัฐมีความร่วมมือกับภาคส่วน ต่างๆ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดที่ดี มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้า ให้ ได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่อนคลายมาตรการมากขึ้น ทำให้มี ความต้องการสินค้าเกษตรทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะฝนทิ้งช่วงและความแปรปรวนของสภาพอากาศในบางพื้นที่ แนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับ ตัวสูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตทั้งในด้านราคาปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และอาหารสัตว์ รวมถึงค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า อาจ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ตลอดจนสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลกในภาพรวม

"สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน แทบไม่มีผลกระทบต่อ GDP เกษตร เพราะทั้งสองประเทศไม่ใช่ประเทศคู่ค้าหลัก โดยจะกระทบ เศรษฐกิจในภาพรวมเท่านั้น และถึงแม้จะมีสงคราม แต่ก็ยังต้องมีการส่งออกสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภค ด้านโลจิสติกส์ทั่วโลกได้รับผล กระทบจากค่าระวางเรือที่สูงขึ้น แต่ค่าระวางเรือนั้นเป็นเรื่องของประเทศปลายทางที่ส่งออก" นายฉันทานนท์ กล่าว

                            อัตราการเติบโตของภาคเกษตร
                                                                       หน่วย: ร้อยละ
              สาขา                        ไตรมาส 1/65 (ม.ค.-มี.ค.)
           ภาคเกษตร                                   4.4
           - พืช                                       6.3
           - ปศุสัตว์                                   -2.0
           - ประมง                                    2.5
           - บริการทางการเกษตร                         2.4
           - ป่าไม้                                     2.2
ที่มา: กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร