• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

เรื่องเล่าจาก CLMV: ทิศทางและแนวโน้มเศรษฐกิจใน CLMV

Started by dsmol19, January 08, 2022, 04:38:55 PM

Previous topic - Next topic

dsmol19



จากการผ่อนคลายมาตรการในเรื่องการเดินทางเข้าประเทศกัมพูชา สำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 แล้วจำนวน 2 เข็ม จะไม่ต้องถูกกักตัวและสามารถเดินทางในกัมพูชาได้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไปนั้น ถือเป็นสัญญาณบวกสำหรับการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยสายการบินต่าง ๆ เริ่มกลับมาเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ดังนั้น คาดการณ์ว่าตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 จะมีผู้เดินทางจากต่างประเทศ เริ่มเดินทางเข้ามายังกัมพูชามากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด COVID-19 เคยมีจำนวนผู้เดินทางมายังประเทศกัมพูชาประมาณ 6.6 ล้านคนต่อปี

ในปี 2565 กัมพูชามีแผนการรองรับการกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ เช่น การประกาศใช้ Law on Investment ฉบับใหม่ มีการปรับปรุงรายละเอียดด้านภาษีต่าง ๆ ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น และมีการส่งเสริมการลงทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น Environment Protection, Bio Diversity, Circular Economy, Clean Energy และ Technology Innovations เป็นต้น รวมถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่ประกาศใช้หรือปรับปรุงใหม่ระหว่างปี 2564 เช่น Competition Law, Law on Public-Private Partnerships, Law on E-commerce และการปรับปรุงข้อกฎหมายใน Labour Law 1997 เป็นต้น สำหรับด้านการค้ากัมพูชามีการเจรจาทั้งทวิภาคี และพหุภาคีกับประเทศต่าง ๆ เช่น Cambodia?China Free Trade Agreement (CCFTA) และ Cambodia-Korea Free Trade Agreement (CKFTA) รวมถึง Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยเฉพาะการลดภาษีสินค้านำเข้าระหว่างประเทศสมาชิก อันจะช่วยสร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดด้วยต้นทุนที่ถูกลง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการกระจายสินค้าไปยังต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่คลี่คลายลงและมีการเปิดประเทศของกัมพูชา ประกอบกับรัฐบาลกัมพูชาได้เตรียมพร้อมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลาย ๆ ด้าน เช่น การประกาศใช้กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ การเจรจาทางการค้าทวิภาคี และพหุภาคีกับประเทศต่าง ๆ สำนักงานผู้แทนฯ เห็นว่าอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโตได้ดี ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ ธุรกิจก่อสร้างและตกแต่งภายใน ธุรกิจพลังงานโดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้น ซึ่งถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจดังกล่าว ในการพิจารณาขยายการค้าการลงทุนมายังกัมพูชา รวมถึงใช้กัมพูชาเป็นฐานการผลิตสินค้าเพื่อขายในประเทศ ส่งสินค้ากลับมาไทย และส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี อีกด้วย

เขียนและเรียบเรียงข้อมูลโดย

นายชูพล สุขแสนเจริญ

หัวหน้าสำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในกรุงพนมเปญ

L - สปป.ลาว
ในปี 2565 Asian Development Bank (ADB) คาดการณ์ว่า สปป.ลาว จะมีอัตราการเติบโตของ GDP อยู่ที่ 4.00% จากเดิม 2.30% ในปี 2564 โดยมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของ GDP ได้แก่ 1) รายได้จากการเปิดใช้รถไฟลาว-จีน ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกไปยังประเทศจีนได้แก่ การขนส่งสินค้า ธุรกิจการผลิตสินค้าเกษตร ธุรกิจเหมืองแร่ เช่น แร่เหล็ก แร่โปแตส ถ่านหิน เป็นต้น 2) รายได้จากการขายไฟฟ้า ซึ่งนอกจากการส่งออกไปยังประเทศไทยแล้ว รัฐบาล สปป.ลาว ยังมีการผลักดันให้เกิดการลงนามรับซื้อไฟฟ้าจาก Electricity of Vietnam (EVN) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากเขื่อนน้ำอู ซึ่งเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าในปลายปี 2564 3) นโยบายเพิ่มรายได้จากธุรกิจใหม่ คือ การให้สัมปทานเหมืองขุดค้นและแพลทฟอร์มการซื้อขายเงินดิจิทัล ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้ให้รัฐบาล สปป.ลาวประมาณ 190 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ในด้านการบริหารจัดการหนี้สินของรัฐ มีการวางนโยบายลดการลงทุนจากภาครัฐ โดยเน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบ Public Private Partnership (PPP) เพื่อลดภาระของรัฐลงและยังมีการกำหนดนโยบายตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและลดงบประมาณค่าใช้จ่ายภาครัฐลงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ท้าทายทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ที่ยังต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ปัญหาการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องของค่าเงินกีบที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าสินค้านำเข้าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องกำลังซื้อที่ลดลงของประชากร รวมถึงการขาดแคลนเงินสกุลแข็ง (Hard Currency) ที่จำเป็นต้องใช้ในการชำระภาระค่าสินค้าและชำระหนี้ระหว่างประเทศ แม้ว่ารัฐบาล สปป.ลาว จะมีการออกเกณฑ์กำกับออกมาบ้างแล้วแต่ยังไม่สามารถควบคุมการบริหารสภาพคล่องของเงินตราต่างประเทศในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เขียนและเรียบเรียงข้อมูลโดย

นางสาววีรนุช ธรรมศักดิ์

หัวหน้าสำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในเวียงจันทน์

M - เมียนมา
ปี 2564 เป็นปีที่เมียนมาประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อเนื่องมาจากปี 2563 บวกกับสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองเมื่อต้นปี 2564 ทำให้เศรษฐกิจของเมียนมาชะลอตัวอย่างรุนแรง สำนักงานผู้แทนย่างกุ้ง มีความเห็นว่าในปี 2565 เมียนมายังคงต้องประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่คาดว่าจะดีขึ้นกว่าในปี 2564 ทั้งนี้ หลังจากที่เคยมีการทำ Civil Disobedience Movement (CDM) ปัจจุบันในส่วนของภาคแรงงานเริ่มกลับเข้ามาทำงานตามปกติ ภาคการธนาคารเริ่มเปิดให้บริการตามปกติ ในขณะที่ภาคการค้าในเมียนมาเริ่มมีการเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น โดยสังเกตได้จากการกลับมาเปิดดำเนินการของร้านค้า ร้านอาหารตามปกติ และยังมีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันของชาวเมียนมาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย ในส่วนของภาคการผลิตโดยเฉพาะ Garment ซึ่งเคยเป็นอุตสาหกรรมการผลิตหลักในเมียนมายังคงได้รับผลกระทบเนื่องจากคำสั่งซื้อที่หดตัวลงประกอบกับหลายโรงงานได้มีการปิดตัวลงในช่วงต้นปี 2564 ส่วนภาคการท่องเที่ยวและบริการต่อเนื่องซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจเมียนมา ยังคงต้องจับตามองหลังการเปิดประเทศ ทั้งด่านทางบกและด่านทางอากาศของเมียนมา ซึ่งประกาศว่าจะเปิดในไตรมาสแรกของปี 2565 คือ ทั้งนี้ หากสามารถเปิดได้ตามแผนที่วางไว้ก็จะทำให้เศรษฐกิจของเมียนมาดีขึ้นมา นอกจากนี้ เมียนมายังพึ่งพิงวัตถุดิบที่จำเป็นต่อธุรกิจโรงแรม เช่น อาหารสด วัตถุดิบจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยอีกครั้งที่จะขยายโอกาสการค้าไปยังเมียนมา

อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยอื่นที่ต้องจับตามองซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบในเชิงลบทางเศรษฐกิจของเมียนมา เช่น

1. ปัจจัยด้านการขาดแคลนเงินสกุลแข็ง (Hard Currency) ในเมียนมา โดยเฉพาะเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐหรือการขาดแคลน

ธนบัตรจ๊าต รวมทั้ง ค่าเงินจ๊าตอ่อนตัว ซึ่งปัญหาเหล่านี้ The Central Bank of Myanmar (CBM) พยายามที่จะแก้ไขมาโดยตลอด

2. ปัจจัยด้านการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่รัฐบาลเมียนมาจะดำเนินการให้มีประสิทธิภาพและสร้างความมั่นใจต่อประชาชนชาวเมียนมา รวมทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ปัจจัยด้านการถูกคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตก

3. ปัจจัยด้านการเมืองที่หลายชาติโดยเฉพาะชาติตะวันตกพยายามกดดันเมียนมาให้เกิดประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด รวมทั้งปล่อยตัวนักโทษที่โดนจับในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง นอกจากนี้ ยังต้องจับตามองความพยายามของ ASEAN ในการเข้ามาแก้ไขวิกฤติการณ์ในเมียนมาเอง ซึ่งหากรัฐบาลเมียนมาแก้ไขปัจจัยต่างๆ ตามที่กล่าวมาได้ ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจต่อนานาชาติมากขึ้น และส่งผลต่อการค้าการลงทุนโดยเฉพาะการลงทุนจากต่างประเทศ ในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้น

เขียนและเรียบเรียงข้อมูลโดย

นายวรมินทร์ ถาวราภา

หัวหน้าสำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในกรุงย่างกุ้ง

V - เวียดนาม
ในปี 2564 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามต่ำกว่าประมาณการที่คาดการณ์ไว้เมื่อช่วงต้นปี 2564 เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta ส่งผลให้เมื่อช่วงกลางปี 2564 เวียดนามมีคำสั่ง Lock down ทั่วประเทศและ Lock down อย่างเข้มข้นภายใต้นโยบาย Social Distancing เมื่อเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2564 ทำให้ธุรกิจ SMEs จำนวนมากต้องปิดตัวลง และกิจการขนาดใหญ่หลายรายเกิดปัญหาด้านการผลิตจากการที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม สำนักงานผู้แทนโฮจิมินห์ ยังคงมีมุมมองที่ดีต่อเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2565 โดยหากสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย และมีการผ่อนปรนให้สามารถเคลื่อนย้ายประชาชนและแรงงานได้ตามปกติ ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเวียดนามเริ่มขับเคลื่อน ประกอบกับปัจจัยพื้นฐานที่ค่อนข้างแข็งแกร่งอยู่แล้วของเวียดนาม เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการลงทุน จำนวนประชากรที่มีมากและประชากรวัยแรงงานที่มีกว่า 55 ล้านคน และที่สำคัญคือ ค่าแรงที่ไม่ได้สูงมากนัก ยังคงเป็นปัจจัยบวกส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุนจากหลาย ๆ แหล่งทั่วโลกมายังประเทศเวียดนาม

นอกจากนี้ การเริ่มเปิดดำเนินการของรถไฟฟ้าในกรุงฮานอย ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการลงทุนใหม่ ๆ ในเวียดนาม เช่น การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการมีสื่อโฆษณาต่าง ๆ บริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะเกิดการลงทุนใหม่เพิ่มเติมแล้วแล้ว ยังนำมาซึ่งการจ้างงานในปริมาณมากด้วย

อย่างไรก็ตาม ปี 2565 ถือเป็นปีที่ท้าทายเป็นอย่างมากสำหรับเวียดนาม เพราะนอกจากจะต้องควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ควบคู่ไปกับการเปิดประเทศต้อนรับการลงทุนและการท่องเที่ยวจากต่างประเทศแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่ท้าทายการขยายธุรกิจของ

เวียดนาม คือ การเข้าร่วมลงนาม Paris Agreement ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2566 เพื่อลดภาวะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเวียดนามตั้งเป้าจะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 0 ในปี 2593 ซึ่งการเข้าร่วมลงนามสนธิสัญญาฉบับนี้ จะทำให้เวียดนามเผชิญความท้าทายจากการต้องเร่งสร้าง Carbon Credit ด้วยการลงทุนใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด หรือการ Replace เครื่องจักรในโรงงานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อคงไว้ซึ่งจุดแข็งของสินค้าเวียดนามที่จะส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าเวียดนามจะมีการลงนามใน European Union-Vietnam Free Trade Agreement (EVFTA) แล้วก็ตาม

นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องจับตามอง คือ สถานการณ์ความตึงเครียดทางทหารระหว่างจีนกับไต้หวันบริเวณ Indo-Pacific เพราะเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศมายังเวียดนามได้ เนื่องจากเวียดนามมีพื้นที่อยู่ใกล้บริเวณพื้นที่พิพาทดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเวียดนามมีนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นกลาง ดังนั้น สำนักงานผู้แทนฯ จึงมีความเห็นว่ารัฐบาลเวียดนามจะสามารถบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนี้ได้ในอนาคต

เขียนและเรียบเรียงข้อมูลโดย

นายจักรกริช ปิยะศิริกุล

หัวหน้าสำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในนครโฮจิมินห์

ทั้งนี้ หากมีข้อสอบถามหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่

สำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในกรุงพนมเปญ : phnompenhoffice@exim.go.th

สำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในกรุงเวียงจันทน์ : vientianeoffice@exim.go.th

สำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในกรุงย่างกุ้ง : yangonoffice@exim.go.th

สำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในนครโฮจิมินห์ : hcmcoffice@exim.go.th

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เดือนธันวาคม 2564