• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

'เงินบาท' วันนี้เปิด 'อ่อนค่า' ที่33.15บาทต่อดอลลาร์

Started by Cindy700, August 06, 2021, 03:53:54 AM

Previous topic - Next topic

Cindy700



กรุงไทย มอง "เงินบาท" ยังอยู่ในโหมดอ่อนค่าจากปัญหาโควิดระบาดรุนแรงในไทยและจับตาเงินดอลลาร์ยังพร้อมกลับมาแข็งค่าขึ้นได้หลังนักลงทุนเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัย มองกรอบเงินบาทวันนี้33.10- 33.20บาทต่อดอลลาร์
นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  33.15 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.14 บาทต่อดอลลาร์แลพ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าอยู่จากปัญหาการระบาดของโควิด-19 รวมถึงแรงซื้อดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าที่อาจเข้ามาเร่งปิดความเสี่ยงเนื่องจากกังวลว่า เงินบาทอาจจะอ่อนค่าเร็วและแรง

ดังนั้นเราจึงยังมองไม่เห็นโอกาสที่เงินบาทจะพลิกกลับเทรนด์มาแข็งค่าได้ในเร็วนี้ เนื่องจากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ในไทยยังมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ ค่าเงินบาทยังเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้อย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์การระบาดจะเริ่มมีทิศทางดีขึ้น ซึ่งก็อาจจะต้องรอในช่วงต้นเดือนกันยายน

ทั้งนี้ ในระยะสั้น อาจต้องจับตาทิศทางเงินดอลลาร์ เพราะ เงินดอลลาร์ยังพร้อมกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ ตามแนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่แข็งค่าขึ้น รวมถึง ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวล ปัญหาการระบาดโควิด-19 ทั่วโลก อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ก็พร้อมอ่อนค่าลง หากบรรยากาศการลงทุนกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หนุนโดยรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาแข็งแกร่งและดีกว่าคาด

เรามองว่า แนวต้านสำคัญของค่าเงินยังอยู่ในโซน 33.20-33.25 บาทต่อดอลลาร์ และเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้ามาช่วยลดความผันผวนของเงินบาทลงในระยะสั้น ทำให้ เงินบาทอาจยังประคองตัวในช่วง 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์  ในขณะที่แนวรับของเงินบาทก็ปรับขึ้นมาสู่ระดับ 32.90-33.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นช่วงราคาที่ผู้นำเข้าบางส่วนต่างรอจังหวะย่อตัว เพื่อทยอยปิดความเสี่ยงค่าเงิน

ในส่วนความเคลื่อนไหวของ"ตลาดการเงิน" ยังคงมีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยสถานการณ์การระบาดของโควิด-19, รายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน รวมถึง ทิศทางของนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง

โดยในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดการเงินกลับมาอยู่ในโหมดระมัดระวังตัวมากขึ้น และเริ่มทยอยขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยง ท่ามกลางความกังวลว่าปัญหาการระบาด Delta ในสหรัฐฯ อาจกดดันให้โมเมนตัมการฟื้นตัวเศรษฐกิจลดลงหลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุด เริ่มออกมาแย่กว่าคาด อาทิ ยอดการจ้างงานภาคเอกชนที่สำรวจโดย ADP ก็เพิ่มขึ้นเพียง 3.3 แสนตำแหน่ง น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่เกือบ 7 แสนตำแหน่ง ขณะเดียวกัน ยอดสต็อกน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ (Crude Oil Inventories) ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด สะท้อนถึงความต้องการใช้พลังงานที่ลดลง นอกจากนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังได้รับแรงกดดันจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด อย่าง Richard Clarida ที่ออกมาสนับสนุนการทยอยลดคิวอีภายในปีนี้ รวมถึงการทยอยขึ้นดอกเบี้ยในปี 2023 ซึ่งทั้งภาพความกังวลปัญหาการระบาด Delta และแนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ได้กดดันให้ ดัชนี Dowjones ปิดลบ -0.92% เช่นเดียวกันกับ ดัชนีS&P500 ที่ปรับตัวลดลงราว -0.46% ส่วน หุ้นเทคฯ ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ หลังบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ยังทรงตัวในระดับต่ำต่อไป หนุนให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปิดบวก +0.13%

ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ปรับตัวขึ้น +0.65% นำโดยหุ้นในกลุ่มเทคฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังรายงานผลปะกอบการของหุ้นกลุ่มเทคฯ ยังคงออกมาดีต่อเนื่อง Infineon +4.07%, ASML +2.93% ขณะเดียวกันแนวโน้มธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อ รวมถึงความหวังแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ได้หนุนการปรับตัวขึ้นของหุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ หุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนมและกลุ่มธนาคาร Adidas +4.04%, BNP Paribas +1.19%, Santander +1.05%

ทางด้านตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดบอนด์ยังมีมุมมองที่ระมัดระวังตัวอยู่ จากความกังวลปัญหาการระบาดของเดลต้าทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยยังเป็นที่ต้องการของตลาด ดังจะเห็นได้จากการที่ บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ยังคงทรงตัวใกล้ระดับ 1.18%

ส่วนในฝั่งตลาดค่าเงิน ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าเฟดที่ออกมาสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวด อย่าง การทยอยลดคิวอีภายในปีนี้ ได้หนุนให้ เงินดอลลาร์โดยรวมพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อหลบความผันผวนในช่วงที่ปัญหาการระบาดของโควิด-19 อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 92.30 จุด กดดันให้ ค่าเงินยูโร (EUR) อ่อนค่าลง สู่ระดับ 1.184 ดอลลาร์ต่อยูโร ส่วนค่าเงินเยน (JPY) ก็พลิกกลับมาอ่อนค่าลงแตะระดับ109.5 จุด

สำหรับวันนี้ ตลาดจะติดตามแนวโน้มสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ส่วนในด้านข้อมูลเศรษฐกิจและผลการประชุมธนาคารกลางนั้น ตลาดมองว่า เศรษฐกิจอังกฤษมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown แม้ว่าล่าสุด อังกฤษจะพบการระบาดที่เพิ่มสูงขึ้น แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่ากังวล เนื่องจากยอดผู้ป่วยหนักและยอดผู้เสียชีวิตไม่ได้เพิ่มในอัตราเร่งตามยอดผู้ติดเชื้อใหม่ อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดอาจทำให้ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ยังคงเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป ทั้ง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bank Rate) ที่ระดับ 0.10% และเดินหน้าอัดฉีดสภาพคล่องต่อ ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาจทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินบางส่วนเริ่มสนับสนุนการทยอยลดการอัดฉีดสภาพคล่องในปลายปีนี้ หรือ ช่วงต้นปีหน้า

ส่วนในฝั่งไทย ภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ซบเซาลงหนักจากปัญหาการระบาด Delta ที่รุนแรงมากขึ้น จะกดดันให้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เดือนกรกฎาคม ชะลอลงสู่ระดับ 0.10% ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ก็จะชะลอลงสู่ระดับ 1.0% เช่นกัน โดยอัตราเงินเฟ้อยังได้แรงหนุนจากราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากปีก่อนหน้า ขณะที่แรงกดดันจะมาจากภาวะการบริโภคที่ซบเซาและมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายของภาครัฐ อาทิ ลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า