ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN

ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ โฆษณาสินค้าฟรี => เสริมสวย สุขภาพ => Topic started by: Shopd2 on August 01, 2021, 06:48:43 AM

Title: สรรพคุณของ 'น้ำมันกัญชา' มีประโยชน์ทางการแพทย์อย่างไร?
Post by: Shopd2 on August 01, 2021, 06:48:43 AM

(https://i.ibb.co/Nr0hJkd/2021-07-31-113948.jpg)
หลังจากประเทศไทยปลดล็อกกัญชา (https://www.morepartyanimals.com/Guestpost/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%AA-%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81/)ออกจากบัญชียาเสพติด และอนุญาตให้นำไปใช้ในทางการแพทย์ "น้ำมันกัญชา" ได้กลายเป็นรูปแบบยาประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ เนื่องจากมีประโยชน์และสรรพคุณที่ช่วยรักษาโรคบางชนิดได้ แต่การจะใช้น้ำมันชนิดนี้ได้อย่างปลอดภัย ก็ควรศึกษาข้อมูลและวิธีใช้ที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ

ทำความรู้จัก "น้ำมันกัญชา" คืออะไร?
ไลฟ์สไตล์ติดตาม
31 ก.ค. 64
วิธีทำข้าวคลุกกะปิ สูตรอร่อยเด็ด อิ่มอร่อยแบบง่ายๆ

30 ก.ค. 64
ข้อสอบใบขับขี่ 2564 สำหรับรถยนต์ และรถจักรยานยนต์

30 ก.ค. 64
วิธีหุงข้าวญี่ปุ่นให้อร่อย เหนียวนุ่มน่ากิน ทำง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน

ดูทั้งหมด 
น้ำมันกัญชา คือ สารสกัดเข้มข้นจากต้นกัญชา ที่นำมาทำให้เจือจางเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในรูปแบบยาทางการแพทย์ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลิตเป็นยารักษาโรค มีการนำไปผสมกับส่วนผสมต่างๆ ให้เหมาะแก่การรักษาในแต่ละประเภท เช่น นำไปหยดใต้ลิ้น นำไปทาบนผิวหนัง เป็นต้น

ทั้งนี้ น้ำมันกัญชาทุกรูปแบบที่นำไปรักษาโรคและเกี่ยวข้องกับการรักษาสุขภาพ จะต้องผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง อยู่ภายใต้การดูแลและได้รับคำแนะนำถึงวิธีการใช้อย่างปลอดภัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งบางคนอาจมีความเชื่อว่าน้ำมันกัญชาคือ "ยาสารพัดโรค" ทำให้มีการนำไปใช้รักษาอาการต่างๆ เอง ยกตัวอย่างเช่น

น้ำมันกัญชา สำหรับหยอดหู หยอดตา
แน่นอนว่าหากจะใช้น้ำมันชนิดนี้ไปหยอดหูเพื่อรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับหู หรือนำไปหยอดตา ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะไม่ได้หมายความว่าน้ำมันกัญชาทุกประเภทจะใช้งานเหมือนกัน โดยเฉพาะการใช้น้ำมันกัญชารักษาโรคที่เกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อหิน เป็นการรักษาที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ หรือแม้กระทั่งหยอดตาเพื่อลดความดันลูกตา ก็ถือเป็นวิธีที่อันตรายและไม่ควรทำด้วยตนเอง

น้ำมันกัญชา สำหรับรักษาสิว
แม้ว่าน้ำมันกัญชาจะสามารถใช้รักษาโรคทางผิวหนังบางชนิดได้ ทำให้หลายคนนำไปใช้รักษาสิว หรือผิวหน้าที่มีผื่นแดง แต่ทั้งนี้ต้องศึกษาด้วยว่าน้ำมันกัญชามีส่วนผสมใดบ้าง และสิวนั้นเป็นสิวประเภทใด เพราะไม่เช่นนั้นแทนที่จะช่วยลดอาการอักเสบ อาจทำให้มีอาการผิวหนังอักเสบมากกว่าเดิม จะเห็นได้ว่าทุกกระบวนการใช้น้ำมันกัญชาเพื่อรักษาอาการต่างๆ นั้น จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญก่อนนำไปใช้เสมอ


สรรพคุณน้ำมันกัญชาในทางการแพทย์ รักษาโรคอะไรได้บ้าง?
ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันกัญชาถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์ เพื่อรักษาอาการและโรคบางชนิด เช่น ใช้บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง บำรุงสุขภาพ รวมถึงคลายอาการวิตกกังวล แต่อย่างไรก็ตามหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป หรือผู้ใช้มีอาการแพ้น้ำมันกัญชาก็อาจส่งผลเสีย ทำให้มีผลข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย ท้องเสีย เป็นต้น

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ได้ระบุถึงคุณสมบัติของน้ำมันกัญชา 3 ประเภท ที่ได้รับการยอมรับในฐานะสารสกัดน้ำมันกัญชาทางการแพทย์ ประกอบไปด้วยกลุ่มสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) ที่พบในพืชกัญชา ได้แก่ 

1. น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ สูตร THC
ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด ใช้หยอดใต้ลิ้นตามแพทย์สั่ง

2. น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ สูตร CBD
ใช้รักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายาก หรือดื้อต่อการรักษา ใช้หยอดใต้ลิ้นตามแพทย์สั่ง

3. น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ สูตร THC : CBD 
ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ใช้หยอดใต้ลิ้นตามแพทย์สั่ง


ใครสามารถปลูกกัญชา และปรุงยาจากกัญชาได้บ้าง?
แม้ประเทศไทยจะปลดล็อกกัญชาแล้ว แต่ในปัจจุบันก็เปิดให้ยื่นขออนุญาตปลูกกัญชาได้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยเท่านั้น ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ระบุว่า ผู้ที่สามารถปลูกกัญชาได้ มีดังนี้

หน่ายงานของรัฐ
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีการสอน วิจัย ทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น สหกรณ์การเกษตร, วิสาหกิจชุมชน, วิสาหกิจสังคม ที่อยู่ภายใต้หน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษา
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (เภสัชกรรม ทันตกรรม การแพทย์แผนไทย หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมาย) 
การขออนุญาตปลูกกัญชา
สำหรับผู้ที่ต้องการจะขออนุญาตเพื่อปลูกกัญชาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องประกอบไปด้วย 3 ข้อ ได้แก่
1. มีคุณสมบัติเป็นผู้ที่สามารถปลูกกัญชาได้ถูกต้องตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 หรือมีสถานะเป็นวิสาหกิจชุมชน และไปร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
2. มีแผนโครงการ แผนกระบวนการผลิต และรายละเอียดการใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน 
3. มีสถานที่ปลูกกัญชา ที่มีเอกสารสิทธิครอบครองที่ถูกต้องตามกฎหมาย


ผู้ที่สามารถปรุงยากัญชาได้
สำหรับผู้ที่จะนำกัญชาไปปรุงยาได้นั้น จะต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย และหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้ตำรับยาที่มีกัญชาผสม จากหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุข

ส่วนการจำหน่าย หรือสั่งจ่ายยา ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้สถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนก็ได้ แต่ต้องเป็นตำรับยาที่ได้รับการยอมรับแล้วเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถติดต่อสอบถามเรื่องกัญชาทางการแพทย์ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันกัญชาได้ที่ info@medcannabis.go.th

ที่มา : คณะกรรมการขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข