• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

นักวิทย์พบตัวกระตุ้นเกิดลิ่มเลือดหายากในวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

Started by Naprapats, December 04, 2021, 01:57:40 AM

Previous topic - Next topic

Naprapats



โควิด: – วันที่ 2 ธ.ค. บีบีซีรายงานว่า คณะนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรพบ "สิ่งกระตุ้น" ที่นำไปสู่การเกิดลิ่มเลือดชนิดหายากในวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาปี 2019 หรือโควิด-19 จากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า-มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดแล้ว

ข่าวแนะนำ

ด่วน! เครื่องบิน F5 ตก ที่ลพบุรี นักบินดีดตัวบาดเจ็บ เร่งช่วยระทึก

อะไรยังไง? ลูกค้าอ้างสั่งขนม พิมรี่พาย เจอขึ้นรา เผยอาการหลังกิน

วงการบันเทิงสูญเสียอีก! นักแสดงดาวร้ายรุ่นใหญ่จากไปอย่างสงบ เพื่อนดาราอาลัย
คณะนักวิจัยดังกล่าวจากนครคาร์ดิฟฟ์ เมืองเอกของเวลส์ สหราชอาณาจักร และจากสหรัฐ เปิดเผยข้อมูลที่แสดงถึงกระบวนการเกิดลิ่มเลือดข้างต้นจากโปรตีนชนิดหนึ่งในกระแสเลือดที่สามารถเชื่อมติดกับส่วนประกอบของวัคซีนดังกล่าวได้

ผลลัพธ์จากการเชื่อมต่อกันระหว่างโปรตีนชนิดนี้กับส่วนประกอบในวัคซีนทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ทางด้านภูมิคุ้มกันที่สามารถนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือดได้

ผลการศึกษาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังหลายประเทศแนะนำวัคซีนทางเลือกจากค่ายอื่นแทนวัคซีนจากแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดดังกล่าว เช่น ประเทศอังกฤษนั้นแนะนำเป็นของค่ายอื่นในบุคคลอายุต่ำกว่า 40 ปี

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังทำให้คณะนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกระดมความพยายามศึกษาหาสาเหตุ โดยคณะนักวิจัยข้างต้นเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับงบสนับสนุนฉุกเฉินจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อค้นหาตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดนี้ โดยมีนักวิจัยจากแอสตร้าเซนเนก้าเข้าร่วมด้วย

ด้านโฆษกบ.แอสตร้าเซนเนก้า กล่าวว่า ลิ่มเลือดนั้นมีโอกาสที่จะเกิดจากการติดเชื้อมากกว่าการได้รับวัคซีน และแม้คำอธิบายต่อเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน รวมทั้งการศึกษาที่พบยังไม่ถือว่าแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ

"การค้นพบนี้เป็นสิ่งสะท้อนถึงความพยายามของแอสตร้าเซนเนก้าอย่างต่อเนื่องในการเดินหน้าค้นหาหนทางเพื่อขจัดความเสี่ยงที่หายากนี้ออกไป" โฆษกระบุ

รายงานระบุว่า คณะนักวิทยาศาสตร์เริ่มต้นศึกษาหาสาเหตุจากข้อเท็จจริงเบื้องต้น 2 ประการ ได้แก่ ความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดนั้นเกิดขึ้นเฉพาะในวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีบางชนิด และผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือด มักมีแอนติบอดีที่ทำงานผิดปกติด้วยการเข้าโจมตีโปรตีนชนิดเกร็ดเลือดในกระแสเลือด เรียกว่า เพลตเล็ต แฟ็กเตอร์ โฟร์ (platelet factor four)

วัคซีนจากแอสตร้าเซนเนก้านั้นใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ไวรัล เว็กเตอร์ โดยเป็นการใช้อะดีโน่ไวรัสที่ไม่สามารถแบ่งตัวแล้วก่อโรคได้ในการนำส่งสารพันธุกรรมชนิดดีเอ็นเอของไวรัสก่อโรคโควิด-19 เข้าไปยังนิวเคลียสภายในเซลล์ของผู้รับวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้เซลล์สร้างโปรตีนหนามของไวรัสโควิด และร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามดังกล่าวไว้ป้องกันกรณีติดเชื้อจริง

ข้อเท็จจริงเหล่านี้ทำให้นักวิจัยสงสัยว่าเปลือกหุ้มของอะดีโน่ไวรัสอาจมีส่วนเกี่ยวข้องปฏิกิริยาทางด้านภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในบางคน จึงใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนถ่ายภาพเปลือกหุ้มของไวรัสชนิดนี้ไว้โดยละเอียดถึงระดับโมเลกุล


โควิด
เปลือกหุ้มอะดีโน่ไวรัสขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 100 นาโนเมตร จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (บีบีซี)


การศึกษาเปลือกหุ้มข้างต้นนำไปสู่การค้นพบว่า เปลือกหุ้มของอะดีโน่ไวรัสชนิดนี้ดึงดูดโปรตีนเกร็ดเลือดแฟ็กเตอร์ โฟร์ได้ดีเยี่ยม ราวกับแม่เหล็กที่ดูดเอาเศษโลหะมาติดตัวไว้

ศาสตราจารย์อลัน พาร์กเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ กล่าวว่า เปลือกหุ้มของอะดีโน่ไวรัสนั้นมีประจุเป็นขั้วลบที่รุนแรงมาก ขณะที่โปรตีนเกร็ดเลือดแฟ็กเตอร์ โฟร์นั้นมีประจุเป็นขั้วบวกที่รุนแรงมากเช่นกัน จึงทำให้ดึงดูดกันได้เป็นอย่างดี

"คำอธิบายนี้ทำให้เราสามารถพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างเปลือกหุ้มของอะดีโน่ไวรัสกับโปรตีนเกร็ดเลือดแฟ็กเตอร์ โฟร์ได้ ซึ่งถือเป็นจุดที่กระตุ้นให้กระบวนการถัดๆ ไป" ศ.พาร์กเกอร์ ระบุ

สำหรับกระบวนการถัดไปนั้นนักวิจัยคาดว่าน่าจะเป็นภูมิคุ้มกันผิดพลาด (misplaced immunity) แต่ยังเป็นเพียงสมมติฐานที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์

สมมติฐานดังกล่าว คือ การที่ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มโจมตีทำลายโปรตีนเกร็ดเลือดแฟ็กเตอร์ โฟร์ เนื่องจากสับสนว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา (อะดีโน่ไวรัส) ร่างกายจึงปล่อยแอนติบอดีเข้าสู่กระแสเลือดกระทั่งเข้าไปสุมรวมกันกับเป้าหมายจนนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือด

โควิด
ขั้นตอนการเกิด VITT ตามสมมติฐานของคณะนักวิจัย (บีบีซี)

อย่างไรก็ตาม สมมติฐานนี้ต้องอาศัยความบังเอิญที่โชคไม่ดีหลายเรื่อง ซึ่งอาจเป็นคำอธิบายว่าเหตุใดการเกิดลิ่มเลือดข้างต้นจึงหาพบได้ยากมาก เรียกว่า "ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำจากวัคซีน" (Vaccine-Induced immune Thrombotic Thrombocytopenia) หรือ VITT

ภาวะดังกล่าวเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว 73 ราย จากที่ฉีดไปแล้วเกือบ 50 ล้านโดสทั่วสหราชอาณาจักร

"สิ่งเหล่านี้เป็นอะไรที่ไม่มีทางพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ และโอกาสของมันก็น้อยอย่างมาก สำคัญคือเราต้องไม่ลืมภาพใหญ่ด้วยว่าวัคซีนนี้ช่วยชีวิตคนไว้มากมายเพียงใด" ศ.พาร์กเกอร์ระบุ

ด้านแอสตร้าเซนเนก้าคาดว่า วัคซีนของบริษัทนั้นช่วยชีวิตคนไว้ได้กว่า 1 ล้านคน และป้องกันคนอีกกว่า 50 ล้านคนจากการติดไวรัสชนิดนี้ ขณะที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดนั้นปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อเรื่องนี้

นายแพทย์ วิลล์ เลสเตอร์ ที่ปรึกษาเชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม กล่าวแสดงความชื่นชมผลการศึกษาดังกล่าวมีความละเอียดอย่างมาก และช่วยอธิบายขั้นแรกของการเกิด VITT

"แต่คำถามยังมีอีกมากครับ เช่นว่า แต่ละคนนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกันไปหรือไม่เพียงใด และทำไมการเกิดลิ่มเลือดที่ว่านี้มักพบในเส้นเลือดที่สมองและตับเป็นหลัก ซึ่งคาดว่าคำตอบนั้นมีแน่นอน แต่ต้องอาศัยเวลาและการศึกษาต่อไป" นพ.เลสเตอร์ กล่าว

สำหรับผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านวารสาร Science Advances โดยทางคณะผู้วิจัยหวังว่าจะสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเทคโนโลยีวัคซีน ไวรัลเว็กเตอร์ ที่ใช้อะดีโน่ไวรัสเป็นเว็กเตอร์ได้ในอนาคต