• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

BEM เตรียมเซ็นสัญญารถไฟฟ้าสายสีส้ม,จ้าง CK งานโยธา-งานระบบรถไฟฟ้า 1.09 แสนลบ.

Started by Chanapot, October 29, 2022, 04:34:38 PM

Previous topic - Next topic

Chanapot


บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2565 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565 ให้กำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 28 พ.ย.65 ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพิจารณาเข้าทำสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่าโครงการ 139,127 ล้านบาท กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ

ทั้งนี้ บริษัทกำหนดให้วันที่ 31 ต.ค.65 เป็นวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) เพื่อสิทธิเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XM หรือวันที่ไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 28 ต.ค.65)

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม แบ่งงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1)การออกแบบและก่อสร้างงานโยธาและการจัดหาระบบรถไฟฟ้า โดยมูลค่างานและดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง จำนวน 95,432 ล้านบาท และ 2)การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและบำรุงรักษา จำนวน 43,695 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอร่วมลงทุนของบริษัทที่เสนอต่อ รฟม.

และพิจารณาว่าจ้าง บมจ.ช.การช่าง (CK) เป็นผู้บริหารและก่อสร้างงานโยธา (ช่วงตะวันตก) และผู้ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง ทดสอบอุปกรณ์งานระบบ และทดลองเดินรถไฟฟ้า (ช่วงตะวันออกและตะวันตก) ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในลักษณะจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Lump Sum Turnkey) มีค่าตอบแทนรวม 109,216 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทั้งนี้ภายหลังจากบริษัทได้เข้าทำสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มกับ รฟม.

สัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์? มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งโครงการนี้มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทางรวม 35.9 กิโลเมตรจำนวน 28 สถานี โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันออก มีระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานีต้งแต่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนถึงสถานีสุวินทวงศ์ โดยเป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันตก มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานีตั้งแต่สถานีบางขุนนนท์จนถึงสถานี ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยเป็นสถานีใต้ดินท้งหมด

ระยะเวลาของโครงการ 33 ปี 6 เดือน แบ่งระยะเวลาดำเนินการเป็น 2 ระยะ

ระยะที่ 1 การออกแบบและก่อสร้างงานโยธาและการจดัหาระบบรถไฟฟ้า

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันออก ระยะเวลา 3 ปี 6 เดือนนับจาก วันที่รฟม. ระบุในหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน

2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันตก ระยะเวลา 6 ปี นับจากวันที่ รฟม. ระบุในหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน

ระยะที่ 2 การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและบำรุงรักษา ระยะเวลา 30 ปีนับจากวันที่เริ่มการบริการที่ก่อให้เกิดรายได้ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันออก

ในการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บริษัทจะมีแหล่งรายได้หลักจาก 2 ส่วน ได้แก่ (1) รายได้จากการจัดเก็บค่าโดยสาร และ (2) รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์

นอกจากนี้ รฟม.จะรับผิดชอบจ่ายค่างานโยธาช่วงตะวันตก และดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างโดยแบ่งชำระเป็นรายปีตามที่ได้มีการจ่ายจริงจากการดำเนินงานก่อสร้างเป็นระยะเวลา 6 ปี เริ่มต้งแต่ปีที่3 ถึงปี ที่ 8 นับจากวันที่ รฟม. ระบุในหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน โดยชำระเป็นสกุลเงินบาทให้แก่บริษัท

และบริษัทมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่รฟม.โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การจ่ายเงินตอบแทนคงที่ให้ รฟม. ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอร่วมลงทุนของบริษัทที่เสนอต่อ รฟม.และส่วนที่ 2 การจ่ายผลตอบแทนผันแปร เมื่อบริษัทมีผลตอบแทนการลงทุน (Equity Internal Rate of Return หรือ "Equity IRR") จากการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เกินกว่าร้อยละ 9.75

การเข้าทำสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม จะทำให้เพิ่มสามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากธุรกิจหลักของบริษัทเกี่ยวข้องกับสัมปทานซึ่งมีระยะเวลาครบกำหนด โดยปัจจุบันบริษัทมีสัญญาโครงการรถไฟฟ้า 2 สัญญา คือ สัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งจะครบกำหนดในปี 86 และสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งจะครบกำหนดในปี 93 และมีสัญญาโครงการทางพิเศษ 3 สัญญา คือ สัญญาสัมปทานทางพิเศษศรีรัช และสัญญาสัมปทานทางพิเศษอุดรรัถยา ซึ่งจะครบกำหนดในปี 78 และสัญญาสัมปทานทางพิเศษ สายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ซึ่งจะครบกำหนดในปี 85 ดังนั้นการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มซึ่งมีระยะเวลาการให้บริการเดินรถไฟฟ้าตามสัญญาร่วมลงทุน 30 ปี หลังจากการเปิดให้บริการช่วงตะวันออกจึงเป็นโอกาสที่จะเพิ่มความสามารถให้แก่บริษทัในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้เพิ่มรายได้จากการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม รวมถึงการเชื่อมต่อและขยายโครงข่ายของระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าที่บริษัทบริหารอยู่ในปัจจุบันให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการที่มากขึ้น และเพิ่มจำนวนผู้โดยสารและรายได้ของโครงการรถไฟฟ้าภายใต้สัมปทานของบริษัท เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีแนวสายทางรถไฟฟ้าเชื่อมฝั่งตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานคร และผ่านบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นและไม่มีระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้ารองรับ จึงเป็นการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าให้สามารถรองรับการขนส่งผู้โดยสารจากชานเมืองเข้าสู่ตัวเมืองได้รวดเร็วขึ้น

ประกอบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มมีจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ หลายสาย จึงเป็นปัจจัยบวกที่จะทำให้ตัวโครงการมีผู้โดยสารมาใชบ้ริการมากขึ้น รวมถึงการส่งต่อผู้โดยสารเข้าสู่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่บริษัทบริหารอยู่ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้กับบริษัทในการสร้างรายได้โดยรวมได้มากขึ้น

บริษัทคาดว่าจะใช้แหล่งเงินทุนจากภายนอก โดยการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และ/หรือการออกหุ้นกู้และ/หรือการใช้แหล่งเงินทุนภายในจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน รวมถึงเงินสนับสนุนที่ได้รับจาก รฟม. สำหรับงานโยธาช่วงตะวันตก โดยบริษัทเห็นว่าแหล่งเงินทุนในข้างต้นมีความเพียงพอต่อการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม