• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

เผย “เมอร์ค” แจกอนุสิทธิบัตรผลิตยา “โมลนูพิราเวียร์” รักษาโควิดให้ 105 ประเทศ

Started by dsmol19, October 29, 2021, 07:45:06 PM

Previous topic - Next topic

dsmol19


เผย "เมอร์ค" แจกอนุสิทธิบัตรผลิตยา "โมลนูพิราเวียร์" รักษาโควิดให้ 105 ประเทศ  

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ รายงานเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ระบุว่า บริษัท เมอร์ค แอนด์ โค. เจ้าของสิทธิบัตรยา โมลนูพิราเวียร์ ยาเม็ดสำหรับรักษาอาการติดเชื้อโควิด-19 ได้ประกาศให้อนุสิทธิบัตรแบบรอยัลฟรี คือต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตร ให้กับบริษัทผู้ผลิตยาในประเทศกำลังพัฒนา 105 ประเทศ สามารถนำไปผลิตได้ เปิดทางให้ประเทศเหล่านั้นสามารถผลิตยาจำหน่ายได้ในราคาถูก แต่ไม่มีประเทศไทยรวมอยู่ด้วยใน 105 ประเทศที่ประกาศในครั้งนี้

ความตกลงดังกล่าว ทำขึ้นผ่าน เมดิซีนส์ แพเทนท์ พูล องค์การไม่แสวงกำไรที่ดำเนินการเพื่อให้ยาและเทคโนโลยีการรักษาสามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก และได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) โดยประเทศส่วนใหญ่ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรในการผลิตโมลนูพิราเวียร์นี้ เป็นประเทศในแอฟริกาและเอเชีย ซึ่งยังคงขาดแคลนวัคซีนเพื่อการป้องกันโควิด-19 อย่างหนักในเวลานี้

รายงานข่าวระบุว่า โมลนูพิราเวียร์ เป็นยาเม็ดที่สามารถกินเองได้ที่บ้าน ช่วยลดภาระการต้องรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลลง ในขณะที่ เมอร์ค แถลงผลการทดลองในคนเมื่อต้นเดือนนี้ว่า หากผู้ติดเชื้อได้รับ โมลนูพิราเวียร์ ตั้งแต่เริ่มแรกที่พบว่าติดเชื้อสามารถลดอัตราการป่วยหนักและการเสียชีวิตลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง จนทำให้หลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา รีบติดต่อเจรจาเพื่อจัดซื้อยาดังกล่าวแล้ว ก่อนที่จะได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของยาและเวชภัณฑ์ด้วยซ้ำไป ก่อให้เกิดความกังวลว่า โมลนูพิราเวียร์ อาจถูกจองซื้อจนหมดจากประเทศร่ำรวย และประเทศที่เหลือไม่สามารถเข้าถึงได้ ซ้ำรอยกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผ่านมา


รายงานข่าวระบุว่า การอนุญาตให้บริษัทอื่นในประเทศกำลังพัฒนาสามารถนำสูตรของยาไปผลิตได้เป็นการทั่วไป นอกเหนือจากจะทำให้สามารถเข้าถึงยาได้เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้สามารถวางตลาดยาดังกล่าวได้ในราคาถูกเพียงแค่ 20 ดอลลาร์หรือราว 622 บาทต่อปริมาณยา 1 คอร์ส (สำหรับรับประทานติดต่อกัน 5 วัน) ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับราคาที่ทางการสหรัฐอเมริกาทำความตกลงจัดซื้อจากเมอร์คก่อนหน้านี้ ซึ่งอยู่ที่ 712 ดอลลาร์ต่อ 1 คอร์ส (ราว 22,156 บาท) ในขณะที่บางบริษัทในประเทศแอฟริกาใต้ เชื่อว่าจะสามารถผลิตจำหน่วยได้ในราคาคอร์สละ 8 ดอลลาร์ด้วยซ้ำไป

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ เมอร์ค ได้ทำความตกลงให้สิทธิบัตรในการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ แก่บริษัทผู้ผลิตยาในประเทศอินเดียแล้ว 5 บริษัท แต่ นาง เจเนลล์ กฤษณามูรธี รองประธานฝ่ายนโยบายของเมอร์ค ยอมรับว่า ยังกลัวว่า การผลิตที่จำกัดอยู่แค่เพียงภูมิภาคเดียว อาจไม่เพียงพอต่อการทำให้บรรดาประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึงยาอย่างรวดเร็วได้ จึงติดต่อเจรจากับทาง เมดิซีนส์ แพเทนท์ พูล ซึ่งเชี่ยวชาญในเรื่องนี้เป็นพิเศษ รวมทั้งรู้จักเครือข่ายผู้ผลิตยาที่มีมาตรฐานสูงตามข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานการผลิตขององค์การอนามัยโลกดีอีกด้วย จนมีการกระจายอนุสิทธิบัตรออกไปดังกล่าว โดยที่ทางเมอร์ค พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและถ่ายโอนเทคโนโลยีที่จำเป็นให้กับทุกบริษัทในทุกประเทศเหล่านี้อีกด้วย

นายเจมส์ เลิฟ แกนนำองค์กร โนวเลจ อีโคโลยี อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อการวิจัยไม่แสวงกำไร เปิดเผยว่า การให้อนุสิทธิบัตรในครั้งถือเป็นการทำดีมากๆ และเป็นการให้การปกป้องผู้คนในประเทศซึ่งมีประชากรรวมกันอยู่ราวครึ่งหนึ่งของโลกที่มีความหมายอย่างยิ่ง แม้การให้อนุสิทธิบัตรครั้งนี้ไม่สมบูรณ์แบบนัก แต่ก็ช่วยได้มากถ้าหากยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพจริง และมีความปลอดภัยเพียงพอ

อย่างไรก็ตาม นายเลิฟ ตั้งข้อสังเกตุว่า ใน 105 ประเทศที่ได้รับอนุสิทธิบัตรครั้งนี้ ไม่มีประเทศที่มีรายได้ปานกลางหลายประเทศอยู่ด้วย รวมทั้งประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคละตินอเมริกาก็ไม่มีอยู่ในรายชื่อประเทศที่ได้รับอนุสิทธิบัตร

"แล้วพวกคุณจะทำอย่างไรกับประเทศอย่าง ชิลี หรือ โคลอมเบีย, ไทยและเม็กซิโก ที่ไม่ได้รับอนุสิทธิบัตรครั้งนี้" นายเลิฟตั้งข้อสังเกต