• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

โควิดทุบ ศก.เดี้ยง วิจัยกรุงศรีเผย Q2/64 อ่อนแอลงจาก Q1 

Started by Shopd2, August 03, 2021, 04:21:02 PM

Previous topic - Next topic

Shopd2



วิจัยกรุงศรีรายงานว่าอุปสงค์ในประเทศเดือนมิถุนายนยังคงซบเซา แต่เศรษฐกิจยังพอได้แรงหนุนจากการส่งออก ส่วนภาคการผลิตในไตรมาส 3 อาจได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการระบาด ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนมิถุนายนแม้ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนบ้างเล็กน้อย (+1.2% MoM sa) แต่โดยรวมยังอ่อนแอ สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ด้านการลงทุนภาคเอกชนค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อน (+0.2%) โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับดีขึ้นเล็กน้อยตามทิศทางการส่งออก ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างปรับลดลง เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอและมาตรการควบคุมการระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง ขณะที่ภาคท่องเที่ยวยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียงเล็กน้อย จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกที่เติบโตในอัตราสูง (46.1%YoY) ปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ส่งผลให้การส่งออกเติบโตกระจายตัวทั้งในตลาดและหมวดสินค้า ช่วยพยุงการผลิตภาคอุตสาหกรรมได้บ้างในช่วงที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ



เศรษฐกิจไตรมาส 2 อ่อนแอลงจากไตรมาสแรก ผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกสามของ COVID-19 ที่เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน โดยวิจัยกรุงศรีคาดว่า GDP ในไตรมาส 2 อาจหดตัวจากไตรมาสแรกที่ -0.6% QoQ sa แต่หากเทียบกับไตรมาส 2 ของปีก่อนอาจขยายตัวได้ 7% YoY ซึ่งเป็นผลของฐานที่ติดลบหนักเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ในไตรมาส 3 เศรษฐกิจยังเผชิญกับการระบาดที่รุนแรงขึ้นจากสายพันธุ์เดลต้า โดยเฉพาะในพื้นที่กทม.และปริมณฑล มาตรการควบคุมการระบาดจึงเข้มงวดขึ้น ทำให้หลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักมากขึ้น อีกทั้งการระบาดที่เริ่มแผ่ลามถึงภาคการผลิตและอาจกระทบในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกได้ เศรษฐกิจในไตรมาส 3 จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้และอาจจะติดลบมากกว่าในไตรมาส 2



โดยกระทรวงการคลังประเมินเศรษฐกิจปีนี้เติบโต 1.3% และจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ 4-5% ในปีหน้า ด้านวิจัยกรุงศรีชี้ในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงจากหลายปัจจัย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2564 เหลือขยายตัว 1.3% จากเดิมคาด 2.3% ผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเดินทางระหว่างประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามาไทยลดลงจากเดิม อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มปรับดีขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก นอกจากนี้ สศค. ยังชี้ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นเป็น 4-5% ในปี 2565 แรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายลงและมีการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น กอปรกับการส่งออกจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ด้านวิจัยกรุงศรีคาดการณ์ GDP ปีนี้จะขยายตัว 1.2% (เดิมคาด 2.0%) ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงและยาวนานกว่าคาด และจากแบบจำลองชี้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันจะลดลงต่ำกว่า 1,000 ราย ในเดือนพฤศจิกายน สะท้อนมาตรการควบคุมยังคงดำเนินต่อไปจนถึงเดือนตุลาคม กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศจึงยังคงซบเซา ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่าจะมีเพียง 2.1 แสนคน (เดิมคาด 3.3 แสนคน) นอกจากนี้ อานิสงส์จากการกลับมาเปิดดำเนินการของกิจกรรมเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ หนุนให้มูลค่าส่งออกของไทยในปีนี้เติบเติบโตถึง 15% แม้ในช่วงครึ่งปีหลังการส่งออกอาจชะลอลงบ้าง ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆ ฟื้นในช่วงปลายไตรมาส 4 ปีนี้ ตามเศรษฐกิจโลกที่ปรับดีขึ้นและการฉีดวัคซีนจำนวนมาก กอปรกับการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนจากการจัดหาและการกระจายวัคซีนของไทย รวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนและประสิทธิผลของมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งนับเป็นประเด็นที่ยังต้องติดตามในระยะข้างหน้า

ด้านเศรษฐกิจโลก การฟื้นตัวของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีแนวโน้มแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น IMF คาดเศรษฐกิจโลกปีนี้ขยายตัว 6% แต่การเติบโตยังถูกกดดันจากไวรัสสายพันธุ์เดลต้าและความไม่แน่นอนหลายด้าน จากประมาณการเศรษฐกิจรอบล่าสุด IMF คงตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโตของ GDP โลกในปี 2564 ที่ 6.0% แม้จะปรับเพิ่มการขยายตัวของ GDP กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเป็น 5.6% (เดิม 5.1%) นำโดยสหรัฐฯเป็น 7.0% (เดิม 6.4%) และยูโรโซน 4.6% (เดิม 4.4%) แต่ปรับตัวเลขคาดการณ์ GDP ของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ลงสู่ 6.3% (เดิม 6.7%) โดยเฉพาะจีนเป็น 8.1% (เดิม 8.4%)

สำหรับการคาดการณ์ล่าสุดของ IMF สะท้อนว่าการฟื้นตัวของหลายประเทศมีความแตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับการเข้าถึงวัคซีน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยท้าทายเศรษฐกิจโลกทั้งแรงกดดันชั่วคราวด้านราคาจากข้อจำกัดด้านอุปทาน การระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้าที่รุนแรงขึ้นอาจเพิ่มความเสี่ยงและส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น รวมทั้งซ้ำเติมการฟื้นตัวของประเทศกำลังพัฒนาที่ขาดแคลนวัคซีนและมีภาระหนี้สูง และความไม่ต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐเพื่อจัดการกับการแพร่ระบาดที่อาจยืดเยื้อ เนื่องจากข้อจำกัดในการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มเติม

ส่วนการปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโตของ GDP จีนนั้นสอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากต้นปี ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากการใช้มาตรการเพื่อควบคุมการเก็งกำไรในบางภาคเศรษฐกิจและสร้างความเป็นธรรมในตลาด ล่าสุดทางการจีนห้ามบริษัท Tencent ผูกขาดธุรกิจเพลงออนไลน์ และห้ามการแสวงหากำไรในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การใช้นโยบายดังกล่าวบ่งชี้ว่าจีนให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพมากกว่าการขยายตัวของ GDP ในอัตราสูง ขณะที่ยังสนับสนุนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจจริงต่อไป

เฟดประเมินเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตต่อเนื่องและอาจเริ่มส่งสัญญาณ QE Tapering ปลายเดือนนี้ ขณะที่ GDP ไตรมาส 2 ขยายตัว 6.5% QoQ เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE ทั้งนี้ เฟดประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเดินหน้าไปสู่เป้าหมายระยะยาว มุมมองดังกล่าวสอดคล้องกับทิศทางการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดย GDP ไตรมาส 2/2564 ขยายตัว 6.5% QoQ เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน ส่วนดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 3.5% YoY สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2534 สำหรับเดือนกรกฎาคมดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board แตะระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือนที่ 129.1 ส่วนจำนวนผู้ยื่นขอรับสิทธิสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 กรกฎาคมลดลงจากสัปดาห์ก่อนสู่ระดับ 4.0 แสนราย

เศรษฐกิจสหรัฐฯปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฟดประเมินว่าการฟื้นตัวอยู่บนเส้นทางที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาว จากปัจจัยหนุนทั้งความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนและมาตรการภาครัฐ ทั้งนี้ เฟดอาจส่งสัญญาณ QE Tapering ในช่วงการประชุมธนาคารกลางทั่วโลกที่เมืองแจ็กสัน โฮล ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคมนี้ และคาดว่าจะประกาศแผน Tapering ในไตรมาส 4/2564 จากนั้นอาจจะเริ่มปรับลด QE ช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า

GDP ยูโรโซนกลับมาขยายตัวในไตรมาส 2/2564 โดยเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ในไตรมาสที่ 2 GDP ยูโรโซนขยายตัว 2.0% QoQ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ส่วนอัตราการว่างงานเดือนมิถุนายน ลดลงสู่ระดับ 7.7% ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน สำหรับในเดือนกรกฎาคมอัตราเงินเฟ้อทั่วไปแตะระดับ 2.2% สูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2561 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 119.0

ข้อมูลล่าสุดสะท้อนการฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดย GDP ไตรมาส 2/2564 กลับมาขยายตัวหลังจากที่เผชิญภาวะการถดถอยทางเทคนิคในช่วง 2 ไตรมาสก่อน จากแรงหนุนทั้งการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเร่งกระจายวัคซีนโดยมีผู้ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดสสูงถึง 59.2% ของประชากร ปัจจัยดังกล่าวอาจช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ประกอบกับการเริ่มเบิกจ่ายเงินภายใต้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูของสหภาพยุโรป (EU Recovery Fund) ในไตรมาส 3/2564 จึงคาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปีนี้