• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

“อีอีซี” เผยผลงาน 3 ปี เม็ดเงินลงทุน 1.6 ล้านล้านบาท

Started by Thetaiso, September 15, 2021, 07:26:42 PM

Previous topic - Next topic

Thetaiso



นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงานเป็นประธานว่า กบอ.รับทราบ ความคืบหน้าการลงทุนซื้อหวยออนไลน์โครงการอีอีซี ระยะ 3 ปีที่ผ่านมา โดยนับตั้งแต่ประกาศใช้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในปี 2561 ถึงเดือนมิ.ย.64 มีการลงทุนที่ได้รับอนุมัติแล้ว 1.6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 94% จากเป้าหมายแผน 5 ปี(2561-2565) ที่ตั้งไว้ 1.7 ล้านล้านบาท


ทั้งนี้แบ่งเป็นการลงทุน 3 ส่วนได้แก่

1.การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เอกชนร่วมลงทุน (PPP) 4 โครงการหลัก (รถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุดและท่าเรือแหลมฉบัง) มูลค่ารวม 633,401 ล้านบาท แบ่งเป็น ทุนจาก ภาคเอกชน 387,018 ล้านบาท หรือ 61% จากภาครัฐ 196,940 ล้านบาท หรือ 39%

2.การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย จากการออกบัตรส่งเสริมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มูลค่า 878,881 ล้านบาท โดยโครงการ ที่ขอยื่นส่งเสริมลงทุนช่วงปี 2560 ถึง มิ.ย.64 ลงทุนจริงแล้วกว่า 85% 3.การลงทุนผ่านงบบูรณาการอีอีซี มูลค่า 82,000 ล้านบาท

โดยบีโอไอรายงานว่าช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 มีการขอส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี 1.26 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 53% จากปีก่อน โดยจำนวนขอโครงการสูงสุดคือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ส่วนเงินลงทุนสูงสุดคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) คิดเป็น 64% ของคำขอลงทุนในอีอีซี ซึ่งนักลงทุนที่สนใจมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ตามลำดับ โดยคาดว่าช่วง 6 เดือนหลังการขอการส่งเสริม การลงทุนในอีอีซีจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.0-2.5 แสนล้านบาท

สำหรับการลงทุนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจะทำให้อีอีซีบรรลุเป้าหมายการลงทุนที่วางไว้ 1.7 ล้านล้านบาท เร็วกว่ากำหนดถึง 1 ปี ดังนั้น กบอ.จึงตั้งเป้าหมายการลงทุนในอีอีซีเพิ่มขึ้น ใน 5 ปีข้างหน้า เป็น 2.5 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มการลงทุนให้ได้อีกปีละ 5 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1.การขอส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ 2.5 แสนล้านบาท 2.การเร่งรัดและชักจูงการลงทุน ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ ครอบคลุม รถยนต์ไฟฟ้า (EV) สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือการแพทย์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา 5G รวมปีละไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาท 3.การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน ครอบคลุมการพัฒนาเมืองการบินอู่ตะเภา การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง รวมปีละ 1 แสนล้านบาท

"อีอีซียังเติบโตต่อเนื่องและขยายตัวมากกว่าเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ ซึ่งปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 1.0-1.5% แต่อีอีซีเติบโตถึง 3.5% จากการผลิตเพื่อส่งออกที่เติบโต ทั้งนี้ระยะต่อไปอีอีซีจะเป็น พื้นที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยระยะ 5 ปีข้างหน้าคาดว่าการลงทุนจะทำได้ ปีละ 5 แสนล้านบาท"



นอกจากนี้ กบอ.พิจารณาแผนการดำเนินงาน ด้านสิทธิประโยชน์ โดยขยายมาตรการสนับสนุนการลงทุนจากโครงการที่เป็นนโยบายสำคัญสู่การให้สิทธิประโยชน์แก่ ผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ โดยเริ่มนำร่องที่เขตส่งเสริมเมืองการบิน ภาคตะวันออก (EECa) ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ หรือ แซนด์บ็อกซ์ "การปฏิรูปและยกระดับประเทศไทยก้าวสู่ 10 อันดับของประเทศที่ประกอบธุรกิจง่ายที่สุด"

ทั้งนี้ กบอ.มอบหมายให้ สกพอ.จัดทำร่าง ประกาศสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษที่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรและที่มิใช่ภาษีอากร เพื่อสนับสนุนการลงทุนในอีอีซี โดยเน้นกลุ่มนักลงทุนที่มีศักยภาพ ใช้นวัตกรรมขั้นสูงและเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ภายใต้การออกแบบสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นต้นแบบการปฏิรูประบบราชการที่ใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในการลงทุน และเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน



ขณะเดียวกัน กบอ.พิจารณาแผนดำเนินการโครงการ เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ EECd กำหนดแผนปฏิบัติการปี 2564-2565 จำนวน 4 แผนหลัก คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ย.นี้ได้แก่ 1.จัดทำแผนการดำเนินโครงการ 2.การจัดทำ แนวคิดออกแบบโครงการ 3.การวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค 4.การจัดทำแผนดึงดูดนักลงทุนและสิทธิประโยชน์ ตั้งเป้าหมายไตรมาส 4 จะทำความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน เพื่อศึกษาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของโครงการ พร้อมเจรจาร่วมกับบริษัทและหน่วยงานที่สนใจร่วมลงทุน และออกแบบรายละเอียดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่ช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2565



สำหรับการพัฒนาโครงการ EECd แบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ระยะที่ 2 พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ศูนย์เรียนรู้ ศูนย์บริการต่างๆ ระยะที่ 3 พัฒนาพื้นที่ กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล และระยะที่ 4 พัฒนา พื้นที่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ผสมผสานระบบนิเวศ เพื่อการอยู่อาศัยในโลกยุคใหม่ โดยตั้งเป้า ให้ EECd เป็นเมืองดิจิทัลระดับโลกในภูมิภาค เป็นศูนย์กลางลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมด้านดิจิทัลแห่งอนาคต และเป็นเมืองอัจฉริยะโดยใช้หลักคิดการพัฒนาเมืองที่เติบโต อย่างยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้

โดยผลการพิจารณาของ กบอ.ในครั้งนี้ จะเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในกลางเดือน ต.ค.นี้