• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

เอกชนชงรัฐเร่งสกัดโควิด บูรณะแหล่งท่องเที่ยว 'อีอีซี'

Started by Panitsupa, August 01, 2021, 04:33:02 AM

Previous topic - Next topic

Panitsupa




การระบาดของ "โรคโควิด-19" ระลอกใหม่ได้ขยายวงกว้างมากขึ้น ซึ่งทำให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ขยายพื้นที่สีแดงเข้มให้มาครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี ในขณะที่หลายฝ่ายต้องการให้ภาครัฐดำเนินการคู่ขนานในการวางแผนเตรียมปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับหลังการระบาด 

รวมทั้งเมื่อการระบาดเริ่มคลี่คลายจะทำให้ประเทศไทยสามารถเตรียมดึงการลงทุนและการท่องเที่ยวใน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ได้อย่างเต็มที่ทันที โดยเฉพาะการเตรียมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวที่ต้องใช้เวลาในการจัดทำโครงการ

ปรัชญา สมะลาภา ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก หอการค้าไทย กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรใช้เวลาช่วงจังหวะนี้ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ปรับโครงสร้างพื้นฐานและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่เพียงเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออก ทั้งฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดประเทศ เพราะเราไม่รู้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะจบเมื่อไร และจบแบบไหน สิ่งที่ควรจะทำในขณะนี้คือเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้ในช่วงเวลาปกติ บางโครงการต้องใช้เวลานานทั้งขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง งบประมาณ ระยะเวลาดำเนินการ

สำหรับเมืองท่องเที่ยวในอีอีซี เช่น เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ควรต้องเร่งดำเนินการในหลายเรื่องนอกเหนือจากที่มีการพัฒนาชายหาด

บริเวณอ่าวนาจอมเทียน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวของเมืองพัทยาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของภาคตะวันออกซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมหลายประเด็นเช่น ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ปัญหาการจราจร การซ่อมแซมถนน ระบบการระบายน้ำ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

"ผมมองว่าขณะนี้ช่วงเวลาเป็นช่วงเวลาที่ดีในการที่จะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ปรับปรุงกฎหมาย แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โครงการต่างๆ ที่ค้างท่อ โครงการที่จะรองรับนักท่องเที่ยวควรเร่งทำให้เสร็จ อะไรที่ควรทำก็ทำ ไม่ใช่เปิดประเทศแล้วค่อยมาเริ่มทำ เพราะเมื่อถึงเวลานั้นหากจะทำอาจก็ไม่ทันการณ์แล้ว"


วิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า กรมเจ้าท่าได้รับนโยบายจากกระทรวงคมนาคมให้เร่งปรับปรุงชายฝั่งทางทะเลเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยล่าสุดได้ดำเนินโครงการเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดจอมเทียน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นโครงการต่อเนื่องของกรมเจ้าท่า ในการบูรณะชายฝั่งในพื้นที่ภาคตะวันออกและเป็นแหล่งธุรกิจภาคการท่องเที่ยว

"ก่อนหน้านี้กรมฯ ได้ดำเนินการเสริมทรายชายหาดพัทยา เพื่อเพิ่มพื้นที่บริเวณชายหาดให้กว้างขึ้น เหมาะแก่การทำกิจกรรม และสนับสนุนการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี" 

ทั้งนี้ กรมเจ้าท่าจึงได้ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องบริเวณหาดจอมเทียนเพราะเป็นพื้นที่เชื่อมต่อ และยังอยู่ระหว่างจัดสรรงบประมาณปี 2565 เพื่อศึกษาเสริมทรายชายหาดบางเสร่เพิ่มเติม

รายงานข่าวระบุว่า สำหรับชายหาดบางเสร่ที่กรมเจ้าท่า เตรียมศึกษาการเสริมทรายชายหาด อยู่ในเขตอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งทำให้ชายหาด "บางเสร่" เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ระหว่างสัตหีบและหาดจอมเทียน โดยเป็นชายหาดติดถนนที่เดินทางสะวด มีความยาวของชายหาด 1,500 เมตร รวมทั้งมีการพัฒนาพื้นที่ชายหาดรองรับนักท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาทำให้มีนักท่องเที่ยวสนใจเข้ามาเพิ่มมากขึ้น จึงมีความเหมาะสมที่จะได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมต่อกัน

วิทยา กล่าวว่า สำหรับชายหาดจอมเทียน ก่อนหน้านี้ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ชายหาดถดถอยและลดขนาดลงไปทุกปี ไม่เพียงพอต่อความต้องการรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ภาคพิเศษเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.จึงได้ประสานขอให้กรมเจ้าท่าดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ยิ่งหนัก! พบเสียชีวิตสูง 178 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 18,912 ราย
เคาะ! 'ประกันโควิด' ป่วย-ตายที่บ้าน เคลมค่ารักษาพยาบาลได้
'3กูรูเศรษฐศาสตร์' ชี้ 3 เดือน ไทยเผชิญความเสี่ยง สาธารณสุขล่ม - ศก.ทรุด - ตกงานพุ่ง 
อีกทั้งการรายงานจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปี 2552 ได้ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งพื้นที่อ่าวไทยตะวันออก และจัดให้พื้นที่ชายหาดจอมเทียนเป็นพื้นที่กัดเซาะรุนแรงต้องได้รับการแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน ส่งผลให้ในปี 2557 กรมเจ้าท่า ได้ทำการว่าจ้างสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการสำรวจออกแบบเพื่อเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี

โดยมีพื้นที่ศึกษาตลอดแนวชายหาดจอมเทียน ความยาว 6.2 กิโลเมตร ตั้งแต่บริเวณหน้าร้านอาหารลุงไสวถึงบริเวณแนวโขดหินหน้าสวนน้ำพัทยาปาร์ค วอเตอร์เวิล์ด ระยะที่ 1 มีความยาว 3,575 เมตร และ ระยะที่ 2 มีความยาว 2,855 เมตร

ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า ได้ทำการว่าจ้าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินโครงการเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดจอมเทียนระยะที่ 1 มีระยะเวลาการดำเนินโครงการตั้งแต่เดือน พ.ค.2563–พ.ย.2565 รวมระยะเวลา 900 วัน วงเงินราว 586 ล้านบาท โดยแหล่งทรายที่จะนำมาใช้เสริมบริเวณชายหาดจอมเทียนนำมาจากทิศตะวันตกของเกาะรางเกวียน ห่างจากชายหาดจอมเทียนไปทางทะเลประมาณ 15 กิโลเมตร ปัจจุบันเริ่มเสริมทรายชายหาด ตั้งแต่โรงแรมจอมเทียนชาเล่ต์จนถึงโรงแรมยู จอมเทียน พัทยา มีผลการดำเนินงานคิดเป็น 4.39%

อย่างไรก็ดี ภายหลังโครงการเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดจอมเทียนแล้วเสร็จ จะช่วยบูรณะฟื้นฟูชายหาดจอมเทียนให้กลับมาสวยงาม และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวชายหาดจอมเทียน สร้างรายได้สู่ชุมชนและประเทศ ให้สอดรับกับนโยบายภาครัฐในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการท่องเที่ยวและการสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป