• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

PwC คาดปริมาณและมูลค่าการซื้อขายและควบรวมกิจการของไทยปี 65 เติบโตต่อเนื่อง

Started by Chigaru, April 07, 2022, 01:21:27 AM

Previous topic - Next topic

Chigaru

PwC คาดปริมาณและมูลค่าการซื้อขายและควบรวมกิจการของไทยปี 65 เติบโตต่อเนื่อง

PwC ประเทศไทย คาดปริมาณและมูลค่าการซื้อขายและควบรวมกิจการในประเทศไทยปี 2565 จะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน แม้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งผลต่อต้นทุนทางการเงิน แต่บริษัทต้องหาหนทางในการรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพิ่มความสามารถในการทำกำไรในระยะยาวเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ โดยคาดว่า อุตสาหกรรมบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมเทคโนโลยี จะเป็นสองอุตสาหกรรมของไทยที่มีการซื้อขายและควบรวมกิจการมากที่สุดในปีนี้

นางสาว ฉันทนุช โชติกพนิช หุ้นส่วนและหัวหน้าสายงานดีลส์ บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2564 เป็นปีที่มีปริมาณการซื้อขายกิจการสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากธุรกิจและผู้คนเริ่มปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ และคาดว่า ปริมาณและมูลค่าการซื้อขายและควบรวมกิจการในปี 2565 จะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน แม้จะมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นก็ตาม เพราะผู้นำธุรกิจเริ่มมองเห็นแนวโน้มของโลกในระยะต่อไปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงหันมาทบทวนกลยุทธ์และธุรกิจในพอร์ตฟอลิโอของตนเอง ขณะที่บางธุรกิจต้องการปรับโครงสร้างต้นทุน หรือแสวงหาธุรกิจอื่นที่ตนยังขาดเพื่อรักษาอัตราการเติบโต โดยกิจการที่มีการควบรวมกันมากที่สุดในประเทศไทยในปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่นั้นเป็นกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและเทคโนโลยี

"เทรนด์ของการทำดีลส์ซื้อขายและควบรวมกิจการของไทยในปีนี้จะคล้ายคลึงกับทั่วโลก แม้กระแสอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ขยับขึ้นสูง และกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เกิดอุปสรรคต่อโครงสร้างการเงินสำหรับการบรรลุข้อตกลงในการทำดีลส์บ้าง แต่สภาวการณ์ดังกล่าว กลับจะยิ่งเป็นตัวผลักดันให้เกิดการควบรวมกิจการมากขึ้น บริษัทจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เข้าสู่ตลาดใหม่ และแปลงไปสู่ดิจิทัลเพื่อเพิ่มคุณค่ากิจการอย่างยั่งยืน" นางสาว ฉันทนุช กล่าว

แนวโน้มดังกล่าว สอดคล้องกับรายงาน Global M&A Industry Trends: 2022 Outlook ของ PwC ที่ทำการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมดีลส์และทำการวิเคราะห์กิจกรรมดีลส์ทั่วโลก เพื่อประเมินถึงแนวโน้มปริมาณและมูลค่าการควบรวมกิจการพบว่า ปริมาณและมูลค่าการควบรวมกิจการเพิ่มขึ้นทั่วโลกในปีที่ผ่านมา โดยการซื้อขายและควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions: M&A) ที่ประกาศออกมามีจำนวนกว่า 62,000 รายการในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้น 24% จากปี 2563 ขณะที่มูลค่าของการซื้อขายและควบรวมกิจการที่เปิดเผยต่อสาธารณะก็แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (รวมรายการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป) หรือเพิ่มขึ้น 57% จากปี 2563 และทำลายสถิติเดิมที่ 4.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2550

นางสาว ฉันทนุช กล่าวต่อว่า สถานการณ์การควบรวมกิจการทั่วโลกนั้นมีการแข่งขันที่สูงขึ้นในกลุ่มนักลงทุนที่จะทำการซื้อขายกิจการ ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนทางการเงิน เช่น กองทุนไพรเวทอิควิตี้ หรือนักลงทุนเชิงกลยุทธ์ (Corporates หรือ strategic investors) และการที่นักลงทุนมีเงินทุนที่ระดมมาผ่านทางตลาดทุน และจากบริษัทที่สร้างขึ้นมาเพื่อระดมเงินทุนไปซื้อบริษัทอื่น (Special Purpose Acquisition Company: SPAC) ในสหรัฐฯ พร้อมใช้เพื่อสร้างการเติบโตมากกว่าปีก่อน ๆ ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า ราคาซื้อขายกิจการจะสูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อนักลงทุนซื้อกิจการมาในราคาที่สูงรวมกับต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นควบคู่กัน จึงเกิดเป็นความกดดันที่นักลงทุนต้องสร้างมูลค่ากิจการให้เกิดผลกำไรที่สูงกว่าที่เคยทำมาในอดีต

แนวโน้ม M&A ในอุตสาหกรรมหลักทั่วโลกในปี 65 

ทั้งนี้ รายงานฉบับดังกล่าว ยังระบุถึงแนวโน้มการควบรวมกิจการที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมหลัก ดังต่อไปนี้

อุตสาหกรรมตลาดผู้บริโภค: พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจะยังคงเป็นตัวเร่งให้เกิดกิจกรรม M&A ในปีนี้ เนื่องจากองค์กรธุรกิจและกองทุนไพรเวทอิควิตี้ ต้องทบทวนพอร์ตโฟลิโอใหม่เพื่อรองรับแนวโน้มของผู้บริโภคที่กำลังเกิดขึ้น เช่น การบริโภคอย่างมีสติ (Conscious consumerism) ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการเปลี่ยนไปสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
อุตสาหกรรมพลังงาน สาธารณูปโภค และทรัพยากร: แนวคิดในการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) กำลังขับเคลื่อนกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมนี้ โดยการควบรวมกิจการจะถูกนำมาใช้เพื่อปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนและแสวงหาโอกาสในด้าน ESG เพื่อสร้างมูลค่าสำหรับการเติบโต เช่น พลังงานหมุนเวียน การดักจับคาร์บอน การจัดเก็บแบตเตอรี่ ไฮโดรเจน โครงสร้างพื้นฐานการส่งสัญญาณ และเทคโนโลยีสะอาดอื่น ๆ
อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน: การแข่งขันเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการตลาดเชิงกลยุทธ์จะยังคงกระตุ้นให้เกิดการควบรวมกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การซื้อขายและควบรวมกิจการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน ในขณะเดียวกัน สินทรัพย์ที่ประสบปัญหา (Distressed assets) ในภาคธนาคารและประกันภัย จะตกเป็นเป้าหมายในการซื้อขายและควบรวมกิจการได้เช่นเดียวกัน
อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ: บริษัทยาและเวชภัณฑ์จะมองหาวิธีปรับพอร์ตโฟลิโอเติบโตผ่านการซื้อขายและควบรวมกิจการ ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การผลิตวัคซีนรูปแบบใหม่ (Messenger Ribonucleic Acid: mRNA) การบำบัดด้วยเซลล์และยีนในบริการด้านสุขภาพ แพลตฟอร์มการดูแลเฉพาะทาง การแพทย์ทางไกล (Telehealth) และเทคโนโลยีด้านสุขภาพอื่น ๆ เป็นต้น
อุตสาหกรรมการผลิตเชิงอุตสาหกรรมและยานยนต์: การทบทวนพอร์ตโฟลิโอเชิงกลยุทธ์และ ESG กำลังขับเคลื่อนกิจกรรม M&A ในอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การซื้อขายและควบรวมกิจการเพื่อเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล เช่น ยานยนต์ไฟฟ้าและขับเคลื่อนอัตโนมัติ แบตเตอรี่และเทคโนโลยีการชาร์จ การผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ วัสดุยุคใหม่ และการผลิตด้วยพลังงานทางเลือก
อุตสาหกรรมเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคม: อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมกำลังเผชิญกับผลกระทบอย่างหนักจากการเข้ามาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เข้าสู่กระแสหลักรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ เทคโนโลยีจึงเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะมีปริมาณและมูลค่าการซื้อขายและควบรวมกิจการสูงกว่าอุตสาหกรรมอื่น ในขณะที่บริษัทจากอุตสาหกรรมอื่นก็จะพยายามเข้าถึงเทคโนโลยีหลัก หรือความสามารถทางดิจิทัลของบริษัทในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้เช่นกัน
"การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล น่าจะเป็นแรงกดดันอย่างต่อเนื่องให้ทุกอุตสาหกรรมต้องกลับมาทบทวนพอร์ตโฟลิโอในปีนี้ แม้การทำ M&A จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่การทบทวนธุรกิจเดิมและความสามารถในการทำกำไรก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเมื่อกลับมาทบทวนจะช่วยให้เห็นภาพว่า ธุรกิจในปัจจุบันของเรานั้น ยังมีศักยภาพในการเติบโตท่ามกลางแนวโน้มโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่ ทำให้ช่วงผ่านมาเราจะเห็นหลาย ๆ บริษัทตัดขายธุรกิจที่ผลการดำเนินงานไม่ดี หรือไม่ใช่ธุรกิจหลักขององค์กร และอีกหลายรายพยายามรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการซื้อกิจการใหม่เข้ามาเสริม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กิจการที่สำคัญ ไม่แพ้การเติบโตของรายได้และการลดต้นทุน นอกจากนี้ ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ยังส่งผลโดยตรงกับการบริหารซัพพลายเชนทั่วโลก การเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการวัตถุดิบ แรงงาน การขนส่ง อาจทำให้นักลงทุนเปลี่ยนกลยุทธ์กระจายความเสี่ยงด้วยการมีแหล่งวัตถุดิบในประเทศ หรือในละแวกใกล้เคียง หรือ Nearshore มากขึ้น ผ่านการซื้อขายกิจการ อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 อาจมีการหยุดชะงัก หรือล่าช้าในการปิดการซื้อขายกิจการ" นางสาว ฉันทนุช กล่าว