ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN

ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ โฆษณาสินค้าฟรี => อื่นๆ ที่ไม่ตรงหมวดข้างบน => Topic started by: Naprapats on November 29, 2021, 07:26:06 PM

Title: โอไมครอน และเชื้อกลายพันธุ์อื่น ๆ คืออะไร วัคซีนจะยังใช้ได้ผลอยู่ไหม
Post by: Naprapats on November 29, 2021, 07:26:06 PM

"โอไมครอน" เป็นเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ (https://www.ch7hdflix.com/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99/)ที่กลายพันธุ์อย่างรุนแรงและองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ "น่ากังวล"

คำถามที่สำคัญที่สุดคำถามหนึ่งตอนนี้คือวัคซีนที่เรามีอยู่จะยังใช้ได้ผลอยู่ไหม


เชื้อกลายพันธุ์ใหม่นี้คืออะไร
ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดังกล่าว แรกเริ่มมีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 ก่อนที่ WHO จะตั้งชื่อเรียกให้ตามลำดับตัวอักษรกรีกว่า โอไมครอน เจ้าหน้าที่พบการระบาดในจังหวัดเคาเต็ง (Gauteng) ของแอฟริกาใต้เป็นหลัก โดยขณะนี้มีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันแล้ว 77 ราย นอกจากนี้ยังพบผู้ติดเชื้อในประเทศบอตสวานาอีก 4 ราย รวมทั้งพบกรณีที่ผู้ติดเชื้อเดินทางจากแอฟริกาใต้ไปยังฮ่องกงด้วยเที่ยวบินตรงอีก 1 ราย

ในโลกมีเชื้อโควิดกลายพันธุ์หลายพันสายพันธุ์แพร่ระบาดอยู่ นั่นเป็นเรื่องปกติเพราะไวรัสทุกชนิดสามารถกลายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ และเชื้อ Sars-CoV-2 ที่ก่อโรคโควิด-19 ก็ไม่มีข้อยกเว้น

เราเรียกเชื้อไวรัสที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมนี้ว่า "เชื้อกลายพันธุ์" องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อคุณสมบัติของเชื้อไวรัส และมักค่อย ๆ หายไปตามกาลเวลา

แต่นาน ๆ ครั้ง เชื้อไวรัสอาจโชคดีที่มีการกลายพันธุ์ในลักษณะที่ช่วยให้มันอยู่รอดและเพิ่มจำนวนขึ้นได้

อย่างไรก็ดี โควิดชนิดใหม่นี้น่ากังวลเป็นพิเศษเพราะมีการกลายพันธุ์ของยีนรวมทั้งสิ้นถึง 50 ตำแหน่ง ซึ่งถือว่าผิดปกติอย่างยิ่งและทำให้มันมีความแตกต่างจากเชื้อโควิดกลายพันธุ์อื่น ๆ

การกลายพันธุ์แบบเหนือความคาดหมายนี้ จัดเป็นการกลายพันธุ์ของโปรตีนบนส่วนหนามของไวรัสถึง 32 ตำแหน่ง ซึ่งส่วนดังกล่าวมีความสำคัญยิ่ง ในการเป็นกุญแจที่ไวรัสใช้ไขประตูเข้าสู่เซลล์ร่างกายมนุษย์

นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่งด้วย ในขณะที่เชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่ร้ายแรงอย่างสายพันธุ์เดลตา มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น

WHO เรียก โควิดกลายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" ยกเป็นสายพันธุ์ "น่ากังวล"
"แลมบ์ดา" ไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่โลกจับตา
อนามัยโลก "กังวลอย่างยิ่ง" หลังยอดโควิดในยุโรปพุ่งไม่หยุด
บางคนอาจมียีนอันตราย ทำให้เสี่ยงตายจากโควิดเพิ่มเป็นสองเท่า