• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

5 อันดับภัยไซเบอร์โจมตีอาเซียน 'ไทย' เป้าใหญ่! และ 'แรนซัมแวร์' ที่หวังมากกว่า 'เงิน'

Started by deam205, September 05, 2021, 06:45:28 AM

Previous topic - Next topic

deam205



แคสเปอร์สกี้ เผยข้อมูลที่น่าสนใจ พบว่า มีภัยไซเบอร์ผ่านเว็บที่คุกคามคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว ทั้งสิ้น 20,598,223 รายการ หรือคิดเป็นผู้ใช้จำนวน 28.4% ที่เกือบโดนโจมตีโดยภัยคุกคามผ่านเว็บ

เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ ยักษ์ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสสัญชาติรัสเซีย กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เปิดช่องให้อาชญากรไซเบอร์แฝงตัวเข้ามาหาผลประโยชน์ โรคระบาดใหญ่ทำให้เส้นแบ่งระหว่างการป้องกันองค์กรและการรักษาความปลอดภัยภายในบ้านเริ่มไม่ชัดเจน ทั้งจากการทำงานระยะไกล เรียนออนไลน์ รวมถึงการสร้างดิจิทัลในทุกภาคส่วน

ขณะที่ ข้อมูลของ แคสเปอร์สกี้ ซิเคียวริตี้ เน็ตเวิร์ค ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ตรวจพบภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจำนวน 7,491,671 รายการ สูงกว่าไตรมาสแรก 42.34% โดยรวมแล้ว ผู้ใช้ไทยจำนวน 20.7% หรือ 1 ใน 5 เกือบถูกโจมตีจากภัยคุกคามในช่วงเวลาดังกล่าว โดยไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 84 ของโลก

ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ และระบบคอมพิวเตอร์ทางออนไลน์ ขอบเขตของภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างๆ นั้น รวมถึงภัยคุกคามที่เป็นที่รู้จักคุ้นเคย อย่างฟิชชิ่ง และไวรัสคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามทางเว็บไม่ได้จำกัดอยู่แค่กิจกรรมออนไลน์ แต่อินเทอร์เน็ตก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในบางขั้นตอน

เปิด 5 อันดับการโจมตีผ่านเว็บสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวม "ไทย" มีดังนี้

ADVERTISEMENT


1.มัลแวร์จากเว็บทราฟฟิก มักพบขณะกำลังใช้งานเว็บที่ติดเชื้อหรือโฆษณาออนไลน์ต่างๆ

2.การดาวน์โหลดโปรแกรมหรือไฟล์บางชนิดจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่ตั้งใจ

3.การดาวน์โหลดไฟล์แนบอันตรายจากบริการอีเมลออนไลน์

4.การใช้ส่วนขยายของเบราเซอร์ (browser extensions)

5.การดาวน์โหลดส่วนประกอบต่างๆ การสื่อสารทางไซเบอร์ (C&C) ที่ดำเนินการโดยมัลแวร์

คริส คอนเนลล์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ เผยรายงานฉบับล่าสุดเรื่อง "Mobile Malware Evolution 2020" แสดงการตรวจจับมัลแวร์บนอุปกรณ์โมบาย โดยพบว่าประเทศไทยมีจำนวน 28,861 ครั้งในปี 2563 อยู่ในอันดับที่ 44 ของโลก และอันดับ 5 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน อินโดนีเซียครองอันดับ 4 ของโลก จำนวน 378,973 ครั้ง และครองอันดับสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามมาด้วยมาเลเซีย 103,573 ครั้ง อันดับที่ 17 ฟิลิปปินส์ 55,622 ครั้ง อันดับที่ 30 เวียดนาม 29,399 ครั้ง อันดับที่ 43 และสิงคโปร์ 8,776 ครั้ง อันดับที่ 86


ภัยคุกคามทางมือถือที่พบบ่อยที่สุด 3 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้

• Trojan – โทรจันคือโปรแกรมที่เป็นอันตรายซึ่งดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้ โทรจันจะลบ บล็อก แก้ไข คัดลอกข้อมูล และขัดขวางประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์หรือเน็ตเวิร์กคอมพิวเตอร์

• Trojan-Downloader – ดาวน์โหลดและติดตั้งเวอร์ชันใหม่ของโปรแกรมที่เป็นอันตราย รวมทั้งโทรจันและ AdWare บนคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ เมื่อดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตแล้ว โปรแกรมจะเปิดทำงานหรือรวมอยู่ในรายการโปรแกรมที่จะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อระบบปฏิบัติการเริ่มทำงาน

• Trojan-Dropper – โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อแอบติดตั้งโปรแกรมที่เป็นอันตรายซึ่งสร้างไว้ในรหัสไปยังคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ โปรแกรมที่เป็นอันตรายประเภทนี้มักจะบันทึกไฟล์ช่วงหนึ่งไปยังไดรฟ์ของเหยื่อ และเปิดใช้งานโดยไม่มีการแจ้งเตือนใดๆ (หรือการแจ้งเตือนปลอมเกี่ยวกับข้อผิดพลาดในการเก็บ เวอร์ชันระบบปฏิบัติการที่ล้าสมัย ฯลฯ)

เปิดเคล็ดลับ เวิร์คฟรอมโฮม แบบไม่ต้องเสี่ยง

1.ใช้ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตที่บ้าน ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานจากระยะไกลอัตโนมัติ

2. ไม่ให้สมาชิกในครอบครัวใช้อุปกรณ์ของบริษัท การทำงานจากที่บ้านหมายความว่า คอมพิวเตอร์ของบริษัทมีแนวโน้มที่จะถูกใช้งานโดยเด็กๆ และสมาชิกในครอบครัวของพนักงาน

3.ใช้ฝาปิดเว็บแคมแบบเลื่อนได้ ผู้โจมตีที่เชี่ยวชาญสามารถเข้าถึงเว็บแคมได้ง่ายดาย โดยไม่ต้องได้รับอนุญาต

4. ถ้าต้องใช้ VPN การรักษาความปลอดภัย VPN สามารถปรับปรุงได้โดยใช้วิธีการยืนยันตัวตนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

5.ใช้โซลูชันการจัดเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์

6. รักษาความปลอดภัยไวไฟที่บ้าน สร้างรหัสผ่านที่คาดเดายาก

7. ระมัดระวังการประชุมทางวิดีโอ แนะนำให้ตรวจสอบว่าการประชุมเป็นแบบส่วนตัว โดยกำหนดให้ใช้รหัสผ่านเพื่อเข้าประชุม

8. ใช้รหัสผ่านที่รัดกุมและปลอดภัย

9. ปกป้องบัญชีธนาคารออนไลน์

10. ระวังอีเมลหลอกลวงและความปลอดภัยของอีเมล

11. สร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์มากขึ้น 

ขณะที่ FortiGuard Labs อีกค่ายหนึ่ง รายงานภัยคุกคามครึ่งแรกของปี 2021 พบแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้น 10 เท่า และเชื่อว่า การผนึกกำลังของภาครัฐและเอกชนส่งให้สามารถหยุดยั้งภัยคุกคามที่ห่วงโซ่อุปทานของอาชญากรรมไซเบอร์ได้ 

เดอริค มันคี Chief, Security Insights & Global Threat Alliances ที่ฟอร์ติการ์ดแล็บส์ เผยข้อมูลภัยคุกคามประจำช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 นี้ว่า เห็นการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพและทำลายล้างเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์กรหลายพันแห่งในครั้งเดียว นับเป็นการเปลี่ยนแปลที่สำคัญในสงครามกับอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ตอนนี้ ทุกฝ่ายมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ในกระบวนการคุกคามทำลายล้าง ที่เรียกว่า Killing chain แข็งแกร่งมากกว่าที่เคยเป็นมา 

ความร้ายกาจของภัยไซเบอร์ ยุค New Normal : 
• Ransomware หวังมากกว่าเงิน: ข้อมูลจากฟอร์ติการ์ดแล็บส์แสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยของกิจกรรมภัยแรนซัมแวร์ประจำสัปดาห์ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาสูงกว่าช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาถึง 10 เท่า แสดงให้เห็นถึงแรนซัมแวร์ยังคุกคามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอโดยรวมในช่วง 1 ปี 

• ทั้งนี้ แรนซัมแวร์ ส่งผลกระทบที่ห่วงโซ่อุปทานของหลายองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสำคัญอย่างยิ่ง และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ผลผลิตและการค้ามากกว่าที่เคยเป็นมา ทั้งนี้ องค์กรในภาคโทรคมนาคมตกเป็นเป้าหมายสูงสุด รองลงมาคือภาครัฐ ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยที่มีการจัดการ ยานยนต์ และภาคการผลิต 

การเติบโตของการตรวจพบแรนซัมแวร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (กรกฎาคม 2563 – มิถุนายน 2564)
• พบมัลแวร์ถึง 1 ใน 4 องค์กร: การจัดอันดับการตรวจจับมัลแวร์ตามกลุ่มแสดงให้เห็นว่า มีมัลแวร์ประเภททางวิศวกรรมโซเชียลหลอกลวงมากขึ้น ได้แก่ Malvertising (การใช้โฆษณาบนโลกออนไลน์เพื่อแพร่กระจายมัลแวร์) และ Scareware (สแกร์แวร์เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้น เพื่อทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เข้าใจว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองมีไวรัส และหลงเชื่อให้ข้อมูลบัตรเครดิต ซื้อหรือดาวน์โหลดซอฟต์แวร์) มากเพิ่มขึ้น 

• องค์กรมากกว่าหนึ่งในสี่ตรวจพบตระกูล Cryxos ชื่อดังสะท้อนถึงความพยายามคุกคามของมัลแวร์หรือสแกร์แวร์ แม้ว่าพบมัลแวร์จำนวนมากที่รวมกับแคมเปญ JavaScript อื่นๆ ที่คล้ายกันซึ่งยังคงต้องถือว่าเป็นมัลแวร์ ซึ่งเกิดขึ้นมากจากผลของ WFH แบบผสมผสาน เนื่องจากผู้ประสงค์ร้ายพยายามใช้ประโยชน์จากการสร้างความหวาดกลัวของเหยื่อ รวมถึงการกรรโชกด้วย 

• ดังนั้น การรับรู้เรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการจัดหาการฝึกอบรมและการศึกษาอย่างทันท่วงที เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของกลวิธีหลอกลวงของ Malvertising และ Scareware