• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ufa

ufabet

ปูนปั้น

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

pgslot

PG SLOT

PG SLOT

pg slot

PG SLOTเว็บตรง

PG SLOT เว็บตรง

pg slot

บาคาร่า

PG SLOT

pg slot

PG SLOT

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อต

บาคาร่า168

PG SLOT

สล็อตเว็บตรง

pg slot

สล็อตเว็บตรง

เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

สล็อต pg เว็บตรง แตกหนัก

ครม.อนุมัติงบ 35 ลบ.ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยวิทยาศาสตร์ฯใน 8 จ.

Started by Fern751, April 06, 2022, 09:26:26 PM

Previous topic - Next topic

Fern751

ครม.อนุมัติงบ 35 ลบ.ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยวิทยาศาสตร์ฯใน 8 จ.

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากระดับจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กรอบวงเงิน 35.69 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ.2564 ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ

สำหรับโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากระดับจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรมสู่ภูมิภาค ก่อให้เกิดการลงทุนของเกษตรกร และผู้ประกอบการแปรรูปสินค้าเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น รวมทั้งกระตุ้นการบริโภคของประชาชนภายในประเทศจากสินค้าเกษตรคุณภาพดีและผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมจากวัตถุดิบท้องถิ่น

ขณะที่ระยะเวลาดำเนินโครงการอยู่ในช่วงเดือน มี.ค.-ธ.ค.65 กลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรจำนวน 4,250 ราย พื้นที่ดำเนินการใน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ชุมพร ปทุมธานี พังงา เพชรบูรณ์ สกลนคร สมุทรสงครามและจังหวัดอุดรธานี มีกิจกรรมหลักได้แก่

1.การปรับปรุงกระบวนการผลิต เช่น พัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตโดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม มาใช้ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

2.การส่งเสริมการจัดทำสารสกัด เช่น พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูป เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบ หรือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยให้แก่กลุ่มเป้าหมายในจังหวัด ซึ่งแต่ละจังหวัดประกอบด้วยกิจกรรมที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ ความพร้อมของบุคลากรในพื้นที่ และความพร้อมของพื้นที่ดำเนินโครงการ

โดยผลที่คาดว่าจะได้รับ ประกอบด้วย เกษตรกรในพื้นที่ดำเนินโครงการมีรายได้ประมาณ 60 ล้านบาทต่อปี และเกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรสร้างมูลค่าเพิ่ม 40 ล้านบาทต่อปี

นอกจากนี้ยังอนุมัติให้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการแผนงานการแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-19 จากเดิมสิ้นสุดเดือน มี.ค.65 เป็นสิ้นสุดเดือน มิ.ย.65 และอนุมัติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขยายระยะเวลาดำเนินกิจกรรมพัฒนา Platform การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล จากเดิมสิ้นสุดเดือน ก.พ.65 เป็นสิ้นสุดเดือน พ.ค.65 และเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินจากเดิม 20 ล้านบาท เป็น 21 ล้านบาท