ลงประกาศฟรี โพสต์ฟรี โปรโมทเว็บไซต์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN

ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ โฆษณาสินค้าฟรี => ท่องเที่ยว, ไลฟ์สไตล์ => Topic started by: Chanapot on January 31, 2022, 05:24:30 PM

Title: MF แนะ BOJ ผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไป
Post by: Chanapot on January 31, 2022, 05:24:30 PM
IMF แนะ BOJ ผ่อนคลายนโยบายการเงิน (https://www.cathystore.xyz/%e0%b8%ab%e0%b8%b8%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%8b%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a/)ต่อไปเพื่อบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แนะนำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านเงินเฟ้อ พร้อมกับแนะนำให้ BOJ พิจารณากำหนดเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสำหรับพันธบัตรที่มีอายุไถ่ถอนสั้นลงด้วย เพื่อทำให้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมีความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งการแสดงความเห็นดังกล่าวของ IMF นั้น สวนทางกับท่าทีของธนาคารกลางอื่น ๆ ทั่วโลกที่เริ่มคุมเข้มนโยบายการเงิน

ปัจจุบัน BOJ ได้คงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไว้ที่ประมาณ 0% โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ต้นทุนการกู้ยืมอยู่ในระดับต่ำเพื่อช่วยเหลือบริษัทเอกชนและภาคครัวเรือน

นายรานิล ซัลกาโด หัวหน้าฝ่ายกิจการญี่ปุ่นของ IMF กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นซึ่งยังคงอ่อนแออยู่ที่ราวระดับ 0.5% และการคาดการณ์ที่ว่าอัตราเงินเฟ้อยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีดตัวขึ้นสู่เป้าหมายของ BOJ ที่ระดับ 2% นั้น BOJ จึงยังจำเป็นต้องรักษาจุดยืนด้านการผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไป

IMF ระบุด้วยว่า หากอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นยังคงอ่อนแอ ทางเลือกแรกที่ BOJ ควรทำคือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า คำแนะนำของ IMF ที่สนับสนุนให้ BOJ เดินหน้าใช้นโยบายกระตุ้นด้านการเงินต่อไปนั้น แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีความแตกต่างกับประเทศอื่นๆ โดยขณะนี้ธนาคารกลางทั่วโลกซึ่งรวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ต่างก็หันมาใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว

การแสดงความเห็นของนายซัลกาโดมีขึ้นเพียงไม่กี่วัน หลังจากที่นางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการ IMF เตือนว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีหนี้สกุลเงินดอลลาร์จำนวนมาก

ด้านนายโทเบียส เอเดรียน ที่ปรึกษาด้านการเงินและผู้อำนวยการฝ่ายตลาดเงินและตลาดทุนของ IMF เตือนว่า การที่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ หันมาใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินและควบคุมเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นนั้น อาจส่งผลให้ราคาหุ้นซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์เสี่ยงทรุดตัวลงอย่างหนัก แม้ว่าบรรดาผู้กำหนดนโยบายให้คำมั่นสัญญาว่า การเปลี่ยนผ่านด้านนโยบายการเงินจะเป็นไปอย่างราบรื่นก็ตาม