ลงประกาศฟรี โพสต์ฟรี โปรโมทเว็บไซต์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN

ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ โฆษณาสินค้าฟรี => ธุรกิจ, การค้า => Topic started by: hs8jai on April 12, 2022, 01:13:04 AM

Title: ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรมมี.ค.อยู่ที่ 89.2 จาก 86.7 ในก.พ.สูงสุดรอบ 25เดือน
Post by: hs8jai on April 12, 2022, 01:13:04 AM
ดัชนีเชื่อมั่น (https://www.vocabday.com/%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%95-%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7/)อุตสาหกรรมมี.ค.อยู่ที่ 89.2 จาก 86.7 ในก.พ.สูงสุดรอบ 25เดือน

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผย ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค.65 อยู่ที่ระดับ 89.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 86.7 ในเดือน ก.พ.65 โดยค่าดัชนีฯ สูงสุดในรอบ 25 เดือนนับตั้งแต่ มี.ค.63 เนื่องจากดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการ ได้แก่ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

"ยอดขายรถยนต์จากงานมอเตอร์โชว์ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.6% สะท้อนความมั่นใจของผู้บริโภคที่ดีขึ้น" นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท.กล่าว

สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ ได้แก่ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศและหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัว และความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว และการปรับรูปแบบมาตรการ Test & Go ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 65 ได้ช่วยอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยมากขึ้น อีกทั้งในเดือน มี.ค.ผู้ประกอบการภาคขนส่งเร่งผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ยังกดดันให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากราคาพลังงาน และราคาวัตถุดิบ เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ยเคมี สินแร่สำหรับผลิตเหล็กอลูมิเนียม เป็นต้น

โดยปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ ราคาน้ำมัน, สภาวะเศรษฐกิจโลก ส่วนปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ สถานการณ์ระบาดของโควิด-19, เศรษฐกิจในประเทศ, อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) , สถานการณ์การเมืองในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ขณะที่ดัชนีฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 97.1 ในเดือน ก.พ. เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 มีแนวโน้มคลี่คลายลงจากการเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ ทำให้ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้นส่งผลอุปสงค์ในประเทศมีทิศทางดีขึ้น ขณะที่ภาคการส่งออกของไทยยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ ส.อ.ท.มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ได้แก่

1.ยกเลิกมาตรการ Test & GO เพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว รวมทั้งจัดเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขในการรองรับการปรับให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนและนักท่องเที่ยว

2.เร่งแก้ไขปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและวัตถุดิบราคาแพง อาทิ ปรับลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคการผลิต รวมทั้งปลดล๊อคเงื่อนไขและโควต้าการนำเข้าวัตถุดิบโดยเฉพาะในวัตถุดิบที่ขาดแคลน

3.ทบทวนการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) และออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME เพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น ส่วนลดค่าไฟฟ้า

4.เร่งเจรจากับจีน-เวียดนาม ขอขยายเวลาเปิดด่านเป็น 24 ชม. เพิ่มช่องทาง Green Lane ในการตรวจสินค้าผลไม้ รวมทั้งการเตรียมแผนสำรองในการส่งออกผลไม้ทางเรือ/เครื่องบิน เพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้จากไทยไปจีนผ่านด่านทางบก

"ช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ได้รุนแรง ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดสสามารถรักษาหายภายใน 3-5 วัน หากยกเลิก Test & GO เพื่อให้มีช่องทางหางรายได้เพิ่มมาชดเชยกับรายจ่ายจะช่วยให้มาตรการภาครัฐที่ออกมาเกิดประสิทธิผลอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น" นายสุพันธุ์ กล่าว