ลงประกาศฟรี โพสต์ฟรี โปรโมทเว็บไซต์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN

ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ โฆษณาสินค้าฟรี => สุขภาพ, ความงาม => Topic started by: PostDD on August 27, 2021, 08:48:10 AM

Title: สธ.เผยระบบ HI-CI ได้ผล การบริหารเตียงผู้ป่วยโควิด-19 เริ่มดีขึ้น
Post by: PostDD on August 27, 2021, 08:48:10 AM

(https://i.ibb.co/h1pKhNR/564000008625401.jpg)
วันนี้ (26 ส.ค.) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศโดยรวมดีขึ้น หลังจากจำนวนผู้หายป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น และเริ่มมีจำนวนมากกว่าผู้ติดเชื้อต่อวัน ส่วนการบริหารจัดการเตียงในขณะนี้ พบว่าจำนวนเตียงในพื้นที่ กทม. เริ่มเพียงพอต่อการรองรับผู้ป่วย เนื่องจากการทำ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (SI) (https://www.articlesbacklink.com/Guestpost/) เป็นไปอย่างมีระบบ ส่งผลให้การบริหารจัดสรรเตียงเป็นไปอย่างราบรื่น โดยจากข้อมูลการรอคอยเตียงในระบบ Call Center พบว่าจำนวนผู้รอเตียงสีแดงมีจำนวนลดลง และมีผู้ป่วยที่ต้องรอเตียงเกิน 24 ชม. ลดลงเรื่อยๆ
"เตียงสีเหลืองใน กทม. มีการบริหารจัดการได้ดี แต่เตียงสีแดงยังมีผู้ป่วยต้องรอเตียงอยู่ เนื่องจากในพื้นที่กทม. มีความสามารถในการรองรับผู้ป่วยได้เพียง 1,000 ราย/วันเท่านั้น ขณะที่ตอนนี้ยังมีผู้ป่วยใน กทม.สูงถึง 4,000 ราย/วัน ส่วนสถานการณ์เตียงในพื้นที่ต่างจังหวัด เริ่มตึง ๆ บ้าง แต่ยังบริหารจัดการได้ดีอยู่ เนื่องจากสามารถขยายเตียงไปยังชุมชนได้" นพ.สมศักดิ์ กล่าว
พร้อมระบุว่า ขณะนี้การทำ HI ในพื้นที่ กทม. เริ่มเป็นไปอย่างมีระบบ โดยมีจำนวนเคสการทำ HI สะสมอยู่ที่ 87,023 ราย และมีจำนวนผู้ป่วยที่ทำ HI เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 1,000 ราย ทั้งนี้ การทำ HI หรือการแยกกักตัวที่บ้านที่ได้มาตรฐานนั้น ผู้ป่วยจะต้องทำการแยกทั้งหมด 7 อย่าง คือ 1.แยกนอน 2.แยกกิน 3.แยกอยู่ 4.แยกใช้ 5.แยกทิ้ง 6.แยกห้องน้ำ และ 7.แยกอากาศ
ส่วนผู้ป่วยที่ไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ จะต้องทำ CI ที่ศูนย์พักคอย โดยในพื้นที่กทม. มีการเปิดศูนย์ CI ให้ใช้บริการแล้วทั้งหมด 64 แห่ง มีเตียงทั้งหมด 8,694 เตียง และมีอัตราการครองเตียงอยู่ที่ 3,410 ราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีเตียงเพียงพอในการรองรับผู้ป่วยต่อวันที่เฉลี่ยอยู่ที่ 200 ราย
อย่างไรก็ดี ประชาชนบางรายมีความกังวลต่อคุณภาพการทำ HI โดยมีการร้องเรียนว่าวิธีปฎิบัติไม่เป็นไปตามที่ทาง สธ. ระบุ เช่น ผู้ป่วยบางรายไม่ได้รับการโทรศัพท์เช็คอาการจากแพทย์ 2 ครั้ง/วัน หรือบางรายไม่ได้รับยา และอาหาร 3 มื้อ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพการทำ HI ที่มีคุณภาพ จึงจะมีการประเมินคุณภาพการทำ HI โดยประเมินทั้ง 2 ด้าน คือ การประเมินโดยผู้ให้บริการ และการประเมินโดยผู้รับบริการ (Patient Reporting Outcome Measurement) ซึ่งจะมีการตรวจสอบคุณภาพทั้ง "Standard Set for HI" ที่จะต้องมีอุปกรณ์พื้นฐานครบทั้งหมด 4 อย่าง คือ เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้, หน้ากากอนามัย, เครื่องวัดระดับออกซิเจนในกระแสเลือด และถุงขยะสีแดงเพื่อใส่ขยะติดเชื้อ โดยการประเมินคุณภาพนี้ จะมีการนำร่องที่โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ทั้ง 3 แห่ง คือ รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน และ รพ.นพรัตนราชธานี

ในส่วนของการทำ HI และ CI สำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ทั้งผู้ที่มีความพิการทางร่างกาย มีความพิการทางจิตใจ รวมทั้งเด็ก ได้มีการเตรียมการรองรับผู้ป่วยตามสถานที่ต่าง ๆ ไว้ดังนี้ โรงพยาบาลตามสิทธิเพิ่มเติมส่วนพิการทางจิต (รพ.ศรีธัญญา และรพ.สมเด็จเจ้าพระยา), โรงพยาบาลสนามเพื่อคนพิการ (รพ.สนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ และสถาบันราชานุกูล), HI สถาบันสิรินธรเพื่อคนพิการ, CI โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ (รพ.รามาธิบดี และสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ) และ CI สำหรับเด็กอายุ 7-15 ปี ณ ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ที่เกียกกาย โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ดำเนินการร่วมกับเขตดุสิต