• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - Prichas

#3721


บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) ภายใต้พันธกิจ 'EMPOWER LIVING' ที่มุ่งส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ จัดแคมเปญ 'บ้านสร้างบุญ' ได้บ้าน ได้บุญ ได้ส่วนลด ทุกการจองบ้านกลางเมือง และพลีโน่ในกว่า 50 ทำเลทั่วกรุงเทพ เอพีร่วมสมทบทุนบริจาคด้านการแพทย์สู้ภัย โควิด-19 เริ่มตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายนนี้

นายเมธา รักธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าทาวน์โฮม บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) เปิดเผยว่า วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง และต้องทุ่มเทกายใจเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ ทางกลุ่มธุรกิจทาวน์โฮมจึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ฮีโร่ด่านหน้าของไทย ในการสู้วิกฤตโควิด-19 ผ่านแคมเปญ 'บ้านสร้างบุญ' ได้ร่วมทำบุญ ได้บ้าน ได้ส่วนลดเพิ่ม ซึ่งทุกๆ เงินจองที่ลูกค้าจองซื้อทาวน์โฮมเครือเอพี ทั้งแบรนด์ 'บ้านกลางเมือง หรือ 'พลีโน่' ในกว่า 50 โครงการทั่วกรุงเทพ

นอกจากลูกค้าจะได้รับส่วนลดพิเศษเพิ่มเท่าจำนวนเงินจองแล้วนั้น บริษัทฯ จะร่วมสมทบทุนบริจาคเพิ่มเท่ากับจำนวนเงินจองซื้อโครงการ และนำไปส่งมอบให้แก่ 3 องค์กรทางการแพทย์ ได้แก่ กองทุนศิริราชสู้ภัยโควิด ศิริราชมูลนิธิ, โครงการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และโครงการป้องกันและช่วยเหลือสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี เพื่อใช้เป็นทุนในการจัดหาอุปกรณ์สู้ภัยโควิด ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการทำงานให้กับทีมแพทย์และบุคลากรด่านหน้าผ่านแคมเปญ "บ้านสร้างบุญ : ได้บ้าน ได้บุญ ได้ส่วนลด" ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 64



"ตั้งแต่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาด นอกเหนือจากการดูแลลูกบ้านในโครงการให้ห่างไกลจากโควิด-19 แล้วนั้น ที่ผ่านมาเรายังได้จัดทำแคมเปญ SAVE LIVES PROTECT PEOPLE - เอพี เซฟชีวิต เซฟสังคมขึ้น เพื่อช่วยเหลือและจุดประกายสังคมไทยในการหยิบยื่นความช่วยเหลือตามกำลังให้แก่กลุ่มคนที่อาจถูกมองข้าม และแคมเปญ บ้านสร้างบุญ ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งแคมเปญที่เราอยากเป็นสะพานบุญให้ลูกค้าเอพีทุกท่านได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการทำงานให้แก่นักรบชุดขาวที่เหน็ดเหนื่อยเพื่อพวกเราอย่างไม่มีวันหยุดร่วมกัน"

ทั้งนี้ เอพี ไทยแลนด์ เรามุ่ง 'EMPOWER LIVING' ทุกมิติการอยู่อาศัย การทำงานในทุกด้านจะให้ความสำคัญกับการส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกค้า โดยกลุ่มสินค้าทาวน์โฮมในเครือเอพี ทั้งบ้านกลางเมือง ทาวน์โฮม 3 ชั้น ในทำเลศักยภาพ และพลีโน่ ทาวน์โฮม 2 ชั้น บ้านหลังแรกที่ดีที่สุด คือ สองแบรนด์ยอดนิยมที่ลูกค้าให้การตอบรับอย่างดียิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะสามารถตอบโจทย์ความต้องการในการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุค Next Normal ได้เหนือกว่าใคร เราเชื่อมั่นว่าแคมเปญ 'บ้านสร้างบุญ' ได้บ้าน ได้ส่วนลด ได้บุญ จะมีส่วนในการเอ็มพาวเวอร์ให้สังคมไทยผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 และสามารถกลับมายิ้มด้วยกันอีกครั้งในเร็ววันนี้

เอพี ไทยแลนด์ ภายใต้พันธกิจ 'EMPOWER LIVING'
มุ่งส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดี ที่ลูกค้าสามารถเลือกได้
#3722


"คลัสเตอร์โรงงาน"คำซ้ำที่ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ เกี่ยวกับการระบาดโควิด-19  ซึ่งพบว่ามีส่วนที่เป็นความเข้าใจที่คาดเคลื่อนในการสื่อสารระดับท้องถิ่นที่มักจะระบุว่า จำนวนพนักงานทั้งหมดของโรงแปรรูปอาหารเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้เกิดความตระหนกตกใจให้สังคมไม่น้อย  ดังนั้นต้องร่วมด้วยช่วยกันไม่ใช่แค่ให้กระแสข่าวสงบลงแต่ต้องร่วมกันจัดการกับสถานการณ์ให้เกิดความปลอดภัยและอุ่นใจ ทั้งกับตัวโรงงานที่ดำเนินการโดยภาคธุรกิจเองและชุมชนโดยรอบ 

แนวทางดังกล่าวสามารถพิจารณาได้จากตัวอย่างของ โรงงานแปรรูปอาหารของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซีพีเอฟ ที่มีการยกระดับความเข้มข้นของการเฝ้าระวัง และป้องกัน เพื่อควบคุมเชื้อและการปนเปื้อนต่างๆ โดยนำมาตรการบับเบิลแอนด์ซีล (Bubble and Seal) ที่สามารถปกป้องได้ทั้งพนักงาน และชุมชนให้ปลอดภัยมาใช้เป็นแกนหลัก

สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าติดตามมาตรการบับเบิลแอนด์ซีลของโรงงานแปรรูปอาหาร อ.แกลง จ.ระยอง ระบุว่า ซีพีเอฟ มีมาตรการที่ถูกต้องตามระบบสาธารณสุข มีความครอบคลุมการจัดการคนงานทั้งระบบ รวมถึงสถานที่ และทำได้เหนือกว่ามาตรฐานในบางจุด โดยเฉพาะการทำบับเบิลแอนด์ซีลที่ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ถือเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี

บับเบิลแอนด์ซีล เป็นการควบคุมกลุ่มแรงงานในโรงงาน โดยมีการจัดการในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกัน ด้วยการแบ่งคนเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อคัดแยกคนที่ไม่ติดเชื้อ และกลุ่มเสี่ยง ออกจากกัน นอกเหนือจากกลุ่มที่ติดเชื้อจะถูกนำตัวเข้ารักษา ที่สำคัญคือ จะไม่มีการทำงานข้ามกลุ่มกัน และไม่ให้มีกิจกรรมนอกสถานประกอบการหรือนอกที่พักอาศัยที่สถานประกอบการจัดไว้ให้ เพื่อให้การควบคุม สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และลดการแพร่กระจาย การดำเนินการของสถานประกอบก็ยังดำเนินต่อไปได้ ซึ่งปัจจุบันหลายหน่วยงานต่างร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อให้อุตสาหกรรมยังคงเดินไลน์สายผลิตอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการปฏิบัติสำหรับโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ในอุตสาหกรรมอาหารนั้น ผู้ประกอบการคุมเข้มกันตั้งแต่ในส่วนของพนักงานที่เข้าปฏิบัติงาน จะต้องผ่านการตรวจโควิด-19 ก่อนเข้าปฏิบัติงาน ในส่วนสถานที่ผลิต จะมีการรักษาความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต และทุกจุดสัมผัสในอาคารผลิตตามหลักสุขลักษณะที่ดีในการผลิต (GMP) ด้วยความปลอดภัยในอาหารเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

มาตรการบับเบิลแอนด์ซีล เป็นหนึ่งในมาตรการที่ภาครัฐสนับสนุนและมีประสิทธิภาพในการป้องกัน เต็มรูปแบบ ตามแนวทาง Factory Quarantine เป็นทำการตรวจเชิงรุกพนักงานทุกคน และคัดแยกพนักงานเป็น 2 กลุ่ม คือผู้ที่มีผลบวกส่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม ส่วนผู้ที่ไม่ติดเชื้อหรือมีผลเป็นลบสถานประกอบการได้จัดรถรับส่งให้พนักงานที่ปลอดเชื้อทั้งหมด เข้าที่พักในโรงแรมที่จัดหาให้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากการเดินทางของพนักงาน

" เรียกว่าป้องกันทั้งพนักงานและชุมชนให้ปลอดภัยในทุกๆวันก่อนเข้าปฏิบัติงาน พนักงานทุกคนต้องตรวจวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอท หากพบว่ามีอุณหภูมิเกิน 37.30 C หรือมีอาการป่วยอย่างใดอย่างหนึ่ง จะถูกส่งเข้าสู่ระบบการกักตัวทันที"

 นอกจากนี้ จะต้องมีการสื่อสารให้พนักงานทั้งโรงงานได้ทราบถึงมาตรการป้องโควิดได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและทวนสอบความเข้าใจอย่างสม่ำเสมอ ในส่วนของพื้นที่โรงงาน จะต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคตามมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข ควบคุมการดำเนินงานโดยกรมอนามัยในพื้นที่จังหวัด รวมถึง swab พื้นผิวสัมผัสที่เป็นจุดสัมผัสร่วมทุกจุดในโรงงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินการคงค้างของเชื้อโควิด 19 ทุกสัปดาห์ในทุกจุดเสี่ยง ควบคู่ไปกับการตั้งการ์ดสูง เป็นสิ่งที่ยังต้องให้ความสำคัญ

แนวทางปฎิบัติเหล่านี้ เป็นหนทางที่จะช่วยให้สถานการณ์คลี่คลายได้โดยเร็ว ควบคู่ไปกับการปฏิบัติหน้าที่ผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อคนไทยอย่างต่อเนื่องบับเบิลแอนด์ซีล จึงเป็นอีกการจัดการที่มุ่งมั่นป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตที่มีผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน ทำให้คนไทยสังคมไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤติโควิด-19ไปด้วยกัน
#3723


นางพรนิจ ตุลย์วัฒนจิต ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL)เปิดเผยว่า ธนาคารได้เข้าร่วมให้บริการเป็นธนาคารแรก และทำหน้าที่เป็น Settlement Bank (ธนาคารที่รับผิดชอบการชำระดุลสำหรับธุรกรรมระหว่างประเทศ) ในการให้บริการ Cross-Border QR Payment ระหว่างประเทศไทยและอินโดนีเซีย โดยบริการ Cross-Border QR Payment เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ ธนาคารกลางประเทศอินโดนีเซีย (Bank Indonesia) เพื่อให้บริการ Cross-Border QR Payment ระหว่าง 2 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเติมเต็มโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินระหว่างประเทศให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั้ง Ecosystem ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งภูมิภาคด้วยการส่งเสริมที่ดีจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้กำกับดูแลธุรกิจสถาบันการเงินในประเทศไทย ขณะเดียวกันนับเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่ใช้ QR Code ในการชำระค่าสินค้าและบริการ ช่วยอำนวยความสะดวก สร้างประสบการณ์ที่ดี และช่วยลดต้นทุนทางการเงินระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ ภายใต้การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินดังกล่าว ลูกค้าสามารถใช้แอปพลิเคชัน Bangkok Bank Mobile Banking สแกนเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการในประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงลูกค้าของธนาคารในประเทศอินโดนีเซียที่เข้าร่วมบริการ เช่น Permata Bank เป็นต้น สามารถชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ ในประเทศไทยได้อย่างสะดวกและปลอดภัยเช่นกัน ทั้งยังลดความยุ่งยากในการแปลงสกุลเงิน เนื่องจากลูกค้าจะชำระเป็นเป็นสกุลเงินของประเทศตัวเองและร้านค้ารับเป็นสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศตัวเองเช่นกัน นอกจากนี้ลูกค้าผู้ชำระเงินจะได้รับอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่าการชำระด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิต

สำหรับระบบ QR Payment ถือเป็นรูปแบบการชำระเงินที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางและเป็นเครื่องมือสำคัญในการรับชำระเงินของร้านค้าต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มยอดขายให้แก่ธุรกิจร้านค้าช่วยให้ไม่พลาดโอกาสการขายกรณีที่ลูกค้าอาจไม่ได้พกเงินสดไว้เพียงพอต่อการซื้อสินค้า ขณะที่ผู้บริโภคคุ้นชินในความสะดวกสบายของการทำธุรกรรมผ่าน QR Code เพิ่มมากขึ้น เพราะมีร้านค้าที่พร้อมให้บริการเป็นจำนวนมาก และช่วยลดการสัมผัสเงินสดซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อีกด้วย โดยในประเทศไทยมีปริมาณธุรกรรมผ่าน Thai QR Payment ในปี 2563 มากถึง 13.39 ล้านรายการซึ่งเติบโตขึ้นจากปี 2562 ถึง 49.14%

นางพรนิจ กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในปัจจุบัน อาจยังเป็นข้อจำกัดสำคัญในการเดินทางท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ดังนั้น บริการ Cross-Border QR Payment อาจจะตอบโจทย์ความต้องการใช้งานได้เฉพาะกลุ่ม เช่น ชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย หรือชาวไทยที่ทำงานในอินโดนีเซีย รวมถึงกรณีการสั่งซื้อสินค้าข้ามประเทศผ่านระบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลง คาดว่าการเดินทางและการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคจะเริ่มฟื้นตัวกลับมา โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวสำคัญหรือเมืองเศรษฐกิจ และเชื่อมั่นว่าบริการ Cross-Border QR Payment จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากสอดคล้องกับพฤติกรรม New Normal ที่ลดการสัมผัสสิ่งของต่างๆ และหันมาทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น

"การให้บริการ Cross-Border QR Payment สำหรับประเทศไทยและประเทศอินโดนิเซียในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการพัฒนาการให้บริการ Cross-Border QR Payment ผ่านช่องทาง Mobile Banking ของธนาคารอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้ริเริ่มการให้บริการสำหรับประเทศไทยและเวียดนาม ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของธนาคารกรุงเทพในฐานะ "เพื่อนคู่คิด" ที่พร้อมเดินหน้าสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านระบบการชำระเงินข้ามประเทศในระดับภูมิภาค เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการทำธุรกรรมชำระเงินให้แก่ลูกค้า สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของการเป็น "ธนาคารผู้นำระดับภูมิภาค" อีกด้วย" นางพรนิจ กล่าว
#3724


วันที่ 15 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ให้สัมภาษณ์ในรายการสุทธิชัยไลฟ์ ในหัวข้อ "มุมมอง ธนินท์ เจียรวนนท์ โควิดกับทางออกของประเทศไทย" โดยพิธีกร คือ นายสุทธิชัย หยุ่น เปิดประเด็นว่า ได้สัมภาษณ์บุคคลจากหลายภาคส่วน และ วันนี้จะเป็นการพูดคุยกับนายธนินท์ในบทบาทภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และ แนวโน้มทางเศรษฐกิจของไทย


นายธนินท์ กล่าวว่า เป็นหัวเลี้ยว หัวต่อของประเทศไทย ซึ่งวิกฤตโควิดเป็นเหมือนสงครามโลก (โรค) ครั้งที่ 3 ก็ว่าได้ เพราะทุกประเทศในโลกได้รับผลกระทบทั้งหมด แต่หากประเทศใดปรับตัวได้ ก็จะก้าวกระโดด แต่หากประเทศไทยขาดนโยบายที่มีความพร้อม และมีการเปลี่ยนแปลงไม่เร็วพอ ก็จะตกขบวน ตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ในสถานการณ์ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังไม่ลดลง และยังไม่แน่ใจว่า ฟ้าจะกลับมาสว่างอีกครั้งเมื่อใด ทั้งนี้ นายธนินท์ ได้กล่าวถึง 4 ประเด็น ที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ 1) ปากท้อง 2) ป้องกัน 3) รักษา 4) อนาคต

ประเด็นแรก คือเรื่อง "ปากท้อง" โดยนายธนินท์กล่าวว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน คนได้รับความลำบากมาก คนลำบากในต่างจังหวัด ยังพอมีญาติ มีอาหารมาแบ่งปัน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ยังพอประทังชีพได้ แต่คนมีรายได้น้อยในเมือง และคนที่มีภาระ เมื่อเจอเข้ากับวิกฤตที่ต้องกักตัว ไปทำงานไม่ได้ จะทำให้ลำบากมาก แม้กระทั่งอาหาร บางครั้งยังไม่เพียงพอ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ภาครัฐต้องมีมาตรการมาดูแล แต่ในส่วนของภาคเอกชน เราทำได้เพียงช่วยแบ่งเบาภาระ

โดยเครือซีพี มีโครงการครัวปันอิ่ม แจกอาหาร 2 ล้านกล่อง ในเวลา 2 เดือน ร่วมกับ 100 พันธมิตรอาสาสมัคร ไปแจกให้กับชุมชน โดยอาหารจำนวน 1 ล้านกล่องจากจำนวนทั้งหมด จะสั่งซื้อจากร้านอาหาร ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และ ขนาดจิ๋ว เป็นเป็นการช่วยเหลือจากปัญหาร้านถูกปิด เพื่อให้ร้านต่าง ๆ พออยู่ได้ และ ยังช่วยให้ชุมชนต่าง ๆ ที่ลำบาก เข้าถึงอาหาร และ หน้ากากอนามัย ที่แจกในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ จะทำการคัดเลือกร้านที่สะอาด ปลอดภัย และช่วยโปร โมทร้านอาหาร พร้อมใส่เบอร์โทร หากใครสนใจก็สั่งซื้อจากร้านได้โดยตรงอีกด้วย


ประเด็นที่สอง คือ "ป้องกัน" โดยนายธนินท์ เน้นความสำคัญของวัคซีน ยิ่งฉีดได้ครอบคลุมรวดเร็วมากเท่าไหร่ ก็จะลดผลกระทบได้มากเท่านั้น ตัวอย่างมีให้ดูหลายประเทศ เช่น อังกฤษ พอฉีดได้จำนวนมาก ก็กลับมาเปิดประเทศ ถึงแม้ว่าจะติดเชื้อเพิ่ม แต่ก็ไม่ตาย ไม่เจ็บหนัก ก็จะทำให้ประเทศสามารถเดินต่อไปได้ ซึ่งต้องตั้งเป้าหมายฉีดให้ครบ 100% ไปเลย โดยนำเข้าวัคซีนทุกยี่ห้อ

ในตอนหนี่งของการสัมภาษณ์ นายสุทธิชัย หยุ่น ได้ถามว่า นายธนินท์ หรือซีพี มีส่วนในการนำเข้าวัคซีนซิโนแวคของรัฐบาลหรือไม่  ซึ่งนายธนินท์ ได้ตอบอย่างเคลียร์ชัดว่า ไม่เกี่ยวข้องแน่นอน เพราะการผลิตวัคซีนทั้งหมดของซิโนแวคต้องส่งให้กับรัฐบาลจีน และต่อให้เอกชนอยากซื้อก็ซื้อไม่ได้ พนักงานเครือซีพีในประเทศจีน ยังไม่สามารถซื้อซิโนแวคมาฉีดให้พนักงานได้เลย ขึ้นอยู่กับรัฐบาลจีนทั้งหมด นายธนินท์กล่าวเสริมที่มาของประเด็นซิโนแวคว่า

ตอนที่บริษัทซิโนแวคตั้งต้นจะทำวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ มีเงินไม่พอ ต้องการระดมทุนเพิ่ม หลานชายซึ่งรู้จักกับหมอและนักวิจัยด้านยา ก็ได้รับเชิญชวนให้เข้าไปช่วยลงทุนในยามที่บริษัทนี้เงินไม่พอ ซึ่งต่อมาบริษัทนี้ซึ่งอยู่ในเครือฯของซิโนแวคก็ให้เป็นหุ้นบริษัทคืนแก่หลานชายในประเทศจีนมา 15% ในอัตราเท่ากับนักวิจัยที่มีหุ้นกันละ 15% ซึ่งในช่วงนั้น จริง ๆ เป็นการช่วยเหลือนักวิจัยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ  แต่ไปสั่งการอะไรไม่ได้ จะขอซื้อวัคซีนก็ทำไม่ได้แน่นอน ซึ่งในประเทศไทย ซีพียังต้องสั่งซื้อวัคซีนซิโนฟาร์มมา 1 แสนโด้ส มาดูแลพนักงานของบริษัทเอง โดยซื้อจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะซื้อตรงก็ยังทำไม่ได้ เพราะวัคซีน ถูกควบคุมทั้งหมด

นอกจากนี้ วัคซีนทุกยี่ห้อ หากผู้ผลิต กล้าฉีดให้คนประเทศของเขา ก็มั่นใจได้ว่า มีความปลอดภัยระดับสูง โดยนายธนินท์เอง ก็ฉีดวัคซีน แอสตร้าซินิก้า เพราะคนอังกฤษฉีดกัน ยอดผู้ป่วยหนัก และ ผู้เสียชีวิตก็ยังน้อย ดังนั้น ต้องนำเข้าวัคซีนหลาย ๆ ยี่ห้อ เข้ามาฉีด ของทางอเมริกา ยุโรป ก็มีเทคโนโลยีที่ดี และประเทศเหล่านั้นได้ฉีดให้คนของเขาจำนวนมาก เราจะกลัวอะไร ยิ่งมีทางเลือกมาก ประชาชนก็มั่นใจ และ ฉีดวัคซีนได้เร็วขึ้น

ประเด็นที่สาม คือ "รักษา" โดยกล่าวถึง การรักษาที่ต้องเร็ว ถึงแม้ว่าผู้ป่วย 90% หายได้ด้วยการดูแลตัวเอง แต่การที่ผู้ป่วยต้องอยู่บ้านเป็น Home Isolation มากขึ้น ยังจำเป็นต้องดำเนินการคู่กับหมอทางไกล Telehealth และต้องเข้าถึงยาโดยเร็ว หากคนไข้ได้ปรึกษาอาการกับหมอ มีหมอออนไลน์ จะมีกำลังใจ นอกจากนี้นายธนินท์ได้ย้ำว่าเรื่องการเข้าถึงยามีความสำคัญอย่างมาก อย่ารอให้คนไข้มีอาการหนัก และควรกระจายยาอย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอน ยุคนี้ต้องเร็วและมีคุณภาพ

สำหรับเครือซีพี คงช่วยได้บ้างในเรื่องการปลูกฟ้าทะลายโจรในโครงการ ปันปลูก ฟ้าทะลายโจร แจกฟรี 30 ล้านเม็ด ในพื้นที่ 100 ไร่ ใน 100 วัน เราจะปลูกเพื่อแจกจ่ายฟรี เพราะตอนนี้ฟ้าทะลายโจรขนาดตลาดมาก เป็นเพียงเข้าไปเสริมในตลาด ทำให้ผู้ประกอบการเดิมไม่กระทบ ดังนั้น เราเป็นการเติมซัพพลาย เข้าไปลดความขาดแคลนเท่านั้น โดยเป็นการแจกฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแน่นอน โดยจะปลูกโดยควบคุมเป็นแบบปลอดสารพิษทั้งหมด และจะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกร ชาวบ้าน โดยมีอิสระในการปลูก การขาย และขยายผล โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี้ การบริโภคฟ้าทะลายโจร ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของสาธารสุข

ประเด็นที่ 4 คือ "อนาคต" ซึ่งนายนินท์ ชี้ประเด็นประเทศไทยเสี่ยงถดถอย หากภาครัฐไม่มีมาตรการรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ปัจจุบัน ธุรกิจขนาดจิ๋ว เล็ก กลาง ใหญ่ ล้วนได้รับผลกระทบ และหากต้องล้มหาย ตายจากไป หลังพ้นวิกฤต บริษัทที่จะจ่ายภาษีให้ประเทศได้จะมีจำนวนลดน้อยลง และเครื่องจักรเศรษฐกิจ เช่น ท่องเที่ยว ส่งออก จะใช้เวลาฟื้นตัวช้า หากมีการปิดกิจการไปแล้ว ดังนั้น ต้องดูแลให้ธุรกิจทุกระดับอยู่รอด และ ปรับตัวสู่ธุรกิจอนาคต โดยเฉพาะ ธุรกิจ 4.0 และที่สำคัญต้องเตรียมพร้อมเรื่องคน วันนี้ประเทศไทยแข่งเรื่องแรงงานราคาถูก กับประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้แล้ว เพราะเรายังต้องใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน

ดังนั้น ไทย ต้องขยับไปสู่ธุรกิจไฮเทค แต่ก็ตามมาเรื่องคน คนเราพร้อมหรือไม่ รัฐบาลพูดไป แต่ยังขับเคลื่อนได้ช้า เราต้องออกไปเชิญชวนการลงทุน มาเพื่อสร้างงานในประเทศไทย ดึงดูดนักลงทุน ให้มาลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศไทย ไม่ใช่ไปประเทศเพื่อนบ้าน ทุกบริษัทระดับโลกด้านไฮเทค ล้วนเนื้อหอม ทุกประเทศอยากดึงบริษัทเหล่านี้ไปลงทุนในประเทศกันทั้งนั้น 

แล้วประเทศไทย จะมีมาตรการเชิงรุกอะไร ในการไปดึงบริษัทเหล่านี้เข้ามา ดึงคนเก่งทั่วโลก มาอยู่เมืองไทย มาใช้จ่ายที่ประเทศไทย มาจ่ายภาษีให้ประเทศไทย เหมือนเช่นอเมริกา ดึงคนยุโรป จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ไปอยู่อเมริกา หรือ คนสิงค์โปร์มีประชากรครึ่งหนึ่ง เป็นคนจากต่างประเทศที่เข้าไปลงทุน เศรษฐกิจใหม่ ก็จะเกิดขึ้น แต่ที่พูดมาทั้งหมด ต้องทำควบคู่กันทั้งหมด ยามมืดสุด ต้องคิดว่า เมื่อสว่างแล้ว ประเทศจะเป็นอย่างไร

 

ดังนั้น ทั้ง 4 ประเด็น ตั้งแต่ปากท้องที่ต้องดูแล ป้องกันโดยการหาวัคซีนให้มากและเร็วที่สุด หากเอกชนจะช่วยนำเข้า รัฐควรรีบสนับสนุน วัคซีนยี่ห้อไหนดี ต้องพยายามนำเข้ามาทั้งหมด การรักษาที่ต้องรวดเร็ว ต้องเข้าถึงยา อย่าปล่อยให้หนัก และสุดท้ายคือ ต้องมองเรื่องอนาคตควบคู่ ทั้ง 4 เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ต้องทำพร้อมกัน ในยามวิกฤต จะใช้ขั้นตอนแบบเดิมไม่ได้ ต้องรวดเร็วและมีคุณภาพ

นายธนินท์ ทิ้งท้ายว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตครั้งนี้คือ ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว หากใครไม่สามารถปรับตัวได้ก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้ ไม่ว่าบริษัทจะใหญ่หรือเล็ก ประเทศใดปรับตัวได้จะเป็นผู้นำใหม่ ประเทศที่เคยเป็นผู้นำ หากปรับตัวไม่ได้ ก็จะกลายเป็นผู้ตาม และนี่แหละ คือ สงครามโลก(โรค) ครั้งที่ 3 ที่ทุกหย่อมหญ้า ได้รับผลกระทบอย่างเท่าเทียม
#3725


นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ผลดำเนินงาน 1 ปี "ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs" หรือ บสย. F.A. Center ประสบผลสำเร็จเกินความคาดหมาย ให้คำปรึกษาช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่กำลังประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ จากสถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังขาดเงินทุนหมุนเวียน ต้องการสินเชื่อ มีปัญหาหนี้ ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ และพัฒนาธุรกิจ ให้สามารถยืนต่อได้ จำนวน 1,133 ราย (ณ 31 ก.ค. 2564) ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการขอสินเชื่อ จำนวน 782 ราย ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ธุรกิจ จำนวน 200 ราย และต้องการปรับปรุงธุรกิจ จำนวน 151 ราย



ปัจจัยความสำเร็จของศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs มาจากกลยุทธ์ คิดนอกกรอบ ยกระดับการบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจาก "นายประกันสู่ ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs" ที่มองเห็นปัญหาร่วมกัน ผสานนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ด้วย Business Model ที่ต่างไปจากเดิม โดย บสย. ได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน อดีตผู้บริหารระดับสูง ที่มีประสบการณ์จากสถาบันการเงินชั้นนำ คร่ำหวอดด้านการวิเคราะห์ธุรกิจผู้ขอสินเชื่อ การจัดทำบัญชีวิเคราะห์สินเชื่อ การวางแผนการเงิน บริหารสภาพคล่อง การบริหารจัดการหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมดีไซน์ รูปแบบการให้คำปรึกษาธุรกิจแบบเชิงลึก แบบเฉพาะตัว เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่กำลังประสบปัญหากู้ยาก ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ แก้โจทย์ธุรกิจ ปัญหาขาดสภาพคล่อง ได้เข้าใจปัญหาที่แท้จริงและนำไปปรับปรุง วางแผนและพัฒนาธุรกิจของตนเองต่อไปได้ โดยศูนย์แห่งนี้ยังได้เปิดหลักสูตรอบรมด้านการเงินและธุรกิจ ที่เหมาะกับธุรกิจทุกขนาดทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ มากกว่า 50 หลักสูตร อาทิ ด้านธุรกิจ กฎหมาย การเงิน บัญชี การเตรียมตัวกู้เงิน ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ผ่านวิกฤต อย่างมั่นใจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs เป็นที่ยอมรับจากผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้ารับคำปรึกษาว่าสามารถช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ นอกจากนี้ยังเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานพันธมิตร หน่วยงานด้านกำกับดูแล ที่เกี่ยวข้องกับ SMEs และคณะผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าศึกษาดูงาน ในฐานะศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน SMEs แบบองค์รวม เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ด้านการให้คำปรึกษาทางการเงิน ช่วยผู้ประกอบการแก้หนี้ได้จริง ทั้งนี้ ได้เตรียมยกระดับการให้บริการ "ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs" โดยผนึกความร่วมมือครั้งสำคัญกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อร่วมให้คำปรึกษาแก้หนี้ เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs รอดพ้นจากวิกฤตโควิด-19 ให้มากที่สุด

ผู้ประกอบธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาหนี้ สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับคำปรึกษาฟรีกับ "บสย. F.A. Center" ที่ บสย. Call Center 0 2890 9999 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. หรือติดต่อได้ที่สำนักงานเขต บสย. ทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ หรือติดตามกิจกรรมการจัดหลักสูตรอบรมได้ที่หมอหนี้ บสย. ที่ Line @doctor.tcg และ www.facebook.com/tcg.or.th
#3726
ใครที่ตอนนี้ได้รับผลกระทบจากโควิด ตกงาน ปิดกิจการ รายได้ลดลง หนี้สินท่วมตัว เงินไม่พอใช้

อยากมาศึกษาออนไลน์ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร กลัวเจ๊ง คอร์สนี้มีคำตอบ

ออนไลน์ ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือ "ทางรอด"

คอร์สออนไลน์  6 วัน 6 วิชา        
- 6 เสาหลักสร้างเพจปัง       
- ยิงแอด facebook ให้ได้ผล        
- แต่งภาพสวยง่าย ๆ จากมือถือ         
- การตลาดบน Tik Tok ให้มีคนติดตามหลักแสน       
- เปิดร้านบนไอจี Instragram
- เคล็ดลับแม่ค้าออนไลน์ร้อยล้าน

สอนแบบจับมือทำ ตั้งแต่พื้นฐาน จนเป็นมืออาชีพ
สอนจากประสบการณ์จริง โดยอาจารย์ที่มีรายได้กว่า 100 ล้านบนโลกออนไลน์
สอนสด ผ่านแอปซูม เรียนได้จากที่บ้าน

เวลาเรียน 19.00 - 22.30

ปรกติคอร์สนี้ราคา 9,800.-
พิเศษ !!!  เฉพาะช่วงโควิด ปรับโปรช่วยชาติ เหลือเพียง 98 บาท!!!
ย้ำ !!! รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่าน ที่จัดสรรเวลาได้ !!!

คลิ๊กดูรายละเอียดคอร์ส
https://drive.google.com/file/d/1fZIP-BhrqgnSHAb-4HZezzgtKL9qKHFR/view?usp=drivesdk

สนใจ สามารถแอดไลน์สอบถามที่ @049dhubr หรือลิงค์ไลน์
https://lin.ee/4zIaPti

หรือโทร 098-378-1371, 098-378-1373

***เรียนไม่คุ้ม คืนเงินทันที ***

#3727
ใครที่ตอนนี้ได้รับผลกระทบจากโควิด ตกงาน ปิดกิจการ รายได้ลดลง หนี้สินท่วมตัว เงินไม่พอใช้

อยากมาศึกษาออนไลน์ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร กลัวเจ๊ง คอร์สนี้มีคำตอบ

ออนไลน์ ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือ "ทางรอด"

คอร์สออนไลน์  6 วัน 6 วิชา        
- 6 เสาหลักสร้างเพจปัง       
- ยิงแอด facebook ให้ได้ผล        
- แต่งภาพสวยง่าย ๆ จากมือถือ         
- การตลาดบน Tik Tok ให้มีคนติดตามหลักแสน       
- เปิดร้านบนไอจี Instragram
- เคล็ดลับแม่ค้าออนไลน์ร้อยล้าน

สอนแบบจับมือทำ ตั้งแต่พื้นฐาน จนเป็นมืออาชีพ
สอนจากประสบการณ์จริง โดยอาจารย์ที่มีรายได้กว่า 100 ล้านบนโลกออนไลน์
สอนสด ผ่านแอปซูม เรียนได้จากที่บ้าน

เวลาเรียน 19.00 - 22.30

ปรกติคอร์สนี้ราคา 9,800.-
พิเศษ !!!  เฉพาะช่วงโควิด ปรับโปรช่วยชาติ เหลือเพียง 98 บาท!!!
ย้ำ !!! รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่าน ที่จัดสรรเวลาได้ !!!

คลิ๊กดูรายละเอียดคอร์ส
https://drive.google.com/file/d/1fZIP-BhrqgnSHAb-4HZezzgtKL9qKHFR/view?usp=drivesdk

สนใจ สามารถแอดไลน์สอบถามที่ @049dhubr หรือลิงค์ไลน์
https://lin.ee/4zIaPti

หรือโทร 098-378-1371, 098-378-1373

***เรียนไม่คุ้ม คืนเงินทันที ***
#3728


อย่างที่รู้กันอยู่ว่าทุกวันนี้การสำรวจเรตติ้งในประเทศเรานั้น ที่ได้ยินกันบ่อยๆ และมักจะเอามาอ้างอิงในศึกชิงความเป็นหนึ่งในสมรภูมิหน้าจอทีวีนั้น มักจะอ้างอิงตัวเลขมาจาก "นีลเส็น (Nielsen)" บริษัทวัดเรตติ้งเพื่อการตลาด ซึ่งตัวเลขเหล่านั้นก็จะส่งผลให้เอเจนซี่สามารถนำไปตัดสินใจว่าจะเทเม็ดเงินโฆษณานั้นลงไปให้กับช่องใดบ้าง เพราะถ้าพูดถึงว่าเรตติ้งดีเท่าไหร่ งบโฆษณาในแต่ละไตรมาสก็จะเทมามากเท่านั้น จึงไม่แปลกใจว่าทำไมช่อง 7HD ถึงยืนหนึ่งในเรื่องเรตติ้ง

แต่หลังจากพฤติกรรมคนดูในบ้านเราได้เปลี่ยนไป แม้ทีวีจะยังเป็นสื่อหลักในการเข้าถึงทุกบ้าน แต่ "สื่อออนไลน์" ก็เติบโตแบบก้าวกระโดดเช่นกัน เลยทำให้ผู้ชมบางส่วนดูผ่านออนไลน์ตามแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งก็มีให้เลือกสรรตามความชอบและความพึ่งพอใจของแต่ละบุคคล จึงทำให้หลายช่องก่อนหน้านี้ ลงทุนให้ "นีสเส็น" จัดตั้งโครงการวัดเรตติ้งทางออนไลน์ซึ่งไม่รวมกับการวัดเรตติ้งจากจอทีวี โดยเริ่มตั้งแต่ต้นปี 60 ซึ่งมีทีวีดิจิตอลช่องต่างๆ เข้าร่วมอาทิ ช่อง 7, เวิร์คพอยท์ ทีวี, ไทยรัฐทีวี, ช่อง 3

ล่าสุด "สมาคมทีวีดิจิตอล" ได้ยื่นเสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณ 288.8 ล้านบาท จาก กสทช.ก็ผ่านการพิจารณาอนุมัติและเซ็นสัญญาบันทึกความเข้าใจร่วมกันแล้ว โดยมี "นีลเส็น (Nielsen)" เป็นผู้รับจ้างสมาคมฯ ทำการสำรวจแบบข้ามแพลตฟอร์ม (Cross Platform) เพื่อให้ได้ผลความนิยมทั้งจากการรับชมแบบเดิมผ่านหน้าจอทีวีและการรับชมแบบใหม่ผ่านจอออนไลน์ ในกรอบระยะเวลา 4 ปี โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป และแปลตามความเข้าใจแบบชาวบ้านง่ายๆ คือครั้งนี้จะเป็นการวัดเรตติ้งจากแพลตฟอร์มที่เป็นออนไลน์เกือบทั้งหมด เพราะนอกจากจะวัดผลจากหน้าจอทีวีแล้ว ในส่วนของหน้าจอออนไลน์ที่ออกอากาศแบบ streaming สดพร้อมกัน (ไม่นับการดูย้อนหลังแบบ VOD video on demand ) เพื่อรายงานผลเรตติ้งแบบ total rating เป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการอีกด้วย โดยในครั้งนี้จะเป็นการวัดทุกช่อง ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งจะทำไปพร้อมๆ กันทั้งอุตสาหกรรมทีวีบ้านเรา

โดย "สุภาพ คลี่ขจาย" นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล(ประเทศไทย) ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของโครงการนี้ว่า "เป็นโครงการที่สมาคมฯ ผลักดันอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่าสองปี นับตั้งแต่มีประกาศตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2562 (ม.44) ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของผลการสำรวจความนิยมของผู้ชมเป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาคุณภาพรายการของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลซึ่งเป็นสื่อหลักของชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมที่เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้ชมทั้งผ่านจอทีวีและจอออนไลน์ โดยโจทย์สำคัญคือ จะทำอย่างไร ? ให้เกิดความน่าเชื่อถือ แม่นยำ และสามารถตรวจสอบความโปร่งใสในที่มาของกลุ่มตัวอย่างและระเบียบวิธีวิจัยในมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปพัฒนารูปแบบรายการ และมีเดียเอเจนซีผู้นำไปใช้ประโยชน์วางแผนในการซื้อสื่อโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งสาระสำคัญในการสำรวจความนิยมโทรทัศน์แบบใหม่นี้ จะขยายหน่วยตัวอย่างที่ใช้เป็นพื้นฐานพัฒนาเรตติ้งรายการ จากเดิม 9,000 ตัวอย่าง เป็น 13,000 ตัวอย่าง ควบคู่กับการพัฒนาโปรแกรมการสำรวจ (Software) ระบบใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การวัดความนิยมของรายการโทรทัศน์แบบข้ามแพลตฟอร์ม (Cross Platform) ทั้งจากหน้าจอทีวีภาคพื้นดินและหน้าจอของแพลตฟอร์มออนไลน์ การสำรวจความนิยมรายการโทรทัศน์แบบข้ามแพลตฟอร์มนี้ เป็นเทคโนโลยีระบบการวิจัยล่าสุดที่ นีลเส็น ได้พัฒนาและเริ่มใช้แล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก ล่าสุดได้ทำการติดตั้งระบบที่ประเทศเดนมาร์ก และซาอุดิอาระเบีย ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะใช้ระบบการวัดทีวีเรตติ้งแบบใหม่นี้"

และการวัดเรตติ้งในครั้งนี้ทั้งทางหน้าจอทีวี และทางแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างนั้นๆ จะถือได้ว่าเป็นทางการ โดยตัวเลขที่ได้มานอกจากจะการันตีให้รายการในช่องต่างๆ แล้ว แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้เอเจนซี่ใช้ไปประกอบการตัดสินใจในการซื้อโฆษณา โดยอาจจะซื้อโฆษณาแบบเป็นแพ็กเกจพร้อมกันทั้งหน้าจอทีวี แพลตฟอร์มออนไลน์ นี่ก็ถือได้ว่าจะทำให้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมทีวีบ้านเราเติบโตคักคักอีกครั้ง หลังจากต้องเผชิญปัญหาโควิดอยู่ ณ ตอนนี้
#3729


วันนี้ (14 ส.ค.) ที่สถานีตำรวจภูธรบ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น นางสาวพัชรี ปราบชัย หรือ "ใหม่ พัชรี ไชยเลิศ" และนางสาวลักษิกา เคนหาราช ผู้จัดการส่วนตัว นำหลักฐานเป็นข้อความในเพจเฟซบุ๊ก และ ทาง เฟซบุ๊กส่วนตัวของใหม่ พัชรี เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านเป็ด หลังจากมีแฟนคลับที่ใช้เฟซบุ๊กชื่อ เต้ย ชัยวิชา เข้ามาก่อกวน ทางโทรศัพท์ และข้อความแชตเฟซบุ๊ก ในลักษณะชื่นชอบผลงานการแสดง

จากนั้นกว่า 1 เดือน แฟนคลับคนดังกล่าวได้มาก่อกวนตลอด ทั้งโทรมาที่เบอร์ส่วนตัวของผู้จัดการ และตัวศิลปิน ซึ่งเป็นเบอร์ที่ใช้ติดต่องานในลักษณะชื่นชอบเป็นพิเศษ แต่มีการแสดงความไม่พอใจในขณะที่ศิลปินจะวางสาย ซึ่งอาการช่วงที่โทรมา มีลักษณะคล้ายกับอาการเมาสุราพูดจาวกไปวนมาไม่รู้เรื่อง จึงเป็นเหตุผลต้องแจ้งความ เกรงจะได้รับอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สิน ซึ่งแฟนคลับคนดังกล่าวรู้บ้านพักของศิลปินเป็นอย่างดี


นางสาวพัชรี ปราบชัย หรือใหม่ พัชรีไชยเลิศ กล่าวว่า ที่ตนมาแจ้งความวันนี้เพื่อต้องการปกป้องตัวเองเพราะในฐานะศิลปินสร้างความสุข รอยยิ้มและความบันเทิงต่อสาธารณชน แต่ถูกคุกคามความเป็นส่วนตัวมากเกินไป ต่างจากแฟนคลับคนอื่นๆ ทั้งยังข่มขู่ในลักษณะไม่พอใจที่ศิลปินปฏิเสธที่จะรับสายหรือคุยด้วย ตนกลัวเหตุการณ์จะรุนแรงขึ้นมากกว่านี้ถึงขั้นบุกรุกมายังบ้านพัก เพราะแฟนคลับคนดังกล่าวเป็นคนละแวกนี้และรู้จักบ้านศิลปินดี

สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ทำให้งานแสดงถูกยกเลิก จึงได้ไลฟ์สดเล็กๆที่บ้านพัก มอบความสุขให้แฟนคลับผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อนำรายได้จากการจำหน่ายบัตรในกลุ่มปิด มาช่วยเหลือลูกน้องที่ตกงาน วอนผู้ไม่หวังดีและก่อกวน อย่าซ้ำเติมกัน นอกจากจะต้องมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในวงแล้ว ยังต้องคอยระวังเรื่องแบบนี้อีก

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านเป็ด ได้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน หากบุคคลดังกล่าวได้ประพฤติตนเช่นเดิมอีก ก็จะดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทันที
#3730


ปารีส แซงต์-แชร์กแมง ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม แม้จะมีเสียวเล็กน้อย เปิดบ้านไล่ทุบ สตราส์บวร์ก 4-2 โดยก่อนเกมเปิดตัว 5 นักเตะใหม่ มี ลิโอเนล เมสซี นำทัพ

ศึกฟุต.ลีกเอิง ฝรั่งเศส ฤดูกาล 2021/22 วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2564 "เปแอสเช" ปารีส แซงต์-แชร์กแมง ลงสนามนัดที่สอง เปิดรับพาร์ค เด แพรงส์ รับการมาเยือนของ สตราส์บวร์ก

"เปแอสเช" ของกุนซือเมาริซิโอ โปเช็ตติโน เกมที่แล้วบุกไปเอาชนะ ทรัวส์ มาแบบหืดจับ 2-1 ส่วนเกมนี้ ลิโอเนล เมสซี่ ซูเปอร์สตาร์ชาวอาร์เจนไตน์ เดินทางมาทักทายแฟน.ที่เข้ามาชมกันแบบเต็มความจุ แต่ยังไม่มีชื่อ โดย 11 คนแรก นำทัพโดย 3 ประสานแดนหน้า อย่าง คีเลียน เอ็มบัปเป, เมาโร อิคาร์ดี, ยูเลียน ดรักซ์เลอร์ ขณะที่ เนย์มาร์ ยังคงได้พัก และเซร์คิโอ รามอส ยังต้องพักฟื้นจากอาการบาดเจ็บ

ปรากฎว่า ปารีส แซงต์-แชร์กแมง ออกสตาร์ทกันอย่างคึกคัก มาทำ 3 ประตู ขึ้นนำ 3-0 จาก เมาโร อิคาร์ดี น.3, คีเลียน เอ็มบัปเป น.25 และยูเลียน ดรักซ์เลอร์ น.27 และจบ 45 นาทีแรกไปด้วยสกอร์นี้

ครึ่งหลัง เปแอสเช ยังเดินหน้าบุกอย่างต่อเนื่อง แต่กลายเป็น สตราส์บวร์ก ที่มาได้ประตูตีไข่แตกไล่มาเป็น 1-3 จากการยิงของ เควิน กาเมยโร ในนาทีที่ 53

น.64 สตราส์บวร์ก ก็มาได้ประตูตีตื้นมาอีกเป็น 2-3 จากจังหวะที่ ดิมิทรี ลีนาร์ด เปิดจากริมเส้นฝั่งซ้ายไปให้ ลูโดวิช อาชอร์ก

น.80 สถานการณ์ของทีมเยือน สตราส์บวร์ก ย่ำแย่ลง เมื่ออเล็กซานเดอร์ ดิคู ปราการหลังตัวเก่ง โดนใบเหลืองที่ 2 กลายเป็นใบแดงไล่ออกจากสนาม 

น.85 เปแอสเช อาศัยตัวผู้เล่นที่เหนือกว่า มาได้ประตูขยับห่างเป็น 4-2 จากจังหวะที่ คีเลียน เอ็มบัปเป ลากเลื้อยมาทางริมเส้นฝั่งซ้าย ก่อนตบเข้ากลางให้ พาโบล ซาราเบีย ยิงจ่อๆ ระยะ 4 หลาเข้าไปไม่พลาด 

ช่วงเวลาที่เหลือ เปแอสเช สามารถรักษาสกอร์เอาไว้ได้ และไม่มีใครทำประตูกันเพิ่ม หมดเวลาการแข่งขัน 90 นาที ปารีส แซงต์-แชร์กแมง เปิดบ้านเฉือนชนะ สตราส์บวร์ก 4-2 เก็บสามคะแนน 2 เกมติดต่อกัน

รายชื่อ 11 ตัวจริงของปารีส แซงต์-แชร์กแมง
เคย์เลอร์ นาบาส (GK), อาชราฟ ฮาคิมี, ธีโล เคห์เรอร์, เพรสเนล คิมเพมเบ, อับดู ดิยัลโล, อันเดร์ เอร์เรรา, เอริค ดีนา, จอร์จินโญ ไวจ์นัลดุม, ยูเลียน ดรักซ์เลอร์, คีเลียน เอ็มบัปเป, เมาโร อิคาร์ดี


ผลการแข่งขันลีกเอิง ฝรั่งเศส วันที่ 14 สิงหาคม 2564 คู่อื่นๆ 
ลีลล์ 0-4 นีซ 
#3731


ท่ามกลางความมืดมิดจากวิกฤตโควิด-19 ผู้คนล้มตายประชาชนสิ้นหวังในเข้าถึงระบบสาธารณสุข โดยเฉพะพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วยระบบราชการที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด โครงสร้างพื้นฐานสาธารณสุขของกรุงเทพฯ ที่อ่อนยวบ แต่แล้วแสงแห่งความหวังได้ปะทุขึ้นเมื่อ "ชมรมแพทย์ชนบท"เปิดยุทธการ "แพทย์ชนบทบุกกรุง" จัดทัพกู้ภัยโควิด กทม.

โดยแม่ทัพใหญ่ "นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ"ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา หมอของขวัญในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท นำทีมลงพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อปฏิบัติการตรวจเชิงรุก ปักหมุดหมาย "ชุมชนแออัด" ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดรุนแรง ตั้งเป้าหาผู้ติดเชื้อให้มากที่สุด เจอให้เร็วรักษาให้เร็ว พร้อมจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ นำเข้าระบบ Home isolation ตั้งเป้าลดอัตราป่วยหนัก-เสียชีวิต อันเนื่องจากการเข้าไม่ถึงยาและโรงพยาบาล สร้างโมเดลต้นแบบต่อสู้โควิด-19 ทลายข้อจำกัดระบบราชการ มุ่งหวังให้ทุกพื้นที่สามารถนำไปปรับใช้ได้

สำหรับปฏิบัติการ "แพทย์ชนบทบุกกรุง" สำเร็จลุงล่วง ได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายประชาชนทีมโควิดชุมชน (Com-Covid) ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญ ดำเนินการต่อเนื่องครั้งล่าสุดครั้งที่ 3 ระดมบุคลากรสาธารณสุขในต่างจังหวัดกว่า 400 คน แบ่งทีมย่อยลุยแผนดาวกระจายทั่วกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4-10 ส.ค. 2564 รวมพื้นที่ดำเนินแล้ว 196 จุดตรวจ รวม 369 ชุมชน ตรวจเชิงรุกประชาชน 141,516 ราย พบผลติดเชื้อสะสมจำนวน 15,588 ราย (ร้อยละ 11)

ถอดบทเรียนปฏิบัติ "แพทย์ชนบทบุกกรุง" พูดคุยกับแม่ทัพใหญ่ "นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ" ภายใต้แรงกดดันสถานการณ์โรคระบาด ผู้คนเผชิญกับความทุกข์ยาก ระบบสาธารณสุขที่ใกล้ล่มสลาย ระบบราชการที่เป็นอุปสรรคในการสู้รบกับโควิด แพทย์ชนบทได้จุดไฟแห่งความหวังให้ประชาชน เสมือนเข็มทิศนำทางให้รัฐปรับยุทธศาสตร์แก้วิกฤตโควิด-19

- ทำไมชมรมแพทย์ชนบทเลือกพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งที่จังหวัดอื่นๆ เกิดการแพร่ระบาดรุนแรงไม่ต่างกัน
จังหวัดอื่นแม้เกิดการระบาดหนัก แต่ว่าปรากฎการณ์ตายคาบ้านแทบไม่มี ไม่เหมือนในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ต่างจังหวัดผู้ป่วยมาเสียชีวิตที่โรงพยาบาล สถานการณ์ในโรงพยาบาลต่างจังหวัดหากป่วยอย่างไรก็สามารรับได้ คนต่างจังหวัดหากสงสัยว่าติดเชื้อโควิด โรงพยาบาลยังสามารถตรวจได้ เพราะประชากรน้อยโรงพยาบาลจึงสามารถจัดการได้ แต่ว่ากรุงเทพฯ จุดตรวจโควิดแทบจะหาไม่ได้ ความสูญเสียชีวิตที่บ้านเห็นชัดเจนมาก

การลงพื้นที่กรุงเทพฯ ของแพทย์ชนบท เป้าหมายคือค้นหาผู้ติดเชื้อให้มาก เจอให้เร็ว รักษาจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์เร็ว นำเข้าระบบ home isolation จะได้ลดอัตราป่วยหนักที่ต้องการเตียงโรงพยาบาล และลดอัตราการเสียชีวิตอันเนื่องจากการเข้าไม่ถึงยาหรือเข้าไม่ถึงโรงพยาบาล ถึงแม้ลดอัตราการติดเชื้อไม่ได้โดยง่าย แต่หวังว่าจะลดอัตราเตียงล้นโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ และลดอัตราตายลงได้บ้าง

การตรวจเชิงรุกในกรุงเทพฯ เราใช้ Rapid Antigen Test ที่มีคุณภาพสูง ยี่ห้อที่องค์การอนามัยโลกรับรอง เป็นยี่ห้อที่ใช้ในโรงพยาบาลมาตรวจ ซึ่งประเด็นนี้มีความน่าสนใจเพราะองค์การเภสัชฯ ทำการจัดซื้อ Rapid Antigen Test แต่ได้ยี่ห้อที่มีปัญหา ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก เพราะการตรวจสามารถรู้ผลได้เลย ความแม่นยำจึงมีความจำเป็น มิเช่นนั้น ต้องไปเสียเวลาตรวจซ้ำ RT-PCR ซึ่งเสียเวลาเสียทรัพยากรด้วย

สรุปผลการลงพื้นที่กรุงเทพฯ ครั้งแรก ระหว่าง 14 - 16 ก.ค. 2564 ครั้งที่ 2 ระหว่าง 21 - 23 ก.ค. 2564 และครั้งที่ 3 ระหว่าง 4– 10 ส.ค. 2564 สรุปผลพื้นที่ดำเนินการสะสม 196 จุดตรวจ รวม 369 ชุมชน มีประชาชนรับบริการสะสมจำนวน 141,516 ราย ผลติดเชื้อสะสมจำนวน 15,588 ราย ผลการตรวจผู้ป่วยทั้งหมดแบ่งเป็นผู้ป่วยระดับสีเขียว 10,838 ราย ระดับสีเหลือง 4,427 ราย และระดับสีแดง 323 ราย แจกยาฟ้าทะลายโจร จำนวน 3,509 ราย และแจกยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 8,939 ราย และให้บริการวัคซีนสะสม จำนวน 7,412 ราย



-ปัญหาที่พบหลังจากทีมแพทย์ชนบทลงพื้นที่ตรวจเชิงรุกบริเวณชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ
แพทย์ชนบทเข้าไปในชุมชนแออัดชัดเจนว่าเป็นกลุ่มคนจน พวกเขาเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ แม้กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยโรงพยาบาล คลีนิคเอกชน เต็มไปศูนย์บริการสาธารณสุขต่างๆ แต่พวกเขาเข้าไม่ถึงบริการเหล่านี้ ซึ่งการล็อกดาวน์เศรษฐกิจฟุบยาวนาน ทำให้เขาแทบจะไม่มีรายได้ ชีวิตยากลำบาก อยากจะตรวจโควิดก็ไม่มีที่ให้ตรวจ ป่วยแล้วก็ไม่รู้จะไปไหน โทร. 1669, 1330 แจ้งไปก็ไม่มีใครมารับ พอติดโควิดอยู่บ้านหลังเล็กแคบอยู่กันแออัด ติดในครอบครัว ติดเพื่อนบ้าน ลามติดกันทั้งชุมชน ยกตัวอย่าง ชุมชนริมคลองสามเสน ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด 200 คน คือตัวเลขที่มีการตรวจก่อนแพทย์ชนบทจะเข้าไป ดังนั้น เราคาดการณ์ได้เลยว่าชุมชนนี้แพร่กระจายเชื้อติดกันไปมากกว่า 1,000 แล้ว จากประสบการณ์ทำให้รู้ว่า หากมี 1 คนติดเชื้อ จะมีอีก 5 คนที่ติดเชื้อ อาจจะไม่แสดงอาการ มีอาการเล็กน้อย เพราะการที่ไม่ได้รับตรวจหาเชื้อ ไม่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อแล้ว ทำให้มีการระบาดกว้างขวางมากโดยเฉพาะในชุมชนแอดอัด

-หลังจากแพทย์ชนบทสร้างโมเดลต้นแบบปฎิบัติการเชิงรุกต่อสู้โควิด-19 กู้วิกฤตโรคระบาด เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการบริการสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพฯ บ้างหรือไม่
เราเห็นสัญญาณที่ดีอยู่บ้าง พื้นที่กรุเทพฯ มีการเปิดตรวจจุดเคลื่อนที่เร็ววันละ 5 - 6 จุดเพิ่มขึ้นมาจากเดิม 500-1,000 คน หรืออย่างหน่วยทหารได้เปิดจุดตรวจในค่ายทหารก็เป็นมีสัญญาณที่ดี มีความพยายามในการเพิ่มจุดตรวจมากขึ้น แต่สิ่งที่เราเสนอมากกว่าเปิดจุดตรวจจากประสบการณ์ตั้งแต่เรามาครั้งที่ 1 คาดหวังให้เปิดจุดตรวจโควิด Rapid Antigen Test มากขึ้น แต่เราพบปัญหาว่าหลังรู้ผลติดเชื้อ ผู้ป่วยหาโรงพยาบาลไม่ได้ไม่มียา สุดท้ายก็เสียชีวิตที่บ้านให้เห็นเป็นจำนวนมาก

ครั้งที่ 3 แพทย์ชนบทมาด้วยชุดโมเดลที่สมบูรณ์ขึ้น ตรวจเสร็จแล้วจ่ายยาเลย เราได้รับการสนับสนุนฟาวิพิราเวียร์จากกระทรวงสาธารณสุข เราตรวจแล้วก็จ่ายยาเลยสำหรับคนที่อยู่ในเกณฑ์ เช่น ผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว มีอาการ ซึ่งจริงๆ เราอยากให้จุดตรวจจุดอื่นจ่ายฟาวิพิราเวียร์ เพราะว่าถ้าผู้ติดเชื้อกลับไปอาจจะไม่ได้กลับมาอีกเลยถ้าเขาไม่ได้กินยา

ความยากคือจุดตรวจเหล่านั้นจะเอาฟาวิพิราเวียร์จากไหน เพราะว่าระบบการกระจายยายังเป็นปัญหา การนำเข้าน้อย องค์การเภสัชฯ ผลิตได้ไม่เพียง หรือถึงจะเพียงพอ แต่โจทย์คือจะกระจายยาอย่างไรให้ไปถึงประชาชนที่เป็นโควิด การพึ่งเพียงแต่โรงพยาบาลพึ่งการไปหาหมอที่โรงพยาบาลเป็นไปไม่ได้ ประชาชนเข้าไม่ถึง เรื่องการกระจายยาเป็นโจทย์ยากที่รอการจัดการ ซึ่งจริงๆ ไม่ยากหรอกครับ แค่ทำให้นโยบายเปิด เพราะปัจจุบันยังไม่เปิดเท่าที่ควร ฟาวิพิราเวียร์ยังเป็นยาเทวดาอยู่ คนยากคนจนเข้าไม่ถึง

ณ วันนี้ คนรวยติดโควิดเข้าถึงการรักษาไม่ยากครับ โรงพยาบาลเอกชนยินดีรับ โรงพยาบาลเอกชนยังมีเตียงว่างอยู่พอสมควรไม่ใช่ว่าไม่มีเตียง แต่ว่าเขาเก็บเตียงไว้สำหรับคนที่มีความสามารถในการจ่าย หรือมีประกันชีวิต การเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนต้องมีเงินไม่ต่ำกว่า 2 – 3 แสน นอน 14 วัน เป็นอย่างต่ำ

ส่วนคนจนรอเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลของรัฐซึ่งเตียงมันเต็มหมดแล้ว ต้องลุ้นเอาว่าเป็นหนักมั้ย ถ้าเป็นหนักก็อาจจะไม่รอด แม้ว่าเข้าถึงการรักษาเข้าโรงพยาบาลสนามยังอาจไม่รอดเลย ดังนั้น เราต้องกลับมาตั้งหลักใหม่ดูแลประชาชนดีๆ ตรวจเชื้อให้มากที่สุด ให้เขาเข้าถึงยาเร็วที่สุด อัตราเสียชีวิตจะลดลงต้องได้ยาฟาวิพิราเวียร์ตั้งแรกไม่ใช่ว่าอาการหนักแล้วถึงจะได้ยา ถ้าอาการหนักแล้วได้รับยาก็ไม่ทัน การที่เขาได้ยาฟาวิพิราเวียร์เร็วมีความหมายมากต่อการรอดชีวิต ประเด็นสำคัญฟาวิพิราเวียร์จะได้เร็วก็ต่อเมื่อได้ตรวจเร็ว รู้ผลเร็วตั้งแต่ยังมีอาการน้อย เพราะหลายคนไปตรวจตอนที่อาการหนักแล้ว หอบแล้ว เหนื่อยแล้ว เดินไม่ไหวแล้ว ไปตรวจตอนนั้นกว่าจะตรวจกว่าจะรู้ผลกว่าจะได้ยาก็ช้าไปแล้วดังนั้น การตรวจเชิงรุกในชุมชนมีประโยชน์มาก ทำให้รู้ตัวเร็วว่าติดเชื้อแล้วได้รับยาเร็วมีโอกาสรอดสูง



-ในส่วนของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากการตรวจเชิงรุกของทีมแพทย์ชนบท มีแนวทางดูแลรักษาอย่างไรต่อ
ทุกคนที่ตรวจโพสิทีฟพบว่าติดเชื้อ เราจะให้เขาสแกนคิวอาร์โค้ดเข้าสู่ระบบ หนึ่ง-เข้าสู่ Home Isolation ของ สปสช. สำหรับอาการไม่รุนแรง เราจะลงข้อมูลให้ประชาชนเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง จากนั้นโรงพยาบาลต่างๆ ก็จะมาช้อนมารับตัวของเขาไปดูแลในระบบ Home Isolation ซึ่งรัฐให้ค่าใช้จ่ายต่อโรงพยบาลที่ดูแลผู้ป่วย 1000 บาทต่อวันต่อคน ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สูง แต่ปรากฎว่าหลายหมื่นนคนก็ยังค้างอยู่ในระบบ ไม่มีโรงพยาบาลไหนรับการดูแลยังล่องลอยอยู่ในฐานข้อมูล เป็นสถานการณ์ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

สอง-เข้าสู่ Community Isolation หรือศูนย์พักคอย กทม. ซึ่งพื้นที่ที่ศูนย์พักคอยประชาชนก็มีโอกาสเข้าถึงระบบสาธารณสุขมากขึ้น แต่ว่าศูนย์พักคอยที่ กทม. มีน้อยมาก และสามหากอาการหนักส่งตัวเข้าโรงพยาบาล ซึ่งยิ่งยากเพราะอย่างที่ทราบกันว่าโรงพยาบาลแต็ม แต่ก็มีความพยายามช่วยกันเยอะ จำนวนหนึ่งได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาล แต่ไม่ได้เข้าทุกคน จำนวนมากต้องยอมกักตัวที่บ้านไปก่อน

-วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ สะท้อนความล้มเหลวของโครงสร้างพื้นฐานด้านบริการสุขภาพที่ต้องรอการปฏิรูป
มองภาพเปรียบเทียบกับต่างจังหวัด ในต่างจังหวัดระดับตำบลมีสถานีอนามัยดูแลประชาชนประมาณ 2,000 -5,000 คน มีเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ 5-10 คน ทุกอำเภอมี 1 โรงพยาบาลอำเภอ ดูแลประชาชน 30,000 คน 50,000 คน 100,000 คน แตกต่างกันไป อย่างโรงพยาบาลจะนะดูแล 100,000 คน มีบุคลากร 300 คน ในขณะที่ กทม. แขวงเทียบเท่ากับตำบลดูแลคน 5,000 คน แต่ตัวเลขจริงมากกว่านั้นเป็นหมื่นเพราะมีประชากรแฝงด้วย แขวงไม่มีสถานีอนามัย ไม่มีศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม. ทุกคนพึ่งพาคลินิกส่วนตัว ร้านขายยา

โครงสร้างสาธารณสุข กทม. มีแค่ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ซึ่งรับผิดชอบระดับเขต มี 50 เขต 65 ศูนย์ บางเขตมี 2 ศูนย์ ซึ่งบุคลากรน้อยมาก แต่ละเขตมีโรงพยาบาลไม่กี่แห่ง มีโรงพยาบาลไม่ครบทุกเขต เขตนึงดูแลคนเป็นแสนๆ แต่ไม่มีโรงพยาบาล หลายเขตพึ่งพาโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย หรืออย่างโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลภูมิพล ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลของ กทม. การเจ็บป่วยไม่ได้มีเรื่องของการป้องกัน เรื่องโครงสร้างการดูแลปฐมภูมิ เรื่องของการควบคุมโรค การดูแลรักษาผู้ป่วยเชิงลึก โครงสร้างพื้นฐานของ กทม. ระบบบริการสุขภาพที่ผ่านมามีการลงทุนน้อยมาก มีการพัฒนาระบบน้อยมาก

โควิดทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า บ้านนอกอย่างน้อยเจ็บป่วยก็มีอนามัยดูแล สงสัยป่วยโควิดก็ได้ตรวจ swab ตรวจแล้วผลเป็นลบอีก 7 วันนัดมาตรวจใหม่ ต่างจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน กทม. โดยสิ้นเชิง ประเด็นโครงสร้างระบบบริการสุขภาพของ กทม. ต้องการการลงทุนอย่างมาก ในอนาคตอันใกล้ต้องปรับระบบขนาดใหญ่ เราคาดหวังกับผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ซึ่งไม่รู้จะเลือกตั้งเมื่อไหร่ อยากให้เรื่องนี้เป็นนโยบายหลักของผู้ว่าฯ เพราะถ้าไม่แก้ปัญหามันก็จะเรื้อรังระยะยาว ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ทำงานหนักมากนะครับ ไม่ใช่ว่าไม่ทำงาน แต่เขาทำงานหนักภายใต้ข้อจำกัดโครงสร้างการทำงานที่เล็กมาก เจ้าหน้าที่น้อยมากทำงานไม่ไหว ดูแลไม่ไหว

-การกู้วิกฤตโควิด-19 สิ่งที่รัฐต้องดำเนินการจัดการโดยเร่งด่วนคืออะไร
เปิดจุดตรวจให้มากที่สุด เพิ่มจุดพักคอย จากการลงพื้นที่ของเราจุดที่เราลงตรวจให้ชาวบ้าน เราใช้วัด มัสยิดใช้ลานชุมชน ลานกลางแจ้ง กางเต้นท์ใต้ทางด่วน เป็นพื้นที่ที่มีชุมชนอำนวยความสะดวกได้ เราแทบไม่ได้ใช้โรงเรียน อาคารสถานที่ราชการ เรารู้สึกได้ว่าหน่วยราชที่ กทม. ยังไม่สามัคคี ไม่ทุ่มเท ทั้งๆ ที่หน่วยราชการมีเยอะมาก อาคารหน่วยราชการเยอะมาก ซึ่งโรงเรียนเป็นอาคารที่น่าสนใจมากที่สุด ถ้าเป็นในต่างจังหวัดโรงเรียนจะถูกใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม เป็นศูนย์พักคอย แต่ใน กทม. ทรัพยากรที่มีไม่ถูกระดมมาใช้กู้ภัยโควิด กับประชาชนต้องเผชิญหน้าอยู่กับเหตุการณ์ด้วยตัวเอง โดยมีกระทรวงสาธารณสุข หรือ กทม. ทำงานกันเต็มที่แต่ก็ไม่ไหว เพราะว่าเป็นการทำงานภายใต้ทรัพยากรที่มีไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระบบราชการที่มันแตกตัวมาก

-ชมรมแพทย์ชนบทเรียกร้องให้รัฐระงับการส่งออกวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหวังเพิ่มการฉีดวัคซีนให้คนไทยลดอัตราการเสียชีวิต
อัตราการติดเชื้อมันไกลเกินกว่าควบคุมการแพร่ระบาดด้วยวิธีมาตรฐาน ระบาดไปไกลมากแล้ว วิธีการควบคุมระบาดมีวิธีเดียวก็คือฉีดวัคซีนให้ถ้วนหน้า แต่ว่าวัคซีนที่เราได้มาน้อยมากในปัจจุบัน รัฐพูดเองว่าแอสตร้าฯ ได้เดือนละ 10 ล้านโส แต่เอาเข้าจริงได้เดือนละ 5 ล้านโดส ซึ่งมันไม่พอ ซิโนแวคก็เป็นวัคซีนที่ไม่มีใครอยากฉีด การระบาดแย่ลงมากไม่เฉพาะใน กทม. ตอนนี้เราระดมฉีดวัคซีนอย่างหนักใน กทม. แต่ต่างจังหวัดมีการฉีดน้อย ขาดแคลนวัคซีนด้วย

เราคิดว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศเรามีวัคซีนมากขึ้น ดูรัฐบาลก็ไม่มีความสามารถในการจัดหาวัคซีนได้ ได้รับบริจาคล็อตเล็กๆ เดือนละ 4 - 5 แสนโดส 1 ล้านโดส ก็ไม่พอ ฉะนั้น ช่องทางกฎหมายที่เราทำได้ตาม พ.ร.บ วัคซีนแห่งชาติ คือการจำกัดการส่งออก จัดการได้ตามกฎหมาย เป็นหนึ่งในข้อเสนอต่อรัฐครับ จริงๆ เรามีเป้าหมายในการเพิ่มปริมาณวัคซีนในประเทศ ถ้ารัฐบาลสามารถใช้มาตรการอื่นจัดการวัคซีนด้วยวิธีการอื่นมาได้ เราก็ยินดีไม่ต้องมาใช้มาตรการทางกฎหมายเช่นนี้ แต่ถ้าหาไม่ได้เลยจริงๆ เราคิดว่านี่คือสิ่งที่จำเป็น มิเช่นนั้น สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศจะแย่มาก เปิดประเทศ 120 วันจะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง อัตราการตายจะสูงขึ้น อัตราการแพร่ระบาดจะสูงขึ้น อัตราการแพร่ระบาดจะเพิ่ม 4 - 5 หมื่นคนต่อวัน วัคซีนคือคำตอบในการทำให้การแพร่ระบาดลดลง อัตราป่วย อัตราตายลดลง

-การบริหารวัคซีนเราพลาดตรงไหน ประเทศไทยถึงเดินมาถึงจุดนี้
อดีตสถานการณ์เราดีจริงนะ ผู้ติดเชื้อน้อย เราควบคุมการระบาดได้ดี ก็คงทำให้เราประมาทไปในเรื่องการจัดกาวัคซีน พอเราจองวัคซีนช้า ระบบราชการที่เทอะทะเต็มไปด้วยขั้นตอนทางกฎหมายมากมาย ยิ่งทำให้การจองวัคซีนช้า จ่ายเงินช้า ทุกอย่างช้าไปหมด วัคซีนธุรกิจไม่ใช่วัคซีนการกุศล แล้วเราเชื่อมั่นในสยามไบโอไซเอนซ์ว่าจะผลิตวัคซันได้มาก พอผลิตได้น้อยว่าที่ประมาณการณ์ไว้ก็ส่งผลให้มีวัคซีนไม่เพียงพอ ก็มีแต่ซิโนแวคที่เราซื้อได้ตลอด แต่ว่าผู้คนตั้งคำถามต่อซิโนแวคอย่างมาก ที่พลาดไปแล้วไม่เป็นไรนะ แก้ไขให้ได้ แก้ไม่ได้มันก็ไม่ไหว

-ประเด็น ร่าง พ.ร.ก. คุ้มครองบุคลากรสาธารสุข กับข้อครหานิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง คุณหมอมีความเห็นอย่างไร
มี 2 ประเด็นนะครับ โดยส่วนตัวเชื่อว่าความตั้งใจของผู้เสนอ พ.ร.ก. ฉบับนี้ ตั้งใจดูแลบุคลากรที่ฉีดวัคซีนถ้ามีปัญหาจะได้ไม่ต้องรับผิด แต่ว่าด้วยความไม่เชื่อมั่นของผู้คนต่อรัฐบาลรวมถึงความไม่ชัดเจนของเป้าหมายในการออก พ.ร.ก ฉบับนี้ ว่าจริงๆ แล้วควรจะเอาแค่ผู้ปฏิบัติก็เลยทำให้มีความสับสน ผมว่าเริ่มต้นง่ายที่สุดคือการรับฟังเสียงให้กว้างขวางแล้วทำให้เรื่องนี้มันโปร่งใส ไม่ควรเป็นเหมาเข่ง ให้เวลากระทรวงฯ พิจารณา ไม่จำเป็นต้องรีบเร่ง



-จะมีปฏิบัติแพทย์ชนบทบุกกรุง ครั้งที่ 4 หรือไม่
ไม่แน่ครับ เราอยากเห็น กทม. รวมมือจัดการตัวเองให้ได้ เราไม่ได้ต้องบุกกรุงเทพฯ เราจะอยู่ต่างจังหวัด โมเดลตรวจเชิงรุกของแพทย์ชนบทใช้ได้ทั่วประเทศไม่จำเป็นต้องใช้เฉพาะ กทม. อย่าง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเริ่มมีการนำโมเดลไปใช้แล้ว

-ทราบว่าทีมแพทย์ชนบทกว่า 400 คนที่ร่วมปฏิบัติการในกรุงเทพฯ มากันโดยความสมัครใจ ทุกคนฉีดวัคซีนกันครบแล้วใช่ไหม
อัตราการติดเชื้อในกรุงเทพฯ ลงพื้นที่ชุมชนแออัดสูงมาก ทีมที่ลงพื้นที่จะฉีดเข็ม 3 มาเลย ส่วนใหญ่ ซิโนแวค 2 เข็ม แอสตร้าฯ เข็ม 3 ถ้วนหน้า เพราะไฟเซอร์มาช้ามาไม่ทันเราบุกกรุง เรามากันด้วยความสมัครใจ

- ปฏิบัติงานด่านหน้ามีความเสี่ยงสูง ทีมแพทย์ฯ มีความรู้สึกหวาดกลัวบ้างไหม
ทั้งตัวผมเองและทุกคนที่มากลัวติดโควิดหมดเลยนะ แต่เราก็เป็นเหมือนทหาร ถ้าเราไม่ทำแล้วใครจะทำ เราก็ได้วัคซีนเข็มที่ 2 เข็มที่ 3 มากกว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้รับวัคซีนสักเข็ม ทีมที่มาฉีดแอสตร้าฯ เข็ม 3 ให้กับตัวเองก่อนเดินทางมา กทม. เรามีชุด PPE หน้ากาก N95 มีองค์ความรู้มากกว่าใคร เราแต่งตัวได้รัดกุมมากในการปฎิบัติงานเมื่อเทียบกับภาคประชาชนที่มาช่วยงานเรา พวกเขาน่าเป็นห่วงกว่าเราเยอะ เขามาช่วยเราเรียกคิวมาช่วยลงทะเบียน การแต่งกายรัดกุมน้อยมากอุปกรณ์ก็ขาดแคลน เรามีความเสี่ยงติดโควิดจริง แต่จริงๆ เราเสี่ยงน้อย

ปฎิบัติการบุกกรุงครั้งที่ 2 มีพยาบาลจังหวัดน่าน ติดโควิด จาก 120 คน ปฎิบัติการบุกกรุง ครั้งที่ 3 ก่อนกลับเราตรวจมีคนติดแล้ว 1 คน ยังต้องติดตามกันว่าพวกเราจะติดโควิดกันกี่คน แต่ถึงติดโควิดก็ไม่เป็นไร เพราะเราเป็นบุคลากรการแพทย์ เรามียาฟาวิพิราเวียร์ โรงพยาบาลเราก็มีเตียง เราเป็นชนชั้นสูงในสายสุขภาพ เราเข้าถึงบริการอยู่แล้ว ติดโควิดก็กักตัวรักษาไม่ใช่ปัญหา เราไม่ใช่ชาวบ้านคนด้อยโอกาสเข้าไม่ถึงบริการ เราไม่ได้ลำบาก แต่เราก็ตรวจตัวเองเพื่อให้เรารู้ให้ไม่ติดคนอื่นในครอบครัว เรามีวินัยในการปฏิบัติงาน เราป้องกันตัวเองดีมีโอกาสติดโควิดน้อยมาก

ผมชื่นชมทีมงานที่มามากเลยนะ มากันตั้ง 40 ทีม 400 คน มันสะท้อนถึงจิตวิญญาณอุดมคติที่มันยังมีอยู่ในตัวบุคลากรสุขภาพ ใครไหวก็มา โรงพยาบาลไหนไหวก็มา ครูบาอาจารย์สอนให้เราทำงานเพื่อชาวบ้าน เพื่อผู้คน จิตวิญญาณยังมีอยู่ซ่อนอยู่ถึงเวลาวิกฤตมีคนอาสามา
#3732


แคลิฟอร์เนียกลายเป็นมลรัฐแรกของอเมริกาที่บังคับให้ครูทุกคนต้องฉีดวัคซีนหรือตรวจโควิดทุกสัปดาห์ หลังยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันพุ่งทะลุ 10,000 คน หรือเพิ่มขึ้นจากช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาถึง 10 เท่า ขณะที่ผู้อำนวยการซีดีซีเรียกร้องให้ว่าที่คุณแม่ หรือผู้หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์หรือที่กำลังให้นมบุตร เข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจากผลศึกษาพบวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอไม่เพิ่มความเสี่ยงแท้ง

จำนวนผู้ติดโควิดทั่วสหรัฐฯ พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้จากการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา

ในวันพุธ (11 ส.ค.) เกวิน นิวซอม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทุกคนในโรงเรียนทั้งรัฐบาลและเอกชนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือไม่ก็ต้องแสดงผลตรวจโควิดทุกสัปดาห์ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองมั่นใจในการส่งบุตรหลานกลับเข้าเรียนในโรงเรียนในปีการศึกษาใหม่ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลานี้

เช่นเดียวกับอีกหลายรัฐในอเมริกา แคลิฟอร์เนียสามารถจัดการกับวิกฤตโรคระบาดที่เลวร้ายที่สุดได้เมื่อต้นปีและการดำเนินชีวิตกลับสู่ภาวะปกติเป็นส่วนใหญ่ ทว่า ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในรัฐนี้กลับเพิ่มขึ้นเกิน 10,000 คนทุกวัน หรือมากกว่าช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาถึง 10 เท่า และแพทย์ระบุว่า ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่คือผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน

ขณะเดียวกัน ข้อมูลของรอยเตอร์ระบุว่า จำนวนเคสใหม่ในอเมริกาเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่าจากเดือนที่แล้ว โดยจำนวนผู้ติดเชื้อเฉลี่ยในรอบ 7 วันพุ่งขึ้นเป็น 118,000 คนเมื่อวันอังคาร (10)

คำสั่งของนิวซอม ทำให้แคลิฟอร์เนียเป็นรัฐแรกในอเมริกาที่บังคับให้บุคลากรทางการศึกษาทั้งหมดฉีดวัคซีน เพิ่มเติมจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และยังเกิดขึ้นขณะที่ผู้พิพากษาศาลแขวงในดัลลัส ระงับชั่วคราวการบังคับใช้คำสั่งของเกร็ก แอ็บบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเทกซัส ที่ห้ามไม่ให้บังคับสวมหน้ากากป้องกันภายในรัฐ

แอ็บบอตต์ รวมทั้ง รอน ดีแซนทิส ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา ที่สังกัดพรรครีพับลิกันเช่นเดียวกัน กำลังเผชิญการท้าทายจากภายในรัฐของตนเอง เกี่ยวกับคำสั่งห้ามเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นบังคับให้ประชาชนหรือลูกจ้างสวมหน้ากาก

ในทางกลับกัน เคต บราวน์ ผู้ว่าการรัฐออริกอน ซึ่งสังกัดพรรคเดโมแครต ประกาศวันอังคาร บังคับให้ลูกจ้างทั้งหมดในส่วนบริหารของรัฐต้องฉีดวัคซีน และยังฟื้นคำสั่งสวมหน้ากากภายในอาคารทั่วทั้งรัฐ

ต้นสัปดาห์นี้กระทรวงกลาโหมอเมริกันก็ประกาศจะดำเนินการภายในเดือนหน้าเพื่อบังคับให้ทหารทุกนายต้องฉีดวัคซีน

นอกจากนั้น ในเร็วๆ นี้ นิวยอร์กซิตีประกาศแผนจะกำหนดให้ประชาชนต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนก่อนเข้าใช้บริการในร้านอาหารและฟิตเนส รวมทั้งพื้นที่สาธารณะในอาคารอื่นๆ โดยที่เมืองลอสแองเจลิสมีแนวโน้มบังคับใช้มาตรการนี้เช่นเดียวกัน

ในอีกด้านหนึ่ง พญ.โรเชลล์ วาเลนสกี ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อการควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (ซีดีซี) ออกมาเรียกร้องให้สตรีมีครรภ์ ตลอดจนถึงสตรีที่วางแผนตั้งครรภ์หรือที่ให้นมลูกอยู่ ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิดโดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตาที่กำลังระบาดรุนแรง

จากข้อมูลล่าสุด สตรีมีครรภ์เพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส

ซีดีซีสำทับว่า การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจุบันพบว่า ในสตรีมีครรภ์เกือบ 2,500 คนที่ฉีดวัคซีนเทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอ เช่น วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ มีอัตราการแท้งอยู่ที่ 13% เทียบกับอัตราการแท้งจากสาเหตุทั่วไปซึ่งอยู่ที่ 11-16% อยู่แล้ว จึงหมายความว่าไม่ได้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

ยิ่งเมื่อคำนึงถึงว่าการติดโรคโควิด-19 จะเพิ่มอัตราความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหนักและเพิ่มความยุ่งยากต่อการตั้งครรภ์ด้วยแล้ว การฉีดวัคซีนป้องกันจึงมีประโยชน์มากกว่า ซีดีซีชี้

(ที่มา : เอพี, เอเอฟพี, รอยเตอร์)
#3733


เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เผยแพร่การขึ้นทะเบียนชุดตรวจสำหรับ COVID-19 ประเภท Rapid Test Antigen หรือ Antigen Test Kits 'ATK' แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen Test Self-Test Kits)

โดย 'ATK' ที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิต/นำเข้า ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2564 จำนวน 34 รายการ ทั้งจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐฯ สเปน และสวิตเซอร์แลนด์ โดยแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน ระบุชื่อบริษัทผู้นำเข้า วันเดือนปีที่ได้รับอนุญาต เลขที่ใบรับรอง และคิวอาร์โค้ด พร้อมคลิปแนะนำขั้นตอนการใช้

หนึ่งในนั้นเป็นของ บริษัทออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นลำดับที่ 4 นำเข้าชุดตรวจ ATK ของบริษัท Beijing Lepu Medical Technology จากประเทศจีน เลขที่ใบรับรองประเมินเทคโนโลยี T6400123 ซึ่งเมื่อวันที่ 10 ส.ค.องค์การเภสัชกรรม

(จีพีโอ) ได้เปิดซองราคาตามที่ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาลราชวิถี ให้ดำเนินการจัดหา ชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen self-test Test Kits : ATK) จำนวน 8.5 ล้านชุด เป็นการเร่งด่วน ตามโครงการพิเศษของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำหรับให้ประชาชนใช้ตรวจคัดกรองเชิงรุก เพื่อค้นหาผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษารวดเร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรค


ปรากฏว่าบริษัทออสแลนด์ แคปปิตอล จำกัด เป็นผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาต่ำกว่าวงเงินงบประมาณที่ สปสช.ตั้งไว้ ชุดละ 120 บาท เป็นเงิน 1,014 ล้านบาท ทำให้ประหยัดงบประมาณภาครัฐได้กว่า 400 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ราคาชุดตรวจ ATK เหลือประมาณชุดละ 70 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนและรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว ซึ่งอภ.จะเร่งส่งมอบให้สปสช.ก่อนสิ้นเดือนสิงหาคม

สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย

ย้ำการจัดหาชุดตรวจ 'ATK' โปร่งใส คุณภาพเหมาะสมราคา
ศิรินุช ชีวันพิศาลนุกูล รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ (10 สิงหาคม 2564) องค์การฯ ได้ให้บริษัทผู้จำหน่าย ATK จำนวน 19 บริษัท (จากที่เชิญไป 24 บริษัท) เข้าร่วมเสนอราคา คณะกรรมการพิจารณาในขั้นต้นแล้วพบว่ามีบริษัทที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนด และสามารถส่งมอบได้ตามกำหนด 16 บริษัท จึงได้ทำการเปิดซองราคาและปรากฏว่าบริษัทออสแลนด์ แคปปิตอล จำกัด เป็นผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดดังกล่าว

ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า มีบริษัทจำนวนมากเข้าร่วมเสนอราคา และสามารถส่งมอบได้ตามเวลาที่กำหนดเกือบทุกบริษัท การดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใส มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในราคาเหมาะสม และยังทำให้ทราบว่าราคาของ ATK ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดขณะนี้ยังสามารถปรับลดลงได้อีกเพื่อบริการประชาชนในช่วงวิกฤติและยากลำบาก

​"การดำเนินการจัดหาชุดตรวจ ATK ครั้งนี้ องค์การฯดำเนินการภายใต้หลักการของความถูกต้อง โปร่งใส แต่ยังคงมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ความต้องการที่เร่งด่วน ประหยัดงบประมาณให้รัฐ และมีการประสานงานกับโรงพยาบาลราชวิถี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้ประชาชน และประเทศชาติได้รับประโยชน์สูงสุด" รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าว


ชุดตรวจ 'ATK' คือหัวใจควบคุมโรคโควิด
ขณะเดียวกันก็มีความเคลื่อนไหวของ "ประธานชมรมแพทย์ชนบท" ออกมาเรียกร้องให้ องค์การเภสัชกรรม จัดหา 'ATK' ที่มีคุณภาพมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ให้แก่ประชาชนเพื่อผลที่แม่นยำ สร้างความมั่นใจให้แก่บุคลากรทางการรักษา โดยตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ออกประกาศผ่านเว็บไซด์ FDA ให้ระงับใช้ชุดตรวจหาเชื้อโควิด -19 ทั้ง Antigen Rapid Test Kit (ATK) และ Antibody Rapid Test Kit ของ Lepu Medical Technology

ชมรมแพทย์ชนบท ขอยืนยันว่า ชุดตรวจATK คือหัวใจของการควบคุมโรคโควิด ATK ต้องมีคุณภาพสูง ต้องมีความแม่นยำ ความจำเพาะและมีความไวตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (ซึ่งสูงกว่ามาตรฐาน อย.ไทย) หากใช้ ATK ที่ไม่แม่นยำ ย่อมต้องมีการตรวจซ้ำด้วย RT-PCR อีก จะเสียโอกาสของผู้ป่วยในการรักษาเร็วอีกทั้งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการตรวจRT-PCRเพิ่มเติมอีกด้วย


ชะลอทำสัญญาซื้อตรวจสอบคุณภาพ
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม ออกมาระบุ เนื่องจากบางหน่วยงานมีความห่วงใยและไม่มั่นใจในคุณภาพของชุดตรวจ ATK ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจในสินค้า จึงขอชะลอการดำเนินการในขั้นตอนการทำสัญญาออกไปก่อน โดยองค์การเภสัชกรรมและ อย. จะเร่งทำการตรวจสอบข้อมูลคุณภาพของผลิตภัณฑ์

โดยยืนยันการดำเนินการทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยความโปร่งใส มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในราคาเหมาะสม ซึ่งความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบต่อไป


"คุณภาพหรือราคา"ATKต้องมาก่อน
อย่างไรก็ตามวันนี้ (13 ส.ค) เวลา 11.00 น.นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา จะแถลงข่าวมาตรฐานการพิจารณาอนุญาตชุดตรวจ ATK พร้อมทั้ง คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ภายใต้บอร์ดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีการประชุมด่วนเพื่อหารือข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวด้วย

เนื่องจากต้องการให้ ชุดตรวจ ATK ที่จะแจกให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงใช้ตรวจโควิดด้วยตนเองนั้นได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งการแจกชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดการระบาดของโรคโควิด-19 แยกผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล


ชี้ชุดตรวจควรได้มาตรฐาน WHO
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.มหาราชนครราชสีมา ในฐานะประธานคณะกรรมการต่อรองราคา สปสช. กล่าวกับ"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์"ว่าชุดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเองสำหรับประชาชนควรได้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก เพื่อความแม่นยำในการตรวจและนำไปสู่การรักษาที่ทันท่วงทีเพราะหากไม่แม่นยำ จะนำไปสู่การรักษาที่ผิดพลาด และอาจจะทำให้คนติดเชื้อกระจายมากขึ้นได้

และจากการที่ตรวจสอบมี บริษัทที่ผ่านการรับรองคือ ผลิตภัณฑ์ STANDARD Q ที่นำเข้าโดย บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) ซึ่งได้เจรจาต่อรองราคาพร้อมค่าขนส่งแล้วอยู่ที่ 120 บาท ซึ่งคณะกรรมการฯได้เสนอไปที่สปสช.ว่า ให้จัดซื้อแบบเฉพาะเจาะจงในราคา 120 บาทจาก บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) เพราะเชื่อว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและแม่นยำ ส่วนอีกบริษัทเสนอราคามา 160 บาท


สำหรับชุดตรวจสำหรับ COVID-19 ประเภท Rapid Test Antigen หรือ Antigen Test Kits แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen Test Self-Test Kits) ที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิต/นำเข้าณ วันที่ 12 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านการรับรองอย.จากองค์การอนามัยโลก ได้แก่

อันดับ 1.ผลิตภัณฑ์ STANDARD Q COVID-19 Ag Home Test รหัสสินค้ำ Q-NCOV-03G ขนำดบรรจุ 1, 2, 25 ชุดทดสอบต่อกล่อง (Nasal Swab)ผู้นำเข้าบริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด โทร 02-538-0559 ผู้ผลิต

SD Biosensor Inc., Korea. ได้รับอนุญาต 15/7/2564 เลขที่ใบรับรอง ประเมิน เทคโนโลยี T 6400120

อันดับ6 .ผลิตภัณฑ์ Panbio COVID-19 Antigen Self-Test รหัสสินค้า 41FK71, 41FK81 และ 41FK91 ขนาดบรรจุ 1,4,10,20 ชุดทดสอบต่อกล่อง (Nasal Swab) ผู้นำเข้า บริษัท ดีซีเอช ออริก้า (ประเทศไทย) จำกัด  โทร.02-257-3500  ผู้ผลิต Abbott Diagnostics Korea Inc.,Korea  ได้รับอนุญาต 20/7/2564 เลขที่ใบรับรองประเมินเทคโนโลยี T 6400127

ส่วนที่เหลืออีก 32 บริษัทผ่านการรับของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ทั้งนี้ สำหรับรายชื่อของบริษัทที่ผ่านการรับรองของอย.ของไทยสามารถเช็คได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
#3734


โรเมลู ลูกากู กองหน้าร่างยักษ์ชาวเบลเยียม กลับสู่บ้านหลังเก่าเป็นคำรบสอง หลังจัดการเปิดตัวชูเสื้อเป็นดาวยิงของ เชลซี อย่างเป็นทางการ ด้วยค่าตัว 98 ล้านปอนด์ (ประมาณ 4,510 ล้านบาท)

หัวหอกชาวเบลเยียม ก่อนหน้านี้โชว์ฟอร์มเฉิดฉายกับ อินเตอร์ มิลาน จนคว้าโทรฟี กัลโช่ เซเรีย อา อิตาลี ซีซั่นที่ผ่านมา ก่อนจะย้ายกลับมาเล่นที่ พรีเมียร์ ลีก อีกครั้ง และเป็น เชลซี ที่ได้ตัวกลับมา

แข้งวัย 28 ปี ปรากฏตัวที่สนามบิน บิกกิน ฮิลล์ เมื่อกลางสัปดาห์ ก่อนเข้ารับการตรวจร่างกาย และสะบัดหมึกเซ็นสัญญาเป็นนักเตะ "สิงห์บลูส์" คำรบสอง หลังเคยอยู่กับทีมเมื่อปี 2011-2014

"ผมมีความสุขมากที่ได้กลับมายังสโมสรที่ยอดเยี่ยมแห่งนี้ ถือเป็นการเดินทางอันยาวนาน ผมเคยอยู่ที่นี่ในฐานะเด็กที่ยังอ่อนประสบการณ์ แต่ตอนนี้ผมโตเป็นผู้ใหญ่และมีประสบการณ์มากขึ้นแล้ว"

"ผมเป็นแฟน เชลซี ตั้งแต่เด็ก และการกลับมาครั้งนี้เพื่อช่วยให้พวกเขาคว้าแชมป์รายการต่างๆ ก็เป็นความรู้สึกที่น่าอัศจรรย์ แนวทางของทีมสอดคล้องกับความทะเยอะทะยานของผมในวัย 28 ปี ซึ่งหวังว่าเราจะประสบความสำเร็จด้วยกันมากกว่านี้"
#3735


นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เพื่อต่อยอดวิสัยทัศน์ที่ก้าวจากการเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สู่การเป็นผู้พัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจสุขภาพและกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีบริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ บริษัท เฮลท์สเคป จำกัดเพื่อใช้ดำเนินธุรกิจใหม่

โดยล่าสุด บริษัท เฮลท์สเคป จำกัด ได้เข้าถือหุ้นใน บริษัท คิวบิคซ์โค้ด จำกัด ( Cubix Code)ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ให้คำปรึกษา ดูแล ออกแบบ และพัฒนาแอปพลิเคชัน ทุกรูปแบบ ในสัดส่วน 51% ซึ่งการเข้าถือหุ้นในครั้งนี้ เป็นการขยายขอบเขตความเชี่ยวชาญของบริษัทแบบก้าวกระโดด เพื่อเริ่มต้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อมาต่อยอดกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เดิมและพัฒนาเป็นสินค้าออกสู่ตลาด ขณะเดียวกัน ยังเป็นการวางรากฐานของบริษัทสู่การพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีประเภทอื่นในอนาคต

นางสาวเพชรลดา กล่าวว่า แนวโน้มสถานการณ์ตลาดอสังหารฯในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 ผู้บริโภคในบางสาขาอาชีพยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งมาตรการการล็อคดาวน์ท บริษัทจึงเดินหน้ากลยุทธ์ Building A Stronger Now ทั้ง 3 แกนหลัก เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ทั้งองค์กร ผู้บริโภค พนักงาน พันธมิตร ให้สามารถผ่านพ้นสถานการณ์แห่งความท้าทายไปด้วยกัน


แกนแรก Stronger Move บริษัทอยู่ระหว่างเร่งจับมือพันธมิตรเพิ่มช่องทางการขายใหม่ๆ และออกแคมเปญอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงโครงการของเมเจอร์ ได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันได้เปิดตัวโครงการบ้านเดี่ยว 2 โครงการ จากแผนเดิมจะเปิดบ้านเดี่ยว 1 โครงการ โครงการคอนโดมิเนียม 1 โครงการ พร้อมทั้งเปิดตัวธุรกิจผลิตภัณฑ์สุขภาพ คาดว่า จะเริ่มดำเนินธุรกิจและรับรู้รายได้ได้ในช่วง ไตรมาส 4/2564 นี้

ขณะที่แกน Stronger Community และ Stronger Journeyร่วมกับธนาคารพันธมิตร เพื่อมอบ Financial Solutions ให้แก่ผู้บริโภค และเดินหน้าแคมเปญ We've got your back ช่วยเหลือทั้งเหล่าพันธมิตร พนักงาน ลูกบ้าน

สำหรับผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2564 (ม.ค.- มิ.ย.2564) บริษัทมีรายได้รวมทุกประเภทธุรกิจอยู่ที่ 2,413ล้านบาท โดยสามารถปิดการขายโครงการที่อยู่อาศัย 3 โครงการ ได้แก่ มอลตัน ไพรเวท เรสซิเดนซ์ สุขุมวิท 31, รีเฟล็คชั่น จอมเทียน บีช พัทยา และ มาเอสโตร 39 สุขุมวิท 39 และมียอดโอนกรรมสิทธิ์จากหลายโครงการต่อเนื่องจากไตรมาส 1/2564 และปลายปีที่ผ่านมา อาทิ โครงการมิวนิค สุขุมวิท 23, โครงการมารุ ลาดพร้าว 15, โครงการเมทริส พระราม 9 – รามคำแหง และโครงการเมทริส พัฒนาการ – เอกมัย ทำให้บริษัท มียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) ณ สิ้นไตรมาส 2/2564 อยู่ที่ 4,600 ล้านบาท
นางสาวเพชรลดา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เพื่อต่อยอดวิสัยทัศน์ที่ก้าวจากการเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สู่การเป็นผู้พัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจสุขภาพและกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีบริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ บริษัท เฮลท์สเคป จำกัดเพื่อใช้ดำเนินธุรกิจใหม่

โดยล่าสุด บริษัท เฮลท์สเคป จำกัด ได้เข้าถือหุ้นใน บริษัท คิวบิคซ์โค้ด จำกัด ( Cubix Code)ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ให้คำปรึกษา ดูแล ออกแบบ และพัฒนาแอปพลิเคชัน ทุกรูปแบบ ในสัดส่วน 51% ซึ่งการเข้าถือหุ้นในครั้งนี้ เป็นการขยายขอบเขตความเชี่ยวชาญของบริษัทแบบก้าวกระโดด เพื่อเริ่มต้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อมาต่อยอดกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เดิมและพัฒนาเป็นสินค้าออกสู่ตลาด ขณะเดียวกัน ยังเป็นการวางรากฐานของบริษัทสู่การพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีประเภทอื่นในอนาคต

นางสาวเพชรลดา กล่าวว่า แนวโน้มสถานการณ์ตลาดอสังหารฯในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 ผู้บริโภคในบางสาขาอาชีพยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งมาตรการการล็อคดาวน์ท บริษัทจึงเดินหน้ากลยุทธ์ Building A Stronger Now ทั้ง 3 แกนหลัก เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ทั้งองค์กร ผู้บริโภค พนักงาน พันธมิตร ให้สามารถผ่านพ้นสถานการณ์แห่งความท้าทายไปด้วยกัน


แกนแรก Stronger Move บริษัทอยู่ระหว่างเร่งจับมือพันธมิตรเพิ่มช่องทางการขายใหม่ๆ และออกแคมเปญอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงโครงการของเมเจอร์ ได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันได้เปิดตัวโครงการบ้านเดี่ยว 2 โครงการ จากแผนเดิมจะเปิดบ้านเดี่ยว 1 โครงการ โครงการคอนโดมิเนียม 1 โครงการ พร้อมทั้งเปิดตัวธุรกิจผลิตภัณฑ์สุขภาพ คาดว่า จะเริ่มดำเนินธุรกิจและรับรู้รายได้ได้ในช่วง ไตรมาส 4/2564 นี้

ขณะที่แกน Stronger Community และ Stronger Journeyร่วมกับธนาคารพันธมิตร เพื่อมอบ Financial Solutions ให้แก่ผู้บริโภค และเดินหน้าแคมเปญ We've got your back ช่วยเหลือทั้งเหล่าพันธมิตร พนักงาน ลูกบ้าน

สำหรับผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2564 (ม.ค.- มิ.ย.2564) บริษัทมีรายได้รวมทุกประเภทธุรกิจอยู่ที่ 2,413ล้านบาท โดยสามารถปิดการขายโครงการที่อยู่อาศัย 3 โครงการ ได้แก่ มอลตัน ไพรเวท เรสซิเดนซ์ สุขุมวิท 31, รีเฟล็คชั่น จอมเทียน บีช พัทยา และ มาเอสโตร 39 สุขุมวิท 39 และมียอดโอนกรรมสิทธิ์จากหลายโครงการต่อเนื่องจากไตรมาส 1/2564 และปลายปีที่ผ่านมา อาทิ โครงการมิวนิค สุขุมวิท 23, โครงการมารุ ลาดพร้าว 15, โครงการเมทริส พระราม 9 – รามคำแหง และโครงการเมทริส พัฒนาการ – เอกมัย ทำให้บริษัท มียอดขายรอรับรู้รายได้ (Backlog) ณ สิ้นไตรมาส 2/2564 อยู่ที่ 4,600 ล้านบาท
#3736


นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM Drama-Addict เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ปี 2564 บริษัทมีกำไรสุทธิ 201 ล้านบาท ทั้งนี้กำไรของบริษัทยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้นกว่าระลอกที่ผ่านมา โดยในไตรมาสนี้รายได้จากการดำเนินงานจำนวน2,403 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 86 ล้านบาท หรือ 3.5% แต่ด้วยการบริหารจัดการด้านต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวดทำให้กำไรสุทธิเพิ่มจากปีก่อน 49 ล้านบาท หรือ 32.2%

โดยบริษัท มีรายได้จากค่าผ่านทาง ลดลง 103 ล้านบาท รายได้จากค่าโดยสารและรับจ้างเดินรถ ลดลง 15 ล้านบาทขณะที่มีรายได้พัฒนาเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น 32 ล้านบาท

สำหรับผลดำเนินงานรอบ 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.)2564 บริษัท มีกำไรสุทธิในส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น จำนวน 506 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน จำนวน 154 ล้านบาท หรือ 23.3% จากผลกระทบการแพร่ระบาด ของโควิด-19 ทำให้ปริมาณจราจรและปริมาณผู้โดยสารลดลง

ภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก BEM ยังคงดูแลผู้โดยสารและผู้ใช้บริการทางพิเศษให้ได้รับความสะดวก ปลอดภัย ตลอดการเดินทาง ทั้งนี้ บริษัทเชื่อมั่นว่าปริมาณผู้โดยสารและปริมาณจราจรจะฟื้นตัวกลับมาเร็ว เมื่อแนวโน้มการระบาดลดลง และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น
#3737


นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงรายได้ของธุรกิจและประชาชน ส่งผลให้ ธปท.จำเป็นต้องออกมาตรการช่วยเหลือช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี สถานการณ์การระบาดในปัจจุบันที่ยืดเยื้อกว่าคาดการณ์ ส่งผลให้มาตรการที่เดิมเน้นช่วยเหลือระยะสั้นต้องปรับให้เหมาะสมมากขึ้น

โดย ธปท.มองว่ามาตรการช่วยเหลือผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะสามารถตอบโจทย์ช่วยเหลือลูกหนี้ระยะยาวได้มากกว่ามาตรการพักชำระหนี้ ซึ่งภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ยังเดินต่อในช่วงที่พักชำระ อย่างไรก็ดี การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาในรายละเอียดเป็นการยืดระยะเวลาสินเชื่อ หรือพักชำระหนี้ให้ในระยะสั้นเท่านั้น ขณะที่ในระยะถัดไป ธปท.อยากเห็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การแฮร์คัทหนี้ หรือการลดดอกเบี้ย เป็นต้น


อย่างไรก็ดี การจัดทำมาตรการในดังกล่าว ไม่สามารถทำในลักษณะที่เหมือนกันได้ในทุกกรณี (One Size Fits All) เช่น กลุ่มเอสเอ็มอี หรือกลุ่มไมโครเอสเอ็มอี ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ในการปรับโครงสร้างหนี้อาจกินระยะเวลานานกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เบื้องต้นคาดว่าบางวงจรธุรกิจอาจใช้ระยะเวลาไม่นานเพียง 3-6 เดือน แต่บางวงจรธุรกิจอาจกินระยะเวลานานถึง 10 ปี เป็นต้น แต่หากระหว่างทางธุรกิจมีทิศทางที่ดีขึ้นก็สามารถกลับมาชำระเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ในลักษณะนี้จะช่วยลดความยุ่งยากและระยะเวลาการดำเนินการแต่ละครั้ง จากเดิมที่ลูกหนี้ต้องติดต่อสถาบันการเงินเพื่อเข้าร่วมโครงการเป็นครั้งไป

"อย่าลืมว่ากลุ่มนี้คือลูกหนี้ชั้นดี หากมีแผลเป็นจากภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้และลูกหนี้ไม่สามารถอยู่รอดได้ ธนาคารก็ไม่สามารถอยู่รอดได้เช่นเดียวกัน ขณะที่การประคับประคองสั้นๆ คงช่วยลูกหนี้กลุ่มนี้ต่อไปไม่อยู่ ดังนั้น การทำมาตรการช่วยเหลือเรามองว่าควรส่งผ่านไปในระยะยาวมากขึ้น แต่นอกจากมิติด้านเวลาแล้ว จะต้องมีการช่วยเหลือผ่านการแฮร์คัทหนี้ ตัดต้น-ตัดดอกบ้าง และให้ผ่อนจ่ายเบาๆ ก่อนค่อยเพิ่มจำนวนขึ้นไปเมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมา"

ในการนี้ ธปท.ขอความร่วมมือไปยังสถาบันการเงินต่างๆ โดยสามารถดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้ได้ทันที รวมถึงอยู่ระหว่างหารือร่วมกันเกี่ยวกับการออกมาตรการสร้างแรงจูงใจ (Incentive) เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างเต็มที่ หนึ่งในนั้นคือการที่สถาบันการเงินไม่ต้องจัดชั้นลูกหนี้ที่อยู่ในมาตรการช่วยเหลือเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพราะหากเป็น NPL แล้วจะส่งผลให้สถาบันการเงินมีภาระตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ตามมา เช่น การตั้งสำรองหนี้ เป็นต้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะครบกำหนดอายุในสิ้นปี 2564

ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการจูงใจดังกล่าวจะเห็นความชัดเจนภายในเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นมาตรการที่คณะกรรมที่เกี่ยวข้องสามารถดูแลจัดทำได้ทันที ไม่จำเป็นต้องนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.)
#3738


การแข่งขันฟุต.เคลีก เกาหลีใต้ เมื่อวันพุธที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา ระหว่าง ชนบุค ฮุนได มอเตอร์ส ลงสนามนัดที่ 21 ของฤดูกาล เปิดบ้านรับการมาเยือนของ กวางจู เอฟซี

โดยเกมนี้ ชนบุค ฮุนได มอเตอร์ส ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ไล่ต้อนเอาชนะผู้มาเยือน 3-0 ขณะที่ "เจ้าพี" ศศลักษณ์ ไหประโคน ถูกส่งลงสนามมาเล่นตำแหน่งกองกลางในนาทีที่ 80 แทนที่ของ พัค ซึง-โฮ

จากชัยชนะในเกมนี้ส่งผลให้ ชนบุค ฮุนได มอเตอร์ส มีเพิ่มเป็น 39 แต้ม ตามหลังจ่าฝูง อย่าง วุลซาน ฮุนได อยู่ 5 คะแนน แต่แข่งน้อยกว่า 2 นัด

ซึ่งในเฟซบุ็กของ ศศลักษณ์ ไหประโคน มีการเผยภาพของพ่อและญาติพี่น้องของดาวเตะชาวไทย ที่ล้วนสวมเสื้อแข่งของทีม ชนบุค ออกมานั่งดูจอโทรศัพท์ให้กำลังใจอยู่กลางทุ่ง โดยมีแฟนคลับ และเพื่อนๆ ของ "เจ้าพี" มาคอมเม้นท์ให้กำลังใจอย่างล้นหลาม

สำหรับโปรแกรมต่อไป ชนบุค ฮุนได มอเตอร์ส จะเปิดบ้านรับการมาเยือนของ เอฟซี โซล ในวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 16.00น. ตามเวลาประเทศไทย
#3739


นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทด้านวิจัยเครือแอล.พี.เอ็น. กล่าวถึงแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ว่า จากการสำรวจของ "ลุมพินี วิสดอม" หากรัฐบาลสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ภายในไตรมาส 3 นี้ จะทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ทยอยเปิดตัวโครงการใหม่ได้ใน ไตรมาส 3-4 ส่งผลการปิดโครงการใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปีนี้ อยู่ที่ 52,000-60,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 265,000-300,000 ล้านบาท อยู่ในภาวะ "หดตัว" 5% ถึง "ขยายตัว" 8% เมื่อเทียบกับปี 2563

แต่หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ในปีนี้ คาดการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยที่เปิดตัวใหม่อยู่ที่ 45,000-52,000 ยูนิต มูลค่า 225,000-265,000 ล้านบาท หดตัว 5-20% เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ต่อจากปี 2563

"ถ้ารัฐบาลคุมสถานการณ์แพร่ระบาดได้ในไตรมาส 3 สามารถเร่งนำเข้าและฉีดวัคซีนได้ตามแผนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศ ขณะที่ภาคการส่งออกและภาคการผลิตยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐดำเนินการได้ตามแผน และอัตราดอกเบี้ยต่ำ จะทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยมีโอกาสกลับมาฟื้นตัว"

ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา มีที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 23,551 ยูนิต ลดลง 18% คิดเป็นมูลค่า 130,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 จำนวนหน่วยการเปิดตัวลดลง แต่มูลค่าสูงขึ้นเนื่องจากมีการเปิดตัวโครงการ The Forestias ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 45,000 ล้านบาท ของบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในไตรมาส 2 ทำให้มูลค่าการเปิดตัวโครงการอสังหาฯ โดยรวมในครึ่งปีแรก 2564 "สูง" เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยที่เปิดที่ลดลง

จากหน่วยเปิดตัวทั้งหมด 23,551 ยูนิต เป็นโครงการอาคารชุด 9,235 ยูนิต เพิ่มขึ้น 4% มูลค่า 55,616 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77% เทียบช่วงเดียวกันของก่อน มีอัตราขายได้เฉลี่ย 29% สูงกว่าปีที่ผ่าน เนื่องจากการบังคับใช้มาตรการด้านสินเชื่อ (แอลทีวี) จึงเกิดแรงกดดันต่อการตัดสินใจซื้อ บวกกับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถานบันการเงินที่เพิ่มมากขึ้น


ขณะที่การเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยช่วงครึ่งแรกของปี 2564 มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2563 แต่ยังคงมีจำนวนยูนิตและมูลค่าที่มากกว่าอาคารชุด คิดเป็นสัดส่วน 61% ของหน่วยเปิดตัวทั้งหมด โดยมีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัย 14,316 ยูนิต มูลค่า 74,435 ล้านบาท ในครึ่งปีแรก หดตัว 28% และ 18% ตามลำดับเมื่อเทียบช่วงเดียวกันปี 2563 แม้การเปิดตัวจะหดตัวลงแต่บ้านพักอาศัย มีอัตราขายได้เฉลี่ย 13% ใกล้เคียงปีก่อน

โดยโครงการบ้านพักอาศัยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ "ทาวน์เฮ้าส์" ได้รับความสนใจต่อเนื่อง ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้ต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น คำนึงถึงระยะห่างทางสังคมมากขึ้น และมองหาที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้ ทาวน์เฮ้าส์ จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยมีการเปิดตัวทาวน์เฮ้าส์ใหม่ 8,568 ยูนิต มูลค่า 25,267 ล้านบาท หดตัว 35% และ 33% ตามลำดับ เทียบช่วงเดียวกันปี 2563 มีอัตราขายได้เฉลี่ย14 %

"บ้านเดี่ยว" เปิดตัวใหม่ครึ่งปีแรก 2,984 ยูนิต มูลค่า 33,499 ล้านบาท หดตัว 31% และ 16% ตามลำดับ เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน มีอัตราขายได้เฉลี่ย 11% สูงขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 เนื่องด้วยเป็นสินค้าที่มีราคาขายค่อนข้างสูง และสถานการณ์เศรษฐกิจอาจไม่ได้มีผลกระทบกับกลุ่มลูกค้าในระดับนี้มากนัก

สุดท้าย "บ้านแฝด" ได้รับความสนใจมากขึ้น อัตราขายได้เฉลี่ย 12% ด้วยรูปแบบบ้านที่ถูกพัฒนาให้ใกล้เคียงบ้านเดี่ยว ราคาขายเฉลี่ย 5-8 ล้านบาท จึงเป็นทางเลือกที่ดี โดยครึ่งปีแรกเปิดตัวใหม่ 2,764 ยูนิต มูลค่า 15,669 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% และ 26% เทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ในครึ่งแรกของปี 2564 คอนโดมิเนียม ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท (Affordable Price) มีส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 70% จากยูนิตที่ขายได้ของคอนโดมิเนียม ขณะที่ บ้านพักอาศัย อย่าง ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ระดับราคาขายทรงตัว
#3740


การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้มีผู้ป่วยสะสมนับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2564 ถึงวันที่ 10 ส.ค.2564 รวม 767,088 ราย และมผู้ป่วยที่กำลังรักษา 211,223 ราย 

ในขณะที่จำนวนเตียงที่รองรับการรักษาข้อมูลล่าสุดวันที่ 4 ส.ค.2564 ทั่วประเทศมีเตียง 197,837 ราย ใช้ไปแล้ว 151,103 เตียง คิดเป็น 76.38% และมีเตียงว่าง 46,516 เตียง แบ่งเป็นเตียงว่างในกรุงเทพฯ 5,331 เตียง และในต่างจังหวัด (รวมปริมณฑล) 41,185 เตียง ซึ่งขณะนี้สถานการณ์เตียงในระบบสาธารณสุขจึงน่าเป็นห่วง

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานเปิดหน่วยคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 และโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End) ในโครงการ "ลมหายใจเดียวกัน" ของกลุ่ม ปตท. วันที่ 11 ส.ค.2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เข้าร่วม

รายงานข่าวจาก ปตท.ระบุว่า กลุ่ม ปตท.ได้จัดตั้ง "โครงการลมหายใจเดียวกัน" เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาวิกฤติโควิด-19 ของประเทศ ร่วมเป็นพลังต่อลมหายใจของประชาชน รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไป โดยในระยะแรกได้เร่งส่งมอบเครื่องช่วยหายใจ เครื่องให้ออกซิเจนอัตราไหลสูง พร้อมสนับสนุนออกซิเจนเหลวแก่โรงพยาบาลในพื้นที่วิกฤติ และมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อใช้ในการรักษาอาการผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและต่างจังหวัดรวมกว่า 200 แห่ง ทั่วประเทศ

รวมทั้งในระยะต่อมาได้สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 7 แห่ง ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จัดหน่วยวัคซีนเคลื่อนที่เชิงรุกใน 4 พื้นที่เปราะบางและมีความเสี่ยงสูง รวมถึงเดินหน้าโครงการ Restart Thailand ต่อเนื่องทำให้มีอัตราการจ้างงานภายในประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 25,000 อัตรา ในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งนับตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน กลุ่ม ปตท.ได้สนับสนุนความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในภาวะวิกฤติโควิด-19 แล้วรวมเป็นงบประมาณจำนวนกว่า 1,700 ล้านบาท

ในขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันยังไม่คลี่คลาย และมีผู้ป่วยหนักสูงขึ้น ซึ่งกลุ่ม ปตท.มีแผนช่วยเหลือประชาชนและแบ่งเบาภาระภาครัฐ โดยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และพันธมิตรทางการแพทย์ จัดตั้งหน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามครบวงจรแบบ End-to-End ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่ยังคงมีตัวเลขที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการเสียชีวิต ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เร็วที่สุด



สำหรับหน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End) วางแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งเน้น "ตรวจเร็ว แยกเร็ว รักษาเร็ว" ซึ่งจะเป็นการตรวจรักษาแบบครบวงจรแห่งแรกที่เอกชนร่วมกับภาครัฐ ประกอบด้วย 4 จุดหลัก ได้แก่

จุดที่ 1 หน่วยคัดกรอง โครงการลมหายใจเดียวกัน ณ อาคาร Energy Terminal (Enter) ของบริษัทเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด กลุ่ม ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ เพื่อเป็นจุดคัดกรองสำหรับกลุ่มเสี่ยง โดยวางระบบดิจิทัลเพื่อลงทะเบียน และเริ่มจากการตรวจโดยใช้ชุดตรวจ Antigen test kit และหากพบว่ามีการเสี่ยงติดเชื้อ จะนำส่งตรวจ RT-PCR 

สำหรับผู้ป่วยระดับสีเขียวที่ตรวจพบสามารถทำการดูแลตนเองเบื้องต้นที่บ้านหรือในชุมชน (Home or Community Isolation) โดยจะได้รับมอบ "กล่องพลังใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน" ประกอบไปด้วยชุดอุปกรณ์การทางแพทย์และยาที่จำเป็น รวมทั้งระบบติดตามอาการ

สร้างโรงพยาบาลสนามพันเตียง

จุดที่ 2 , 3 และ 4 จัดเตรียมเป็นโรงพยาบาลสนามครบวงจร โครงการลมหายใจเดียวกัน เพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ตามระดับความรุนแรง โดยโรงพยาบาลสนามครบวงจรแห่งนี้ นับเป็นการระดมกำลังของกลุ่ม ปตท.ทุกด้าน ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หวังแบ่งเบาภาระและบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเตียงในกรุงเทพฯ โดยแบ่งการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ดังนี้

1.โรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยระดับสีเขียว เปิดให้บริการในรูปแบบของ Hospitel กระจายไปในหลายโรงแรม จำนวน 1,000 เตียง รองรับผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากหน่วยคัดกรองอย่างเป็นระบบ

2.โรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยระดับสีเหลือง ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการในระดับหนักขึ้น เปิดให้บริการ ณ โรงแรมเดอะบาซาร์ กรุงเทพ มีเตียงผู้ป่วยจำนวน 300 เตียง มีระบบไฮโดรเจน ต่อ Direct Tube ส่งตรงถึงทุกเตียงผู้ป่วย 

พร้อมทั้งมีเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. เพื่อให้การดูแลคนไข้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ เตียงพลาสติกรับน้ำหนักสูง หุ่นยนต์ ปิ่นโต เป็นหุ่นยนต์ลำเลียงเพื่อช่วยบุคคลากรทางการแพทย์ในการดูแลคนไข้ รวมถึงหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ Xterlizer UV Robot

3.โรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยระดับสีแดง โดยจัดสร้างโรงพยาบาลสนาม ICU บนพื้นที่ 4 ไร่ สำหรับผู้ป่วยจำนวน 120 เตียง ให้บริการสำหรับผู้ป่วยอาการหนัก โดยปรับพื้นที่โล่งของโรงพยาบาลปิยะเวทเป็นสถานที่ก่อตั้ง โดยจัดทำห้องรักษาความดันลบแยกรายผู้ป่วย ห้องละ 1 เตียง ซึ่งเป็นครั้งแรกของโรงพยาบาลสนามในประเทศ พร้อมระบบ Direct Tube ส่งท่อออกซิเจนตรงทุกห้องผู้ป่วย และมีการติดตั้งถังออกซิเจนเหลวขนาด 10,000 ลิตรพร้อมห้องฉุกเฉินให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง